เส้นผมบังภูเขา ในเรื่องวิจัยการศึกษา



วารสาร Science ฉบับวันที่ ๑๙ เมษายน๒๕๕๖ ลงบทความเรื่อง Generating Improvement Through Research and Development in Education Systemsเขียนโดย M. Suzanne Donovan, Executive Director, Strategic Education Research Partnership Institute

อ่านแล้วตกใจ ว่าวงการวิจัยการศึกษาอเมริกันหลงทางถึงเพียงนี้ คือนักวิจัยการศึกษาหลงวิจัย หาความรู้เพื่อพัฒนาระบบการศึกษา แล้วหวังว่าจะมีการนำความรู้นั้นไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งเอาเข้าจริง มีการนำไปใช้น้อยมาก ที่นำไปใช้ ก็มักไม่ได้ผล เพราะตอนวิจัยมีการควบคุมตัวแปร ตอนเอาไปใช้ มีตัวแปรมากมาย

บทความบอกว่ามี "knowing – doing gap" ซึ่งในวงการสุขภาพเรียกว่า "know – do gap" และรู้กันมากว่าสิบปี ดัง presentation นี้ บทความนี้บอกว่า ในวงวิชาการที่ตระหนักในปัญหานี้คือ วงวิชาการการบริหารธุรกิจ วงการสุขภาพ และวงการการศึกษา

เขาบอกว่า วิจัยการศึกษาต้องเริ่มจากห้องเรียน จากกิจกรรมของเด็กกับครู แล้วจึงรวบรวมวิเคราะห์สังเคราะห์เป็นภาพใหญ่ เป็นนโยบายให้หน่วยงานและกระทรวงถือปฏิบัติ คือต้องย้อนทาง หรือสวนทางอย่างที่ทำกันอยู่ในปัจจุบัน ในสหรัฐอเมริกา

และในประเทศไทย


วิจารณ์ พานิช

๑๘ ก.พ. ๕๘


หมายเลขบันทึก: 587587เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2015 12:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มีนาคม 2015 12:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

When there is a will then there is a way (to make things happen).

We have not seen Thailand governments make use of scientific knowledge and instruments Thailand has accumulated yet. Let have a scienceand technology advisors panel in government!

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท