เส้นทาง PBL แห่งการเปลี่ยนแปลง ๓


หน้าสาม

START (จุดเริ่มต้นของ PBL อย่างเเท้จริง)

................เมื่อ 2 ปีที่เเล้ว ครูเเละเด็กๆของครู ได้ลงมือทำโครงงาน เรียนรู้บนสภาพปัญหาของชีวิตจริง บางครั้งเรื่องราวระหว่างทางก็ไม่ได้เรียบง่ายเสมอไปอย่างที่เราคิด หลายครั้งเรื่องกำลังใจก็สำคัญที่ทำให้งานเคลื่อนเเละเดินไปได้ เราในฐานะเป็น Coach จะคอย กระตุ้นเพียงความคิดไม่เพียงพอ เเต่ต้อง counseling เพื่อเสริมพลังใจด้วย ในระหว่างที่ได่ดำเนินโครงการให้เด็กๆเรียนรู้บนสภาพปัญหานี้ ครูเล่าให้ฟังว่า ครูเองภาคภูมิใจ เเละไม่เสียดายกระบวนการที่ได้ทุ่มเทลงไปเลย เพราะจากการเรียนรู้เเบบนี้ต่อเด็กๆเองเขาได้ทักษะในการดำเนินชีวิต การทำงาน ฯ ได้ความรู้พื้นฐานในเรื่องที่เขาทำ รู้ลึกขึ้น เเละเขามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของเขาเอง โรงเรียนได้รับ คือ ผลการสอบ O-net สูงขึ้น เเละผ่านการประเมินรอบ 3 ส่วนตัวครูมีความภาคภูมิใจก็เพียงพอเเล้ว ไม่เอาอะไรมากไปกว่านี้ เมื่อโครงการ LLEN สิ้นสุดลง เเล้ว สำคัญ คือ การเรียนรู้เเบบนี้มันต้องพัฒนาต่อยอด เเม้ว่าโครงการนี้สุดสิ้นลงเเต่ครู เเละครูในระดับก็พยายามที่จะเดินเรื่องนี้เอง จึงขับเคลื่อนเรื่องนี้ในบริบทของเราเอง ในช่วงปีการศึกษา 2555

................ระหว่างทางที่กำลังคิดว่าจะเดินไปนั้น จดหมายจากกองทุนไทยก็มาถึง ในครั้งนั้น ผมเองเเละเพื่อนๆกำลังขึ้นชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ครั้งนั้นมี เอ็ม เเซม ก๊อต ส้ม นาง เปรี้ยว อิ๊ฟ เนย เเลตัวผมเอง (เเสน) เดินทางไปโรงเรียนวันเปิดเทอมใหม่ๆ ครูเพ็ญศรีที่ทราบข่าวจากมูลนิธิกองทุนไทย เเละมูลนิธิสยามกัมมาจล ก็มาเล่าข่าวให้ฟัง ประกอบกับที่เราเห็นโปสเตอร์ประกาศโครงการนี้ขึ้นมาพอดีในโรงรียน ที่ชื่อว่า โครงการปลูกใจรักษ์โลก ซึ่งเป็โครงการที่เชิญชวนให้เยาวชนคนรุ่นใหม่ลุกขึ้นมาทำประโยชน?เพื่อส่วนรวมโดยการอนุรักษ์ทรัพยากรณ์ในท้องถิ่นของตนเอง อนุรักษ์ ดิน น้ำ ป่า อากาศ เเละขยะ ซึ่งครั้งนั้นเมื่อเราได้เห็นจากประกาศเเละจากจดหมายที่ครูมาเล่าให้ฟังอีกครั้งหนึ่ง ก็รู้สึกว่า อยากจะทำลองดู เพราะไม่เคยทำเรื่องนี้มาก่อน เคยเเต่ทำโครงงานเล็กๆ ในโรงเรียน ไม่เคยออกสังคมภายนอก ไม่เคยออกชุมชน โครงการนี้จึงเป็นตัวจุดประกายเราๆทั้ง 9 คนให้มาทำโครงการใหญ่ซึ่งเรามีบทบาทเป็นเจ้าของโครงการเอง

................เมื่อมีมีความสนจึงคุยกัน โดยเเบ่งหลักๆเป็น 3 เรื่อง ได้เเก่ เราอยากจะทำประเด็นอะไร เราอยากเเก้ไขปัญหาอะไรในชุมชน เเละเราอยากจะส่งเสริมเรื่องภูมิปัญญาหรือสิ่งเเวดล้อมอะไรบ้างในชุมชน ครูให้การบ้านกลับไปคิด ไปค้นดูที่บ้านของตนเอง ไม่นานก็เเลกเปลี่ยนกันก็เริ่มต้นขึ้น ผมเเลกเปลี่ยนว่าเราน่าจะทำบ้านผมดีไหม เพราะบ้านผมที่ชื่อว่าบ้านผือ ที่มีผือ (หรือ กก )เยอะๆสมัยก่อน ตอนนี้ไม่มีเเล้ว เเละน้อยนักที่จะทอเสื่อกก ใช้ในครัวเรือน นางเเลกเปลี่ยนว่าในพื้นที่ ที่เดินทางกลับบ้านทุกๆวันเห็นปัญหาน้ำท่วมขังในพื้นที่ติดถนนเเละเน่าเสีย ทุกๆฤดูฝนที่เเห่งนี้จะเิกดปัญหาน้ำท่วมขังทุกๆปี ฯ มติเเต่ละคนลงความเห็นกันในครั้งนั้นว่า "เรานาจะไปดู พื้นที่ของที่นางว่าดิไหม" เมื่อคิดได้ดังนั้นไม่นานก็เกิดการลงพื้นที่ดูปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อเราลงไปเเล้วนั้น ก็เห็นปัญหาน้ำท่วมขังที่นั่นจริงๆ เปรี้ยวเเละนางเสนอว่า เคยเห็นโครงการของในหลวงที่ท่านทรงในหลักการนี้ในการพัฒนาเเหล่งน้ำ คือ การทำกรชังผักตบชวา ซึ่งเราสามารถทำได้นะ จากนั้นเดินทางไปสอบถามเจ้าของพื้นที่ ท่านบอกว่า ปัญหานี้เป็นปัญหาที่เรื้อรังมานานเเล้ว หากลูกหลานมาช่วยพัฒนาให้ก็คงจะดีมากๆเลย พื้นที่นี้คงจะสามารถกลับมาปลูกข้าว ทำเกษตรได้เหมือนเดิม หรือน่าจะสามารถลดปัญหาน้ำเน่าเสียได้

................ไม่นานนัก จากที่เราลงไปศึกษาพื้นที่ ครูก็ให้เราเขียนโครงการมาให้ดู เเล้วครูจะคอยเเนะนำหลักการเขียนอีกชั้นหนึ่ง จึงส่งไปที่มูลนิธิกองทุนไทย ผลประกาศออกมา คือ เด็กๆเราได้ทำโครงการนีขึ้นมาจริงๆ พวกเขาต่างดีอกดีใจกันใหญ่ ว่าเขาจะได้ทำโครงการที่ใหญ่ขนาดนี้เเล้ว เขาจะได้ลงชุมชนเเล้ว ครูก็รู้สึกปีติขึ้นมาเล็กๆว่าเขาที่ลงพื้นที่เอง เขียนโครงการเอง ก็สามารถทำให้เกิดผลเช่นนี้ขึ้นมาได้ เมื่อมีกลุ่มขึ้นมาเขาตั้งชื่อกลุ่มของเขาว่า กลุ่มฮักนะเชียงยืน ฮักนะ คือ ความรักษ์บ้านเกิดเเละความห่วงใย ส่วนเชียงยืนเป็นอำเภอที่ให้การศึกษาการเรียนรู้เเก่่เขาทั้งโรงเรียนเเละครอบครัว จากนี้ไหากพูดถึงกลุ่มฮักนะเชียงยืน จะรู้เลยวjานั่นล่ะ คือ ตัวของพวกเขาทุกๆคน

................เเละเเล้วค่ายพัฒนาโครงการครั้งเเรกก็มาถึง มูลนิธิกองทุนไทย ฮักนะเชียงยืนเรามาในประเด็นน้ำท่วมขังในพื้นที่ชุมชน วันที่ 28-30 เดือนกันยายน พ.ศ. 2555 ณ อาศรมวงศ์สนิท ซึ่งในขณะนั้นมีครูที่เลี้ยง 1คนเเละเเกนนำอีก 3 คน ได้เเก่ เอ็ม เปรี้ยว เเละนางที่ได้เข้าร่วมค่ายพัฒนาโครงการ ทุกคนทุกกลุ่มชนคนอาสาจากเหนือใต้ ออก ตก มาพบกัน ประเด็นปัญหาของเเต่ละกลุ่มจะต่างกันออกไปตามบริบทของเเต่ละพื้นที่ เวลาในกิจกรรมนี้เป็นเวลาประมาณ 3 วันด้วยกัน กระบวนการเเละเครื่องมือในการทำโครงการอย่างมีคุณภาพนั้นมีมากมายอยู่หลายเครื่องมือด้วยกัน ที่ทางมูลนิธิถ่ายทอดให้อาทิ แผนผังชุมชน ผังใยมงมุม ภูเขาน้ำเเข็ง ผังไข่ดาว ปัจจัยเเห่งความสำเร็จ ฯ ให้เรากลับมามองงานของตนเอง ครั้งนั้น ครูเเละเด็กๆ ก็ได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกันเพราะเป็นเรื่องใหม่ๆสำหรับเราทั้งครูเเละศิษย์ ผลที่ออกมาจากการระดมสมอง คือ เราไปทำพื้นที่ส่วนบุคคล เราไม่ได้ทำพื้นที่ส่วนรวม เพราะเเม้เราจะเเก้ไขไปเเล้ว ชุมชนก็ไม่ได้ประโยชน์อะไร จากนั้นจึงกลับมาระดมความคิดกันอีกครั้งหนึ่ง ว่าประเด็นนี้ของเรา เเม้ว่าเราจะพัฒนาไปได้ มันก็ไม่คุ้มค่าอะไรเลย จึงกลับมาหาประเด็นที่น่าจะพัฒนาได้ ประชุมกันอีกครั้ง จึงได้ประเด็นการใช้สารเคมีทางการเกษตร ซึ่งในครั้งนั้นมี 2 พื้นที่ ได้เเก่ พื้นที่การปลูกกะหล่่ำที่อำเภอชื่นชมเเละพื้นที่การปลูกแตงเเคนตาลุปที่อำเภอเชียงยืน เนื่องด้วยคนส่วนใหญ่อยู่อำเภอเชียงยืน ไปมาสะดวก จึงได้เลือกประเด็นการใช้สารเคมีในการเกษตร บ้านเบก ตำบลนาทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเมื่อระดมความคิดเห็นกันไม่นาน ก็ถึงคราวลงพื้นที่จริงๆ ซึ่งในความคิดของเราๆในครั้งนั้น ท่ามกลางสงสัยในตัวของเพื่อนๆที่อยู่ในชุมชนเหล่านั้นว่า ชอบง่วงนอนเวลามาเรียนเเละชอบพูดคำว่า ไปเซิงเเตง อยู่หลายๆครั้ง

...............การลงพื้นที่บ้านเเบกครั้งเเรกนี้ เราติดต่อไปยังเพื่อนๆเราที่อยู่ในชุมชนนั้นด้วย เเละไปตามครัวเรือนอื่นๆด้วย เพราะความไม่รู้จริงๆ ครั้งนั้น เรากำลังจะลงไป ทันใดนั้นครูก็พูดให้ฉุกคิดขึ้นมาว่า "ก่อนที่เราจะลงไปนั้น เราเตรียมคำถามอะไรหรือยัง" ซึ่งครั้งนั้นเราก็ยังไม่ได้เตรียมคคำถามอะไรเลย จึงตั้งคำถามอย่างง่ายๆว่า ยายปลูกอะไร(เพื่อจะรู้ว่าเขาปลูกพืชอะไรบ้าง) ยายปลูกอย่างไร(เพื่อจะรู้ว่ายายใช้สารเคมีในขั้นตอนใด เเละใช้สารอะไรบ้าง) ยายปลูกมานานหรือยัง(เพื่อที่จะรู้ว่าประวัติของการทำเกษตรเเบบนี้มีมานานในชุมชนช่วงเวลาไหน ปีไหน) ซึ่งเป็นคำถามง่ายๆที่ได้คิดกัน ครูถามขึ้นมาอีกว่า "ลงไปสอบถามเพียงชุมชนอย่างเดียว เพียงพอไหม" ทำให้เราๆฉุกคิดขึ้นมาอีกได้ว่า เราถามเพียงชาวบ้านไม่ได้ เราต้องไปถามเพื่อนๆ ถามผู้ใหญ่บ้าน ถามโรงพยาบาลประจำอำเภอด้วยว่าประวัติการเจ็บป่วยจากผลกระทบของสารเคมีในชุมชนเเห่งนี้ มีมากน้อยเพียงใด เเล้วสัมพันธ์กันหรือไม่กับคำตอบของชุมชน

...............การลงพื้นที่ครั้งนี้ ผลจากการลงสัมภาษณ์ คือ เราได้เรียนรู้ว่าชุมชนนี้ทำการเกษตรในระบบพันธะสัญญาในรูปแบบของเกษตรเเบบเคมี ที่เน้นปลูกเอาเมล็ดเพื่อส่งบริษัท มีหลายบริษัทที่เข้ามารับซื้อ เเละจะส่งเมล็ดเหล่านี้ออกนอกประเทศ โดยสารเคมีต่างๆบริษัทจะนำมาให้เเล้วทำสัญญาระหว่างกัน ระบบนี้เข้ามานานเเล้วเมื่อ 30 กว่าปีที่เเล้ว ส่วนใหญ่ปลูกพืชประเภทเเตงเเคนตาลุป แตงโม เเตงล้าน สก๊อต เเละอื่นๆ ถาม รพ.ประจำอำเภอได้คำตอบ คือ ข้อมูลเรื่องสุขภาพยังไม่ชัดเจน เเละตอบไม่ได้ว่าเป็นผลจากการทำเกษตรเเบบนี้หรือไม่ ทำให้เราต้องลงศึกษาต่อ การลงพื้นที่เเต่ละครั้งก็จะมาพูดคุยกันเสมอ ว่า จากข้อมูลที่เราได้รู้นี้ เราจะเดินทางต่ออย่างไร สุดท้ายจึงออกมาเป็น โมเดลในการพัฒนางาน ต่อ โดยครูให้คำนึงถึง ข้อมูลที่ได้รับมา สิ่งที่เราอยากทำอะไร สิ่งที่เราสามารถทำได้ในบริบทของนักเรียน เเละการมีส่วนร่วมของชุมชน เพื่อใช้ในการออกเเบบโมเดลการทำงานนี้ ครูครั้งหนึ่งครูเปิดคลิปสิ้นๆ ให้ผมดู คลิปนั้น เป็นคลิปของฟันเฟืองไม้ที่สลับซับซ้อนกันมาก เเต่มะนสามารถเคลื่อน หรือเดินไปพร้อมกันได้ ก็เพราะว่าเเต่ละซี่นั้น มันสามารถเชื่อมโยงเข้าหากันได้ ฉะนั้นเเล้ว การทำงานก็เหมือนกัน "การทำงานทุกๆองค์กรที่สำคัญต้องเคลื่อนไปด้วยกัน"

................ตามโมเดลนี้ คือ เราฮักนะเชียงยืน จะเป็นกลุ่มที่คอยพยายามขับเคลื่อนจากภายนอกทำให้เกิดการเปลี่ยนปลงขึ้นภายในชุมชน ซึ่งเราจะจัดค่ายพัฒนาการคิดเเละเเลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเพื่อนๆในโรงเรียน เเละเด็กๆชั้นประถมศึกษาในพื้นที่เพื่อไปบอกผู้ปกครองของตนเองอีกครั้งหนึ่งให้ตระหนักเเละรู้เท่าทันถึงผลกระทบของการใช้สารเคมีทางในการเกษตร ซึ่งเราจะพยามยามประสานงานเชิงพื้นที่ คอยศึกษาหาความรู้เพื่อบอกต่อกับเยาวชน เเละคอยสำรวจปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนอยู่เสมอๆ ค่ายเพื่อนบอกเพื่อน จัดให้กับเพื่อนๆในโรงเรียนเชียงยืนพิทยาคม ค่ายรักษ์บ้านเกิดจัดให้กับน้องๆชั้นประมในโรงเรียนในชุมชน เเละค่ายปลูกรักษ์บ้านเกิดเป็นค่ายสรุปข้อมูลที่เราศึกษามาสู่การคืนข้อมูลสู่ชุมชน ซึ่งเราพยายามที่ขับเคลื่อนกลุ่มทำงานกับชมชน คือ กลุ่ม อสม.หรือกลุ่มเเม่บ้าน เเละองค์กรภายนอก ไปด้วย เพื่อสู่ OTOP หรือทงเลือกอาชีพเสริมที่อาจสามารถบรรเทาปัญหานี้ก็อาจเป็นไปได้

................โลกทัศน์ใหม่ในการเรียนรู้ของเรากลุ่มฮักนะเชียงยืนที่ครูเพ็ญศรี เป็นที่ปรึกษากลุ่มกำลังจะเริ่มต้นขึ้น ในระยะทาง 7 เดือนเต็ม

.

.

หมายเลขบันทึก: 589082เขียนเมื่อ 19 เมษายน 2015 12:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 เมษายน 2015 12:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท