การศึกษากับความแวดไวทางวัฒนธรรม (Cultural sensitivity)


ความแวดไวทางวัฒนธรรม (Cultural sensitivity) คืออะไร ?

จากการอ่านและการใคร่ครวญ น่าจะหมายถึง ความตะหนัก และท่าที ต่อความแตกต่างของวัฒนธรรม ภาษา ประวัติศาสตร์ ค่านิยม อุดมการณ์ ซึ่งเป็นเบื้องหลังของมนุษย์ มีเป้าหมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ศีลธรรม การอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ด้วยการเปิดใจการรับฟังอย่างเข้าใจ และแสวงหาวิธีการในการปฏิบัติและสื่อสารด้วยความเคารพในความเป็นมนุษย์ของแต่ละคน

ความแวดไวทางวัฒนธรรม เกี่ยวข้องกับโลกทัศน์และมุมมอง ในความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ซึ่งมนุษย์และวัฒนธรรมมีความหลากหลาย การดูถูกดูแคลน วัฒนธรรมรอง ส่งผลต่อการเรียนรู้ เรื่องความขัดแย้ง การยอมรับนับถือตัวเอง ประเด็นเหล่านี้เป็นความอ่อนไหวทั้งสิ้น

ย้อนกลับไปดูสมัยพุทธกาล ผลกระทบต่อความไม่แวดไวทางวัฒนธรรม ก่อให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เนื่องมาจากการดูถูกเรื่องชาติ เรื่องโคตร ใน อรรถกถาวิฑูฑภวัตถุ เรี่องของเชื้อชาติของพระพุทธเจ้าคือศากยวงศ์ ในสมัยที่พระพุทธเจ้าประกาศศาสนามีคนมานับถือจำนวนมาก พระเจ้าปเสนทิโกศล อยากกเป็นญาติกับพระพุทธเจ้า ได้ไปสู่ขอนางกษัตริย์ของศากยวงศ์มาเป็นพระมเหสี แต่พวกศากยวงศ์เป็นผู้ที่ถือตัวจัด ไม่อยากให้สายเลือดพวกตนไปเจือปนสกุลอื่น ครั้นจะปฏิเสธก็ไม่ได้เพราะแคว้นสักกะก็อยู่ภายใต้อำนาจของแคว้นโกศล จึงได้นำเอานางวาสภขัตติยา ซึ่งเกิดจากนางทาสี เอามาย้อมแมวให้พระเจ้าปเสนทิโกศล ๆ ก็ยินดีเป็นอันมากจึงแต่งตั้งให้นางเป็นพระมเหสี ต่อมาได้ประสูติโอรสองค์หนึ่งชื่อ "วิฑูฑภะกุมาร" เมื่อวิฑูฑภะ เติบโตขึ้นได้ไปเยี่ยมพระญาติฝ่ายกรุงกบิลพัสดุ์ พวกญาติทางกรุงกบิลพัสดุ์ก็แสดงความรังเกียจโดยไม่ให้พวกเจ้าศากยะที่อายุน้อยกว่ามาพบ จะมีแต่พวกศากยะที่แก่กว่าเท่านั้น เพื่อป้องกันเจ้าศากยะไม่ต้องแสดงความเคารพวิฑูฑภะ พอดีเกิดเหตุขึ้นในขณะที่วิฑูฑภะกำลังเดินทางกลับกรุงสาวัตถี มหาดเล็กคนหนึ่งได้ลืมดาบเอาไว้ จึงกลับมาเอา ได้พบเห็นพวกคนรับใช้ของศากยวงศ์ได้ใช้น้ำนมล้างพระที่นั่งที่ประทับของเจ้าชายวิฑูฑภะ พร้อมกับเสียงบ่นด่าว่า เป็นเพราะลูกนางขี้ข้าทาสี พวกเราต้องมาเหน็ดเหนื่อย มหาดเล็กจึงนำความนั้นมาบอกให้เจ้าชายวิฑูฑภะฟัง เมื่อเจ้าชายรู้ความจริงก็โกรธแค้นพวกศากยะวงศมากสาบานไว้ว่าวันหนึ่งจะกลับมาเอาเลือดศากยะมาล้างแผ่นดิน จากนั้นก็เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ตระกูลศากยะของพระพุทธเจ้า

ปัญหาของความแวดไวทางวัฒนธรรม นอกจากระงับไม่ให้เกิดความขัดแย้ง แล้วยังแสวงหาแนวร่วมในการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะการอยู่ร่วมในยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีการข้ามเผ่าพันธ์ ข้ามวัฒนธรรม บางทีจะกลายเป็นการไร้พรหมแดนทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะการเปิดเสรีในประชาคมอาเซียน ซึ่งระบบทุนนิยม มีความต้องการนำเข้าแรงงาน การประกอบการจากต่างชาติ โดยใช้แรงงานของคนไทย ทำให้เกิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมมากขึ้น ถ้าไม่เข้าใจในเรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรม อาจเกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้นได้ และตัวอย่างความขัดแย้งทั้งหลายในประเทศไทยมาจากปัญหาการไม่ยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทำให้เกิดความผิดพลาดในการกำหนดนโยบาย



คำสำคัญ (Tags): #พหุวัฒนธรรม
หมายเลขบันทึก: 587583เขียนเมื่อ 18 มีนาคม 2015 11:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มีนาคม 2015 11:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท