ภาวะกระวนกระวาย ในสมองเสื่อม !


สมองเสื่อม ทุกคนก็มักจะคิดว่า มีอาการหลงลืม จำไม่ได้ ทำอะไรได้ไม่เหมือนเดิม ใช่ไหมครับ

ตัวผมก็เช่น จนเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ได้เรียน วิชาผู้สูงอายุ กับอาจารย์ป๊อป ก็ทำให้ผมรู้ว่า

สมองเสื่อมจริงๆนั้นยังมีภาวะอื่นๆซ่อนอยู่อีก นั้นก็คือ...... " ภาวะ Delirium "


ภาวะ Delirium คือ ภาวะที่สมองทำงานบกพร่องกระทันหันทำให้เกิดอาการสับสน กระวนกระวาย และระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ความคิด ความจำและสมาธิเสียไป รวมทั้งก่อให้เกิดอาการทางพฤติกรรมต่างๆตามมา เช่น วุ่นวาย นอนไม่หลับ ซึมเศร้า วิตกกังวล อาการของ delirium อาจแสดงอาการได้ 2 แบบ คือ

Excited Delirium Dementia แบบกระวนกระวาย

Quite Delirium Dementia แบบสงบเสงี่ยม

สำหรับวันนี้ผมจะมาพูดถึง

Excited Delirium Dementia

อาการ

  • ตอบสนองไวต่อสิ่งกระตุ้นเร้า (ความเจ็บปวด,อุณหภูมิ,สัมผัส) Hypersensitivity (Pain, Temperature, Touch)
  • ก้าวร้าว (Aggressive)
  • เคลื่อนไหวร่างกายโดยไม่สามารถควบคุมได้ (Involuntary movement)
  • ชกต่อย หยิก (Punching and pinching)
  • ตะโกนเสียงดัง (Yelling)
  • ขว้างปาสิ่งของ (Throwing objects)
  • เริ่มสับสนในวัน เวลา สถานที่ บุคคล (Being disoriented)
  • ไม่สามารถจดจำผู้ดูแล (Not recognizing caregiver)

ตัวอย่างกรณีศึกษา

คุณตาเออายุ 75 ปีมาเข้ารับการรักษาทางกิจกรรมบำบัดในขณะทำกิจกรรมการรับประทานยาคุณตาเอกลับมีอาการหงุดหงิดก้าวร้าว ขว้างปาสิ่งของและขย้ำเสื้อผ้าของตัวเองพร้อมกับบ่นว่าร้อน

Occupation: ทานยา (Take medication)

ผู้รับบริการมีอาการดังกล่าวข้างต้นกำเริบขณะจะทานยา นักกิจกรรมบำบัดจะทำอย่าง?



1.ตอบสนองไวต่อสิ่งกระตุ้นเร้า (ความเจ็บปวด,อุณหภูมิ,สัมผัส)

Environmental modification: ปรับสิ่งแวดล้อมของผู้รับบริการ เช่น ให้ผู้รับบริการเปลี่ยนท่าทาง (position) จากนั่งมายืน เป็นการลดแรงกดทับ (pressure) ที่อาจส่งผลให้เกิดอาการเจ็บปวด

Teaching and learning process: หากผู้รับบริการบ่นว่าร้อน รู้สึกร้อนภายในมากเลย ให้ใช้ผ้าเย็นๆและน้ำอุ่นๆมาแตะที่ผู้รับบริการ ให้ผู้รับบริการได้เรียนรู้การแยกแยะความแตกต่างระหว่างร้อน-เย็น (Tactile discrimination) แล้วสอบถามผู้รับบริการว่ารู้สึกร้อนหรือเย็น เป็นการให้เขาได้เรียนรู้ในการรับ sense (Sensory re-education) มีการให้สัมผัสโดยใช้วัตถุที่มีผิวสัมผัสแตกต่างกัน เพื่อให้ผู้รับบริการได้เรียนรู้การรับความรู้สึกนั้นใหม่ (Sensory re-education) โดยเริ่มจากการใช้วัตถุนุ่มๆไปแข็งหยาบในการกระตุ้น

2.ก้าวร้าว ขว้างปาสิ่งของ พูดจาตะโกนเสียงดัง

Therapeutic use of self: ใช้โทนเสียงดังบอกให้ผู้รับบริการทราบถึงอาการของตนเอง (Emotional feedback) เช่น "คุณลุงกำลังโกรธอยู่นะครับ""คุณลุงโกรธทำให้ผมกลัวนะครับ" หรือ การใช้กระจกให้ผู้รับบริการเห็นสีหน้าท่าทางของตนเอง "คุณลุงดูกระจกสิ ดูหน้าตาของคุณลุงตอนโกรธสิ" เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้รับบริการรู้สึกตัว เนื่องจากผู้รับบริการไม่ได้อยากที่จะโกรธ แต่เกิดอาการหงุดหงิด ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ เกิดจากอาการของโรคที่เป็น

Client relationship: มีการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้รับบริการและนักกิจกรรมบำบัด โดยนักกิจกรรมบอกให้ผู้รับบริการทราบถึงวัตถุประสงค์ว่า เรามาดี ไม่ได้มาร้าย มาให้การช่วยเหลือ เช่น "คุณลุงผมมาดี มาช่วยให้คุณลุงทานยาได้ครับ"หรือ "คุณลุงดื่มน้ำก่อนไหมจะได้สดชื่น"

Environmental modification: ปรับสิ่งแวดล้อมไม่ให้ผู้รับบริการสามารถหยิบสิ่งของขว้างปา หรือทำร้ายตนเองได้

3.เคลื่อนไหวร่างกายโดยไม่สามารถควบคุมได้


(เป็นอาการชั่วคราวเนื่องจากไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ ถ้าหากอารมณ์นิ่ง อาการนี้จะหายไป)


Activity analysis: วิเคราะห์ขั้นตอนในการทานยา แล้วดูว่าผู้รับบริการไม่สามารถทำขั้นตอนไหนได้ปรับขั้นตอนทำยาก เช่น ต้องยกน้ำดื่ม เปลี่ยนเป็นให้หลอดแทน

Teaching and learning process: ให้นักกิจกรรมบำบัดสาธิตการทำกิจกรรม (การทานยา) ให้ดูก่อนจากนั้นให้ ใช้การพูดบอก (Verbal prompt) ให้ผู้รับบริการทำตามขั้นตอนในการทานยา เช่น "คุณลุงหยิบยาในแก้ว" "คุณลุงเปิดขวดน้ำ"เป็นต้น ถ้าผู้รับบริการยังทำไม่ได้ ให้นักกิจกรรมบำบัดใช้การกระตุ้นด้วย physical prompt โดยการแตะ ดัน บริเวณส่วนต่างๆของร่างกายผู้รับบริการเพื่อแนะให้ไปตามทิศทางที่ต้องการ เช่น มีการแตะดันที่ศอกของผู้รับบริการเพื่อกระตุ้นให้จับแก้วยาและเทยาใส่มือ จากนั้นแตะดันกระตุ้นที่มือเพื่อให้เขานำยาเข้าปาก และดื่มน้ำตาม เป็นลำดับ

Environmental modification: ปรับสภาพแวดล้อมให้ผู้รับบริการพาผู้รับบริการไปสิ่งแวดล้อมใหม่ ให้อารมณ์เย็นลง เนื่องจากผู้รับบริการอาจรู้สึกอึดอัด ควบคุมสิ่งแวดล้อมเดิมไม่ได้ เช่น เปลี่ยนโต๊ะที่นั่งกินยา มากินข้างหน้าต่างให้มองวิวสวยๆ หรืออาจยืนกินยาได้แล้วแต่ที่ผู้รับบริการต้องการ และอาจมีการตั้งเงื่อนไข เช่นหลังกินยาเสร็จจะพาไปเดินเล่น เป็นต้น เนื่องจากเป็นการใช้สิ่งแวดล้อมใหม่ๆมากระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการทำกิจกรรม

ภาพทั้งหมดนำมาจาก คลิปนี้ ถ้าท่านสนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาวะทั้ง2 สามารถศึกษาจากคลิปนี้ได้เลยครับ

หมายเลขบันทึก: 585822เขียนเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2015 23:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2015 00:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีใจและชื่นชมที่น้องได้บันทึกเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ขอบคุณมากครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท