Risk Management ของสถาบันอุดมศึกษา



ข่าวนี้ ประกอบกับตัวผู้ถูกกล่าวหาเป็นถึงอดีตอธิการบดี และเป็นอดีตอธิการบดีที่ถูกสภา ลงมติ ให้ออกเพราะมีพฤติกรรมทุจริตแก้เกรดให้แก่ลูกของตน ดังข่าวนี้

ที่น่าตกใจคือประชาคมมหาวิทยาลัยเสนอคนเช่นนี้เป็นผู้บริหารสูงสุดได้อย่างไร และสภามหาวิทยาลัย แต่งตั้งคนที่มีอุปนิสัยเช่นนี้เป็นอธิการบดีได้อย่างไร คิดแล้วเสียวสันหลัง เพราะผมเป็นกรรมการสภา มหาวิทยาลัยอยู่หลายแห่ง

เหตุการณ์นี้เตือนสติผมว่า ที่ผมไม่ผลีผลามรับเกียรติที่บางสถาบันมาหยิบยื่นให้ (เรียกว่าเชิญ) น่าจะเป็น Risk Management ที่ถูกต้องแล้ว

ที่เป็นห่วงคือ สถาบันอุดมศึกษา จะมีการจัดการความเสี่ยงไม่ให้คนเลวขึ้นมาเป็นใหญ่ได้อย่างไร และเมื่ออ่านประวัติคนที่มีเรื่องฉาวโฉ่ พบว่าเรียนจบจากสถาบันใด สถาบันนั้นน่าจะได้เอามา reflect ว่าเหตุการณ์เฉพาะกรณีนี้ เป็นระฆังเตือนให้สถาบันต้องปรับปรุงตนเองในเรื่องการเรียนการสอนอย่างไรบ้าง เพื่อเป็น Risk Management ให้ได้ชื่อว่าสถาบันไม่ได้ปล่อยปละละเลยเรื่องการสร้างคนดี หลงเอาแต่สร้าง คนเก่ง


วิจารณ์ พานิช

๒๕ ก.พ. ๕๘


หมายเลขบันทึก: 588392เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2015 10:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 เมษายน 2015 10:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นเรื่องน่าเป็นห่วงมากครับ

ผู้บริหารแถวผมก็มีครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท