"ฝนแล้ง" ดี....อย่างไร???????


ผมขอสรุป "ภาวะ" ฝนแล้ง

แทนการพูดถึง "ปัญหา" ฝนแล้ง ว่ามีข้อดีๆๆๆๆ ดังนี้......

ข้อที่ 1 หญ้าจะไม่ค่อยงอก

ข้อที่ 2 หญ้าที่งอกแล้ว อาจจะแห้งตายได้ (ดังรูป)


ข้อที่ 3 มีรูระแหงเกิดขึ้น แยกลึกลงไปในดิน จนถึงจุดที่มีความชื้นพอดีๆๆๆๆ จึงใช้หยอดเมล็ดข้าว หรือพืชอื่นๆได้ โดยไม่ต้องขุดหลุม

และถ้าเราชิงจังหวะ.....หยอดเมล็ดข้าวลงรูระแหงแล้ว ข้าวก็จะงอกเฉพาะจุดที่มีความชื้นพองอก
จุดที่ความชื้นไม่พองอก ก็จะรอไปก่อน ได้ความชื้น หรือฝนปรอยเล็กๆน้อยๆ ก็งอกได้อีกเรื่อยๆ เพราะเมล็ดข้าวอยู่ในดิน ที่มีความชื้นสูงกว่าบนผิวดินอย่างแน่นอน

ต้นที่งอกได้ก็จะโตไปก่อน มีรากเดินตามรอยแตกธรรมชาติของรูระแหง ที่เป็นช่องว่างธรรมชาติ แตกที่เดิมตลอด รากก็เดินตามรอยแตก โดยไม่มีอันตราย

ที่ต่างจากการขุดหลุมหยอด ที่อาจจะไม่ตรงกับรูระแหง ในลักษณะเช่นนั้น การแยกของก้อนดิน เกิดเป็นรูระแหง (เมื่อดินแห้ง) อาจจะทำให้รากข้าวขาด และเหี่ยวตายได้

นี่คือ......ข้อดีของ "ฝนแล้ง" และ การใช้ "ภาวะฝนแล้ง" ให้เป็นประโยชน์ แบบเต็มๆ

เมื่อเราใช้ "ภาวะฝนแล้ง" เต็มที่แล้ว อิอิอิอิอิอิ.....เราก็จะไม่มี "ปัญหา...ฝนแล้ง" เหลืออยู่อีกต่อไป

"ฝนแล้ง" ดี......อย่างนี้เอง
55555555555555555555

หมายเลขบันทึก: 589320เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2015 07:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 เมษายน 2015 07:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นหัวข้อแล้วต้องรีบอ่านครับ

อ่านเสร็จแล้วนึกถึงกิจกรรมหนึ่ง

คือการให้พูด "ข้อดี" ก่อน "ข้อเสีย"

จุดประสงค์ของกิจกรรมนี้ จัดขึ้นเพื่อให้นักเรียนมองปัญหาให้รอบด้าน

กฎคือแต่ละคนต้องงัดเอาข้อดีมาพูด

ถ้าคิดไม่ออก ก็ต้องพยายามคิดให้ออกจนได้

เสร็จแล้วจึงพูดข้อเสีย หรือ ให้คำแนะนำที่สามารถทำได้จริง



ชื่นชมความคิดอาจารย์มาก ๆ เลยครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท