จิตตปัญญาเวชศึกษา 223: Imagination Part II


จิตตปัญญาเวชศึกษา 223: Imagination Part II

เติมจินตนาการแก่ชีวิต เพื่อจิตวิญญาณอันเป็นไท

มนุษย์เรามีจินตนาการไม่เหมือนกัน เพราะคนเราต่างกัน

  • ต้นทุนแห่งการจินตนาการ (resource of imagination)
  • กลไกแห่งจินตนาการ (mechanic of imagination)
  • ทักษะแห่งจินตนาการ (mastery of imagination

ต้นทุนแห่งจินตนาการ (Resource of Imagination)


มนุษย์มีความหลากหลาย เป็นการออกแบบโดยธรรมชาติที่เที่ยงแท้ แสดงว่าเราสมควรจะใช้ความหลากหลายนี้ อันเป็นคุณสมบัติของเผ่าพันธุ์ของเราให้เต็มที่ แทนที่จะคิดว่ามนุษย์เหมือนกันหมด มี "มาตรฐาน" อย่างเดียวกันหมด และเมื่อไรก็ตามที่เราพยายาม "กำหนดความเหมือน" ไม่ว่าจะเพื่อประโยชน์ เพื่อวัตถุประสงค์ใดๆก็ตาม พึงสำเนียกว่าเรากำลัง compromise หรือย่อหย่อนศักยภาพแห่งความหลากหลายนี้ลงไปทุกๆครั้งด้วย เพื่อที่ว่าเราจะได้พยายามกำหนดความเหมือนไปเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่มากเกินไป พอดิบพอดี

ต้นทุนแห่งจินตนาการของมนุษย์ก็คือ ฉันมี (I have) ฉันเป็น (I am) และฉันทำ (I do)

ต้นทุนแห่งจินตนาการต้นทุนแห่งจินตนาการ

จินตนาการแม้ว่าจะคล้ายคลึงกับความฝัน การคิด หรือแม้กระทั่งความเพ้อเจ้อ บรรเจิด ฯลฯ อย่างไรก็ตาม แต่ทุกๆเรื่องนั้นไม่ได้เกิดขึ้นโดยไร้ที่มา ไร้เหตุผล ทุกๆคนมีจินตนาการ แต่จะจินตนาการต่างๆนานา ถ้าเราไปนอนใต้ต้นไม้ มีผลไม้หล่นลงมาโดนศีรษะ เราก็จะมีเรื่องราวเกิดขึ้นเรื่องหนึ่ง แต่เมื่อเซอร์ไอแซก นิวตันนอนอยู่ใต้ต้นแอปเปิ้ล เห็นลูกแอปเปิ้ลหล่นใส่กลับเกิดเป็นทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก เวลาเรานอนแช่น้ำในอ่าง เราจะเกิดเรื่องราวในใจขึ้นของเราเอง แต่เมื่ออาคิมิดิสลงไปนอนแช่ในอ่างน้ำ เห็นน้ำล้นก็เกิดทฤษฎีในการค้นหาปริมาตรของวัตถุรูปทรงประหลาดขึ้นมาแทน โดยที่ยังไม่ต้องบอกว่าของใครดีกว่า หรือด้อยกว่า แต่ปรากฏการณ์มากมายยืนยันว่า "จินตนาการนั้น แม้ว่าจะเหมือนเฟ้อฝัน แต่ก็มีที่มา และที่มานั้นมาจากชีวิตของคนๆนั้นนั่นเอง"

เรื่องราวแห่งจินตนาการก็คือการสั่งสมประสบการณ์ทั้งชีวิตของเราในอดีต การให้ความหมายกับชีวิตของเราในปัจจุบัน และสิ่งที่เราอยากทำ อยากเป็น อยากจะมีในอนาคตนั่นเอง ในการใฝ่ฝันอาจจะออกมาลักษณะแห่งสัญญลักษณ์ ตัวแทนของอารมณ์ ความรู้สึก ความคิด ความฝัน ทุกสิ่งทุกอย่าง แต่ถ้าเราไม่ได้ใช้สติ มากำกับไว้ ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นก็จะเลื่อนลอย ล่องลอย มีความไม่ชัดเจน ไปจนถึงเตลิดเปิดเปิงไปถึงไหนๆ การครุ่นคิดใครครวญอย่างแยบคาย (โยนิโสมนสิการ) จึงเป็นกระบวนการสำคัญ ที่จะนำเอาสิ่งที่ฉันเป็น ฉันมี ฉันทำ มาตกผลึก และเรารอคอยสิ่งที่จะผุดกำเนิดขึ้นใหม่

จริงๆแล้วชีวิตของเรา "มี" อะไรมากมาย ฤาบางทีที่เราเองเป็นคน "สะกดจิต" ว่าเรานั้นไม่มีอะไรเลย เป็นพยาธิกำเนิดของ poverty mentality หรือทัศนะแห่งความขัดสน เป็นทัศนะที่หมกมุ่นครุ่นคิดถึงแต่สิ่งที่เราขาด สิ่งที่เราอยากจะได้ คิดแต่แบบนี้เราก็จะยากจนข้นแค้น เพราะไม่เห็นสิ่งที่เรามีเป็นต้นทุน จินตนาการของเราก็จะมีพยาธิสรีระแห่งความขาดแคลน เกิดจากความพร่อง ไม่สมบูรณ์ ในสมการที่เราเป็นผู้ตั้งขึ้นเอง แตกต่างจากถ้าเราสามารถหยุดเพื่อใคร่ครวญให้ถ่องแท้ว่าเรานี้มีอะไรอยู่บ้าง ได้นำมาใช้หมดอย่างเต็มที่แล้วหรือไม่ แทนที่จะเป็น pverty mentality ก็จะกลายเป็น prosperity mentality หรือทัศนะแห่งความรุ่มรวย จินตนาการที่เกิดขึ้นก็จะถูกผลักดันมาจากการตกปผลึกควบแน่นของประสบการณ์ ทั้งหมด ชีวิตทั้งชีวิต เติบโตสู่ขั้นตอนต่อไป

กลไกแห่งจินตนาการ (Mechanic of Imagination)

จะเห็นว่ามีโอกาสเหมือนกันที่จินตนาการจะเกิดเรื่อยเปื่อย แม้ว่าทุกเรื่องจะมีพื้นฐานจากสิ่งที่เรามี เราเป็น และเราทำ แต่ถ้าหากว่าเราไม่ได้นำเอา "ทุกๆอย่าง" มาหล่อหลอมให้ดี เรื่องราวที่เกิดขึ้นก็จะเกิดจาก ingredient ที่ไม่ครบ เหมือนกับเราได้นำเอาประสบการณ์แค่บางส่วนมาปรุงเป็นสำรับ ได้ทิ้งส่วนผสมอื่นๆไปโดยตั้งใจบ้าง ไม่ได้ตั้งใจบ้าง
ชีวิตที่ตกผลึก (crystallization) จึงแตกต่างจากชีวิตที่ตกตะกอน (sedimentation)

กลไกแห่งจินตนาการกลไกแห่งจินตนาการ

เราสามารถจะปลูกมะม่วงแล้วทานมะม่วงสุกได้สองวิธี วิธีแรกคือปล่อยให้มะม่วงสุกคาต้น อีกวิธีคือการสอยมะม่วงลงมาอบแก๊สให้สุกเร็วๆ การตกผลึกเหมือนกับมะม่วงที่สุกคาต้น การตกตะกอนแกว่งสารส้มก็เหมือนกับมะม่วงอบแก๊ส มนุษย์นั้นมีขั้นตอนการเติบโตเป็นของตนเอง มีเร็ว มีช้าที่แตกต่างกัน และไม่ได้การันตีว่าแบบเร็วหรือแบบช้าจะดี/ชั่วอย่างไร มันเป็นเพียง "ความแตกต่าง" กันเท่านั้น Salman Khan ผู้ก่อตั้ง Khan Academy เป็นโรงเรียน virtual lessons ที่มีประสบการณ์มากมายพบว่า นักเรียนกลุ่มหนึ่งที่เรียนช้ากว่าเพื่อนๆในตอนแรก แต่ถ้าเราให้เวลาอิสระแก่นักเรียนกลุ่มนี้ จนกระทั่งถึงจุด "อิ่มตัว" ของนักเรียนกลุ่มนี้ที่เข้าใจหลักการพื้นฐาน ปรากฏว่าความเร็วในการเรียนของนักเรียนกลุ่มนี้จะทวีคูณขึ้นอย่างรวดเร็วใน ภายหลัง ด้วยอัตราเร่งที่อาจจะเหนือกว่านักเรียนที่เรียนเร็วในตอนแรกด้วยซ้ำไป ดังนั้นเวลาที่เรา "เร่ง" การเรียนรู้ หรือแม้กระทั่ง "เร่งให้จินตนาการ" นั้น แท้ที่จริงเรากำลังพยายามสร้างสภาวะ "สุกเทียม" ขึ้น ไปตาม agenda ของเราเองหรือไม่? ที่เราบอกว่านักเรียนคนนั้น คนนี้ สอบตก หรือล้มเหลว หรือเรียนไม่ได้นั้น เป็นเพราะ time frame หรือจังหวะเวลาการวัดของเราเองรึเปล่า ที่ไปวัดตอนที่นักเรียนไม่พร้อม และข้อสำคัญคือ แท้ที่จริงแล้ว เด็กคนนี้อาจจะเรียนได้ดี และดีกว่าที่เราคิด ถ้าหากเขามีเวลาเพียงพอ

But if you judge a fish by its ability to climb a tree, it will live its whole life believing that it is stupid.But if you judge a fish by its ability to climb a tree, it will live its whole life believing that it is stupid." -Albert Einstein

ในการถอดความรู้จากประสบการณ์ หรือปรากฏการณ์ใดๆก็ตาม จึงควรระมัดระวังอย่างยิ่งว่าเรากำลังแกว่งสารส้ม และเลือกเรียนเฉพาะที่เรามีอคติอยากจะเรียน หรือว่าเราได้รอคอยความรู้นั้นๆควบแน่น หรืออิ่มตัวดีแล้ว จนปรากฏสิ่งที่ประภัสสรที่สุดออกมาในที่สุดกันแน่

นพ.สกล สิงหะ
หน่วยชีวันตาภิบาล ร.พ.สงขลานครินทร์
วันจันทร์ที่ ๑๖ มีนาคม ๒๕๕๘ เวลา ๑๐ นาฬิกา ๒๖ นาที
วันแรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเมีย

คำสำคัญ (Tags): #HA forum 16th#imagination
หมายเลขบันทึก: 587477เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2015 12:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มีนาคม 2015 12:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท