เกลื้อน...แม่แก้มเกลื้อน ค่านิยมสาวใต้ในอดีต


"การปลูกเกลื้อน โดยใช้ใบพลูไปถูที่เกลื้อนของเพื่อน แล้วเอามาถูกับผิวเนื้อตน ปรากฎว่าเพียงไม่กี่วันก็มีเกลื้อนสมความตั้งใจ ผู้เขียน( รศประพนธ์ เรืองณรงค์)เข้าใจว่าเนื้อเยื่อของใบพลูคงสารพิษดูดซับเกลื้อน แลซึมซาบเข้าสู่เซลล์ผิวหนังได้เป็นอย่างดีชาวบ้านจึงนิยมใช้ใบพลูปลูกเกลื้อน

"ปัจจุบันพอพูดถึงเกลื้อนแล้ว ย่อมเป็นที่ไม่มีผู้ใดอยากเป็น เพราะใครเห็นแล้วเสน่ห์ลดน้อยถอยลง

ยิ่งหนุ่มสาวที่รักสวยรักงามย่อมมีความกลัดกลุ้มเป็นกำลัง จึงรีบเสาะหาหยูกยามารักษา

มิฉะนั้นจะลุกลามใหญ่โต

ตรงกันข้ามกับชาวใต้ในสมัยอดีต ถ้าพูดถึงเกลื้อนแล้วย่อมเป็นที่พิศมัย

คือทุกคนต้องการมีเกลื้อนเป็นอาภรณ์แห่งผิวหนัง ยิ่งหญิงสาวที่มีดอกดวงที่แก้มแล้วนับว่าสะคราญโฉมอย่างยิ่ง

และเรียกว่า"แม่แก้มเกลื้อน" ผู้ชายสมัยนั้นไม่นิยมสวมเสื้อจึงอวดเกลื้อนบริเวณอก ดูเป็นแถบดุจสร้อยสังวาวลย์

หรือเป็นพวงดอกไม้สวยงาม จึงเรียกเกลื้อนนั้นว่า"เกลื้อนมาลา หรือเกลื้อนทอง"

ตกเกลื้อนคือรุ่งอรุณแห่งหนุ่มสาว

เกลื้อนคือสัญลักษณ์ของวัยหนุ่มสาว ทำนองเดียวกับเด็กหนุ่มแตกพาน หรือเด็กสาวมีฐานเต้านมโตแข็ง

เพราะฉะนั้นชาวบ้านสมัยก่อนเมื่อเริ่มตกเกลื้อนก็เริ่มแต่งเนื้อแต่งตัว ที่เป็นหนุ่มก็รู้จักเกี้ยวสาว

ที่เป็นสาวก็เริ่มฟังชายมาสู่ขอ ผู้เขียน(รศ ประพนธ์ เรืองณรงค์)จำบทสั้นๆที่แสดงความหวังของชาวใต้สมัยก่อนได้

ดังนี้

จะหาเมียสักคนอย่าปนเพื่อน เอาที่เกลื้อนลายๆคล้ายดอกไม้

แสดงว่าเกลื้อนเป็นค่านิยมสมัยนั้น หลักฐานความนิยมในเกลื้อน กากย์กลอนมุขปาฐะ เช่นเพลงกล่อมเด็กชาวใต้

(1)สาวน้อยเหอ แม่สาวน้อยแก้มเกลื้อน

อยู่สวยหวาเพื่อน บาวๆมาชมกันหน้าปรอ

ถ้าเป็นดอกไม้ดอกไล้ สาวจะหักให้คนละช่อ

บาวๆชวนกันมาหน้าปรอ ใจสาวมีช่อเดียว

(2)ดอกเรด แลแลอี้กลายเป็นดอกปอ

เขาว่าอิ้มาขอ แตกเกลื้อนกลางคออยู่ห่างห่าง

นั่งลงตรงนี้ ผูกรักสักทีตะเหวอนาง

แตกเกลื้อนกลางคออยู่ห่างๆ แลนางไม่วางตา

(3)ลูกสาวใครเหอ สาวเดินมาหน้าอาด

แลช่างเดินช่างนาด ดูสาบาดตาชาย

พิศวงสงสัยนางน้องแก้ว จะคู่เสียแล้วไสหมึงหนา

ลำเอวลำคอ พึ่งตกแต่งเกลื้อนพุ่มมาลา

จะมีคู่เสียแล้วไสหมึงหนา หน้าน้องเหมือนวงเดือนฯ (มาลีศรีตรัง รศ ประพนธ์ เรืองณรงค์)

"การปลูกเกลื้อน

โดยใช้ใบพลูไปถูที่เกลื้อนของเพื่อน แล้วเอามาถูกับผิวเนื้อตน ปรากฎว่าเพียงไม่กี่วันก็มีเกลื้อนสมความตั้งใจ

ผู้เขียน( รศประพนธ์ เรืองณรงค์)เข้าใจว่าเนื้อเยื่อของใบพลูคงสารพิษดูดซับเกลื้อน

แลซึมซาบเข้าสู่เซลล์ผิวหนังได้เป็นอย่างดีชาวบ้านจึงนิยมใช้ใบพลูปลูกเกลื้อน

ชาวใต้ในอดีตถือว่าเกลื้อนเป็นความงามไม่ใช่ของน่าชังแต่อย่างได สะท้อนถึงความรักสวยรักงามได้แง่หนึ่ง

ค่านิยมนี้ชาวใต้อาจได้รับแบบอย่างจากชาวต่างชาติ หรือจากโนรายอดศิลปินสมัยนั้น อย่างไรก็ตามค่านิยมย่อมมี

การเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ฉะนั้นเมื่อพูดถึงเกลื้อนมาลาหรือเกลื้อนดอกไม้ดังกล่าว

ก็ย่อมเป็นที่ชบขันสำหรับคนยุคสมัยนี้อย่างแน่นอน"

(บางตอนจากเรื่อง มาลีศรีตรังสารคดีจากเมืองใต็

โดย รศประพนธ์ เรืองณรงค์ )

อภินันทนาการจาก อาจารย์ ชัยพร จันทร์หอม

หมายเลขบันทึก: 588830เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2015 04:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2015 20:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ได้หัวเราะแต่เช้าวันสงกรานต์เลยค่ะ เกลื้อน ได้ยินก็คันแล้วค่ะ ...บุญมีขี้กลาก บุญมากขี้เกลื้อน

เป็นความรู้ใหม่่ป้ายแดงเลยนะเนี่ยะ ค่านิยมที่หาไม่ได้อีกแล้วในยุคสมัยนี้

พัทลุงฝนตกไหมจ๊ะลุงวอ ที่เมืองสามอ่าวตกตั้งแต่เมื่อคืนแล้วจ้าา ต่อมา

ถึงวันนี้ รับสงกรานต์เลย

เป็นค่านิยมสมัยก่อน

ที่เพิ่งเคยได้ยิน

จำได้ว่าเคยได้ฟังคนแก่เล่า

แต่ไม่ได้อ่านหนังสือ

แปลกดีนะครับ

ขอบคุณมากๆครับ

เป็นความรู้ใหม่จริงๆ นะลุง

โชคดีที่ไม่เกิดทันในสมัยโน้นนน...

ขอไม่สวยดีกว่าค่ะ

เรียนอาจารย์ GD หนังสือมาลีศรีตรัง มีเรื่องเล่าชาวใต้ ยุคก่อนสงครามโลกให้ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ ค่านิยม ความเชื่อ ชาวใต้ น่าสนใจครับ

สวัสดี น้องมะเดื่อ

วันนี้ติดภาระคงขึ้นรถไปเมืองสามอ่าวไม่ทัน

คาดว่าพรุ่งนี้เช้าจะเดินทาง โดยรถทัวร์

แล้วจะโทรไปบอก

โดยใช้ใบพลูไปถูที่เกลื้อนของเพื่อน แล้วเอามาถูกับผิวเนื้อตน ปรากฎว่าเพียงไม่กี่วันก็มีเกลื้อนสมความตั้งใจ..... ...

....

เป็นการทอลองตามขั้นตอนวิทยาศาสตร์แบบง่ายๆ และเห็นผล

ชื่นชม ครับ

เรียนท่านอาจารย์ ขจิต

"อีพราก พวงแก้มพราวเกลื้อน ตัวละครในวรรณกรรม ว่าสีขาว ของประมวล มณีโรจณ์ งามด้วยเกลื้อน"

เรียน อาจารย์ ต้น เรื่องเล่า ตำนาน และวิถีใต้ บ้านเรา หลายเรื่องที่น่านำมาเล่าบอกต่อ

หนังประทิ่น เคยขับกลอนไว้ บ่งบอกถึงตัวตนของคนในจังหวัดนคร ในสมัยหนึ่ง ซึ่งเป็นค่านิยม

"ผมดัด ควนเทีย

รัสเซีย ทุ่งสง

นางหลง สะเกิ้ต

ฟันทอง หนองขอ

นี้ก็เป็นค่านิยมอย่างหนึ่งในสมัยหนึ่ง

เรียนอาจารย์ nui ได้คุยกับผู้เฒ่า อายุ 70 อัพ เขายังคงชื่นชม เกลื้อน ซึ่งเป็นเรื่องราวความสาวของยุคสมัย

ขอบคุณ อาจารย์ แผ่นดิน

แวะมาเยือนถิ่นชมค่านิยมคนใต้

ประวัติศาสตร์บอกเล่าเรื่องราวตั้งมากมาย

จะได้หยิบยกมาถกแถลงกันต่อไป

….. อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/588830

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท