โครงการพัฒนาผู้บริหาร ระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายและเทียบเท่า รุ่นที่ 11 (ช่วงที่ 3: 17 – 20 มีนาคม 2558 ศึกษาดูงาน ณ เชียงราย– ลำปาง – เชียงราย - เชียงใหม่)


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ EADP รุ่น 11 ทุกท่าน

ขอต้อนรับเข้าสู่ช่วงที่ 3 ของหลักสูตรพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รุ่นที่ 11 (ปี 2558) หรือ EGAT ASSISTANT DIRECTOR DEVELOPMENT PROGRAM: EADP 2015 ซึ่งเป็นศึกษาดูงาน ณ เชียงราย– ลำปาง – เชียงราย – เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 17 – 20 มีนาคม 2558

แม้ว่าจะเป็นการทำงานต่อเนื่องเรื่องคนให้กับ กฟผ. มาปีนี้เป็นปีที่ 11 แต่ผมก็ยังรู้สึกตื่นเต้น และพยายามจะแสวงหาความรู้ที่สด และทันสมัยมาแบ่งปันกับลูกศิษย์ของผมเสมอ

จากการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารของ กฟผ. ในระดับผู้อำนวยการ 3 รุ่น และในระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายอีก 7 รุ่นที่ผ่านมา ผมมีความภาคภูมิใจในลูกศิษย์ของผมที่วันนี้หลายคนเติบโต และเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพของสังคม

"ทุนมนุษย์" ใน กฟผ. นั้นเข้มแข็งและมีศักยภาพอยู่แล้ว ผมเป็นเพียงผู้ที่จะช่วยทำหน้าที่จุดประกาย สร้าง Inspiration ให้พวกเขามีพลัง มี Ideas ใหม่ ๆ มีความเข้าใจสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกและพยายามเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ไปสู่ความสำเร็จ รวมทั้งการทิ้งผลงานหรือสิ่งที่มีคุณค่าไว้สำหรับสังคมไทยของเรา

สิ่งที่ผมและคน "กฟผ." ต้องระลึกถึงเสมอ คือ ผู้นำของเรา ต้องขอขอบคุณ ท่านผู้ว่าการ กฟผ. และอดีตผู้ว่าการฯ ทุกท่าน น่าชื่นชมที่มีปรัชญาและความเชื่อว่า "คนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีค่ามากที่สุดขององค์กร" สูตรสำเร็จของการพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กรในยุคนี้ คือ ผู้นำหรือ CEO+SMART HR+ Non-HR และผมเชื่อว่าการพัฒนาผู้นำรุ่นใหม่ใน กฟผ. อย่างต่อเนื่องจะเป็นพลังในการขับเคลื่อนให้ กฟผ. เติบโตอย่างยั่งยืนได้แน่นอน

สำหรับการพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 11 ในปีนี้ ผมก็หวังว่าจะมีสิ่งที่เราจะได้เรียนรู้ร่วมกันเพื่อประโยชน์ในการทำงานของ กฟผ. และเป็นการสร้างที่สร้างความสุขให้แก่คนไทยต่อไป และผมขอให้ทุกท่านใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ของพวกเรา และแบ่งปันความรู้เหล่านี้ไปสู่สังคมของเราครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

หมายเลขบันทึก: 587474เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2015 12:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มีนาคม 2015 11:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (34)

ชุมชนบ้านใหม่นาแขม หมู่ 7 ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ

โดยมี คุณอริสสรา เครือบุญมา

ผญบ.พรรณวิไล จันมะโน

ผญบ.ณัฐพงษ์ อบแก้ว

ผญบ.อำไพ ต้นศิริ

18 มีนาคม 2558

ศ. ดร.จีระ: เราทำให้กฟผ.มา 11 ปี ระดับผู้นำควรจะลมาดูระดับชุมชนด้วย Local ต้อง Global โลกภายนอกกับชุมชนอยู่ในกระบวนการเดียวกัน ต้องมีความสม่ำเสมอ ท้าทายในชีวิตคือ ต้องจัดการกับความเปลี่ยนแปลง เหมือนผู้ใหญ่บ้านและชุมชนต้องคำนึงถึงเรื่องนี้เช่นกัน

วัตถุประสงค์ของวันนี้ คือ ความต้องการของไฟฟ้าต้องการมากขึ้น แก๊ซธรรมชาติจะหมด ต้องใช้ถ่านหินต่อ ซึ่งที่แม่เมาะเป็นตัวอย่างที่ดี

ขอรับฟังความจริง จุดอ่อน จุดแข็ง จากผู้ใหญ่บ้านว่าจะต้องทำอย่างไร ซึ่งต้องมีพันธมิตรเป็นนักวิชาการ และผู้นำท้องถิ่นด้วย

คุณอริสสรา เครือบุญมา:

ประวัติหมู่บ้านใหม่นาแขม

บ้านใหม่นาแขมเป็นหมู่บ้านที่อพยพมาจากการขยายเหมืองแม่เมาะแต่เดิมประกอบด้วยบ้านนาแขม บ้านท่าประตุ่น

บ้านนาปม ซึ่งได้อพยพมาพร้อมกันในปี พ.ศ. 2525 ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 มีการอพยพหมู่บ้านเพิ่มเติมอีก 3 หมู่บ้านคือ บ้านเมาะหลวง บ้านหางฮุง บ้างเวียงสวรรค์ มีจำนวนครัวเรือนเพิ่มขึ้นประมาณ 3,500 ครัวเรือน

และมีประชากรเพิ่มขึ้นอีกหมื่นกว่าคน อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน ซึ่งต่อมาได้มีการแยกหมู่บ้านและเปลี่ยนชื่อเป็น "บ้านใหม่นาแขม"

บ้านใหม่นาแขมตั้งอยู่ห่างจากอำเภอแม่เมาะประมาณ 500 เมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 0.8 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบ มีพื้นที่สาธารณประโยชน์ใช้ร่วมกันประมาณ 80 ไร่

—มีแหล่งน้ำ 6 แห่ง

—มีตลาดสดเอกชนอยู่กลางหมู่บ้าน

—มีตลาด SML 1 แห่ง

—มีกองทุนหมู่บ้าน 1 กองทุน

—มีธนาคารหมู่บ้านรักษ์แม่เมาะ 1 แห่ง

—มี ธนาคาร ธกส. 1แห่ง อยู่กลางหมู่บ้าน

—มีสถาบันการเงินเอกชน 2 แห่ง

—มีอาคารอเนกประสงค์ 4 แห่ง

—ศูนย์เรียนรู้ 1 แห่ง ได้รับเลือก พศ. 2553 ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง 1 แห่ง

—มีสถานีวิทยุชุมชน 1 แห่ง

—เป็นที่ตั้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแม่เมาะ

—ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลแม่เมาะ

พื้นที่จำกัดเป็นสีเหลี่ยม เป็นพื้นที่จัดสรร ที่ดินราคาขึ้นสูงมาก

ความเป็นมา ไม่ได้เกิดจากรัฐ แต่เกิดจากการรวมตัวของชาวบ้าน

หมู่บ้านใหม่นาแขม หมู่ที่7 เป็นหมู่บ้านอพยพ โครงการขยายเหมืองลิกไนต์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยแม่เมาะ ปี พ.ศ.2525 เดิมราษฎรอาศัยปลูกพืชผักทำกิน บริเวณ รอบสระน้ำ ซอย 1 ในปี พ.ศ.2546 นายธันย์ นุชนิยม อดีตกำนันตำบลแม่เมาะและคณะกรรมการหมู่บ้าน ได้มีการรวมกลุ่มราษฎรจำนวน 38 ครัวเรือน โดยเก็บเงินครัวเรือนละ 500 บาท เป็นทุนในการปรับพื้นที่ และประสานงานกรมส่งเสริมการเกษตร ขอใช้พื้นที่สาธารณะประโยชน์ในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นพื้นที่รกร้าง ว่างเปล่า ทำให้เกิดไฟไหม้ทุกๆปี จำนวน 15 ไร่ เพื่อขอใช้เป็นพื้นที่การเกษตร ในการปลูกพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ และประสานงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ,สำนักงานเกษตรอำเภอแม่เมาะ ได้เข้ามาวางฝังในการจัดพื้นที่ จำนวน 38 แปลง

ต่อมาในปี พ.ศ.2547 กรมส่งเสริมการเกษตรได้อนุมัติโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งฟาร์มตัวอย่างให้กับสำนักงานเกษตรอำเภอแม่เมาะ และได้เสนอพื้นที่การเกษตรบ้านใหม่นาแขมเป็นโครงการสาธิต การเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืช เลี้ยงปลา การอบรมเกษตรกร และได้มีหน่วยงานของภาครัฐ และเอกชน องค์กรชุมชนได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุน

พ.ศ.2548 ดำเนินกิจกรรมการเลี้ยงสุกรหลุม/การปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ/การเพาะเห็ด/การเลี้ยงปลา/การทำปุ๋ยหมัก/การเลี้ยงกบ/การเลี้ยงปลา

พ.ศ.2552 ดำเนินกิจกรรมการทำปุ๋ยหมักดินชีวภาพ/ปุ๋ยน้ำชีวภาพ/น้ำส้มควันไม้/การเลี้ยงจิ้งหรีด

-ขยายแปลงผักปลอดสารพิษ อีก 20 แปลง และปลูกไผ่เพื่อใช้ขยายพันธุ์ไผ่พันธุ์ดี 10 สายพันธุ์

-กิจกรรม การแปรรูป เช่น แปรรูปแหนม ,ข้าวเกรียบพืชผักสมันไพร,น้ำข้าวกล้องเพาะงอก,ไข่เค็มพอก

มีโครงการโฮมสเตย์ 5 หลัง

กิจกรรมต่างๆ ของ ศูนย์เรียนรู้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านใหม่นาแขม ตำบลแม่เมาะ
อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

—1. กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ

—2. กลุ่มแปรรูปเนื้อสัตว์แหนมหมูสายใยรัก

—3. กลุ่มเพาะเห็ด

—4. กลุ่มวิสาหกิจแปรรูปถั่วทอดสมุนไพร เบญจมาศ

—5. กลุ่มผลิตน้ำข้าวกล้องงอกเพื่อสุขภาพ

—6. กลุ่มข้าวเกรียบสมุนไพร

—7. กลุ่มปลูกผักไร้ดิน

—8. กลุ่มพ่อบ้านธนาคารไข่

—9. กลุ่มแม่บ้านถักทอฝัน

—อ.จีระ: กองทุนพัฒนาไฟฟ้าจัดสรรงบประมาณอย่างไร

คุณอริสสรา: งบประมาณปีละ 300 ล้าน จัดสรรงบประมาณกันเอง 2 ปีที่แล้ว เฉลี่ยเป็นหัวประชากร มีงบตำบลอยู่บางส่วน งบประมาณที่ได้มาจะอยู่ในช่วงมีนา เมษา

อ.จีระ: งบประมาณมีการพัฒนาหมู่บ้านอย่างยั่งยืน และทำให้บทบาทของกฟผ.แม่เมาะดีขึ้นหรือไม่

คุณอริสสรา: ทำให้ความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น

คำถาม

1. ที่ดินตอนนี้ 7 ล้าน เป็นราคาประเมิน หรือราคาซื้อขาย

คุณอริสสรา: เราไม่ได้โฉนดทันที เกิดการซื้อขายเปลี่ยนแปลง หลัง 10 ปี โอนให้กันได้ ครั้งแรก ราคาประมาณ 7 แสน ปัจจุบัน 8 ล้านต่อไร่

ศ.ดร.จีระ: ทั้ง 4 หมู่บ้าน ต้องแนะนำชาวบ้านเรื่องทุนมนุษย์ ต้องมีตัวอย่างที่ดีในหมู่บ้าน

คุณพรรณวิไล: เป็นผู้ใหญ่บ้านชุมชนบ้านซบจาง หมู่ 6 วันนี้ได้นำสินค้าของชุมชนมาขายด้วย ส่วนใหญ่เด็กจบมาใหม่ ไปสอบกลับมามีทั้งสอบได้และไม่ได้ บางคนมาทำงานประจำ อยากให้คนในอำเภอแม่เมาะทุกคนมีงานทำแบบยั่งยืน หากมีการสร้างโรงไฟฟ้า อยากให้เด็กที่จบมาสามารถเข้าทำได้เลย จากฝากกฟผ.แม่เมาะช่วยคนในชุมชนแม่เมาะด้วย ทั้งด้าน CSR ผู้นำ เข้าร่วมชุมชนทุกงาน ขอฝากให้ทำอย่างยั่งยืน ระหว่างคนในอ.แม่เมาะ คนที่อยู่รอบข้างชุมชน ได้ทำงานประจำ เด็กที่จบมาจะได้ไม่ต้องไปทำงานไกลบ้าน อีกทั้งเรื่องการเกษตร เรื่องน้ำ เป็นอุปสรรคมาก อยากให้ทุกคนได้ทำการเกษตรแบบยั่งยืน

ศ.ดร.จีระ: เด็กในชุมชนต้องตั้งใจเรียนให้ดีตั้งแต่วัยเด็ก คนในชุมชนแม่เมาะที่อยากเข้าทำงานในกฟผ. ต้องสอบ ต้องคัดเลือกเข้าไป ถ้าอยากให้ลูกอยากเข้ากฟผ. ก็ต้องเน้นวิชาช่าง หรือ วิศวะ ถึงจะตรงกับความต้องการ

2.เคยเป็นกรรมการคัดเลือกเลือกพนักงานในชุมชนแม่เมาะ ปัญหาที่พบคือ บางครั้งอายุเกิน

คุณอริสสรา: การสอบก็ต้องผ่านกระบวนการ ปัจจุบันมีกองทุนต่างๆ ซึ่งก็จะดูเรื่องการศึกษาเป็นส่วนใหญ่ ดูแลโรงเรียนในพื้นที่ตั้งแต่ประถม มัธยม และเข้าโรงเรียนวิทยาลัยสารพัดช่าง ก็มีส่วนใหญ่ที่เข้ากฟผ. แม่เมาะได้แล้ว มีทุนให้เด็กในพื้นที่ นอกพื้นที่ เด็กเรียนดี ใครที่สนใจเรียนพยาบาลมีทุนให้ 5 ทุน มีทุนโรงไฟฟ้า 300 ล้าน ก็ให้ทุนการศึกษาของเด็กแม่เมาะด้วย

คุณณัฐพงษ์ อบแก้ว: เกิดที่แม่เมาะ คนชุมชนอยู่ได้ทั้งๆที่โรงปุ๋ยเคยระเบิด ปัญหาไม่ใช่ว่าเราจะอยู่กับกฟผ.ไม่ได้ แต่อยู่ที่เราจะอยู่ร่วมกันอย่างไร ใครที่อยากจะอพยพออกก็ไม่ห้าม แต่บอกให้คิดว่าจะไปอยู่ที่ไหน และอยู่อย่างไร แต่บางส่วนก็ยังอยู่ที่เดิม บางส่วนออกไปแล้วกลับมาใหม่ก็เยอะ

คุณอำไพ ต้นศิริ ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 4 : การทำงานและกฟผ.เน้นให้ชุมชน ต้องดูว่าลูกหลานมีการศึกษาอย่างไร หากจะให้ลูกหลานเข้ากฟผ. ต้องเรียนด้านให้ตรงกับความต้องการของกฟผ. หากเรียนดี ก็สามารถทำงานที่ไหนก็ได้

กลุ่มเยาวชนได้งบประมาณกองทุนไฟฟ้า

ถนนหลักได้งบจากกฟผ. 7 ล้าน เพื่อสร้างถนนให้ดี หากไม่พอก็อาจจะมีความจำเป็นต้องขอเพิ่ม

อยากให้มีแรงงานในหมู่บ้าน จัดตั้งกลุ่มแรงงาน มีสนามกอล์ฟ แม่บ้านที่อยู่ที่บ้านมีน้อยมาก ส่วนใหญ่ได้งานประจำ ทุกคนหากเป็นคนพื้นเพ จะไม่มีปัญหา เนื่องจากเรามีอ่างเก็บน้ำ มีสิ่งปฏิกูล สิ่งตกค้าง ก็ต้องได้รับการพัฒนา ทำอย่างไรให้อ่างเก็บน้ำสวยงามเหมือนเดิม

อนาคตต้องมีแหล่งเรียนรู้มากขึ้น ต้องมีการปรับภูมิทัศน์ มีการทำปุ๋ยให้ชาวบ้านให้ใช้กัน

การขุดรอกครั้งนี้หากสำเร็จ จะนำน้ำผันไปใช้ในการเกษตร

คำถาม

1. ช่องทางการติดต่อสื่อสารมีอุปสรรคอย่างไร

คุณอำไพ: เรื่องอ่างเก็บน้ำ ส่วนหนึ่งต้องผ่านกฟผ. เทศบาล นายอำเภอ ทางจังหวัด หากเกินกำลังชุมชนแม่เมาะ ต้องปรึกษาทางจังหวัดด้วย จะมีกลุ่มจิตอาสาให้ความร่วมมือตลอด ต้องคุยกันก่อนเพื่อไม่ให้มีความเข้าใจผิดกัน

2. ชุมชนที่อยู่ดั้งเดิมมีปัญหาหรือคนภายนอกมีปัญหากับโรงไฟฟ้า

คุณอำไพ: คนภายนอกที่เข้ามาไม่มีปัญหาอะไร แต่บางคนที่มีปัญหาจะเข้ามาคุยกับผู้ใหญ่บ้าน แต่จะไม่ล้ำเส้น บางกลุ่มที่ต้องการเข้าไปพบกับกฟผ. ก็มาหาผู้ใหญ่ เพื่อเข้าไปคุยกับกฟผ.

3. เป้าหมายของชุมชนเป็นอย่างไร และคุณภาพชีวิตของคนเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร

ถ้าวันนี้ล้มเลิกโรงไฟฟ้าแม่เมาะจะเป็นอย่างไร

คุณอริสสรา: ลดรายจ่ายในครัวเรือน ดูเศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญ ถ้ากฟผ.ไม่อยู่ในวันนี้ต้องเตรียมพร้อมเรื่องการท่องเที่ยว มีภูเขาไฟจำปาแดง มีมหกรรมสงกรานต์เมืองแม่เมาะ ซึ่งเป็น Unseen เมืองแม่เมาะ เรื่องวัดต้องหาหลวงพ่อองค์ดังๆสักองค์หนึ่ง ที่เชื่อมโยงกับศูนย์การเรียนรู้

หาก 25 ปี ข้างหน้า ต้องสร้าง Unseen เมืองลำปาง สร้างให้คนเข้ามา เพื่อให้มีอาชีพเพิ่มขึ้น

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ก็สามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวได้

คุณอำไพ: ถ้าไฟฟ้าหมดไปจะทำอย่างไร จะบอกว่าถ้าแหล่งน้ำดี การเกษตรก็อยู่ได้ ต้องพึ่งพาตัวเอง ต้องทำให้อาชีพการเกษตรยั่งยืน ขอให้มีแหล่งน้ำเพราะได้งบกองทุนบ้านของเรา ขุดเจาะน้ำบาดาลจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เพื่อเสริมให้ชาวบ้านปลูกพืชอย่างอื่นนอกจากข้าว เพื่อส่งเสริมรายได้ด้วย

สามารถผันเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ เช่น ชมรมดูนก

4. พื้นฐานทางจิตใจนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ชุมชนรู้หรือไม่ว่ามีผลกระทบอะไรบ้างที่มีโรงไฟฟ้าอยู่ใกล้

คุณอริสสรา: เน้นธรรมะเพื่อให้คนมีจิตใจที่ดีขึ้น มีกิจกรรมตักบาตร ให้ทุกคนรักษาศีล 5

คุณอำไพ: ขอความร่วมมือเมื่อมีประเพณีดั้งเดิม ขอให้ลดละเลิกสิ่งที่ไม่ดี ต้องเริ่มต้นสิ่งต่างๆของหมู่บ้าน

งบประมาณที่ได้จากกองทุนพัฒนา เข้าหมู่บ้านแล้วให้ชาวบ้านเสนอเป็นประชาคมเสนอว่าจะเอางบไปแจกแจงเป็นส่วนๆ ต้องเอาเข้าแผน

คุณพรรณวิไล: กองทุนที่ได้จากกฟผ.แม่เมาะ ทำถนนซึ่งเป็นทางผ่านของตำบลอื่น ทุกคนในชุมชนแต่ละคณะกรรมการในหมู่บ้าน ต้องเป็นตัวแทนแต่ละกลุ่มขึ้นมาตำบลละ 5 แสน หมู่บ้านได้หมู่บ้านละ 55,000 บาท กฟผ.ตั้งกองทุนพัฒนาแม่เมาะ พัฒนาผู้สูงอายุ เน้นการศึกษา

คุณณัฐพงษ์: เป็นสิ่งที่ดีกับชุมชนแม่เมาะ ที่มีกองทุนพัฒนาแม่เมาะ

5. ประเด็นที่ผู้ใหญ่บ้านหมู่อื่นต่อต้านกฟผ.เป็นอย่างไร

คุณอริสสรา: หมู่ 6 ต้องการอพยพ ไปอยู่ฉลองราช แต่บางกลุ่มไม่ออกจากแม่เมาะ เพราะมีเทศบาลและมีงบประมาณสูงกว่าอำเภออื่น

คุณณัฐพงษ์: มีทั้งคนที่อยากไปและไม่อยากไป ปี 40 มีการอพยพครั้งหนึ่ง สมัยนั้นใครจะไปหรือจะอยู่ก็ได้ วิถีชีวิตเมื่อจะต้องย้ายไปที่ใหม่จะดีหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องง่าย

อ.จีระ: EADP รุ่น 11 ต้องกระเด้งไปที่ประโยชน์ เพื่อให้เข้าสู่ชุมชนอื่น ขอให้เรื่องที่ทำทำอย่างต่อเนื่อง ต้องร่วมมือกันหลายฝ่ายทั้งผู้ว่า ชุมชน นักธุรกิจ ต้องมีตัวละครต่างๆเพิ่มขึ้น นักวิชาการที่หวังดีกับเรา ขอให้ผู้ใหญ่บ้านทั้ง 4 คน ร่วมมือกันแบบนี้ตลอดไป

สรุปการบรรยายหัวข้อ

หัวข้อ Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน

โดย นายมงคล สุกใส

รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง

สมชาย ติวะตันสกุล

ผู้บริหารของ กฟผ.

นายอนุวัตร ภูวเศรษฐ

ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดตอนเหนือ 1

นางอริสสรา เครือบุญมา

ผู้ใหญ่บ้านใหม่นาแขม หมู่ 7 ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง

นายอินปั๋น อุตเตกุล

ผู้ใหญ่บ้านข่วงม่วง หมู่ 8 ต.นาสัก อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง

นางสาวกชพร สดเมือง

รองผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการกฟผ.แม่เมาะ

ว่าที่ร.ต.เกรียงศักดิ์ ฉลาด

วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการกฟผ.แม่เมาะ

ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปราย โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

18 มีนาคม 2558

นายมงคล สุกใส: กฟผ. แม่เมาะ 50 ปี scg 30 ปี และของปตท. มีการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ มีพลวัตของตัวเอง กฟผ.เป็นองค์กรที่ใหญ่ที่สุดในแม่เมาะ ในช่วงแรกการดำเนินธุรกิจมีปัญหาเรื่องชุมน แต่ได้รับการคลี่คลายได้รับการฟ้องร้องหลายครั้ง แต่กฟผ.ได้ทำงานร่วมกับต่างจังหวัดทุกเรื่อง ผู้ว่าแต่ละท่านมีการกำหนดนโยบายไม่เหมือนกัน ต้องบูรณาการกับภาคเอกชน

ในการดำเนินการเพื่อประชาชน องค์กรธุรกิจเหล่านี้จะมีส่วนร่วมทุกเรื่อง ทั้งเรื่องการท่องเที่ยว กฟผ.มีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนทั้งยุทธศาสตร์ที่ต้องดำเนินการไป และผลที่เกิดขึ้น เรื่องวัฒนธรรมและการดูแลประชาชนที่แม่เมาะ สิ่งที่บางคนหรือบางหน่วยงานจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยเป็นเรื่องปกติ

ส่วนใหญ่เป็นมิตรกับกฟผ.แต่บางทีขอให้คิดว่าไม่มีใครที่จะได้ไปทั้งหมด เป็นเรื่องธรรมดา

คุณพิชญ์ภูรี: เป็นความได้เปรียบของกฟผ.ว่ามีเครือข่ายที่มีความสัมพันธ์มาอย่างยาวนาน กฟผ.ให้ความสำคัญกับชุมชนค่อนข้างมาก

นายอินปั๋น: ดีใจที่ทางกฟผ.เชิญมาบรรยาย เรื่องสาธารณูปโภคต้องใช้งบประมาณ แต่เรื่องการพัฒนาคนเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

พนักงานกฟผ.กับชุมชนต้องมีความเข้าใจในการอยู่ร่วมกัน การคบค้ากับบุคคลของชุมชนเป็นเรื่องยาก โดยส่วนมากผู้ใหญ่ดูแลลูกบ้านก็เข้าใจยากพอสมควร ให้มีความคิดไปทางเดียวกันต้องใช้เวลานานพอสมควร การพัฒนาบุคคลขั้นแรก คือ การเข้าใจและเข้าถึงชุมชน ทางฝ่ายบริหารกฟผ.หรือ ทางองค์กรจิตอาสาอยากให้ทำงานเชิงรุกกับชุมชนมากขึ้น เพราะชุมชนมีความหลากหลาย บางคนไม่เคยพักในหมู่บ้าน เพราะตอนเช้าต้องเข้าป่า บางคนทำงานในพื้นที่ของโรงไฟฟ้า ความหลากหลายของคนสูงมาก ดังนั้นผู้บริหารกฟผ.ต้องทำงานเชิงรุกและเชิงรับมากขึ้น แต่บางชุมชนมีความเข้าใจยาก เท่าที่มีการร่วมงานกันมาค่อนข้างดีมาก ผู้อำนวยการทำงานหามรุ่งหามค่ำ มีความท้าทายมากจนหลายชุมชนให้การยอมรับ เป็นผู้บุกเบิกและมีความมานะสูงจริงๆ

นางสาวกชพร: วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการกฟผ.แม่เมาะเดิมชื่อว่า วิทยาลัยเทคนิค กฟผ. แม่เมาะ ซึ่งจัดตั้งตามโครงการความร่วมมือของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในปี 2546 โดยการจัดการศึกษาและบริหารงานเสมือนเป็นสาขาของวิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง สถานศึกษาได้รับงบประมาณสนับสนุนที่ดินสิ่งก่อสร้าง และด้านครุภัณฑ์การศึกษา จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 372,470,600.00 บาท ซึ่งประกาศจัดตั้งเป็นสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2551 โดยใช้ชื่อว่า "วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ กฟผ. แม่เมาะ"

ในปีการศึกษา 2553 วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ กฟผ. แม่เมาะ เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรมและประเภท วิชาพาณิชยกรรม จำนวน 6 หลักสูตร คือ ระดับ ปวช. เปิดสอน 5 สาขางาน คือ สาขางานยานยนต์ สาขางานไฟฟ้ากำลัง สาขางานเชื่อมโลหะ สาขางานการบัญชี และสาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ระดับ ปวส. เปิดสอน 2 สาขา คือ สาขางานเทคนิคยานยนต์และสาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ สถานศึกษามีนักเรียน นักศึกษา จำนวน 698คน มีบุคลากรจำนวน 49 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ 1 คน ครูประจำ (ช่วยราชการ) จำนวน 6 คน ครูประจำ (ครูผู้ช่วย) 7 คน ครูอัตราจ้าง จำนวน 20 คน สถานศึกษามีความร่วมมือกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ ในการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรทวิภาคี และในปีการศึกษา 2553 จะมีผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. ใน 5 สาขางาน คือ สาขางานยานยนต์ สาขางานไฟฟ้ากำลัง สาขางานเชื่อมโลหะ สาขางานการบัญชีและสาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ และผู้สำเร็จการศึกษาระดับ ปวส. 1 สาขางาน คือ สาขางานเทคนิคยานยนต์ รวมทั้งหมดจำนวน 158 คน

นายอนุวัตร: ภาคเอกชนเป็นลูกค้ารายใหญ่ของกฟผ. และกฟภ.ลำปางให้น้ำหนักเศรษฐกิจที่แม่เมาะมาก ประเด็นสำคัญที่ทำให้ธุรกิจมาลงทุน เช่น เซนทรัล โฮมโปร

แหล่งผลิตอยู่ในลำปาง ฉะนั้นความมั่งคงน่าจะมีมากกว่าพื้นที่อื่น สมัยก่อนกฟผ.เป็นจำเลย ไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม แต่ปัจจุบันสามารถรักษาสิ่งแวดล้อมและพร้อมที่จะดูแลตลอดไปทั้งด้าน CSR และแง่ของการลงทุน

แม่เมาะให้การสนับสนุนกิจกรรมของจังหวัดมาก ทั้งการท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นให้เกิดการรับรู้และการท่องเที่ยว เรื่อง Mini Marathon อยากให้กฟผ.จัดสักครั้งซึ่งอยู่ที่นโยบายของส่วนกลางจึงขอฝากประเด็นไว้

กฟผ.ร่วมพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ น่าจะสูงเป็นอันดับหนึ่ง คาดหวังและขอร้องว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นผู้จัดซื้อจัดจ้าง และระบบสรรหาพนักงานมีระบบท้องถิ่นเข้ามากหรือไม่

การกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอย รายได้ประมาณ 400000-500000 ต่อคน/ปี ทำให้เศรษฐกิจลำปางเติบโตได้

โครงการสร้างโรงไฟฟ้าทดแทน 30% เป็นค่าจ้างค่าตอบแทน เงิน 1 หมื่นล้านหากอยู่ในลำปางจะเป็นการกระตุ้นได้อีกมากมาย ทำให้สถาบันการศึกษาเติบโตตามมา

เมื่อก่อนมีสายการบินบางกอก แอร์เวย์อย่างเดียว จึงไม่น่าจูงใจ แต่ปัจจุบันมีนกแอร์แล้ว ต่อไปมีโครงการขยายสนามบิน และรองรับ 600-700 คนต่อชั่วโมง

สิ่งที่แม่เมาะยังไม่ได้ทำ และขอเป็นข้อเสนอ ปัญหาวิกฤติของลำปางคือไฟป่า ซึ่งเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโดยตรง

คุณสมชาย ติวะตันสกุล: อยู่แม่เมาะ 2523 ต้องปรับเปลี่ยนการบริหารมุ่งหน้าที่จะพัฒนากระแสการผลิตเพื่อรองรับเศรษฐกิจของประเทศไทย ปี 2535 มีรัฐธรรมนูญเปลี่ยนไปสิทธิของชุมชนเพิ่มขึ้น หากมองในนโยบายความมั่งคงของประเทศ และอยู่ในชุมชนต้องอยู่ในจังหวัดให้ได้ หากไม่ให้ความสำคัญคงไม่ราบรื่น เพราะไม่มีความมั่นคง ต้องคิดว่าทำอย่างไรถึงจะพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม หลังจากนั้นปี 2539 กำหนดแหล่งที่ทำให้เกิดมลภาวะ ซึ่งหมายถึงแหล่งอุตสาหกรรมทั้งหมด สิ่งต่างๆที่เป็นปัญหาต้องแก้ไขและต้องดูตามกฎหมายด้วย

ความรู้สึก กระบวนการความเชื่อของแต่ละชุมชนเป็นอย่างไร จะเห็นภาพว่าการศึกษาข้อมูลเกิดจากชีวมวล ท่อไอเสีย และเกิดจากการทำถนน กฟผ.ต้องให้ความสำคัญในแต่ละพื้นที่ สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นมันผ่านไปแล้วในเวลา 15 ปี

ต้องไม่ทำร้ายและมีความจริงใจในการพัฒนา หากเข้าใจในบริบทต้องเข้าใจระเบียบคำสั่งต่างๆของผู้ว่าแต่ละยุคสมัย เราเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้จังหวัดลำปางมีศักยภาพ และต้องดูว่า GDP ของจังหวัดเติบโตขึ้นหรือไม่ รายได้ของจังหวัดต้องดูเรื่องภาษีรถยนต์ ภาษีโรงเรือน การลงพื้นที่ต้องมีความจริงใจ และต้องทำให้ชุมชนมีความเจริญก้าวหน้าต่อไป แนวความคิดเปลี่ยน การกระทำเรื่องการพัฒนาก็ไปได้

หากคิดว่ากฟผ.มีผลกระทบต่อชุมชนตลอดก็ไม่มีการพัฒนา

กระบวนการความมั่นคงของประเทศชาติมีความจำเป็น ขอฝากให้ทุกคนทำงานให้ชุมชน เข้าใจเข้าถึงกัน

เรื่องการวิ่งมาราธอนก็จะกลับไปคิด และต้องดูว่าสิ่งที่จะทำต่างๆจะเป็นไปได้ขนาดนั้น ชาวต่างชาติจะเข้ามามีส่วนร่วมได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เราอยากให้เกิดกัลยาณมิตรเพื่อให้เกิดการพูดคุย เกิดความดี ความงามให้ซึ่งกันและกัน

ศ.ดร.จีระ: เมื่อเช้า 2 กลุ่ม คือ กฟผ.และชุมชน ตอนบ่ายมีตัวละครเพิ่มขึ้นอีก 3 กลุ่ม มองภาพกว้างมากขึ้น แบ่งเครือข่ายออกเป็นหลายกลุ่ม ชุมชนเป็นกุญแจสำคัญ หากมีตัวละครเพิ่มขึ้น และทุกฝ่ายเข้าใจ

การที่มีตัวละครมากขึ้นจะทำให้เรามีพลังให้เราดูแลชุมชนมากขึ้น เราจะได้ประโยชน์เพื่อให้เรามีความหวัง เครือข่ายอยู่ในทฤษฎี 8K5K เป็นทุนที่ไม่ต้องลงทุน แต่เราต้องรู้จักเขา ให้เกียรติ มีการเจรจาต่อรอง และต้อง win win

เครือข่ายต้องมาก่อนและจะดึงเอาตัวละครมาได้จริงหรือไม่

เครือข่ายนำไปสู่ความสำเร็จ ไปสู่ Capacity building ได้หรือไม่

เมื่อสามารถสร้างศักยภาพแล้ว ต่อไปก็จะมีความยั่งยืน ซึ่งประโยชน์วันนี้เป็นประโยชน์แบบอ้อมๆ และประโยชน์จะนำไปสู่ชุมชนด้วย

ถ้าเราสามารถมีตัวละคร และมีแนวคิดทิศทางไปในเป้าหมายเดียวกัน วันหนึ่งอุปสรรคเหล่านั้นต้องเอาชนะได้

นางสาวกชพร: สิ่งที่ให้กับทางชุมชนของกฟผ. ขอฝากว่าสาขาเฉพาะทางขอให้เปิดโอกาสให้กับเด็กแม่เมาะให้มีโควต้าบ้างเพื่อเป็นการลดconflict

ว่าที่ร.ต.เกรียงศักดิ์: วิทยาลัยเราเป็นตัวอย่างที่ดี มีเครือข่ายในประเทศหลายเครือข่าย 11 แห่ง ที่อยู่รอบโรงไฟฟ้ากฟผ.ทั่วประเทศ มีการฝึกงานแบบทวิภาคี ช่วงปิดเทอมจะฝึกไม่ต่ำกว่า 2 เทอม ต้องให้ความเข้าใจที่ถูกกับลูกหลาน

คุณสมชาย: เราต้องทำให้เป็นโมเดลที่คนจบมาแล้วทำงานได้เลย การสอบใช้พื้นฐานเดียวกันทุกประเทศ คนพื้นที่ในจังหวัดลำปางเป็นตัวตั้ง หรืออยู่ในโซนภาคเหนือในการรับเข้าทำงานกับกฟผ.แม่เมาะ ซึ่งอยู่กับอัตรากำลังคนด้วย

นางอริสสรา : เราต้องเข้าใจเข้าถึงชุมชน และมีการแบ่งกลุ่มชุมชนเข้าเยี่ยมกฟผ.

ส่วนการพัฒนาความเป็นอยู่เรื่องการท่องเที่ยว ได้ประโยชน์มากมีบ้านพักโฮมสเตย์ มีกลุ่มอาชีพต่างๆมากขึ้น

คุณมงคล: ลำปางเป็นจังหวัดที่ไม่เหมือนใคร เรื่องการคิดค่าไฟนั้น ไม่นานหลังการปฏิวัติ คิดคอนเซปว่าใช้ไฟเท่าไหร่ ก็จะมีคูปองส่วนลดให้ แม่เมาะเป็นอำเภอที่ไม่ใหญ่ แต่ยิ่งใหญ่เพราะกฟผ. การทำงานให้สำเร็จต้องมีเพื่อนมาก และเข้าถึง ต้องคัดคนที่มีวิสัยทัศน์ที่ดี โลกทัศน์กว้างเข้าทำงานกฟผ.

ในเรื่องของการทำ CSR ของกฟผ. ทั้งเรื่องน้ำท่วม ภัยหนาว ไฟป่า ทางกฟผ.ต้องเอาเงินไปทำ CSR ไปให้จังหวัด เพื่อให้ท่านผู้ว่าบริหารจัดการดับไฟป่า เนื่องจากเงินจากทางภาครัฐมาช้า ไม่ทันกับการแก้ปัญหา

ผู้ที่ขึ้นมาเป็นผู้บริหารต่อไปต้องปรับเรื่องทัศนคติและต้องเปลี่ยนโลกทัศน์ด้วย

แม่เมาะมีปัญหาเรื่องการศึกษาและสุขภาพอนามัย ควรเอางบประมาณมาดูแลเรื่องนี้ด้วย ลำปางไม่เกิดการว่าจ้างงานใหม่เท่าที่ควร เพราะไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมอย่างที่ลำพูน อย่างนวนคร

ขอฝากท่านผู้ใหญ่ว่าต้องคิดการใหญ่มากขึ้น

การทำงานนอกจากจะมีเพื่อนมากต้องลงพื้นที่ด้วย เพื่อให้ได้ใจ ได้ศรัทธา และบารมีจะเกิด

กฟผ.แม่เมาะเป็นมิตรที่ดีในภาพใหญ่ของลำปาง

คุณพิชญ์ภูรี: วันนี้ได้ 2R's อย่างมาก

สรุปว่ากฟผ.ต้องจริงใจและเชื่อมั่นว่าครั้งนี้จะเป็นกรณีศึกษาให้กับผู้บริหารเป็นอย่างดี

….. อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/587474

ติดตามผลงานความคืบหน้าของงานออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรม

เพื่อพัฒนางานของ กฟผ. ครั้งที่ 2

: วิเคราะห์ 3 V ของโครงการ และหากลยุทธ์ (Strategies) เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

และวิธีการเก็บข้อมูลเชิงการวิจัยเพื่อหากลยุทธ์ในการดำเนินโครงการ

โดย อาจารย์กิตติ ชยางคกุล

18 มีนาคม 2558

กลุ่ม 2 การศึกษาเรื่องความพร้อมของบุคลากร กฟผ. เพื่อรองรับงานด้านพลังงานไฟฟ้าในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง (CLMV) เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

อ.กิตติ:

หัวข้อ: มีการสลับคำเพื่อความสละสลวยของประโยค

เรื่องสมมติฐาน ศึกษาความพร้อมของกฟผ.ว่ามีหรือไม่ในด้านการเตรียมความพร้อม ถ้ามีแล้วเหมาะสมหรือยัง

วัตถุประสงค์ไม่มีปัญหา

วิธีการวิจัย: ต้องดูว่าจะต้องสัมภาษณ์ใคร ผู้บริหารต้องระบุลงไปให้ชัด แบบเจาะจงโดยตำแหน่ง และจะต้องตอบว่ารองคนที่ 1 ปิดช่องด้านนี้ คนอื่นๆตอบด้านอื่นๆให้ครบ

ประโยชน์ที่ได้: เขียนว่าจะได้แผนด้วย อยากทราบว่าจะเขียนแผนมาด้วยหรือไม่

อ.พิชญ์ภูรี: ต้องมีความคมของโปรเจค การพัฒนาความพร้อมของบุคลากรเป็นส่วนแรกที่วางไว้ การจัดหาบุคลกรอย่างเดียวไม่เพียงพอ

กลุ่ม 3 "แนวทางการแก้ปัญหาการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าของกฟผ. โดยการก่อสร้างถนนเลียบแนวสายส่ง"

วิธีการวิจัยที่จะใช้ในการทำการศึกษาเรื่องนี้:เรื่องแบบสอบถามจะถามใคร จะสัมภาษณ์เชิงลึกกับชาวบ้านเป็นกลุ่มเดียวกันหรือไม่ ควรจะเป็นผู้นำชุมชนที่ทำระบบสายส่ง จะสัมภาษณ์ในส่วนผู้บริหารกฟผ.หรือไม่ นโยบายจะเอาจากไหนได้บ้าง ในกลุ่มคิดว่าจำเป็นหรือไม่ว่ามีมุมมองในการทำกิจกรรมในการลดการต่อต้านในแนวสายส่ง

เวลาไปสัมภาษณ์ไม่ต้องสัมภาษณ์ละเอียด แต่ต้องมองว่าผู้บริหารมีไอเดียในลักษณะนี้อย่างไร สำหรับผู้บริหารมีความเห็นต่อเรื่องนี้อย่างไร

ผู้นำมองเรื่องนี้อย่างไร มุมมองผู้นำชุมชนกับคนในชุมชนมีความแตกต่างกัน

คุณพิชญ์ภูรี: โครงการนี้เป็นโครงการที่ดี แต่คิดว่าเป็นเรื่องยาก เป็นเรื่องที่ทำสำเร็จยาก ถ้าทำตัวนี้ทำได้แต่เมื่อทำเป็นโครงการนำร่องแล้ว Scope จะแคบ ต้องคิดอะไรเผื่อไว้ว่าถ้าจะไม่ทำถนนแล้วจะทำเรื่องอะไรเป็นโครงการนำร่อง

อ.กิตติ: พื้นที่ที่ลงเราระบุหรือไม่ว่าเป็นที่ไหน จะเป็นชุมชนรอบแนวสายส่งหรือไม่

- เป็นพื้นที่อ่างทอง ไทรน้อย

อ.พิชญ์ภูรี: ต้องคิดอะไรเป็น Innovative project

กลุ่ม 6 "กฟผ.จะทำธุรกิจอะไร เมื่อส่วนแบ่งการตลาดลดลง"

อ.กิตติ: กฟผ.ควรจะทำธุรกิจใหม่ของ EGAT เพื่อพัฒนาธุรกิจใหม่ของ EGAT

สมมติฐาน เป็นแค่เรื่องของการมองว่าท่ามกลางสัดส่วนของผลิตไฟฟ้าลดลง EGAT จึงต้องหาธุรกิจใหม่ๆแล้วจะเพิ่มรายได้อื่นจากที่ไหนซึ่งต้องมาจากการรีวิว

คุณพิชญ์ภูรี: ทั้ง 5 เรื่องเอามาทำหมดไม่ทัน ควรเลือกสัก 1 เรื่อง ที่สำคัญมาทำ และนำเอางานวิจัยมาตอบโจทย์

กลุ่ม 5 แนวทางการเพิ่มผลผลิตของกฟผ.

อ.กิตติ: ตรงสัดส่วน ไม่แน่ใจว่าสามารถหาได้หรือไม่ของปีที่แล้ว

- มีข้อมูลที่แท้จริง

เราทำการเปรียบเทียบด้วยหรือไม่

- ทำไม่ลึกมาก จะเน้นที่องค์กรเรา

ปัจจัยอะไรที่ส่งผลกระทบต่อการผลิต

คาดหวังว่าจะได้อะไรกับการเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น

น้ำมัน การสื่อสาร และไฟฟ้า เป็น Infrastructure แต่ข้อต่างคือไฟฟ้า ซึ่งเพิ่ม Value ให้เราในมุมไหน

อ.กิตติ: ในสมมติฐานจะไม่ให้ใส่ชื่อทั้ง 2 บริษัท แต่ต้องอยู่ใน Methodology ในข้อที่ 5

คุณพิชญ์ภูรี: ผลกระทบในปี 2020 จากผู้บริหารควรส่งต่อไปเป็นแบบไหน

กลุ่ม 7 คนรุ่นใหม่ใน กฟผ. มีความสุขในการทำงานหรือไม่

อ.กิตติ: ปรับเรื่องหัวข้อที่เป็นคำถาม แต่พอมาอ่านเนื้อหาข้างใน เป็นไปได้หรือไม่ที่จะปรับหัวข้อนำเสนอแนวทางกฟผ.ว่าต้องทำอะไรให้มีความสุขในการทำงาน หรือ เสริมสร้างทุนแห่งความสุขและคนที่อายุงาน 3-7 ปี

คุณพิชญ์ภูรี: แบบสอบถามอย่างเดียววัดได้ไม่ครบ ต้องมีเครื่องมือชนิดอื่นด้วย

กลุ่ม 4ทัศนคติของผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. ต่อการทำกิจกรรม CSR

อ.กิตติ: ต้องวางสมมติฐานแบบกลางๆ อาจจะกล่าวว่าผู้ปฏิบัติงานของกฟผ.มีความคิดที่ไม่เข้าใจกับการทำ CSR เมื่อได้ข้อมูลต้องมา Grouping ว่าทัศนคติเป็นอย่างไร หรือาจจะกล่าวว่าทัศนคติคลาดเคลื่อน

อ.พิชญ์ภูรี: ต้องดูว่าคนทำ CSR ไม่เข้าใจ หรือจะทำตามยุทธศาสตร์อะไร หรือจะต้องมีการสื่อสาร 2 ทาง เราต้องการ Innovation project

อ.กิตติ: ต้องดูว่า EGAT มีปัญหาตรงไหน ลองเอางานวิจัยมาพิสูจน์เป็นงานวิจัย ส่วนเรื่องนวัตกรรม ถ้าสร้างจากพื้นฐานของการมีปัญหาผลงานก็จะมีปัญหา

  • กลุ่ม 1 การศึกษาประสิทธิผลจากการใช้เครื่องมือบริหารจัดการใน กฟผ.

อ.กิตติ: เครื่องมือ 10 ตัว ต้องคิดดีๆว่าไหวหรือไม่ มีในใจหรือไม่ว่าตัวไหนยังไม่ดีพอแต่ยังใช้อยู่

- บางสายงานยังไม่เอามาใช้ แต่ 10 ตัวนี้ ใช้ทั้งหมด

อ.กิตติ: ถ้าเราคิดว่า 10 เครื่องมือเอามาวิเคราะห์ได้ ต้องบอกได้ว่าจะมีข้อเสนอแนะอะไรให้กฟผ.

คุณพิชญ์ภูรี: บางกลุ่มไม่เกิด Innovation

อ.กิตติ: อยากให้ดูรายละเอียดว่าเมื่อพิสูจน์แล้วอะไรจะเหมาะกับ EGAT

สรุปการบรรยายหัวข้อ

"ธรรมชาติบำบัดปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง"

โดย พญ.ลลิตา ธีระสิริ

ณ ศูนย์บัลวี เวียงพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่

20 มีนาคม 2558

พญ.ลลิตา: ปัจจุบันนี้มีคนส่วนใหญ่ที่อยากดูแลสุขภาพอย่างยังยืน

ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย

1. โรคอ้วน

ในประเทศไทยโรคอ้วนมากเกิน 24% ดัชนีมวลกายเกิน 25 คือ อ้วน เกิน 30 เป็นโรคอ้วน

ประเทศไหนที่มีคนเป็นโรคอ้วนมากจะต้องมีงบประมาณสำหรับคนกลุ่มนี้โดยเฉพาะ

โรคที่จะตามมาเมื่อเกิดโรคอ้วน

  • -ไขมันพอกตับ อยู่ในเซลล์ตับ ทำให้ตับอักเสบ เป็นเนื้องอก

การล้างพิษตับ เป็นการช่วยได้ชั่วคราว เมื่อไม่เปลี่ยนพฤติกรรมการกินก็เป็นเหมือนเดิม

  • -เบาหวาน เมื่อกินน้ำตาลเยอะ จะดองเม็ดเลือดแดง และเส้นเลือด ทำให้ยากต่อการเลี้ยงไต ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต

2. โรคมะเร็ง

การเป็นมะเร็งของคนไทยในเพศชาย มะเร็งตับมากที่สุด 25% รองมาเป็นมะเร็งปอด 16.6% ลำไส้ใหญ่ 7.2% และต่อมลูกหมาก 2.9%

มะเร็งปอด ที่ลำปางแม่เมาะเป็นอันดับหนึ่ง อันดับสอง ลำพูน

ในเพศหญิง ปากมดลูก มาจากไวรัส HPV เต้านม ตับ ปอด

นม ที่มาจากวัวในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ใส่ฮอร์โมนมากระตุ้น ทำให้มีผลกระทบต่อเนื้อเยื่อต่อเต้านมของผู้หญิง

นม 1 กล่อง มีแคลเซียม 300 มก. แต่ปลาเล็กปลาน้อย ปลาร้า มีแคลเซียมมากว่านมมาก

พฤติกรรมการกินอาหารของคนไทย

  • -กินผักน้อยลง
  • -กินหวาน มัน เค็ม มากขึ้น
  • -กินอาหารกึ่งสำเร็จรูปประจำ
  • -กินผงชูรสมากเกินกว่าวันละ 1 ช้อนชา
  • -กินนมวัวมากขึ้น
  • -กินตามกระแสรุนแรงขึ้น

ความอ้วนเกิดจากแป้งและน้ำตาล ร่างกายจะเปลี่ยนแป้งและน้ำตาลเป็นไขมันใต้ผิวหนัง

ผลของการกินกาแฟเลือดจะไปเลี้ยงสมองน้อย ต้องควบคุมการกินของตัวเองให้ได้ หากไม่กินแล้วปวดหัว ต้องเลิกกินสักพัก เพื่อไม่ให้สมองตีบ ผลงานวิจัยบอกว่า คนที่ขับรถบรรทุกที่กินกาแฟ จะเกิดอุบัติเหตุมากกว่าคนที่ไม่กิน

แอลกอฮลอล์ ตับเผาผลาญแอลกอฮอล์ได้น้อยมาก ถ้ากินเกินปริมาณตับก็ทำงานหนัก

ระดับคอเลสตอรอลในเด็กเชียงใหม่

  • -ในเด็กไม่ควรเกิน 170

โรค แบ่งได้เป็น 2 ชนิด

  • -โรคติดเชื้อ
  • -โรคไม่ติดเชื้อ
  • โรคเสื่อม เบากวาน ความดันสูง โรคหัวใจ อัมพาต ข้ออักเสบ
  • โรคเกี่ยวกับภูมิต้านทาน

ที่มาของอนุมูลอิสระ

เกิดจากภายในร่างกาย ทั้งเมตาบอลิซึ่มในร่างกาย การกินอาหารร้อนเย็น ความเครียด บาดเจ็บทางกาย การติดเชื้อ การออกกำลังกายเหนื่อยจัด

เกิดจากภายนอกร่างกาย

เส้นเอ็นจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเหลือง ตอนอายุ 11 ปี

ที่มาของ Free radicals

  • -มลพิษ
  • -กรดไขมันไม่อิ่มตัวที่ร้อนจัดๆ
  • -อาหารปิ้งย่าง
  • -สารเคมีบำบัด
  • -ยาฆ่าแมลง
  • -รังสีเอกซเรย์
  • -สารแต่งสี แต่งกลิ่น

อะไรก็ตามที่รวมกับออกซิเจนในอากาศ จะเป็นอนุมูลอิสระ

สารต้านอนุมูลอิสระ
-
เมล็ดที่กำลังงอก เช่น ถั่วงอก

  • -เกิดจากสารอาหาร เบต้าแคโรทีน วิตามินซี วิตามินอี มีมากที่จมูกข้าว

วิตามิน เอ เบต้าแคโรทีน มีในผักใบเขียว ซึ่งดูได้จากสีของผักหากเขียวมากแสดงว่ามีเบต้าแคทีนมาก แดง และ เหลือง ฟักทอง มะละกอ แคนตาลูป และแครอท มะปราง มะม่วง

วิตามินอี ในถั่ว ข้าวกล้อง

วิตามินซี ในผักสดและผลไม้สด

คำถาม

1. วัคซีนมะเร็งปากมดลูกต้องฉีดอายุเท่าไหร่

- อายุ 12 ปี และยังไม่มีเพศสัมพันธ์

2. กลไกของกาแฟ

- ทำให้หายง่วง จะไปบลอคไม่ให้ง่วง

หากเรากินกาแฟเป็นประจำจะทำให้ชินกับเลือดที่หดเลือดที่ไปเลี้ยงน้อยสมองน้อยไม่ปวดหัว แต่เมื่อเราไม่กินเลือดไปเลี้ยงสมองในปริมาณที่เท่าเดิม แต่ร่างกายไม่ชิน จึงทำให้ปวดหัวตุ๊บๆ

3. น้ำเอเนอร์ไจซ์

ใช้ยี่ห้อแกรนเดิล ของอเมริกา ติดกับน้ำประปาที่ไหล และติดกับแทงค์น้ำเลย ราคาประมาณ 50,000 บาท

น้ำมันมะพร้าว เป็นกรดไขมันอิ่มตัว

วิธีทำอาหารแบบเอเชียดีอยู่แล้ว คือเวลาผัดแล้วเอากระเทียมใส่ไปด้วย

อาหารธรรมชาติบำบัด

คืออาการที่ถูกต้องและเหมาะสม การกินไขมัน 20% เลือกน้ำมันไม่อิ่มตัว กินคอเรสตอรอลไม่เกินวันละ 300 มล.

กินผักสด ผลไม้สด 5 ส่วนของอาหาร

กินข้าวกล้อง และข้าว แป้งไม่ขัดสี

กินเนื้อสัตว์พอสมควร

กิจกรรมแนะนำ

  • -อาบแดดสุขภาพจะดีไม่ดี ขึ้นกับอุณหภูมิร่างกาย เมื่อเราเป็นไข้ ร่างกายจะกระตุ้นเม็ดเลือดขาวให้ทำงานมากขึ้น เพื่อทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายเพิ่มขึ้น
  • เวลาเช้า แดด8.30-10.00 น. แดดเย็น หลัง 16.00 น.
  • นุ่งห่มให้น้อยที่สุด
  • ทาตัวด้วยน้ำมันมะกอก
  • เอาใบตองคลุมตัว เพื่อป้องกันรังสียูวี และอินฟาเรดให้มากที่สุด นอนหงาย 15 นาที นอนคว่ำ 15 นาที
  • ผลของการอาบแดดใต้ใบตอง
  • 1. เลือดลมเดินดีขึ้น
  • 2. ความร้อนจากแดดที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาว
  • 3. หัวใจเต้นเร็วขึ้นเล็กน้อย คล้ายกับการออกกำลังกาย ทำให้กระปรี้กระเปร่า และผู้ป่วยฟื้นตัว
  • -อบสมุนไพรอุณหภูมิ ประมาณ 30 องศาเซลเซียส
  • อบ 5-10 นาที แล้วอาบน้ำสลับ 3 รอบ
  • ส่วนใหญ่ทำหลังคลอด มีสมุนไพรยาบำรุงหัวใจ ประเภทเกสรห้า พิมเสน การบูร น้ำมันหอมระเหย ฟ้าทะลายโจร หากมีเสมหะมาก
  • -ซาวน่าอุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส
  • อบ 3-5 นาที แล้วสลับอาบน้ำให้ตัวเย็น 3 รอบ ห้ามอยู่นานเกินไป สมองจะขาดเลือด
  • ผลของซาวน่าและการอบสมุนไพรสลับกับการอาบน้ำเย็น
  • 1. ในที่ร้อนเลือดจะออกไปที่ผิวหนัง ในทีเย็นเลือดจะกลับเข้าสู่อวัยวะส่วนกลาง ทำให้อวัยวะภายในได้รับเลือดใหม่ไปเลี้ยงเป็นระยะๆเป็นการลดการอักเสบ หรือโรคภายใน
  • 2. ความร้อนจะเพิ่มประสิทธิภาพเม็ดเลือดขาว
  • 3. เป็นการบริหารอวัยวะภายในให้แข็งแรง
  • 4. ให้ความกระปรี้กระเปร่าสดชื่น และผ่อนคลาย
  • -การออกกำลังกายในน้ำ

แรงลอยตัวของน้ำจะช่วยลดน้ำหนักตัว

น้ำลึกระดับอกจะช่วยลดน้ำหนักตัวได้ถึง 70%

น้ำทำให้คลายร้อน

สนุกกว่าเนื่องจากเป็นรูปแบบของการออกกำลังกายแบบใหม่

มีอุปกรณ์การออกกำลังกายในน้ำเพิ่มความแปลกใหม่สามารถใช้เป็น weight training ได้ด้วย

การออกกำลังกายในน้ำเหมาะสำหรับ

  • -การลดน้ำหนัก
  • -ผู้สูงอายุ
  • -ผู้มีปัญหาเรื่องข้อเข่า
  • -ผู้ที่มีปัญหาด้านสมอง

คำถาม

1. การล้างผักที่ถูกวิธีควรล้างอย่างไร

- ควรใช้ผงถ่านกำมันล้างผัก ใส่น้ำแล้วแช่ 15 นาที จะจับสารเคมี แล้วนำไปล้างน้ำสะอาดอีกที หากจะปลูกผักเอง ควรปลูกผักบุ้ง เพราะปลูกง่ายที่สุด

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการ

http://www.naewna.com/politic/columnist/17528

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม 2558 หน้า 5

<p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> หลักสูตร EADP รุ่น 11 กับการเดินทางสร้างปัญญา </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> 17-20 มีนาคม 2558 </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> ผมตั้งชื่อเรื่องนี้เพราะมันเป็นความรู้สึกเช่นนั้นเริ่มจากการเดินทางไปล่องเรือทัศนศึกษา สามเหลี่ยมทองคำ (ไทย พม่า ลาว) ทำให้นึกภาพความร่วมมือที่จำเป็นที่จะใช้ประโยชน์จากสายน้ำแห่งชีวิต หรือแม่น้ำโขงนี้ หลังจากได้ฟังเรื่องราวผลกระทบจากการสร้างเขื่อนของจีนที่มักจะเก็บน้ำไว้ โดยคนท้ายน้ำเดือดร้อน พรางก็คิดต่อยอดว่าทำอย่างไรจะใช้พื้นที่แห่งนี้ เป็นสนามค้าหรือเศรษฐกิจพิเศษที่เป็นประโยชน์ร่วมที่จีนก็ต้องตระหนัก เช่น ใช้แม่น้ำโขงเป็นช่องทางหลักในด้าน Logistics จากจีนมาบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งเป็นประโยชน์ด้านการระบายสินค้าของจีนมาสามประเทศและสามประเทศไปจีน โดยที่จีนยังต้องระบายน้ำมาเพื่อเดินเรือตลอดเวลาหากเป็นอย่างนี้ได้ แม่น้ำโขงก็จะมีน้ำมาหล่อเลี้ยงตลอดเวลา และเพิ่มช่องทางการค้าได้อีกด้านหนึ่ง </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> จากนั้นได้ไปเยี่ยมชมศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมัน และพืชน้ำมัน ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทำให้รู้ซึ้งถึงพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์มีต่อพสกนิกรชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้นอกเหนือจากประโยชน์ของชาน้ำมันนานัปการก่อนจะเข้าพักแรมที่ศูนย์ฝึกอบรม กฟผ.แม่เมาะ </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> สิ่งที่เรียนรู้เพิ่มเติมจากอาจารย์ ศ.ดร.จีระหงส์รดารมภ์ คือท่านอายุกว่า 70 ปี มีสิ่งที่ท่านทำไม่เคยขาดคือ ออกกำลังกายทุกเช้า ออกกำลังกายไปก็ได้เรียนฟรีจากครูไป กำไรจริงนะจะบอกให้ได้ทั้งกาย และสมอง และทุกวันที่เดินทางไปผมก็มีโอกาสได้ออกกำลังกายตอนเช้ากับท่านทุกวันมันตอกย้ำแนวคิดที่ว่า “หากร่างกายเราไม่แข็งแรง เราก็ไม่สามารถดูแลคนที่เรารัก หรือคนอื่นได้ และบางทีอาจกลายเป็นภาระของผู้อื่นก็ได้” </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> และที่ประทับใจอีกแห่งหนึ่งคือ การเดินทางไปไร่เชิญตะวันครั้งแรกในชีวิต ได้พบกับพระสงฆ์ผู้เป็นปราชญ์อย่างแท้จริง หรือพระอาจารย์ ว.วชิรเมธีซึ่งได้ทำคุณประโยชน์ให้กับพุทธศาสนาและแผ่นดินไทยอย่างมิอาจประเมินได้ได้ข้อคิดที่เป็นแก่นของชีวิตมากมาย อาทิ การทำมาหากินคู่กับทำมาหาธรรม ผู้นำไม่ได้สำคัญที่ตำแหน่งแต่สำคัญที่ความเป็นผู้นำหรือภาวะผู้นำผู้นำที่ดีต้องนั่งในใจคน ไม่ใช่บนหัวคนทำตนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีความรู้จะทำให้มีบารมีของปัญญา และคำสอนอื่นๆ อีกมากมาย ที่ไม่ได้นำมากล่าวในที่นี้ และสัญญาตัวเองว่าจะต้องกลับมาใหม่อย่างแน่นอน </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> </p> <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt;"> ปัญญาที่ได้ในการเดินทางครั้งนี้ น่าจะครบทั้ง 3V สมดังเจตนารมณ์ของทีมวิทยากรอย่างแท้จริงจึงใคร่ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ และผู้ประสานงานทุกท่านที่ช่วยให้การเดินทางแห่งปัญญาครั้งนี้ประทับใจผมเป็นอย่างยิ่งครับ </p>

สรุปการบรรยายศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน

บรรยายโดย

คุณมาริสา มณีจรัสแสง

17 มีนาคม 2558

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ดำเนินการศึกษา และทดลองปลูกชาน้ำมัน จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และพืชน้ำมันอื่นๆ และได้พระราชทานพระราชานุมัติแต่งตั้ง หม่อมราชวงศ์ ดิศนัดดา ดิศกุล ให้เป็นผู้อำนวยการโครงการศึกษาและพัฒนาการปลูกชาน้ำมัน และพืชน้ำมันอื่นๆ ของมูลนิธิชัยพัฒนา ตั้งแต่ปี 2548 ต้นชาน้ำมันที่ทดลองปลูกในพื้นที่เขตเชียงราย และเชียงใหม่ มีการเจริญเติบโตดี ติดผลในปีที่ 3-4 และพบว่ามีปริมาณน้ำมันในเมล็ดชาที่ปลูกในประเทศไทย สูงถึงร้อยละ 30-35

จากนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้จัดตั้ง "ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมันอื่นๆ " เพื่อเป็นโรงงานผลิตน้ำมันชา และพืชน้ำมันอื่นๆ ซึ่งโรงงานนี้จะผลิตน้ำมันคุณภาพสูงสำหรับการบริโภค เครื่องสำอาง และยารักษาโรค นอกจากนั้นยังมีส่วนผลิต ผลิตภัณฑ์จากกากวัตถุดิบที่เหลือ เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากทุกส่วนของพืชนั้นๆ และมีพระราชดำริให้โรงงานชาน้ำมันเป็นโรงงานต้นแบบ สามารถเข้าชมได้ทุกจุดของโรงงาน มีขั้นตอนที่เข้าใจง่าย สะอาด มีการคำนึงถึงระบบสิ่งแวดล้อมแบบธรรมชาติ มีระบบควบคุมการใช้พลังงาน ให้โรงงานเป็นโรงงานที่มีรูปแบบทันสมัย สวยงามและมีสีสัน ด้านนอกทำเป็นส่วนพักผ่อนสาธารณะ เป็นจุดท่องเที่ยวที่สวยงาม และได้ความรู้เกี่ยวกับพืชน้ำมัน

คุณประโยชน์ของน้ำมันเมล็ดชา

เมล็ดชาน้ำมัน

น้ำมันเมล็ดชานั้นมีองค์ประกอบที่สำคัญทางเคมีคือมีสัดส่วนของกรดไขมันชนิดต่างๆ ในปริมาณที่ไม่ด้อยไปกว่าน้ำมันมะกอกเช่นมีมีกรดไขมันอิ่มตัวต่ำ กรดไขมันไม่อิ่มในรูปของโอเมก้า 9 สูงถึง 88% โอเมก้า 6 ประมาณ 13-28% และมีกรดโอเมก้า 3 ประมาณ 1-3% ทั้งยังมีวิตามินเอ บี ดี และอี และมี สารแคททีซินซึ่งเป็นสารต้านการเกิดอนุมูลอิสระ ซึ่งคุณประโยชน์ทางด้านโภชนาการของน้ำมันเมล็ดนั้นช่วยต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรงมะเร็ง ลดระดับมันในเลือด ลดความดัน ป้องกันการอักเสบของเนื้อเยื่อ เป็นต้น นอกจากการนำน้ำมันจากเมล็ดชามาใช้ในการบริโภคแล้ว น้ำมันจากเมล็ดชายังถูกนำไปเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางอีกหลากหลายชนิด ในประเทศญี่ปุ่นมีการนำน้ำมันจากเมล็ดชาสายพันธุ์ญี่ปุ่น (Camellia japonica) ไปใช้ในการหมักผมมาตั้งแต่โบราณที่รู้จักกันชื่อ "ทซึบากิ" (Tsubaki)

จากสรรพคุณที่มีอยู่มากมายของน้ำมันเมล็ดชานั้นสามารถเปรียบเทียบได้กับน้ำมันมะกอกที่ใช้กันมากในโลกตะวันตก ทำให้น้ำมันเมล็ดชาถูกขนานนามว่าเป็นเสมือน "น้ำมันมะกอกของทวีปเอเชีย"

ลักษณะเด่นของชาน้ำมัน

  • -รากของชามีลักษณะคล้ายกับหญ้าแฝก
  • -ป้องกันการทะลายของหน้าดิน
  • -ให้คนกับป่าอยู่ร่วมกันได้
  • -น้ำมันหมามุ่ย ปรับธาตุฮอร์โมน ประเทศไทยควรเริ่มส่งเสริมให้ประชากรเพาะปลูก
  • -น้ำมันมะรุม เป็นที่นิยมมาก ทำเครื่องสำอาง
  • -น้ำมันงาม้อน มีน้ำมันโอเมก้า 3 สูง ลดการเป็นอัลไซเมอร์ สร้างเซลล์สมอง
  • -น้ำมันเมล็ดชา เพื่อลดเบาหวาน ความดันโลหิต อัมพฤกษ์

คำถาม

1. งาม้อนปลูกเพื่ออะไร

- รับประทานในครัวเรือน เหลือแล้วขาย ตำกับข้าวเหนียวแล้วปิ้ง และกินคู่กับถั่วเน่า

- ปลูกเพื่อขายมากกว่า

- ที่มีเชียงราย และที่มูลนิธิชัยพัฒนา มีศูนย์ต่อยอดเอามาทำสบู่ใบชา ช่วยเรื่องการต้านอนุมูลอิสระ

2. เกษตรกรที่ปลูกชามีความสัมพันธ์กับโรงงานหรือไม่

- เป็น Contract farming

3. น้ำมัน 1 ขวด ใช้เมล็ดชาจำนวนเท่าใด

- 1 ขวด 250 ml

- ใช้เมล็ด 1 กิโลกรัม

การเรียนรู้จากการเยี่ยมชมชุมชนบ้านใหม่นาแขม หมู่ 7 ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ ซึ่งเป็นหมู่บ้านอพยพจากการขยายเหมือง ของ กฟผ.

1. ความเข็มแข็งของผู้นำ ถึงแม้จะเป็นผู้หญิง แต่สามารถ รวมกลุ่มกันประกอบอาชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง สร้างรายได้ที่มั่นคง เป็นชุมชนที่เข้มแข็ง มี ศูนย์เรียนรู้ และ ได้รับเลือก พศ. 2553 ศูนย์เศรษฐกิจพอเพียง

2. ผู้นำมีการสื่อสารกับลูกบ้านที่ดี มีการประชุม เพื่อบอกกล่าวเรื่องต่างๆ เป็นการสร้างความเข้าใจ

ให้ตรงกันของชุมชน

3. สิ่งที่ กฟผ. ควรปรับปรุง คือ ทราบว่า กฟผ.สนับสนุน งบประมาณ หรือสนับสนุนด้านอื่นๆ แต่ ไม่มีป้าย ปชส. ว่า สนับสนุนอะไรบ้าง ปีไหน หรือช่วยเหลือ ชาวบ้าน บริเวณนี้อย่างไร ได้แต่ฟัง ผู้ใหญ่บ้านเล่าว่า ให้โน่น ให้นี่ แต่ ไม่มี คำว่า " ............นี้ กฟผ. แม่เมาะสร้างให้พี่น้องประชาชนบ้านใหม่นาแขม เพื่อใช้เป็นประโยชน์ " ...เลยขอบ่น หน่อย

เข้านมัสการ พระมหาวุฒิชัย (.วชิรเมธี) พวกเราได้ความรู้มากมาย... จึงอยากได้ VDO วันนั้นมาก...

สิ่งที่ท่าน ว. ได้ย้ำ ผู้นำต้องรู้ 3 เรื่อง

- รู้จริง (ในงานที่รับผิดชอบ /งานหน้าที่)

- รู้ในสิ่งที่ควรรู้ (ไม่ปิดตัวแต่เฉพาะสาขาตนเอง ต้องศึกษางานด้านอื่นๆบ้าง)

- รู้ไว้ใช่ว่า เรื่องสัพเพเหระ หนัง ละคร ที่ทันยุค จะได้พูดคุยกับคนอื่นเขารู้เรื่อง

บางคนไม่สนใจ ในเรื่องเหล่านี้ บางครั้งในวงสนทนา จะพูดกับคนอื่นไม่ได้เลย

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อดูข่าวโครงการ

ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ "ดร.จีระ"

ตอน : โครงการผู้บริหาร กฟผ. EADP 11 ตอนที่ 2

ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน 2558

นายวีระพงษ์ เอี่ยมวัฒน์

2 ประเด็นโดนใจสิ่งที่ได้เรียนรู้ รวม 3 วัน และสามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานของ กฟผ.

เรื่องที่สำคัญเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องจากผลกระทบกับประชาชนรอบโรงไฟฟ้าแม่แมะซึ่งมันเกิดมานานแล้วได้มีการแก้ไขไปตามลำดับ ตามขั้นตอนของระบบราชการที่ไม่ทันการ ทำให้เกิดปัญหาสะสมมาอย่างยาวนาน กฟผ .เป็นฝ่ายผิดในสายตาของชุมชนอย่างมาก การแก้ปัญหาไม่เบ็ดเสร็จปัญหาทับถมเกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกันการเรียกร้องขยายวงกว้างออกไป มันไม่หยุดเลยขณะที่เกิดเรื่อง เป็นการแก้ปัญหาแบบราชการนั่นเอง เป็นกรณีที่ต้องปรับอย่างมากแก้ปัญหาเชิงรุกและเร็วเพราะปัญหารอไม่ได้ ต้องทำ SWOT จัดทำ KM หาปัญหาทำ AAR ใช้เครื่องมือสมัยใหม่ต่างๆใน กฟผ. ส่วนอีกประเด็นที่น่าสนใจ คือโครงการพระราชดำริศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันของพระเทพ จะเห็นว่าระบบราชการไทยไม่เดินจริงๆ เนื่องจากมีโครงการพระราชดำริมากมายทั้งที่บางเรื่องข้าราชการประจำ สามารถดำเนินงานได้ตามกระทรวงที่มีหน้าที่ส่งเสริมในด้านต่างๆ เช่น กระทรวงเกษตร พาณิชย์ สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม ฯลฯ ทั้งหมดต่างคนต่างทำไม่บูรณการกัน จึงเป็นภาระหนักของพระเจ้าอยู่หัว พระบรมสานุวงศ์ ต่างๆ รับภาระหนักเพิ่มขึ้นเนื่องจากกลไกภาครัฐไม่ทำงานเราเห็นว่าการดำเนินการแบบแยกส่วนนี้กระทรวงใครกระทรวงมัน ก็จะเกิดปัญหาดังนี้ สามารถปรับใช้ใน กฟผ. ได้โดยมี 10 สายรอง ต้องมาคุยกันว่าจะทำอะไรแบบไหนในเรื่องอะไรที่เกี่ยวเนื่องกัน ต้องทลาย SILO แต่ละสายรองให้เป็นเนื้อเดียวกัน นับว่าเป็นเรื่องที่ยากถึงยากที่สุด เบื้องต้นต้องใช้เครือข่ายแบบไม่เป็นทางการเข้ามาก่อนปรับใช้ใน กฟผ. ประเด็นที่ดีอีกอย่าคือการเยี่ยมชน ไร่เชิญตะวันและสนทนาธรรมกับท่าน ว. วชิรเมธี คนเราอยู่อย่างพอเพียงได้พิสูจน์จากที่นี่ อยู่อย่างดีมีคุณภาพ ผ่านทางการสั่งสอนของพุทธศาสนา พระธรรมค้ำจุนโลก คนเราถ้ามีธรรมะอยู่ในใจปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ย่อมนำพาชีวิตให้เป็นสุข รวมทั้งคนรอบข้างก็จะมีความสุขด้วย สามารถส่งผ่าน ชมรมพุทธ กฟผ. จิตอาสา กฟผ. โครงการแว่นแก้ว การช่วยเหลือชุมชน เพื่อนคู่คิดมิตรข้างบ้าน สนับสนุนศาสนกิจศาสนาต่างๆ ฯลฯ สามารถทำได้ และสุดท้ายจิตใจที่ดีย่อมมีอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์ ต้องส่งเสริมให้คน กฟผ. ออกกำลัง การโภชนาการที่ถูกลักษณะ ขยายที่ออกกำลังกายในทุกที่ ที่ทำได้ให้เห็นว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีมีความสำคัญ

นายวีระพงษ์ เอี่ยมวัฒน์

2.3 วันที่ 18-20 มีค.58 สรุปประเด็นโดนใจสิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรมในวันนั้นๆและการปรับใช้กับงาน กฟผ.

18 มี.ค. 2558 การดูงานชุมชน อ.แม่แมะช่วงเช้าและการอภิปรายในช่วงบ่าย การจะปรับมาใช้กับงาน กฟผ. ต้องปรับโมเดลการบริหารจัดการให้ก้าวหน้าทันสมัย ใช้แผนกลยุทธ์ 1.ต้องทำงานเป็นทีม 2.ทำงานแบบเปิดเผย ตรวจสอบได้ เพราะเรื่องไม่ดีไปไกลเพราะ Social media ส่งไปอย่างรวดเร็ว กลุ่ม NGO แบบรับเงินก็มีมาก 3.Accountability ต้องให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนในการทำงานต้องอธิบายให้ทุกคนทราบขั้นตอนต่างๆทั้งหมด และผู้นำต้องทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ไม่มีการปกปิด และจะทำให้เป็นที่รักของประชาชน ในชุมชนได้ การสื่อสารทำอย่างต่อเนื่อง อย่าให้เขากล่าวว่า กฟผ. ไม่มีเรื่องไม่เข้ามาอย่างนี้ไม่ควรทำ เข้าใจปัญหาของชุมชนอย่างถ่องแท้ ไม่ยัดเหยียดโครงการให้เขาทำ ต้องเป็นโครงการที่ประชาชนต้องการจริงๆ มีการปรึกษากันตามสมควร เรามีดีเรื่องโปร่งใสแล้วต้องทำตามที่บอกไว้ไม่เปลี่ยนแปลงการดำเนินแผนงานบ่อยๆ พูดจริงทำจริง เมื่อเราได้รับประโยชน์จากงานเราต้องมุ่งให้บริการให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนที่มีผลกระทบ ทำอย่างไรให้ได้รับบริการดีที่สุดจากเรา ต้องดูแลเอาใจใส่ให้ต่อเนื่องเพราะชุมชนอยู่กับเราตลอด มีแต่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง

19 มี.ค. 2558 การเยี่ยมชน ไร่เชิญตะวันและสนทนาธรรมกับท่าน ว. วชิรเมธี ในเรื่องการเป็นผู้นำ ต้องปรับ Attitude คือสัมมาทิฐิคือคิดดี คิดถูก ทำให้แก้ปัญหาได้ พระพุทธเจ้าเก่งมาก นำทุกเรื่องมาจัดเป็นกลุ่ม สามารถแยกเยาะไปใช้ได้ แต่คุณธรรมนั้นรวมในตัวทุกคนอยู่แล้ว หากไม่มีเมตตาโดยการมีความรักเป็นพื้นฐาน ก็จะไม่มีความกรุณา พระพุทธเจ้าสอนเรื่องอุเบกขา คือ ทำใจให้เป็นกลาง ต้องมีปัญญา เรื่องความรักหากรักมากไปก็จะกลายเป็นราคะ เพราะฉะนั้นต้องเอาอุเบกขาเข้าไปคุม ธรรมะทั้งหมดมีเหลือที่ปฏิบัติได้มี มรรค 8 โดยมี 3 ข้อ ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิต คือ ศีล สมาธิ และปัญญา สิ่งสำคัญ ต้องควบคุมจิต ต้องควบคุมสติถึงจะรักษาธรรมะได้หมด เมื่อมีธรรมะ ก็มีเมตตา การยับยั้งชั่งใจในการกระทำใดๆที่จะกระทบกับผู้อื่นๆ เอาใจเขามาใส่ใจเรา ถ้าผู้บริหาร กฟผ. มีหลักการยึดในเรื่องดังกล่าวย่อมทำให้การนำหน่วยงานเป็นไปอย่างราบรื่น สามัคคีร่วมกันทำงาน ผลงานย่อมสำเร็จ คนเก่งไม่ใช่ว่าเป็นคนดี คนดีก็ใช่ว่าเป็นคนเก่ง ต้องทำตามพระบรมราโชวาทเรื่องการส่งเสริมคนดี ได้ใช้ประโยคสุดท้ายคือ "ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ" มาใช้บริหารงานบุคคล ยกย่องให้เกียรติคนดี ผู้บริหารควรให้ความสำคัญ

20 มี.ค. 2558 รักษ์กาย ที่ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี "ธรรมชาติบำบัดปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง"

ปัจจุบันนี้มีคนส่วนใหญ่ที่อยากดูแลสุขภาพอย่างยังยืน รวมทั้งปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในประชาชนที่มีภาวะบริโภคเกิน สิ่งที่โดนใจคือของบางอย่างที่เรานำเข้าสู่ร่างกายจากการกิน การฉีด การทา อาหารเสริมต่างๆ มันไม่ใช่สิ่งที่ดีมีสารพิษประกอบทุกอย่างซึ่งเมื่อเข้าร่างกายแล้วจะค่อยสะสมในอวัยวะต่างๆ เช่น ตัด ไต ลำไส้ หลอดเลือด หัวใจ ฯลฯ ปัจจุบันคนไทยเป็นมะเร็งอันดับต้นๆของโลก ต้องส่งเสริมให้คน กฟผ. ออกกำลัง การโภชนาการที่ถูกลักษณะ ให้ความสำคัญเรื่องโรคที่เกิดจากอาหารต่างๆ การกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ตามปริมาณที่ร่างการต้องการในแต่ละวันเป็นพอ การให้ความรู้ในการออกกำลังกายที่ถูกหลักตามช่วงอายุคน ขยายที่ออกกำลังกายในทุกที่ ทำให้เห็นว่าการออกกำลังกายเป็นสิ่งที่ดีมีความสำคัญต่อร่างการอย่างมาก เมื่อคน กฟผ. ร่างการแข็งแรง โรคภัยไข้เจ็บก็มีน้อย ค่ารักษาพยาบาลก็มีค่าใช้จ่ายลดลงประหยัดงบไปได้มาก อาการของโรคบางอย่างก็ใช้ธรรมชาติบำบัดก็พอ

นายวีระพงษ์ เอี่ยมวัฒน์

2.2 การดูงานศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันของพระเทพ โครงการในพระราชดำริพัฒนาท้องถิ่นและชุมชนให้วิเคราะห์ว่าสามารถนำปรัชญาและแนวคิดของศูนย์มาพัฒนาปรับใช้กับงานทางด้าน CSR ของ กฟผ. หรือ 3V อย่างไร

โครงการพระราชดำริที่เกิดขึ้นทั่วประเทศมากกมาย จะเห็นว่าที่จริงเป็นหน้าที่ของหน่วยงานราชการต่างๆในการดำเนินการ เช่น เกษตร อุตสาหกรรมรม พาณิชย์ วิทยาศาสตร์ ฯลฯ เป็นต้น หน่วยงานต่างๆต้องมาบูรณการกันในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกัน เพื่อขับเคลื่อนให้ได้โครงการที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนในแต่ละภาคแต่ละท้องถิ่นอย่างแท้จริง ถ้ามีโครงการพระราชดำริมากกมาย แสดงว่าหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบไม่ทำงานระบบราชการหยุดต่างคนต่างทำ ประโยชน์จะเกิดกับท้องถิ่นอย่างไร ต้องให้โครงการตามพระราชดำริเดินก่อนหรือ ท่านเหนื่อยนะครับ ประเด็นนี้ถ้าจะนำมาใช้ใน กฟผ. ต้องปรับโมเดลการบริหารจัดการให้ทันสมัย ใช้ 3V เป็นตัวตั้ง คือ Value diversity สมัยนี้สังคมเป็นเรื่อง Diversify ต้องเคารพความหลากหลาย Value added เพิ่มมูลค่าของที่มีอยู่กับพัฒนาของใหม่ให้เข้ากับชุมชนและสิ่งแวดล้อมแต่ละภูมิศาสตร์ ของที่มีอากาศหนาว เย็นสามารถปลูกหรือเพาะขึ้นทดลองใช้เทคโนโลยี่สมัยใหม่เข้ามาจัดการระบบ เพื่อให้ของมีมูลค่าเพิ่มขึ้น และตัวเพิ่มตัวสุดท้าย คือ Value creation ต้นน้ำของ creation สำคัญมาก เป็นเรื่องของ Multiple choice ทำสิ่งหลายๆอย่างให้ดำเนินการไปพร้อมกัน มีตัวเลือกมากขึ้น ทำงานเป็นทีมทำงานแบบเปิดเผย ตรวจสอบได้ ไม่เบื่อหน่ายการตรวจสอบAccountability ต้องให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การทำงานต้องอธิบายให้ทุกคนทราบทุกขั้นตอน ไม่มีการปกปิด โดยร่วมกันทุกสายรอง 10 สานรอง พูดให้ชัดเจนว่าทำแล้วได้อะไร ร่วมมือกันในส่วนไหน ประโยชน์เกิดกับใคร เป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่แต่ละสายรองรับผิดชอบอยู่ เป็นการทำ CSR in procrss ให้แก กฟผ. ด้วยทางหนึ่ง

นายวีระพงษ์ เอี่ยมวัฒน์

2.1 ล่องเรือเรียนรู้ภูมิศาสตร์ วันที่ 17 มี.ค. 2558 วัฒนธรรมของกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขงสรุปประเด็นการเชื่อมโยงกับการทำงานของ กฟผ. ในอนาคตร่วมมือกับ ลาวและพม่า ร่วมมือสร้างเครือข่ายความเชื่อมโยงระหว่างประเทศและการวิเคราะห์แนวทางการสร้างกิจกรรม CSR ในระดับประเทศ

การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงสามประเทศ ลาว พม่า ไทย ปัจจุบัน กฟผ. มีการซื้อไฟฟ้าจากประเทศลาว และโครงการที่สร้างโรงไฟฟ้าในพม่าขายมายังประเทศไทย ซึ่งกำลังดำเนินงานอยู่ กิจกรรมที่สามารถทำร่วมกันได้คือการแบ่งบันทรัพยากรซึ่งกันและกัน เพราะว่าทั้งสองประเทศยังนำเข้าสินค้าจากประเทศเราอยู่ การอำนวยความสะดวกให้กันและกัน การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีซึ่งเราทำมาก่อนให้กับบุคลากรของสองประเทศที่ยังไม่ได้ทำ เช่น โครงการ DSM โครงการการจัดการด้านการใช้ไฟฟ้า โครงการฉลากเบอร์ 5 ของอุปกรณ์ไฟฟ้า กฟผ. จะทำ CSR ให้ทั้ง ลาว และ พม่า เป็นการให้เปล่า การฝึกสอนช่างเดินสายไฟแรงสูง การเดินเครื่องและซ่อมบำรุงในด้านเครื่องกลไฟฟ้า ซึ่งเรามีศูนย์ฝึกอบรมอยู่แล้ว สามารถทำเป็น CSR in process ได้ทั้งหมด ในความเก่งของที่เรามี ส่วนเรื่องพลังงานทดแทนเราสามารถไปศึกษาได้ทั้ง พลังงานลม แสงแดด ชีวมวล ฯลฯ โดยการเซ็นต์ MOU ระหว่างรัฐให้เห็นความจริงใจของ กฟผ. ได้ เพราะภูมิศาสตร์ของทั้ง 3 เทศต้องเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน

อรัญญา อมะลัษเฐียร
สรุปการบรรยายศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน บรรยายโดย คุณมาริสา มณีจรัสแสง
17 มีนาคม 2558
การเดินทางไปล่องเรือทัศนศึกษา สามเหลี่ยมทองคำ (ไทย พม่า ลาว) ประทับใจตั้งแต่การได้พบเห็นหมอกควันตามที่เป็นข่าว ไกด์เป็นมืออาชีพมีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับจังหวัดเชียงรายอย่างดีและทันสมัย การล่องเรือในแม่น้ำโขงที่เชี่ยวกราก ตื่นเต้นแต่มีความปลอดภัย ได้มองเห็นแผ่นดินและสภาพแวดล้อมของทั้งสามประเทศที่แตกต่างกัน ซึ่งมีทั้งโอกาส/ข้อจำกัดที่รอการพัฒนาไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การขนส่ง การผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ การพัฒนาระบบไฟฟ้าในพม่า ลาว ฯลฯ ซึ่งควรดำเนินการบนฐานการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนร่วมกัน
เยี่ยมชม “ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมันอื่นๆ “ ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้จัดตั้งเพื่อเป็นโรงงานผลิตน้ำมันชาคุณภาพสูงสำหรับการบริโภค เครื่องสำอาง และยารักษาโรค
18 มีนาคม 2558
เยี่ยมชุมชนแม่มาะ และ Panel Discussion หัวข้อ Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน
จากการเยี่ยมชมชุมชน รับฟังข้อมูลและความคิดเห็นของ ผญบ. ทั้ง 4 ท่าน คุณอริสสรา เครือบุญมา ผญบ.บ้านใหม่นาแขม ผญบ.พรรณวิไล จันมะโน ผญบ.ณัฐพงษ์ อบแก้วผญบ.อำไพ ต้นศิริ พบว่า กฟผ. แม่เมาะ ดำเนินงานขุด ส่งถ่านหินและผลิตไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพโดยให้ความสำคัญกับการรักษาสภาพแวดล้อม และการเป็นส่วนหนึ่งสังคมและชุมชนในแม่เมาะ ส่งเสริมสนับสนุนทั้งในด้านความเป็นอยู่ การศึกษา สาธารณสุข อื่นๆ ทำให้มีความสัมพันธ์กับสังคมและชุมชนในระดับที่น่าชื่นชม จึงเชื่อว่าทั้ง กฟผ.และชุมชนจะอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน
Networking Capital ภาครัฐมองว่า กฟผ. เป็นหน่วยงานหลักหน่วยงานหนึ่งที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของลำปางเช่น การจ้างงาน ภาษี การทำกิจกรรมร่วมกับภาครัฐและเอกชน ส่งเสริมวัฒนธรรม ส่วนผลกระทบที่เกิดขึ้นต้องร่วมกันแก้ไข ผญบ.อินปั๋น มองประเด็นการอยู่ร่วมกัน กฟผ. ต้องเข้าใจ เข้าถึง ทำงานเชิงรุกอย่างเข้มข้น ต้องมีความอดทนสูง การพัฒนาบุคคลเป็นเรื่องสำคัญภาคเอกชน มอง กฟผ. ดำเนินงานได้ดี ไม่ว่าจะเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน มีคาดหวังให้ดูแลสภาพแวดล้อมและสนับสนุนกิจกรรมของจังหวัด เสนอการคิดอัตราค่าไฟสำหรับอุตสาหกรรมให้ถูกกว่าที่อื่นเพื่อกระตุ้นการลงทุนในจ. ลำปาง ผู้บริหาร กฟผ. เน้นใช้ความจริงใจ/แก้ไข/พัฒนา เป็นส่วนหนึ่งของลำปาง สร้างพันธมิตร วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการกฟผ.แม่เมาะ จัดการศึกษาและบริหารงานเสมือนเป็นสาขาของวิทยาลัยสารพัดช่างลำปาง
กฟผ. จะดำเนินงานบรรลุผลสำเร็จตามภารกิจได้ต้องเข้าใจ ให้เกียรติ พัฒนา สร้างความไว้วางใจให้กับประชาชน สร้างและบริหาร network ให้เกิดความร่วมมือที่ดีโดยมองประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง พัฒนาและ win-win ด้วยกัน
ติดตามผลงานความคืบหน้าของงานออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานของ กฟผ. ครั้งที่ 2
วิเคราะห์ 3 V ของโครงการ และหากลยุทธ์ (Strategies) เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และวิธีการเก็บข้อมูลเชิงการวิจัยเพื่อหากลยุทธ์ในการดำเนินโครงการ โดย อาจารย์กิตติ ชยางคกุล อาจารย์กิตติและอาจารย์จ้า แนะนำ ผลักดันและให้ความเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการเชิงนวัตกรรมฯ ของทุกกลุ่มเป็นอย่างดีค่ะ โดยส่วนตัวเห็นว่า ในเวลาและทรัพยากรจำกัดทุกกลุ่มพยายามเสนอโครงการที่มี 3 V ซึ่งน่าสนใจทุกโครงการ และถ้ามีการนำไปคิดต่อยอดจะเป็นประโยชน์กับ กฟผ. อย่างยิ่ง ขอบคุณมากค่ะ 19 มีนาคม 2558 กราบนมัสการพระอาจารย์ ว.วชิรเมธี ณ ไร่เชิญตะวัน จ.เชียงราย นับว่าเป็นโอกาสที่จะไปพบท่านได้ยาก ท่านเมตตาสอนถึงภาวะผู้นำเหมือนเตรียมไว้เป็นอย่างดีในเวลาสั้นๆ ครอบคลุม แนวคิด วิธีการ ด้วยภาษาง่ายพร้อมตัวอย่างให้เห็นเช่น ผู้นำต้องรู้ลึกคือ รู้ดีในงานที่ทำมากกว่าคนอื่น รู้กว้างในเรื่องสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี ฯ รู้เรื่องที่ทันยุคทันสมัย ละคร แฟชั่น FB line เพื่อคุยกับคนทั่วไปได้ ดังนั้นผู้นำต้องพัฒนาตนเองด้วยการเรียนรู้ตลอดเวลาสอดคล้องกับ อ.จีระ ที่ให้เราอ่านหนังสือเยอะๆ ตลอดๆ พร้อมกับ หาหนังสือดีๆ มาให้อ่านด้วย และที่สำคัญท่าน ว. สอนว่าผู้นำต้องระวังคำพูดและไม่ควรพูดทำร้ายจิตใจคนอื่น สาธุค่ะ “ธรรมชาติบำบัดปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง” โดย พญ.ลลิตา ธีระสิริ ณ ศูนย์บัลวี เวียงพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ 20 มีนาคม 2558 การดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย พฤติกรรมการกินอาหารของคนไทย -> การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการทำงานอย่างสมดุล ส่วนการทำกิจกรรม อาบแดด อบสมุนไพร ซาวน่า การออกกำลังกายในน้ำ-> เข้าใจแนวคิด วิธีการ นำเทคนิคใช้ในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง สนุกสนาน สร้างความสัมพันธ์กับเพื่อน networks มากขึ้น โดยรวมเป็นทริปที่น่าประทับใจค่ะ

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่ออ่านข่าวโครงการ

http://www.gotoknow.org/posts/588684

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 9-24 เมษายน 2558

สิริลักษณ์ พงศ์จตุรวิทย์ EADP 11

วันที่ 17 มีนาคม 2558

หัวข้อ ล่องเรือทัศนศึกษาเรียนรู้ลุ่มแม่น้ำโขงศึกษาวิถีชีวิตประเทศในลุ่มน้ำโขง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

เริ่มจากเดินทางไปอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงรายจังหวัดที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย มีแม่น้ำโขงไหลผ่านกั้นกลางระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และติดกับสหภาพพม่า ล่องเรือกาสะลองคำ 2 ผ่านบริเวณสามเหลี่ยมทองคำที่เป็นเขตแดนของสามประเทศ คือ ไทย ลาว พม่า โดยมีสันดอนตรงกลาง การล่องเรือแม่น้ำโขงเรือได้วิ่งทวนน้ำไปดูสันดอนที่ตั้งอยู่ตรงกลางจุดบรรจบของแม่น้ำรวกและแม่น้ำโขง ผ่านพระพุทธนวล้านตื้อ ที่ประดิษฐานบนเรือแก้วกุศลธรรมริมฝั่ง และวนกลับไปยังฝั่งลาวที่บ้านดอนซาว ที่นี่ชาวบ้านนำของพื้นเมืองจำพวกผ้า สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์จากไม้ และ ของที่ระลึกจากประเทศลาว รวมถึงสินค้าปลอดภาษี ขายให้กับนักท่องเที่ยว ชาวบ้านส่วนใหญ่สามารถพูดภาษาไทยได้อย่างชัดเจน การเดินทางครั้งนี้มีประสบการณ์พิเศษ คือ ได้รับผลกระทบจากหมอกควันจากการเผาไหม้ป่า คุณภาพอากาศขณะล่องเรือไม่ดีมีฝุ่นละอองในบรรยากาศปริมาณสูง จนเป็นหมอกควันหนาเห็นวิวทิวทัศน์ไม่ชัด และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

การสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศสามารถทำได้หลายแนวทางเนื่องจากปัจจุบันวิถีชีวิตประชาชนได้เปลี่ยนไปจากอดีตมาก ความสำคัญในเรื่องการท่องเที่ยวระหว่างประเทศเพิ่มขึ้น ดังนั้น จึงควรมีความร่วมมือที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น การให้ความรู้ในการระวังรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมร่วมกันระหว่างประเทศ โดยเฉพาะความรู้ด้านคุณภาพอากาศเพราะการท่องเที่ยวของจังหวัดเชียงรายได้รับผลกระทบเป็นอย่างสูงจากหมอกควันไฟ และ การบริหารจัดการน้ำเนื่องจากลำน้ำโขงเป็นลำน้ำที่ไหลผ่านหลายประเทศ

ห้วข้อ ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

โดย คุณมาริสา มณีจรัสแสง

ต้นชาน้ำมันสายพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยฯดำเนินการศึกษาและทดลองปลูกมีสายพันธ์มาจากสาธารณารัฐประชาชนจีน ศูนย์วิจัยชาน้ำมันฯ ผลิตน้ำมันคุณภาพสูงสำหรับการบริโภคและทำผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องอื่นๆ เช่น เครื่องสำอาง ครีม โลชั่น น้ำมันบำรุงผิว จากการดูงานได้เห็นการพัฒนาและแนวทางการต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มจากชาน้ำมัน เนื่องจากน้ำมันเมล็ดชามีองค์ประกอบของไขมันที่ดีต่อร่างกาย และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าประโยชน์ต่อสุขภาพ

ได้เข้าใจและเห็นถึงการพัฒนาที่แท้จริงของศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมันที่จัดตั้งตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี สามารถสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้กับเกษตรกรชุมชนโดยรอบให้มีอาชีพทำมาหากิน และยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะเครื่องสำอางจากน้ำมันเมล็ดชาตราภัทรพัฒน์ เพราะว่าน้ำมันเมล็ดชาประกอบด้วยกรดไขมันที่ซึมซาบสู่ผิวหนังอย่างรวดเร็ว หาก กฟผ. จะนำแนวทางการพัฒนานี้ไปปรับใช้ ในการสร้างงานความรับผิดชอบต่อสังคมควรจะสนับสนุนและให้มีการส่งเสริมอาชีพและพัฒนาอย่างยั่งยืนครบวงจร ให้กับชุมชนรอบโรงไฟฟ้า และแสวงหาผลิตภัณฑ์ที่ชุมชนสามารถผลิตได้ด้วยตนเอง และมีความต่อเนื่องยั่งยืน โดย กฟผ. ต้องจัดตั้งทีมงานมาช่วยรับผิดชอบอย่างชัดเจน

สิริลักษณ์ พงศ์จตุรวิทย์ EADP 11

วันที่ 18 มีนาคม 2558

หัวข้อ เยี่ยมชุมชนแม่เมาะ ชุมชนบ้านใหม่นาแขม หมู่ 7 ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ

โดยผู้ใหญ่บ้านอริสสรา เครือบุญมาผู้ใหญ่บ้านพรรณวิไล จันมะโน ผู้ใหญ่บ้านณัฐพงษ์ อบแก้ว และ ผู้ใหญ่บ้านอำไพ ต้นศิริ

ชุมชนบ้านใหม่นาแขมเป็นหมู่บ้านที่ราษฎรได้อพยพมาจากพื้นที่ที่มีโครงการขยายเหมืองลิกไนต์แม่เมาะตั้งแต่ ปี 2552ปัจจุบันหมู่บ้านเป็นศูนย์กลางตลาดของชุมชน มีศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านใหม่นาแขม หมู่ที่ 7 ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ประกอบด้วยกลุ่มต่างๆ ได้แก่กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ กลุ่มแปรรูปเนื้อสัตว์แหนมหมูสายใยรัก กลุ่มเพาะเห็ด กลุ่มวิสาหกิจแปรรูปถั่วทอดสมุนไพร เบญจมาศ กลุ่มผลิตน้ำข้าวกล้องงอกเพื่อสุขภาพ กลุ่มข้าวเกรียบสมุนไพรกลุ่มปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษผักไร้ดิน กลุ่มธนาคารไข่ และ กลุ่มแม่บ้านถักทอฝัน กิจกรรมและโครงการหลายอย่างของหมู่บ้านใหม่นาแขมได้รับงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าแม่เมาะ จะเห็นได้ว่าผู้นำมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งหากหมู่บ้านนี้มีผู้นำที่มีความตั้งใจ มุ่งมั่นและมีความคิดสร้างสรรค์ มีความรอบรู้สามารถนำความรู้มาต่อยอดพัฒนาหมู่บ้านได้ และหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านต้นแบบและอยู่ห่างจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะในรัศมีที่มีโอกาสเสนอของบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าแม่เมาะมาพัฒนาประโยชน์ให้กับส่วนรวมได้

กฟผ. ได้จัดผู้รับผิดชอบดำเนินกิจกรรม CSR ประจำหมู่บ้าน เรียก กองอุปถัมภ์ ถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติงาน CSR ของผู้ปฏิบัติแม่เมาะมีการกำหนดแผนงานพัฒนาจิตอาสา ทำให้บุคลากร กฟผ. เห็นความสำคัญของการอยู่ร่วมกันระหว่าง กฟผ. กับ ชุมชน ดังนั้น กฟผ. ในเขตโรงไฟฟ้าอื่นๆ ที่มีกองทุนพัฒนาไฟฟ้า จึงน่าจะจัดกองอุปถัมภ์เพื่อที่จะได้สร้างเครือข่ายช่วยเหลือประชาชนรอบพื้นที่

หัวข้อ Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน

โดย นายมงคล สุกใส รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง

นายสมชาย ติวะตันสกุล ผู้บริหารของ กฟผ.นายอนุวัตร ภูวเศรษฐ ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดตอนเหนือ

นางอริสสรา เครือบุญมา ผู้ใหญ่บ้านใหม่นาแขม หมู่ 7 ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง นายอินปั๋น อุตเตกุล ผู้ใหญ่บ้านข่วงม่วง หมู่ 8 ต.นาสัก อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง นางสาวกชพร สดเมือง รองผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการกฟผ.แม่เมาะ ว่าที่ร.ต.เกรียงศักดิ์ ฉลาด วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการกฟผ.แม่เมาะ

โรงไฟฟ้าแม่เมาะเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง กฟผ. ซึ่งแม่เมาะมีโจทย์ใหญ่และสำคัญที่สุดคือ ต้องดำเนินการทำเหมืองลิกไนต์และผลิตไฟฟ้าควบคู่กัน โดยต้องดูแลสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพดีอย่างยั่งยืนมีความโปร่งใสในการดำเนินงาน สิ่งแวดล้อมนี้ไม่ได้หมายถึง คุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศ ด้านคุณภาพน้ำ หรือสิ่งที่เป็นธรรมชาติอย่างเดียว แต่ กฟผ. สนใจ เรื่องของคนทุนมนุษย์ด้วย เนื่องจากเป็นองค์ประกอบสิ่งแวดล้อมที่มีความสำคัญที่สุด จะเห็นได้ว่า กฟผ .ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการศึกษา และการพัฒนาที่ยั่งยืน ปัจจุบันกฟผ.แม่เมาะ เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนแล้วได้ร่วมคิด ร่วมทำ และ ร่วมพัฒนาท้องถิ่น และ กฟผ. ยังมุ่งมั่นและสร้างเครือข่ายที่เสริมพลังให้กันและกัน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคต

สิริลักษณ์ พงศ์จตุรวิทย์ EADP 11

วันที่ 19 มีนาคม 2558

หัวข้อ การเยี่ยมศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวันและสนทนาธรรม กับ ท่าน ว วชิรเมธี

ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวันตั้งอยู่ที่ บ้านใหม่สันป่าเหียง ตำบลห้วยสัก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย อยู่ในพื้นที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์มีสภาพแวดล้อมร่มรื่น ได้เห็นกิจกรรมต่างๆ หลายแบบ ซึ่งแต่ละกิจกรรมมีความหมาสำคัญ 3 ประการ คือ1. การศึกษา มีการสอน การสนทนา งานศิลปะ 2 . การเกษตรกรรม มีโรงเรียนชาวนา สอนเรื่องเกษตรอินทรีย์และ 3 . เรื่อง จิตใจ

ที่ไร่เชิญตะวันมีการจัดมุมหรือร้านที่เราสามารถร่วมทำบุญหรือสนับสนุนปัจจัยที่ ร้าน 3 ร้าน ได้แก่ ร้านห่มฟ้าดินหอม ร้านจักรวาลในถ้วยชา และ ร้านจิตตาวตาร

การสนทนาธรรม ท่าน ว วชิรเมธี ได้ให้ข้อคิดเรื่องภาวะผู้นำ คือ 1.จิตใจดี มีความเบิกบานในการรับใช้ 2. มีความรู้ (ความรู้ที่ต้องรู้/ ความรู้ที่ควรรู้เป็นความรู้ประกอบ และความรู้ใฝ่รู้ )3.ความสามารถในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ บริหารจัดการได้ดี 4.ความพร้อมด้วยการครองตัว ครองตนให้ดี 5.ใช้วาทะศิลป์ได้ดี ให้พัฒนาทักษะการพูด อย่าพูดทำร้ายคน 6. การเข้าไปในนั่งในใจคน ให้มีความเมตตา

ทั้งหมดนี้ กฟผ ควรส่งเสริมให้ทั้งผู้ปฏิบัติงาน และ ผู้บริหารทุกระดับนำไปใช้ปฏิบัติในการทำงาน

สิริลักษณ์ พงศ์จตุรวิทย์ EADP 11

วันที่ 20 มีนาคม 2558

หัวข้อ กิจกรรมรักษ์กาย-รักษ์ใจ ณ ศูนย์บัลวีเวียงพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่

โดย พญ.ลลิตา ธีระศิริ และวิทยากรประจำศูนย์ฯ

ความรู้ที่ได้รับการแนะนำเป็นเรื่องของการรู้จักใช้ธรรมชาติบำบัด และแนวทางเสริมภูมิต้านทาน ด้วยกิจกรรมวิถีธรรมชาติ และวารีบำบัด มีประโยชน์เพื่อที่เราจะสามารถดูแลตนให้มีสุขภาพดี รับการเปลี่ยนแปลงของการดำรงชีวิตประจำวันในปัจจุบัน รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของสภาพวัยและสภาพร่างกายที่มีอายุมากขึ้น

การที่ได้ทดลองกิจกรรมวิถีธรรมชาติ 4 แบบ ที่ศูนย์แนะนำมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งถือเป็นประสบการณ์ใหม่ที่ได้เรียนรู้ ได้แก่ 1.การเพิ่มภูมิต้านทานด้วยความร้อนจากการใช้ใบตองคลุมตัวเพื่อป้องกันรังสี UV นอนหงาย 15 นาที และนอนหงาย 15 นาที เหงื่อออกแต่ไม่ร้อนอย่างที่คิด 2. ซาวน่าสลับกับการแช่น้ำเย็น มีผลให้ร่างกายผ่อนคลาย 3. อบสมุนไพร 4. การออกกำลังกายในน้ำ แรงลอยตัวของน้ำช่วยลดน้ำหนักตัว สนุกและไม่ร้อน ลดปัญหาการบาดเจ็บข้อเข่า ข้อเท้า

ปัจจุบันสภาพแวดล้อมในการดำรงชีวิตในเมือง และการทำงานของพนักงาน กฟผ. ไม่ว่าจะเป็น การเร่งรีบหรือความเครียดจากงาน เราก็สามารถช่วยดูแลตนเองได้ โดยการให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพตรงกับความต้องการอย่างเหมาะสม การควบคุมอาหารและลดอาหารบางประเภทที่จะสร้างผลเสียต่อร่างกาย เช่น อาหารหวาน มัน เค็ม เป็นต้น และต้องออกกำลังกายด้วยวิธีที่เหมาะสมกับวัย

17 มีนาคม 2558ล่องเรือเรียนรู้ภูมิสาสตร์ วิเคราะห์ความเชื่อมโยง ความร่วมมือกับ ลาว พม่า

การล่องเรือลุ่มน้ำโขงไปสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อ 3 ประเทศ ไทย ลาว พม่า ได้ทราบประวัตติาสตร์ความเป็นมา เดิมมีชื่อเสียงในเรื่องการค้าฝิ่นแลกกับทองคำ เลยได้ชื่อว่าสามเหลี่ยมทองคำ การที่พื้นที่ดังกล่าวมีความเชื่อมโยงกัน 3 ประเทศ ก็เป็นเรื่องน่าคิดว่าจะบริหารจัดการอย่างไรให้เป็นประโยชน์เท่าเทียมกัน การสร้างความสัมพันธ์จึงมีความจำเป็น ในส่วนของ กฟผ.เองปัจจุบัน กฟผ.ก็ประสบปัญหาในการหาพื้นที่ใหม่ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ การสร้างโรงไฟฟ้าใหม่จะเป็นการรื้อโรงเก่าแล้วสร้างโรงใหม่ทดแทน จีงมีแนวคิดในการสร้างโรงไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งขณะนี้ กฟผ.มีการรับงานก่อสร้างและดินเครื่อง บำรุงรักษา โรงไฟฟ้าใน ลาว รวมทั้งการไปรับฝึกอบรมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าให้กับพม่า ซึ่งนับเป็นการสร้างสัมพันธือันดี การสร้างสัมพันธืดังกล่าวน่าจะเป็นประโยชน์ต่อ กฟผ.และบริษัทในเครือในนอนาคต เพื่อให้ กฟผ.และบริษัทในเครือ เข้าไปดำเนินการในส่วยที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง เดินเครื่อง บำรุงรักษาโรงไฟฟ้า แล้ว ส่งกลับพลังงานไฟฟ้าให้ไทยได้

การเยี่ยมชมศุนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมัน ประเด็นในเรื่อง CSR ควรเป็นการพัฒนาชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้ โดยมีอาชีพที่ยั่งยืน ปัจจุบัน กฟผ.น้นการทำ CSR in Process ส่วน CSR after Process ก็มีการทำ แต่มักจะเป็นการทำในรูปแบบการให้ การบริจาค เป็นส่วนใหญ่ จึงควรเน้นการทำในรูปแบบที่จะช่วยให้ชุมชนมีอาชีพที่ยั่งยืนสามารถพึ่งพาตนเองได้

18 มีนาคม 2558 เยี่ยมชุมชนแม่เมาะ

ผู้ใหญ่บ้านที่เชิญมามีความเห็นค่อนข้างสอดคล้องกันว่า กฟผ.ดูแลชุมชนดีไม่มีปัญหา ชุมชนให้ความสำคัญในเรื่องการเกษตร ถ้าทำการเกษตรได้ชุมชนก็อยู่ได้อย่างยั่งยืน การทำเกษตรต้องมีน้ำซึ่ง กฟผ.ก็สนับสนุนโดยวางท่อส่ง

น้ำให้กับชุมชนโดยรอบพื้นที่ ประเด็นสำคัญในการอยู่ร่วมกับชุมชนและเป็นที่ยอมรับ คือ ต้องมีความจริงใจ ต้อง

พูดคุยอย่างตรงไปตรงมา อย่างไรก็ตามการไปพบชุมชนในครั้งนี้ เป็นชุนชนที่ค่อนข้างมอง กฟผ.ในแง่ดี ในโอกาสหน้าอาจจะลองไปพบชุนชนที่มีข้อขัดแย้งกับ กฟผ.ดูบ้างเพื่อจะได้รับทราบข้อมูลที่อาจจะนำมาปรับแก้ไขให้เป็นประโยชน์ได้ สำหรับ Panel Discussion ทำให้เห็นภาพว่าทุกหน่วยงานมีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจลำปาง

ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันคิดช่วยกันทำเพื่อความยั่งยืน ทำให้เห็นภาพความสำคัญของการมีเครือข่ายที่ชัดเจน เพราะ

จะช่วยให้การทำงานสะดวก รวดเร็ว ทำให้สามารถขับเคลื่อนสิ่งต่างๆให้เกิดขึ้นได้ง่ายซึ่งเป็นประโยชน์ในภาพรวม

19 มีนาคม 2558 พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี

รู้สืกประทับใจในคำสอนของพระอาจารย์ ท่านได้อธิบายความหมายของผู้นำไว้ว่า ผู้นำไม่ได้ขี้นกับการแต่งตั้งหรือผู้ที่อยู่ในตำแหน่ง แต่หมายถึงผู้นำที่อยู่ในใจคน เพราะหากไม่นั่งอยู่ในใจคนแล้ว ถึงแม้จะมีตำแหน่งใหญ่โตก็ไม่มีใครเคารพเดินตาม การจะเป็นดังกล่างได้ ก็จะต้องเป็นคนที่ทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่โดยสุจริตและตรวจสอบได้และการเป็นผู้นำต้องไม่คิดว่าเป็นเพื่อเป็นเกียรติประวัติของวงศ์ตระกูลเพราะจะไม่มีประโยชน์ การเป็นผู้นำก็ควรต้องทำอะไรที่ดีๆ ให้เป็นที่จดจำ นับเป็นการให้ความหมายของผู้นำที่ชัดเจน เข้าใจง่าย หากใครปฏิบัติตามนี้ ก็จะเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างแน่นอน

20 มีนาคม 2558 ศูนย์บัลวี

ศูนย์บัลวีได้ให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพ ทำให้มีรู้ถึงความสำคัญในเรื่องการดูแลสุขภาพ เพราะถ้ามีสุขภาพดีชีวิตก็จะสุขสบาย ดังคำพังเพยที่ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ สุขภาพที่ดีขึ้นอยู่กับการบริโภค และการออกกำลังกาย เราจึงต้องบริโภคให้ถูกหลักโดยต้องบริโภคให้ครบ 5 หมู่ และออกกำลังเป็นประจำให้หมาะสมตามวัย ที่ผ่านมาไม่ค่อยได้ออกกำลังกายและกินตามใจ ต่อไปคงต้องปรับปรุงตัวเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี อีกเรื่องที่ได้รับทราบในงานวิจัยคงต้องดูด้วยว่าผู้ให้ทุนวิจัยเป็นใคร เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาว่าจะเชื่อผลการวิจัยนั้นหรือไม่

ไพฑูรย์ ตั้งจิตร่วมบุญ

17 มีนาคม 2558

เป็นการเดินทางไปล่องเรือทัศนศึกษาตามลำน้ำโขงเพื่อไปสัมผัส(ด้วยสายตา)สามเหลี่ยมทองคำ (จุดต่อระหว่าง ไทย พม่า ลาว) ได้พบเห็นหมอกควันตลอดการล่องเรือ ได้เห็นการแบ่งปันใช้สายน้ำร่วมกันระหว่างไทย ลาว และพม่า และได้รับรู้ว่าผู้ที่สามารถนำลำน้ำโขงมาใช้ประโยชน์มากที่สุดคือประเทศจีน โดยจีนได้ใช้ลำน้ำโขงเป็นเส้นทางค่าขนส่งราคาถูกขนสินค้าจากจีนมาไทย และมีการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า

ทำให้เกิดคำถามและข้อสงสัยอยู่ ๒ ข้อคือ

๑. พ่อค้าจีนใช้การขนสินค้าจากต้นทางไปยังปลายทางเพื่อสร้างมูลค่าและนำสินค้าที่เป็นที่ต้องการของต้นทางขนกลับไปเพื่อทำกำไรมาตลอดสี่พันปี ขณะเดียวกันจีนมีประชากรมากยังมีความต้องการสินค้าอุปโภคบริโภค ทำไมไทยไม่ใช้ช่องทางเดียวกันส่งสินค้าที่จีนต้องการกลับไปโดยการเปลี่ยนแนวคิดจากขายในสิ่งที่เรามีเป็นขายในสิ่งที่ลูกค้าต้องการ

๒. ขณะที่ไทยกังวลจากผลกระทบในการสร้างเขื่อนเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าของจีนว่าจะกระทบต่อปริมาณน้ำในลำน้ำโขง แต่ธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าในหน้าแล้งจะต้องทยอยปล่อยน้ำออกมาเพื่อผลิตไฟฟ้า นั่นหมายถึงว่าได้มีคนสร้างเขื่อนเพื่อปล่อยน้ำมาในหน้าแล้งทำให้มีน้ำมากขึ้นในหน้าแล้ง สำคัญอยู่ที่ว่าเราเตรียมการนำน้ำในลำน้ำโขงในหน้าแล้งมาใช้ได้อย่างไร

ไพฑูรย์ ตั้งจิตร่วมบุญ

สรุปการบรรยายศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน

บรรยายโดย

คุณมาริสา มณีจรัสแสง

17 มีนาคม 2558

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ดำเนินการศึกษา และทดลองปลูกชาน้ำมัน จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และพืชน้ำมัน ตั้งแต่ปี 2548 ต้นชาน้ำมันที่ทดลองปลูกในพื้นที่เขตเชียงราย และเชียงใหม่ มีการเจริญเติบโตดี ติดผลในปีที่ 3-4 ข้อดีของชาน้ำมันคือ น้ำมันชามีประโยชน์ หลากหลายไม่แพ้น้ำมันมะกอก สามารถเก็บผลผลิตเป็นร้อยปี และระบบรากมีคุณสมบัติช่วยยึดรักษาความสมบูรณ์ของหน้าดิน

การส่งเสริมการปลูกชาน้ำมันจะช่วยลดการย้ายถิ่นเพื่อทำการเกษตร รักษาคุณภาพหน้าดิน และเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ ปัญหาอยู่ที่โมเดลทางธุรกิจของชาน้ำมันควรจะเป็นอย่างไรเพื่อให้อัตราการขยายตัวทั้งอุปสงค์และอุปธานมากกว่าอัตราการทำไร่เลื่อนลอย

ไพฑูรย์ ตั้งจิตร่วมบุญ

วันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๘

การเยี่ยมศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวันและสนทนาธรรมกับพระมหาวุฒิชัย (.วชิรเมธี) พวกเราได้รัยบฟังความรู้และข้อคิดมากมาย โดยเฉพาะคุณสมบัติของผู้นำ

๑. ผู้นำต้องมีจิตใจดี มีความสุขจากการทำดี

๒. ผู้นำต้องใฝ่รู้และมีความรู้ทั้ง ๓ อย่าง

- รู้จริงในสิ่งที่ต้องรู้(ความรู้ในงาน ความรับผิดชอบ เกี่ยวกับการคลองตน )

- รู้ในสิ่งที่ควรรู้( รู้นอกเหนือจากงาน เช่นความเป็นไปของโลก ความรู้วิชาชีพอื่นๆ )

- รู้ไว้ใช่ว่า เพื่อให้สื่อสาร คุยกับผู้อื่นรู้เรื่อง

๓. มีความสามารถ จะต้องสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินงานหรือแก้ปัญหา

๔. ต้องมีวาทศิลป์ที่ดี

๕. ต้องครองตนให้ดี ความเข้าอกเข้าใจผู้อื่น มีเมตตา ต้องสามารถนั่งในใจคน ไม่ใช่นั่งบนหัวคน

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อดูข่าวโครงการ


ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ "ดร.จีระ" ตอน : โครงการผู้บริหาร กฟผ. EADP 11 ตอนที่ 3

ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 9 เมษายน 2558 ทางสถานีโทรทัศน์ TGN

Please click this link to read the project news.

http://www.gotoknow.org/posts/588991

Source: FIHRD-Chira Academy Newsletter Fortnightly. on 9-24 April 2015 (English Version)

-แม่เมาะ Classic Case เรียนรู้จากความผิดพลาด แก้ไขไม่มีวันจบ ชุมชนจะอยู่ได้ต้องพึ่งพาความรับผิดชอบของชุมชนเอง ปัจจุบัน การทำ CSR ร่วมเครือข่าย กฟผ. , หน่วยงานราชกาล , ผู้นำชุมชน , นักวิชาการ สามารถบรรลุความพึงพอใจระดับหนึ่ง แต่ก็ยังไม่ยั่งยืน ตราบใดที่ชุมชน ไม่คิดจะพึ่งพาตัวเอง

-โครงการพระราชดำริ เน้นให้ชุมชน ยั่งยืน พึ่งพาตัวเองได้ ซึ่งเป็นแนวทางที่ถูกต้อง

จารุพัจน์ ปุณณะหิตานนท์

สรุปสิ่งที่ได้จากบทเรียนวันที่ 17 – 20 มีนาคม 2558 ณ เชียงราย – ลำปาง – เชียงใหม่

  • จากการล่องเรือเดินทางไปบริเวณสามเหลี่ยมทองคำ วิทยากรที่ให้การบรรยายแม้ว่าจะเป็นคนในท้องถิ่น แต่นับว่าเป็นผู้ที่มีความรู้จริง สมกับอาชีพไกด์ จากการสังเกตวิถีชีวิตของประชาชนเห็นว่า แม้จะมีเขตแดนระหว่างประเทศที่กำหนดว่าเป็นประเทศไทย ลาว พม่า มีการใช้ภาษาที่แตกต่างกัน แต่ประชาชนของทั้ง 3 ประเทศก็สามารถไปมาหาสู่ ทำมาค้าขายติดต่อกันได้โดยอาศัยแม่น้ำโขง นอกจากนี้ยังมีการติดต่อขนส่งสินค้า รวมถึงการท่องเที่ยวทางเรือกับประเทศจีนซึ่งเป็นต้นน้ำของแม่น้ำโขงอีกด้วย นับได้ว่าแม่น้ำโขงได้สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย ลาว พม่า และจีน ได้เป็นอันมาก
  • ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน ซึ่งจัดตั้งขึ้นจากพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงเห็นประโยชน์ของน้ำมันเมล็ดขาซึ่งสามารถสร้างชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีให้กับเกษตรกรชุมชนโดยรอบและสุขภาพที่ดีของทุกคน นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดีให้กับประชาชนทั่วไปได้อีกด้วย ซึ่งจากการเข้าเยี่ยมชมได้เรียนรู้ในสิ่งที่ไม่ค่อยจะได้ยินมากนัก นับแต่ประโยชน์ของชาน้ำมัน การเพาะปลูกตลอดจนการนำมาทำผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง นับว่าการเดินทางเข้าเยี่ยมชมศูนย์ ฯ ครั้งนี้ได้รับประโยชน์มากจริง ๆ
  • จากการเข้าเยี่ยมชมไร่เชิญตะวัน และฟังธรรม/สนทนาธรรมกับท่าน ว.วชิระเมธี นั้น สรุปได้ว่า : ไร่เชิญตะวัน นับเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณค่า สมกับชื่อที่ว่า มหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ เพราะเป็นทั้งแหล่งเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติให้กับเกษตรกร และเป็นที่ฝึกฝนจิตใจของคนให้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมะได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ท่าน ว. ได้กล่าวถึงการเป็นผู้นำที่ดีว่า สิ่งแรกคือต้องเป็นคนที่มีจิตใจดี เมื่อเป็นคนที่มีจิตใจดีแล้วก็จะมีความเบิกบาน มึเจตน์จำนงที่ดี ที่คนจะสัมผัสได้ ต้องเป็นผู้ที่ไม่หลงตัวเอง คิดว่าตัวเป็นเป็นผู้ใหญ่ มีบารมี และเนื่องจากผู้นำต้องอยู่กับประชาชนหรือผู้ที่ต่ำต้อยกว่า ดังนั้น ผู้นำที่ดีจึงต้องเคารพประชาชน หรือผู้ที่ต่ำต้อยกว่า นอกจากนี้ ผู้นำที่ดี ควรต้องมีความรู้ 3 อย่าง คือ ความรู้ในสิ่งที่ต้องรู้ หมายถึง มีความรู้ในงานที่ทำ รู้ในสิ่งที่ควรรู้ หมายถึง ความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ประกอบ โดยการทำตนเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คือเป็นผู้ที่ใฝ่รู้ตลอดชีวิต อันนับเป็นการมีบารมีทางปัญญา เพราะคนจะเป็นผู้นำต้องมีมาตรฐานทางปัญญาและจริยธรรมที่สูงกว่าคนอื่น และอีกประการ คือ การรู้ไว้ใช่ว่า ซึ่งเป็นความรู้ในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น หนัง ละคร เพลง ฯลฯ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการทำให้เราเป็นคนมีชีวิตชีวา สามารถพูดคุยกับคนในเรื่องทั่ว ๆ ไป ได้
  • จากการลงชุมชนที่แม่เมาะ เห็นว่า กฟผ.ก็มีชุมชน/ประชาชน ที่เป็นพันธมิตร และเข้าใจในกิจการของกฟผ. ไม่ใช่มีแต่การต่อต้านเพียงอย่างเดียว และกฟผ.เองก็ได้มีส่วนช่วยเหลือในหลาย ๆ สิ่งแก่ประชาชน / ชุมชน ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง วิถีชีวิตของคนในชุมชนก็สามารถดำเนินไปได้อย่างปกติ เห็นได้จากการยินดีต้อนรับคณะของ EADP 11 และบรรยากาศการพูดคุย เสวนากับผู้นำชุมชน ตลอดจน การเยี่ยมชมแปลงปลูกผักของชาวบ้าน และขอชื่นชมกับกฟผ.ในการให้การสนับสนุนโดยเฉพาะทางด้านการศึกษาของเด็กนักเรียน นักศึกษาในพื้นที่
  • ส่วนที่ศูนย์บัลวี เชียงใหม่ นอกจากจะได้รับความรู้เกี่ยวกับอาหารและสุขภาพ ที่จะช่วยทำให้เกิด / เสริมสร้างสุขภาพที่ดีและเป็นประโยชน์แก่ตนเองแล้ว ยังได้รับความสนุกเสนาน เพลิดเพลินจากการฝึกปฏิบัติ ทั้งการ Exercise บนบกและในน้ำ การอาบแสงตะวัน ซาวน่าอบสมุนไพร อีกด้วย
  • สรุป การเดินทางไปฝึกอบรมในครั้งนี้ แม้จะมีปัญหา อุปสรรค บ้าง เช่น การเสียเวลาที่ต้องเดินทางไกล ปัญหาฝุ่นควันที่มีมากโดยเฉพาะที่เชียงราย แต่อย่างไรก็ตาม ก็นับว่าในวิกฤติดังกล่าวก็เป็นบ่อเกิดของโอกาสที่ทำให้ได้รับประโยชน์อย่างมาก ทั้งสิ่งที่เป็นความรู้ ประสบการณ์ และสัมพันธภาพระหว่างสมาชิกในคณะ ซึ่งต้องขอบคุณคณะผู้จัด โดยเฉพาะท่านอาจารย์ ดร.จีระ ที่ท่านได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขในการเดินทางกับพวกเราชาว EADP 11 ตลอดทั้งงาน

สรุปบทเรียน และ แนวทางการนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหารงาน กฟผ.

โครงการพัฒนาผู้บริหาร ระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายและเทียบเท่า รุ่น 11

ช่วงที่ 3: 17 – 20 มีนาคม 2558 ศึกษาดูงาน ณ เชียงราย– ลำปาง – เชียงราย - เชียงใหม่

สวัสดีครับท่านอาจารย์ พี่ๆ เพื่อนๆ EADP 11 ว่าที่ท่านผู้นำทุกท่าน ผ่านมาครึ่งทางแล้วนะครับที่พวกเราได้มาอยู่ร่วมกัน ช่วงนี้จำหน้า จำชื่อ ได้ทั้งหมดแล้วครับ คุ้นเคย พูดคุยกันมากขึ้นแซวกันมากขึ้น มีเรื่องตื่นเต้นระหว่างเดินทางให้พูดคุยกันตลอด Networking ได้เกิดขึ้นแล้วนะครับ สำหรับสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตลอด 5 วันที่ผ่านมา ซึ่งเป็นศึกษาดูงาน ณ เชียงราย– ลำปาง – เชียงราย – เชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 17 – 20 มีนาคม 2558 มีดังนี้ครับ

17 มีนาคม 2558

ล่องเรือเรียนรู้ภูมิศาสตร์ วิเคราะห์ความเชื่อมโยง ความร่วมมือกับ ลาว พม่า และ เยี่ยมชมศุนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมัน จ.เชียงราย

ได้มีโอกาสนั่งเรือหรู ล่องเรือไปตามลุ่มน้ำโขงมุ่งหน้าสามเหลี่ยมทองคำ พื้นที่รอยต่อ 3 ประเทศ ไทย ลาว พม่า เป็นพื้นที่มีความเชื่อมโยง 3 ประเทศ เป็นเรื่องที่จะต้องมีการบริหารจัดการให้เกิดผลประโยชน์ที่ลงตัวเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย win win solution ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นเรื่องสำคัญ เช่นเดียวกัน กฟผ. จำเป็นต้องแสวงหาพันธมิตร สร้าง Networking โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชุมชน แสวงหาความร่วมมือ สร้างความไว้วางใจ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการการก่อสร้างโรงไฟฟ้า ก่อสร้างสายส่ง ก่อสร้างสถานีไฟฟ้า โอกาสในการพัฒนาธุรกิจกิจการไฟฟ้าร่วมกันน่าจะยังมีอนาคตที่สดใส ตราบที่ผลประโยชน์ลงตัว

ช่วงบ่ายมีโอกาสได้เยี่ยมชม "ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมันอื่นๆ " ซึ่งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้จัดตั้ง ในปี พ.ศ.2547 มีพระราชดำริให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ดำเนินการศึกษา และทดลองปลูกชาน้ำมันจากประเทศจีน สายพันธ์ุ Camelia oleifera และพืชน้ำมันอื่นๆ เพื่อผลิตนำมันเมล็ดชาในประเทศไทย หลังจากนั้นมีพระราชดำริให้จัดตั้ง "ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและ พืชน้ำมัน" เพื่อเป็นโรงงานผลิตน้ำมันจากเมล็ดชา และพืชน้ำมัน ซึ่งศูนย์วิจัยฯ จะผลิตน้ำมันคุณภาพสูง สำหรับการบริโภค และทำผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องอื่นๆ เช่น เครื่องสำอางค์ เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีส่วนผลิต ผลิตภัณฑ์จากกากวัตถุดิบที่เหลือ เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์สูงสุด จากทุกส่วนของพืชนั้นๆ รวมถึงเป็นโรงงานต้นแบบ ที่สามารถเข้าชมได้ทุกจุด ของการดำเนินงาน ซึ่งมีขั้นตอนที่เข้าใจง่าย สะอาด และคำนึงถึงระบบสิ่งแวดล้อม แบบธรรมชาติ มีระบบควบคุมการใช้พลังงาน และรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่สวยงามทันสมัย

18 มีนาคม 2558

ช่วงเช้า เยี่ยมชุมชนแม่เมาะชุมชนบ้านใหม่นาแขม หมู่ 7 ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ พบ ผญบ. อริสสรา เครือบุญมา ผญบ.พรรณวิไล จันมะโน ผญบ.ณัฐพงษ์ อบแก้ว ผญบ.อำไพ ต้นศิริ ช่วงบ่าย

ผู้ใหญ่บ้านที่เชิญมาทุกท่าน มีความเห็นสอดคล้องกันว่า กฟผ. ดูแลชุมชนได้ดีอาจจะมีมีปัญหาเรื่องการประสานงานอยู่บ้างแต่ก็ร่วมกันแก้ปัญหาไปได้ด้วยดี กฟผ.ให้การสนับสนุนให้ความสำคัญในการอยู่ร่วมกับชุมชนและเป็นที่ยอมรับ เป็นชุนชนที่มอง กฟผ.ในแง่ดี แต่ก็ยังไม่แน่ใจว่าชาวบ้านในชุมชนส่วนใหญ่จะคิดต่างหรือคิดเหมือนกับผู้ใหญ่บ้านทั้ง 4 ท่านหรือไม่ คงต้องหาโอกาสลงพื้นที่นั่งคุยกับชาวบ้านตัวจริงๆน่าจะดี
ช่วงบ่ายหัวข้อ Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน

โดย คุณมงคล สุกใส รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง คุณสมชาย ติวะตันสกุล ผู้บริหารของ กฟผ. คุณอนุวัตร ภูวเศรษฐ ประธานหอการค้ากลุ่มจังหวัดตอนเหนือ 1 คุณอริสสรา เครือบุญมา ผู้ใหญ่บ้านใหม่นาแขม คุณอินปั๋น อุตเตกุล ผู้ใหญ่บ้านข่วงม่วง คุณสาวกชพร สดเมือง รองผู้อำนวยการ วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการ กฟผ. แม่เมาะ ว่าที่ร.ต.เกรียงศักดิ์ ฉลาด วิทยาลัยเทคโนโลยีและการจัดการกฟผ.แม่เมาะ ร่วมวิเคราะห์และดำเนินการอภิปราย โดยท่านศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ทำให้เห็นภาพว่า กฟผ.เป็นหน่วยงานหลักหน่วยงานหนึ่งที่มีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจลำปาง ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันคิดช่วยกันทำเพื่อความยั่งยืน ทำให้เห็นภาพความสำคัญของการมีเครือข่ายที่ชัดเจน เพราะ จะช่วยให้การทำงานสะดวก รวดเร็ว ทำให้สามารถขับเคลื่อนสิ่งต่างๆให้เกิดขึ้นได้ง่ายซึ่งเป็นประโยชน์ในภาพรวม ต่อด้วย การติดตามผลงานความคืบหน้าของงานออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานของ กฟผ. ครั้งที่ 2 วิเคราะห์ 3 V ของโครงการ และหากลยุทธ์ (Strategies) เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และวิธีการเก็บข้อมูลเชิงการวิจัยเพื่อหากลยุทธ์ในการดำเนินโครงการ โดย อาจารย์กิตติ ชยางคกุล มีเรื่องให้ถกเถียงทางความคิดของแต่ละกลุ่มกันอย่างมาก สนุกดี

19 มีนาคม 2558

กราบ นมัสการ พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี ณ ไร่เชิญตะวัน จ.เชียงราย

ไร่เชิญตะวัน เป็นศูนย์ปฎิบัติธรรม ที่ท่านพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิระเมธี) ได้สร้างขึ้น จากแรงบัดดาลใจที่จะหาที่ปลีกวิเวกส่วนตัวสงบๆ กลายมาเป็นที่ส่วนร่วมเพื่อทุกคนไปแล้วในปัจจุบัน เพื่อให้คนกรุงที่มีเวลาน้อยได้มีที่ปฎิบัติธรรม ที่ช่วยเสริมเติมพลัง มาชาร์ตแบตเตอรี่แล้วกลับไปทำงานใหม่ ด้านใน มีปริศนาธรรม ออกแนวศิลปะเป็นตุงให้ถอดความกัน มาที่นี่แล้วความสงบ สวยงามเย็นสบายดีจริง

ประทับใจกับบรรยากาศของไร่เชิญตะวัน และ พระเมตตาที่ท่านเลี้ยงอาหารกลางวัน และ ประทับใจในคำสั่งสอนของพระอาจารย์ ว. มากจริงๆ ผู้นำต้องอยู่ในใจคน ไม่ใช่นั่งอยู่บนหัวคน ปฏิบัติได้ตามนี้ ก็จะเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างแน่นอน

20 มีนาคม 2558

"ธรรมชาติบำบัดปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง"
โดย พญ.ลลิตา ธีระสิริ ณ ศูนย์บัลวี เวียงพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่

ศูนย์บัลวีเป็นแพทย์ทางเลือกในการที่จะดูแลรักษาสุขภาพด้วยธรรมชาติบำบัด ให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลสุขภาพ สุขภาพจะที่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัย การบริโภค และการออกกำลังกาย กลับจากเชียงใหม่ครั้งนี้จะเริ่มออกกำลังกายแล้วครับ

ท้ายนี้ต้องขอขอบคุณ ท่านอาจารญ์ เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ทั้ง กฟผ. และ ทีมงานของท่านอาจารย์ ทุกท่านด้วยนะครับ

นายพิพัฒน์ บุนนาค
ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการเขตนครหลวง-ปฏิบัติการ

สุทธิพันธ์ จันทนโชติวงศ์

ผลการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน

เมื่อ 17 มีนาคม 2558 คุณมาริสา มณีจรัสแสง ได้เล่าประวัติความเป็นมาของ การก่อตั้ง ศูนย์วิจัยศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน โดย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้จัดตั้ง "ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมันอื่นๆ " เพื่อเป็นโรงงานผลิตน้ำมันชา และพืชน้ำมันอื่นๆ ซึ่งโรงงานนี้จะผลิตน้ำมันคุณภาพสูงสำหรับการบริโภค เครื่องสำอาง และยารักษาโรค นอกจากนั้นยังมีส่วนผลิต ผลิตภัณฑ์จากกากวัตถุดิบที่เหลือ เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากทุกส่วนของพืชนั้นๆ และมีพระราชดำริให้โรงงานชาน้ำมันเป็นโรงงานต้นแบบ

ผลิตภัณฑ์ที่กระผม ซื้อมาทดลองใช้คือน้ำมันเมล็ดชา และ น้ำมันมะรุมน้ำมันเมล็ดชา ช่วยต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ลดความเสี่ยงในการเกิดโรงมะเร็ง ลดระดับมันในเลือด ลดความดัน ป้องกันการอักเสบของเนื้อเยื่อ เป็นต้น นอกจากการนำน้ำมันจากเมล็ดชามาใช้ในการบริโภคแล้ว น้ำมันจากเมล็ดชายังถูกนำไปเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางอีก

น้ำมันเมล็ดชา รับประทานแล้วหนึ่งขวด ราคา 200 บาท หรือ 250 บาท จำไม่ได้ รับประทานง่าย มีกลิ่นน้ำมันนิดหน่อยหลังจากรับประทานแล้วยังไม่มีผลข้างเคียง คงต้องรอผลตรวจเลือดต่อไป

ที่เห็นผลทันที่หลังจากทดลองใช้คือ น้ำมันมะรุม ซื้อมาราคา 400 บาท ให้ ภรรยาใช้ ทาริ้วรอยบนใบหน้า ก่อนนอนกว่าจะหมดขวดเป็นเวลาประมาณ 2 เดือนใบหน้าดูดีขึ้น ริ้วรอยลดลง ชุ่มชื้นมากขึ้นตอนนี้พึ่งสั่งซื้ออีก 2 ขวด แม่บ้านชอบมาก

ขอบพระคุณ ท่านอาจารญ์ เจ้าหน้าที่เกี่ยวข้อง ที่ทำให้ผมพบกับสิ่งดีๆ ครับ


สุทธิพันธ์ จันทนโชติวงศ์

ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายสำรวจและประเมินแหล่งทรัพยากร

สรุปสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ วันที่ 17–20 มีนาคม 2558<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office" />

1.ชุมชนบ้านใหม่นาแขม หมู่ 7 ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ โดย คุณอริสสรา เครือบุญมา ผญบ.พรรณวิไล จันมะโน ผญบ.ณัฐพงษ์ อบแก้ว ผญบ.อำไพ ต้นศิริ : บ้านใหม่นาแขมเป็นหมู่บ้านที่อพยพมาจากการขยายเหมืองแม่เมาะแต่เดิมประกอบด้วยบ้านนาแขม บ้านท่าประตุ่น บ้านนาปม ซึ่งได้อพยพมาพร้อมกันในปี พ.ศ. 2525 ต่อมาในปี พ.ศ. 2530 มีการอพยพหมู่บ้านเพิ่มเติมอีก 3 หมู่บ้านคือ บ้านเมาะหลวง บ้านหางฮุง บ้างเวียงสวรรค์ มีจำนวนครัวเรือนเพิ่มขึ้นประมาณ 3,500 ครัวเรือน

และมีประชากรเพิ่มขึ้นอีกหมื่นกว่าคน อาศัยอยู่ในหมู่บ้านเดียวกัน ซึ่งต่อมาได้มีการแยกหมู่บ้านและเปลี่ยนชื่อเป็น "บ้านใหม่นาแขม" บ้านใหม่นาแขมตั้งอยู่ห่างจากอำเภอแม่เมาะประมาณ 500 เมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 0.8 ตารางกิโลเมตร กิจกรรมต่างๆ ของ ศูนย์เรียนรู้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านใหม่นาแขม ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง คือ กลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ, กลุ่มแปรรูปเนื้อสัตว์แหนมหมูสายใยรัก, กลุ่มเพาะเห็ด, กลุ่มวิสาหกิจแปรรูปถั่วทอดสมุนไพร เบญจมาศ , กลุ่มผลิตน้ำข้าวกล้องงอกเพื่อสุขภาพ, กลุ่มข้าวเกรียบสมุนไพร, กลุ่มปลูกผักไร้ดิน, กลุ่มพ่อบ้านธนาคารไข่, กลุ่มแม่บ้านถักทอฝัน โดยนับเป็นความสำเร็จของ กฟผ. ในการสนับสนุนและอยู่ร่วมกันกับชุมชน

2. หัวข้อ Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน โดย Network ที่มาร่วมสัมนาประกอบด้วย ส่วนราชการ ด้านการศึกษา ด้านหอการค้า จังหวัด : การมองภาพกว้างมากขึ้น แบ่งเครือข่ายออกเป็นหลายกลุ่ม ชุมชนเป็นกุญแจสำคัญ หากมีตัวละครเพิ่มขึ้น และทุกฝ่ายเข้าใจ การที่มีตัวละครมากขึ้นจะทำให้เรามีพลังให้เราดูแลชุมชนมากขึ้น เราจะได้ประโยชน์ เครือข่ายอยู่ในทฤษฎี 8K5K เป็นทุนที่ไม่ต้องลงทุน แต่เราต้องรู้จักเขา ให้เกียรติ มีการเจรจาต่อรอง และต้อง win win เมื่อสามารถสร้างศักยภาพแล้ว ต่อไปก็จะมีความยั่งยืน ซึ่งประโยชน์วันนี้เป็นประโยชน์แบบอ้อมๆ และประโยชน์จะนำไปสู่ชุมชนด้วย ถ้าเราสามารถมีตัวละคร และมีแนวคิดทิศทางไปในเป้าหมายเดียวกัน วันหนึ่งอุปสรรคเหล่านั้นต้องเอาชนะได้

3. สรุปการบรรยายศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน โดย คุณมาริสา มณีจรัสแสง : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ดำเนินการศึกษา และทดลองปลูกชาน้ำมัน จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และพืชน้ำมันอื่นๆ และได้พระราชทานพระราชานุมัติแต่งตั้ง หม่อมราชวงศ์ ดิศนัดดา ดิศกุล ให้เป็นผู้อำนวยการโครงการศึกษาและพัฒนาการปลูกชาน้ำมัน และพืชน้ำมันอื่นๆ ของมูลนิธิชัยพัฒนา ตั้งแต่ปี 2548 ต้นชาน้ำมันที่ทดลองปลูกในพื้นที่เขตเชียงราย และเชียงใหม่ มีการเจริญเติบโตดี ติดผลในปีที่ 3-4 และพบว่ามีปริมาณน้ำมันในเมล็ดชาที่ปลูกในประเทศไทย สูงถึงร้อยละ 30-35 จากนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้จัดตั้ง "ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมันอื่นๆ " เพื่อเป็นโรงงานผลิตน้ำมันชา และพืชน้ำมันอื่นๆ ซึ่งโรงงานนี้จะผลิตน้ำมันคุณภาพสูงสำหรับการบริโภค เครื่องสำอาง และยารักษาโรค นอกจากนั้นยังมีส่วนผลิต ผลิตภัณฑ์จากกากวัตถุดิบที่เหลือ เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากทุกส่วนของพืชนั้นๆ และมีพระราชดำริให้โรงงานชาน้ำมันเป็นโรงงานต้นแบบ สามารถเข้าชมได้ทุกจุดของโรงงาน มีขั้นตอนที่เข้าใจง่าย สะอาด มีการคำนึงถึงระบบสิ่งแวดล้อมแบบธรรมชาติ มีระบบควบคุมการใช้พลังงาน ให้โรงงานเป็นโรงงานที่มีรูปแบบทันสมัย สวยงามและมีสีสัน ด้านนอกทำเป็นส่วนพักผ่อนสาธารณะ เป็นจุดท่องเที่ยวที่สวยงาม และได้ความรู้เกี่ยวกับพืชน้ำมัน

4. การเดินทางไปล่องเรือทัศนศึกษา สามเหลี่ยมทองคำ (ไทย พม่า ลาว) ได้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับจังหวัดเชียงรายโดยเฉพาะบริเวณที่เรียกว่าสามเหลี่ยมทองคำอย่างดี การล่องเรือในแม่น้ำโขง เห็นการพัฒนา เช่น อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การขนส่ง การผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ การพัฒนาระบบไฟฟ้าในพม่า ลาว ฯลฯ ซึ่งควรดำเนินการบนฐานการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนร่วมกัน การสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขง กลับไม่ทำให้น้ำในแม่น้ำแห้ง แต่ได้ใช้ประโยชน์ในการขนส่งทางน้ำ และมีน้ำอุปโภค-บริโภค และเพื่อการเกษตร ตลอดปี

5. ธรรมชาติบำบัดปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง โดย พญ.ลลิตา ธีระสิริ ณ ศูนย์บัลวี เวียงพิงค์ จ.เชียงใหม่ : ทราบเรื่องปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย โรคอ้วน, โรคมะเร็ง สามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการเลือกรับประทานอาหารให้ถูกต้องและเหมาะสม และทำกิจกรรมต่างๆ เช่น การอบซาวน่า การอาบแดดใต้ใบตอง เป็นต้น

17 มีนาคม 2558ล่องเรือเรียนรู้ ฯ

  • ล่องเรือลุ่มสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อ 3 ประเทศ ไทย ลาว พม่า
  • ได้ทราบประวัติศาสตร์ เดิมมีชื่อเสียงในเรื่องการค้าฝิ่นแลกกับทองคำ
  • การที่พื้นที่ดังกล่าวมีความเชื่อมโยงกัน 3 ประเทศ ก็เป็นเรื่องน่าคิดว่าจะบริหาร

จัดการอย่างไรให้เป็นประโยชน์เท่าเทียมกัน การสร้างความสัมพันธ์จึงมีความจำเป็น

  • การเยี่ยมชมศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมัน ประเด็นในเรื่อง CSR ควรเป็นการพัฒนา

ชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้ โดยมีอาชีพที่ยั่งยืน

18 มีนาคม 2558 เยี่ยมชุมชนแม่เมาะ

- ผู้ใหญ่บ้านที่เชิญมามีความเห็นค่อนข้างสอดคล้องกันว่า กฟผ.ดูแลชุมชนดีไม่มีปัญหา (การไปพบชุมชนในครั้งนี้ เป็นชุนชนที่ค่อนข้างมอง กฟผ.ในแง่ดี)

- กฟผ. แม่เมาะในระยะอีกไม่นานก็จต้องลดกำลังผลิต และหยุดไปผุ้นำชุมชนที่นี่ทราบปัญหาและแต่มีแนวคิดที่หลากหลายว่าชุมชนจะอยู่อย่างไรหากไม่มี กฟผ. (บางคนก็จะพัฒนาเป็นที่ท่องเที่ยวบางคนก็จะกลับไปสู่วิถีชีวิตเดิม)

19 มีนาคม 2558 พระอาจารย์ ว.วชิรเมธี

ผู้นำที่ดีตามแนวคิดพระอาจารย์

-จิตใจดี

- มีความรู้

- มีความสามารถ

- ครองตนดี

- มีวาทะศิลป์

20 มีนาคม 2558 ศูนย์บัลวี

- ศูนย์บัลวีได้ให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพ ทำให้มีรู้ถึงความสำคัญในเรื่องการดูแลสุขภาพ

- ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย พฤติกรรมการกินอาหารของคนไทย การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการทำงานอย่างสมดุล

-การทำกิจกรรม อาบแดด อบสมุนไพร ซาวน่า การออกกำลังกายในน้ำ เข้าใจแนวคิด วิธีการ นำเทคนิคใช้ในการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง

สรุปการเรียนรู้ EADP วันที่ 17 มีค.2558<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:office:office" />

ล่องเรือเรียนรู้ภูมิสาสตร์ วิเคราะห์ความเชื่อมโยง ความร่วมมือกับ ลาว พม่า

การล่องเรือลุ่มน้ำโขงไปสามเหลี่ยมทองคำ ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อ 3 ประเทศ ไทย ลาว พม่า ได้ทราบประวัตติาสตร์ความเป็นมา เดิมมีชื่อเสียงในเรื่องการค้าฝิ่นแลกกับทองคำ เลยได้ชื่อว่าสามเหลี่ยมทองคำการที่พื้นที่ดังกล่าวมีความเชื่อมโยงกัน 3 ประเทศ ก็เป็นเรื่องน่าคิดว่าจะบริหารจัดการอย่างไรให้เป็นประโยชน์เท่าเทียมกัน การสร้างความสัมพันธ์จึงมีความจำเป็น ในส่วนของ กฟผ.เองปัจจุบัน กฟผ.ก็ประสบปัญหาในการหาพื้นที่ใหม่ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ การสร้างโรงไฟฟ้าใหม่จะเป็นการรื้อโรงเก่าแล้วสร้างโรงใหม่ทดแทน จีงมีแนวคิดในการสร้างโรงไฟฟ้าในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งขณะนี้ กฟผ.มีการรับงานก่อสร้างและดินเครื่อง บำรุงรักษา โรงไฟฟ้าใน ลาว รวมทั้งการไปรับฝึกอบรมการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าให้กับพม่า ซึ่งนับเป็นการสร้างสัมพันธือันดี การสร้างสัมพันธืดังกล่าวน่าจะเป็นประโยชน์ต่อ กฟผ.และบริษัทในเครือในนอนาคต เพื่อให้ กฟผ.และบริษัทในเครือ เข้าไปดำเนินการในส่วยที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง เดินเครื่อง บำรุงรักษาโรงไฟฟ้า แล้ว ส่งกลับพลังงานไฟฟ้าให้ไทยได้

การเยี่ยมชมศุนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมัน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา ดำเนินการศึกษา และทดลองปลูกชาน้ำมัน จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน และพืชน้ำมันอื่นๆ และได้พระราชทานพระราชานุมัติแต่งตั้ง หม่อมราชวงศ์ ดิศนัดดา ดิศกุล ให้เป็นผู้อำนวยการโครงการศึกษาและพัฒนาการปลูกชาน้ำมัน และพืชน้ำมันอื่นๆ ของมูลนิธิชัยพัฒนา ตั้งแต่ปี 2548 ต้นชาน้ำมันที่ทดลองปลูกในพื้นที่เขตเชียงราย และเชียงใหม่ มีการเจริญเติบโตดี ติดผลในปีที่ 3-4 และพบว่ามีปริมาณน้ำมันในเมล็ดชาที่ปลูกในประเทศไทย สูงถึงร้อยละ 30-35 จากนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีพระราชดำริให้จัดตั้ง"ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมันอื่นๆ "เพื่อเป็นโรงงานผลิตน้ำมันชา และพืชน้ำมันอื่นๆ ซึ่งโรงงานนี้จะผลิตน้ำมันคุณภาพสูงสำหรับการบริโภค เครื่องสำอาง และยารักษาโรค นอกจากนั้นยังมีส่วนผลิต ผลิตภัณฑ์จากกากวัตถุดิบที่เหลือ เพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากทุกส่วนของพืชนั้นๆ และมีพระราชดำริให้โรงงานชาน้ำมันเป็นโรงงานต้นแบบ สามารถเข้าชมได้ทุกจุดของโรงงาน มีขั้นตอนที่เข้าใจง่าย สะอาด มีการคำนึงถึงระบบสิ่งแวดล้อมแบบธรรมชาติ มีระบบควบคุมการใช้พลังงาน ให้โรงงานเป็นโรงงานที่มีรูปแบบทันสมัย สวยงามและมีสีสัน ด้านนอกทำเป็นส่วนพักผ่อนสาธารณะ เป็นจุดท่องเที่ยวที่สวยงาม และได้ความรู้เกี่ยวกับพืชน้ำมัน

แนวคิดในเรื่อง CSR ควรเป็นการพัฒนาชุมชนให้พึ่งพาตนเองได้ โดยมีอาชีพที่ยั่งยืน ปัจจุบัน กฟผ.น้นการทำ CSR in Process ส่วนCSR after Process ก็มีการทำ แต่มักจะเป็นการทำในรูปแบบการให้ การบริจาค เป็นส่วนใหญ่ จึงควรเน้นการทำในรูปแบบที่จะช่วยให้ชุมชนมีอาชีพที่ยั่งยืนสามารถพึ่งพาตนเองได้

สรุปการเรียนรู้ EADP วันที่ 18 มีค.2558

โดยคุณอริสสรา เครือบุญมา ผญบ.พรรณวิไล จันมะโน ผญบ.ณัฐพงษ์ อบแก้ว ผญบ.อำไพ ต้นศิริ

หมู่บ้านใหม่นาแขม หมู่ที่7 เป็นหมู่บ้านอพยพ โครงการขยายเหมืองลิกไนต์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยแม่เมาะ ปี พ.ศ. 2525 เดิมราษฎรอาศัยปลูกพืชผักทำกิน บริเวณ รอบสระน้ำ ซอย 1 ในปี พ.ศ.2546 นายธันย์ นุชนิยม อดีตกำนันตำบลแม่เมาะและคณะกรรมการหมู่บ้าน ได้มีการรวมกลุ่มราษฎรจำนวน 38 ครัวเรือน โดยเก็บเงินครัวเรือนละ 500 บาท เป็นทุนในการปรับพื้นที่ และประสานงานกรมส่งเสริมการเกษตร ขอใช้พื้นที่สาธารณะประโยชน์ในหมู่บ้าน ซึ่งเป็นพื้นที่รกร้าง ว่างเปล่า ทำให้เกิดไฟไหม้ทุกๆปี จำนวน 15 ไร่ เพื่อขอใช้เป็นพื้นที่การเกษตร ในการปลูกพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ และประสานงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ,สำนักงานเกษตรอำเภอแม่เมาะ ได้เข้ามาวางฝังในการจัดพื้นที่ จำนวน 38 แปลง

ต่อมาในปี พ.ศ.2547 กรมส่งเสริมการเกษตรได้อนุมัติโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งฟาร์มตัวอย่างให้กับสำนักงานเกษตรอำเภอแม่เมาะ และได้เสนอพื้นที่การเกษตรบ้านใหม่นาแขมเป็นโครงการสาธิต การเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืช เลี้ยงปลา การอบรมเกษตรกร และได้มีหน่วยงานของภาครัฐ และเอกชน องค์กรชุมชนได้มีส่วนร่วมในการสนับสนุน

พ.ศ.2548 ดำเนินกิจกรรมการเลี้ยงสุกรหลุม/การปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษ/การเพาะเห็ด/การเลี้ยงปลา/การทำปุ๋ยหมัก/การเลี้ยงกบ/การเลี้ยงปลา

พ.ศ.2552 ดำเนินกิจกรรมการทำปุ๋ยหมักดินชีวภาพ/ปุ๋ยน้ำชีวภาพ/น้ำส้มควันไม้/การเลี้ยงจิ้งหรีด

-ขยายแปลงผักปลอดสารพิษ อีก 20 แปลง และปลูกไผ่เพื่อใช้ขยายพันธุ์ไผ่พันธุ์ดี 10 สายพันธุ์

-กิจกรรม การแปรรูป เช่น แปรรูปแหนม ,ข้าวเกรียบพืชผักสมันไพร,น้ำข้าวกล้องเพาะงอก,ไข่เค็มพอก

- มีโครงการโฮมสเตย์ 5 หลัง

ช่วงบ่าย 18 มีค.2558

หัวข้อ Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน

โดย นายมงคล สุกใสรองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง

นายสมชาย ติวะตันสกุล อฟม. และคณะผู้ใหญ่บ้าน

ผู้ใหญ่บ้านที่เชิญมามีความเห็นค่อนข้างสอดคล้องกันว่า กฟผ.ดูแลชุมชนดีไม่มีปัญหา ชุมชนให้ความสำคัญในเรื่องการเกษตร ถ้าทำการเกษตรได้ชุมชนก็อยู่ได้อย่างยั่งยืน การทำเกษตรต้องมีน้ำซึ่ง กฟผ.ก็สนับสนุนโดยวางท่อส่งน้ำให้กับชุมชนโดยรอบพื้นที่ ประเด็นสำคัญในการอยู่ร่วมกับชุมชนและเป็นที่ยอมรับ คือ ต้องมีความจริงใจ ต้องพูดคุยอย่างตรงไปตรงมา อย่างไรก็ตามการไปพบชุมชนในครั้งนี้ เป็นชุนชนที่ค่อนข้างมอง กฟผ.ในแง่ดี ในโอกาสหน้าอาจจะลองไปพบชุนชนที่มีข้อขัดแย้งกับ กฟผ.ดูบ้างเพื่อจะได้รับทราบข้อมูลที่อาจจะนำมาปรับแก้ไขให้เป็นประโยชน์ได้ สำหรับ Panel Discussion ทำให้เห็นภาพว่าทุกหน่วยงานมีส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจลำปาง ทุกภาคส่วนต้องช่วยกันคิดช่วยกันทำเพื่อความยั่งยืน ทำให้เห็นภาพความสำคัญของการมีเครือข่ายที่ชัดเจน เพราะจะช่วยให้การทำงานสะดวก รวดเร็ว ทำให้สามารถขับเคลื่อนสิ่งต่างๆให้เกิดขึ้นได้ง่ายซึ่งเป็นประโยชน์ในภาพรวม

สรุปการเรียนรู้ EADP วันที่ 19 มีค.2558

กราบพระอาจารย์ ว.วชิรเมธี ณ ไร่เชิญตะวัน จ.เชียงราย

รู้สึกระทับใจในคำสอนของพระอาจารย์ ท่านได้อธิบายความหมายของผู้นำไว้ว่า ผู้นำไม่ได้ขึ้นกับการแต่งตั้งหรือผู้ที่อยู่ในตำแหน่ง แต่หมายถึงผู้นำที่อยู่ในใจคน เพราะหากไม่นั่งอยู่ในใจคนแล้ว ถึงแม้จะมีตำแหน่งใหญ่โตก็ไม่มีใครเคารพเดินตาม การจะเป็นดังกล่าวได้ ก็จะต้องเป็นคนที่ทำทุกอย่างเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่โดยสุจริตและตรวจสอบได้และการเป็นผู้นำต้องไม่คิดว่าเป็นเพื่อเป็นเกียรติประวัติของวงศ์ตระกูลเพราะจะไม่มีประโยชน์ การเป็นผู้นำก็ควรต้องทำอะไรที่ดีๆ ให้เป็นที่จดจำ นับเป็นการให้ความหมายของผู้นำที่ชัดเจน เข้าใจง่าย หากใครปฏิบัติตามนี้ก็จะเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างแน่นอน

สรุปการเรียนรู้ EADP วันที่ 20 มีค.2558

"ธรรมชาติบำบัดปรับชีวิต เปลี่ยนอาหาร หลักการแพทย์พอเพียง"

โดย พญ.ลลิตา ธีระสิริ

ณ ศูนย์บัลวี เวียงพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่

ศูนย์บัลวีได้ให้ความรู้ในเรื่องสุขภาพ ทำให้มีรู้ถึงความสำคัญในเรื่องการดูแลสุขภาพ เพราะถ้ามีสุขภาพดีชีวิตก็จะสุขสบาย ดังคำพังเพยที่ว่า ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ สุขภาพที่ดีขึ้นอยู่กับการบริโภค และการออกกำลังกาย เราจึงต้องบริโภคให้ถูกหลักโดยต้องบริโภคให้ครบ5 หมู่ และออกกำลังเป็นประจำให้เหมาะสมตามวัย ที่ผ่านมาไม่ค่อยได้ออกกำลังกายและกินตามใจ ต่อไปคงต้องปรับปรุงตัวเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี อีกเรื่องที่ได้รับทราบในงานวิจัยคงต้องดูด้วยว่าผู้ให้ทุนวิจัยเป็นใคร เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาว่าจะเชื่อผลการวิจัยนั้นหรือไม่

ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย

1. โรคอ้วน โรคที่จะตามมาเมื่อเกิดโรคอ้วน คือไขมันพอกตับ และเบาหวาน

2. โรคมะเร็ง ในเพศชาย มะเร็งตับมากที่สุด รองมาเป็นมะเร็งปอด ลำไส้ใหญ่ และต่อมลูกหมาก

ในเพศหญิง มะเร็งปากมดลูกมากที่สุด มาจากไวรัส HPV รองมาเป็นมะเร็งเต้านม ตับ และปอด

โรคต่างๆเกิดจากพฤติกรรมการกินอาหารของคนไทย

  • กินผักน้อยลง
  • กินหวาน มัน เค็ม มากขึ้น
  • กินอาหารกึ่งสำเร็จรูปประจำ
  • กินผงชูรสมากเกินกว่าวันละ 1 ช้อนชา
  • กินนมวัวมากขึ้น
  • กินตามกระแสรุนแรงขึ้น

โรค แบ่งได้เป็น 2 ชนิด

  • โรคติดเชื้อ
  • โรคไม่ติดเชื้อ (โรคเสื่อม เบาหวาน ความดันสูง โรคหัวใจ อัมพาต ข้ออักเสบโรคเกี่ยวกับภูมิต้านทาน )

อาหารธรรมชาติบำบัด

คืออาการที่ถูกต้องและเหมาะสม การกินไขมัน 20% เลือกน้ำมันไม่อิ่มตัว กินคอเรสตอรอลไม่เกินวันละ 300 มล.

กินผักสด ผลไม้สด 5 ส่วนของอาหาร กินข้าวกล้อง และข้าว แป้งไม่ขัดสี กินเนื้อสัตว์พอสมควร

กิจกรรมที่จัดสาธิตให้

1.อาบแดด

  • อาบแดดสุขภาพ เป็นการกระตุ้นเม็ดเลือดขาวให้ทำงานมากขึ้น ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายเพิ่มขึ้น
  • เวลาที่ควรอาบแดด แดดเช้า 8.30-10.00 น. แดดเย็น หลัง 16.00 น.
  • นุ่งห่มให้น้อยที่สุด
  • ทาตัวด้วยน้ำมันมะกอก
  • อาใบตองคลุมตัว เพื่อป้องกันรังสียูวี และอินฟาเรดให้มากที่สุด นอนหงาย 15 นาที นอนคว่ำ 2.
  • 2.การซาวน่าอุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส อบ 3-5 นาที แล้วสลับอาบน้ำให้ตัวเย็น 3 รอบ (ห้ามอยู่นานเกินไป สมองจะขาดเลือด)

ผลของซาวน่าและการอบสมุนไพรสลับกับการอาบน้ำเย็น

1. ในที่ร้อนเลือดจะออกไปที่ผิวหนัง ในทีเย็นเลือดจะกลับเข้าสู่อวัยวะส่วนกลาง ทำให้อวัยวะภายในได้รับเลือดใหม่ไปเลี้ยงเป็นระยะๆเป็นการลดการอักเสบ หรือโรคภายใน

2. ความร้อนจะเพิ่มประสิทธิภาพเม็ดเลือดขาว

3. เป็นการบริหารอวัยวะภายในให้แข็งแรง

4. ให้ความกระปรี้กระเปร่าสดชื่น และผ่อนคลาย

3. การออกกำลังกายในน้ำ

แรงลอยตัวของน้ำจะช่วยลดน้ำหนักตัว น้ำลึกระดับอกจะช่วยลดน้ำหนักตัวได้ถึง 70% น้ำทำให้คลายร้อน

เป็นรูปแบบของการออกกำลังกายแบบใหม่ มีอุปกรณ์การออกกำลังกายในน้ำเพิ่มความแปลกใหม่สามารถใช้เป็น weight training ได้ด้วย

การออกกำลังกายในน้ำเหมาะสำหรับ

  • การลดน้ำหนัก
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้มีปัญหาเรื่องข้อเข่า
  • ผู้ที่มีปัญหาด้านสมอง

วันที่ 17 – 20 มีนาคม 2558

ศึกษาดูงาน ณ เชียงราย– ลำปาง – เชียงราย – เชียงใหม่

17 มีนาคม 2558

การล่องเรือลุ่มน้ำโขงไปสามเหลี่ยมทองคำ พื้นที่รอยต่อ 3 ประเทศ ไทย ลาว พม่า

ได้ไกด์มืออาชีพที่มีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับจังหวัดเชียงรายอย่างดี ได้รับรู้ว่าจีน คือผู้ที่ได้ประโยชน์จากการใช้ประโยชน์จากลำน้ำโขงนี้มากที่สุด เป็นเส้นทางที่มีค่าขนส่งสินค้าจากจีนมาไทย และจากไทย-ลาวขึ้นไปยังจีน และมีการสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งเกิดข้อจำกัดหรือปัญหาต่างๆ ในการขนส่งทางน้ำและการท่องเที่ยว รวมถึงปัญหาการใช้ทรัพยการน้ำของประเทศด้านลุ่มน้ำทางตอนใต้ทั้งหมด ปัญหาหารกัดเซาะแนวตลิ่ง หรือการเปลี่ยนแปลงของแนวร่องน้ำสำหรับการเดินเรือ

แม้ว่าปัจจุบัน มองเห็นว่า เริ่มจะเกิดปัญหาต่างๆ แนวโน้มการท่องเที่ยวที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวน้อยลงเรื่อยๆ

แต่ก็มองเห็นถึงโอกาสและในการพัฒนา อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การขนส่ง การผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำ การพัฒนาระบบไฟฟ้าใน ไทย จีน พม่า ลาว ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือและมีการบริหารจัดการลำน้ำโขงร่วมกันของทุกประเทศอย่างจริงจัง

ห้วข้อ ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

โดย คุณมาริสา มณีจรัสแสง

ต้นชาน้ำมันสายพันธุ์ที่ศูนย์วิจัยฯดำเนินการศึกษาและทดลองปลูกมีสายพันธ์มาจากสาธารณารัฐประชาชนจีน และพืชน้ำมัน ตั้งแต่ปี 2548 ต้นชาน้ำมันที่ทดลองปลูกในพื้นที่เขตเชียงราย และเชียงใหม่ มีการเจริญเติบโตดี ติดผลในปีที่ 3-4 ข้อดีของชาน้ำมันคือ น้ำมันชามีประโยชน์ หลากหลายไม่แพ้น้ำมันมะกอก สามารถเก็บผลผลิตเป็นร้อยปี และระบบรากมีคุณสมบัติช่วยยึดรักษาความสมบูรณ์ของหน้าดิน แต่มีความต้องการพื้นที่เพาะปลูกสูงเมื่อเทียบกับผลผลิตและความคุ้มค่าหรือผลตอบแทนที่ได้ อาจไม่คุ้มค่าในอนาคต หากต้องขยายตลาด เพิ่มพื้นที่เพาะปลูกเพื่อเพื่อเพิ่มผลผลิต เนื่องจากมีความต้องการพื้นที่เพาะปลูกที่สูงและปัจจุบันราคาที่ดินในจ.เชียงราย พะเยา เริ่มมีราคาสูงขึ้นมากๆ เนื่องจากกำลังริเริ่มจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ตลอดจนอาจเกิดผลกระทบต่อการปลูกพืชทางเศรษฐกิจอื่นๆ หรือเกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มขึ้น

ศูนย์วิจัยชาน้ำมันฯ ผลิตน้ำมันคุณภาพสูงสำหรับการบริโภคและทำผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องอื่นๆ เช่น เครื่องสำอาง ครีม โลชั่น น้ำมันบำรุงผิว จากการดูงานได้เห็นการพัฒนาและแนวทางการต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มจากชาน้ำมัน เนื่องจากน้ำมันเมล็ดชามีองค์ประกอบของไขมันที่ดีต่อร่างกาย และยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ทำให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าประโยชน์ต่อสุขภาพ

วันที่ 18 มีนาคม 2558

หัวข้อ เยี่ยมชุมชนแม่เมาะ ชุมชนบ้านใหม่นาแขม หมู่ 7 ต.แม่เมาะ อ.แม่เมาะ

โดยผู้ใหญ่บ้านอริสสรา เครือบุญมาผู้ใหญ่บ้านพรรณวิไล จันมะโน ผู้ใหญ่บ้านณัฐพงษ์ อบแก้ว และ ผู้ใหญ่บ้านอำไพ ต้นศิริ

พบว่า กฟผ. แม่เมาะ ให้ความสำคัญกับการรักษาสภาพแวดล้อม และการเป็นส่วนหนึ่งสังคมและชุมชนในแม่เมาะ ส่งเสริมสนับสนุนทั้งในด้านความเป็นอยู่ การศึกษา สาธารณสุข อื่นๆ ทำให้มีความสัมพันธ์กับสังคมและชุมชน

เห็นได้ว่าผู้นำหมู่บ้านมีความตั้งใจ มุ่งมั่นและมีความคิดสร้างสรรค์ มีความรอบรู้สามารถนำความรู้มาต่อยอดพัฒนาหมู่บ้านได้ เพื่อให้ชุมชนอยู่ได้ด้วยตัวเองอย่างยั่งยืน และหมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านต้นแบบและอยู่ห่างจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะในรัศมีที่มีโอกาสเสนอของบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าโรงไฟฟ้าแม่เมาะมาพัฒนาประโยชน์ให้กับส่วนรวมได้

กฟผ. ได้ดำเนินกิจกรรม CSR ประจำหมู่บ้านอย่างต่อเนื่อง เป็นการปฏิบัติงาน CSR ของผู้ปฏิบัติแม่เมาะ

กฟผ. โรงไฟฟ้าอื่นๆ จึงควรที่จะเรียนรู้และนำตัวอย่างเอาไปใช้ในการสร้างเครือข่ายประชาชนรอบพื้นที่โรงไฟฟ้าแห่งต่างๆ ต่อไป

หัวข้อ Networking Capital กับการพัฒนาเพื่อประชาชน

โดย นายมงคล สุกใส รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง

โรงไฟฟ้าแม่เมาะเป็นโรงไฟฟ้าพลังความร้อนที่ใช้ลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง กฟผ. ซึ่งแม่เมาะมีโจทย์ใหญ่และสำคัญที่สุดคือ ต้องดำเนินการทำเหมืองลิกไนต์และผลิตไฟฟ้าควบคู่กัน โดยต้องดูแลสิ่งแวดล้อมให้มีคุณภาพดีอย่างยั่งยืนมีความโปร่งใสในการดำเนินงาน กฟผ. ต้องมุ่งมั่นสร้างเครือข่ายที่เสริมพลังให้กันและกัน เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อไปในอนาคตในภาคจังหวัด ซึ่งมองว่า กฟผ. เองที่ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของจังหวัดลำปาง สนามบินและสายการบินต่างๆ จะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่มีกฟผ.แม่เมาะ และต้องการให้ กฟผ. ช่วยผลักดันให้เศรษฐกิจของจังหวัดเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต ซึ่งทางภาคจังหวัดเองก็ให้ความสำคัญ มองเห็นได้จากการเลือกนายอำเภอหรือปลัดในพื้นที่อ.แม่เมาะ ต้องเลือกคนเก่ง คนดี ทำงานเชิงรุก เข้าใจปัญหา และต้องประสานร่วมมือกับทาง กฟผ. และทางชุมชนได้

19 มี.ค. 2558 ไร่เชิญตะวันและสนทนาธรรมกับท่าน ว. วชิรเมธี

ศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวันตั้งอยู่ที่ บ้านใหม่สันป่าเหียง ตำบลห้วยสัก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย อยู่ในพื้นที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์มีสภาพแวดล้อมร่มรื่น ได้เห็นกิจกรรมต่างๆ หลายแบบ ซึ่งแต่ละกิจกรรมมีความหมาสำคัญ การศึกษา มีการสอน การสนทนา งานศิลปะ เกษตรกรรม สอนเรื่องเกษตรอินทรีย์ และเรื่อง จิตใจ

ท่าน ว วชิรเมธี ได้ให้ข้อคิดเรื่องภาวะผู้นำ คือ 1.จิตใจดี มีความเบิกบานในการรับใช้ 2. มีความรู้ และความรู้ใฝ่รู้ 3.ความสามารถในการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ บริหารจัดการได้ดี 4.ความพร้อมด้วยการครองตัว ครองตนให้ดี 5.ใช้วาทะศิลป์ ให้พัฒนาทักษะการพูด 6. การเข้าไปในนั่งในใจคนให้มีความเมตตา

20 มี.ค. 2558 ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

โดย พญ.ลลิตา ธีระศิริ และวิทยากรประจำศูนย์ฯ

ความรู้ที่ได้รับการแนะนำเป็นเรื่องของการรู้จักใช้ธรรมชาติบำบัด และแนวทางเสริมภูมิต้านทาน ด้วยกิจกรรมวิถีธรรมชาติ และวารีบำบัด มีประโยชน์ในการที่จะดูแลรักษาสุขภาพด้วยธรรมชาติบำบัด ให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลสุขภาพ สุขภาพจะที่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัย การบริโภค และการออกกำลังกาย

การที่จะดูแลรักษาสุขภาพด้วยธรรมชาติบำบัด ให้ความสำคัญในเรื่องการดูแลสุขภาพ สุขภาพจะที่ได้ขึ้นอยู่กับปัจจัย การบริโภค และการออกกำลังกาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท