Generation Y กับการบริหารจัดการ
Generation Y and the New Rules of Management
พันเอก มารวย ส่งทานินทร์
maruays@yahoo.com
11 กุมภาพันธ์ 2558
บทความเรื่อง Generation Y กับการบริหารจัดการ นำมาจากหนังสือเรื่อง Generation Y and the New Rules of Management ประพันธ์โดย Mark Murphy with Andrea Burgio-Murphy
Mark Murphy เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นผู้บริหารสูงสุดของ บริษัท Leadership IQ ผลงานวิจัยของเขาได้รับการนำเสนอใน Fortune, Forbes, Business Week, U.S. News & World Report, the Washington Post, และอื่น ๆ
ผู้ที่สนใจเอกสารแบบ PowerPoint (PDF file) สามารถ Download ได้ที่ http://www.slideshare.net/maruay/generation-y-31690063
Road map to interact with and motivate the Gen Y-ers
- หนังสือเล่มนี้ อธิบายคุณสมบัติของ Gen Y เพื่อให้เกิดความเข้าใจ มีการสื่อสาร เพื่อความสัมพันธ์ และการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
- เนื่องจาก Gen Y ได้จบการศึกษา และเข้าสู่ตลาดแรงงานมากขึ้น
Gen Y คือใคร - มีการแบ่งบุคคลตามยุคต่าง ๆ ดังนี้ (ปี ค.ศ. อาจจะมีคลาดเคลื่อนจากนี้บ้าง แล้วแต่ผู้ประพันธ์แต่ละคน)
-
Seniors คือผู้ที่เกิดก่อนปี ค.ศ. 1944
-
Older Boomers คือผู้ที่เกิดในปี ค.ศ. 1945-1955
-
Younger Boomers คือผู้ที่เกิดในปี ค.ศ. 1956-1965
-
Gen X คือผู้ที่เกิดในปี ค.ศ. 1966-1979
-
Gen Y คือผู้ที่เกิดในปี ค.ศ. 1980-1990
Gen Y workers
- บริษัทต่าง ๆ ควรให้ความสนใจแรงงานที่เป็น Gen Y
- มีผู้นำและบริษัทหลายแห่งที่ใช้โอกาสนี้ ทำให้บริษัทประสบความสำเร็จได้อย่างรวดเร็ว
Generation Y demands
-
Generation Y มีความคาดหวังและแรงจูงใจในการทำงานต่างจากคนรุ่นก่อนหน้า
- การบริหารแบบเดิม ๆ ไม่สามารถนำมาใช้กับกลุ่มคนรุ่นใหม่นี้
- บริษัทต่าง ๆ จึงหาแนวทางในการดึงดูดคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถสูงมาทำงานด้วย
New generation has entered the job market
- ความท้าทายในตลาดแรงงานรุ่นใหม่ ทำให้บริษัทต้องปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง
- แต่สำหรับ Gen Y เป็นอะไรที่รวดเร็วและรุนแรง
- เพราะแม้จะยังเยาว์ แต่เขาเหล่านั้นก็มีความกล้า มั่นใจตนเอง และเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ทำให้ได้เปรียบ
Unlike past generations
-
Gen Y จะไม่เขินอายที่จะเรียกร้องความต้องการของเขา ถ้าถูกปฏิเสธ เขาจะถามว่าเพราะเหตุใดจึงไม่ได้
- ไม่เหมือนคนรุ่นก่อนหน้า Gen Y พร้อมที่จะลาออกเพื่อหานายจ้างใหม่
You need to change a few rules
- ข่าวดีคือคุณไม่ต้องเรียนภาษาใหม่เพื่อติดต่อกับ Gen Y
- เพียงแค่ปรับกฏเกณฑ์บางข้อ ให้สมดุลระหว่างข้อเรียกร้องกับสิ่งที่ให้ได้
Gen Y are smarter
-
Gen Y โตขึ้นมาแบบพึ่งพาตนเอง
-
Gen Y ไม่ได้เรียนรู้ว่า เมื่อล้มลง ให้ลุกขึ้นมาสู้ใหม่
-
Gen Y ถามทุกสิ่ง และต้องได้เห็นหรือได้ยินคำตอบ
-
Gen Y เป็นกลุ่มคนรุ่นแรกที่มีความเด่นชัดคือ เทคโนโลยี
Gen Y's blindsides
- จุดด้อยของ Gen Y คือขาดความละเอียดอ่อนในการทำงาน ที่เขาต้องเรียนรู้เพิ่มเติม
- เป็นชนที่นิยมความรวดเร็ว มากกว่าความอดทน
- ทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งแต่เว็บเพจ จนถึงรถยนต์ที่ขับ ต้องมีลักษณะเฉพาะตน
- เขาไม่ต้องการทางเลือก แต่เขาต้องการทั้งหมด และโดยด่วน
กฎ 6 ข้อในการบริหาร Gen Y
กฏข้อที่ 1 กล่าวชื่นชมทันทีที่เขาทำสำเร็จ (Rule #1 – Gen Y Needs Real-Time Positive Reinforcement to Measure Success)
- การได้รับการยอมรับจากนายจ้าง คือความต้องการลำดับแรกของ Gen Y
- การชื่นชมไม่ใช่การยกยอปอปั้น เป็นเครื่องมือที่ใช้ เมื่อเห็นเขาทำได้ตามที่เราต้องการ
- ตรงกันข้าม การดุด่าว่ากล่าวจะไม่ช่วยให้ผลงานออกมาดี
กฏการกล่าวคำชื่นชม
- กล่าวอย่างมีความหมาย (Make it meaningful)
- เฉพาะเจาะจงลงไป (Be specific)
- ทำทันทีอย่าทิ้งเนิ่นนาน (Catch them in the act)
- อย่าพูดกระทบกระเทียบ (Don't cloud the message with criticism)
- Gen Y เติบโตในโลกไฮเทคที่ต้องมีการโต้ตอบ ถ้าเงียบแปลว่าปฏิเสธ
กฎข้อที่ 2 สื่อสารด้วยถ้อยคำที่สร้างสรรค์ (Rule #2 – Constructive Criticism is Two-Way Communication)
- I: Invited them to partner
- D: Disarm yourself
- E: Eliminate blame
- A: Affirm their control
- L: List correct feedback
- S: Synchronize your understanding
True to the nickname of Gen Why?
- การพบปะพูดคุยควรเป็นแบบตัวต่อตัว
- คนรุ่นใหม่คือ Gen Why เพราะเขาต้องการทราบเหตุผลว่าเพราะเหตุใด? ดังนั้นการอธิบายให้เข้าใจ จึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด
การสื่อสาร 5 แบบที่ล้มเหลว (ทำให้ Gen Y ไม่ชอบ)
- ตัดสินความ (Judgment)
- ออกคำสั่ง (Directive)
- ไม่ยืดหยุ่น (Inflexibility)
- หลงตนเอง (Narcissism)
- คำไม่น่าฟัง (Unsolicited)
กฏข้อที่ 3 การได้ทำงานที่มีความหมาย (Rule #3 – Work Must Have Meaning and Vision) คือสิ่งที่ต้องการของ Gen Y
เฉกเดียวกับเมื่อไปถามคนงานก่อสร้างว่าทำอะไรอยู่ คนแรกบอกว่ากำลังเรียงอิฐ คนที่สองบอกว่ากำลังก่อกำแพง คนที่สามบอกว่ากำลังสร้างโบสถ์ที่สำคัญ
Gen Y defines work that has value
- มี 2 ปัจจัยที่ Gen Y ให้คุณค่าในการทำงาน คือ:
- 1.มีทิศทางที่มีความหมาย
- 2.ตรงกับจุดมุ่งหมายGen Y ต้องการเห็นผลระยะสั้น ไม่เกิน 2-3 ปี
- วิสัยทัศน์ของบริษัท ควรจริงใจ
Leadership Transparency Model บริษัท ควรมีความโปร่งใสของการนำองค์กร ในเรื่อง
- ข้อมูล (Data)
- ปัจจัยนำเข้า (Input)
- กระบวนการ (Process)
กฏข้อที่ 4 มีอะไรจะให้ช่วยเหลือบ้าง ? (Rule #4 – Ask "What Can I Do For You?" Not: "What Can You Do for Me?")
- กฏข้อนี้ไม่ได้ใช้กับวันแรกที่ทำงาน แต่ต้องประกาศให้รู้ ตั้งแต่โฆษณารับสมัครคนงาน
- สำหรับ Gen Y การเรียนรู้คือสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
-
Gen Y ต้องการทำงานอย่างฉลาด ไม่ใช่ทำงานหนัก
กฏข้อที่ 5 ช่วยกันทำงาน (Rule #5 – The Work World is a Social Community)
-
Gen Y ชอบทำงานด้วยกันตั้งแต่ต้นจนจบ
- ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
- การประชุมต้องมีจุดหมาย และต้องการผลสำเร็จที่แน่นอน
-
ทำให้แล้วเสร็จ และไม่มีการกินแรงกัน
กฏข้อที่ 6 เป็นมืออาชีพแบบส่วนตัว (Rule #6 – Being Professional Means Getting Personal)
- ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ ต้องทำแบบโปร่งใส
- ความโปร่งใสหมายถึงความไว้วางใจกัน
สิ่งที่ Gen Y อยากรู้ 4 เรื่อง (เตรียมหาคำตอบไว้ด้วย)
- ท่านเริ่มอย่างไร ?
- อะไรคือค่านิยมของท่าน?
- ท่านทำอย่างไรจึงมีวันนี้ได้?
- ท่านมีจุดหมายสู่ที่ใดต่อไป?
ความเป็นเฉพาะตัวของ Gen Y
1.มีความเชื่อมั่นในตนเอง (Self esteem)
2.มีพลัง (Power)
3.เน้นเทคโนโลยี (Technological authority)
4.ทำทันที (Immediacy)
5.มีลักษณะเฉพาะตน (Customization)
6.มีความร่วมมือกัน (Concurrency)
สรุป การบริหารบุคลากรที่เป็น Gen Y
- Rule #1 – Real Time Positive Reinforcement (ชมทันทีที่สำเร็จ)
- Rule #2 – Two-Way Constructive Criticism (พูดอย่างสร้างสรรค์)
- Rule #3 – Work Has Meaning and Vision (ให้งานที่มีความหมาย)
- Rule #4 – What You Can Do for Them (ให้การสนับสนุน)
- Rule #5 – Work Can Be Fun (ชอบทำงานเป็นทีม)
- Rule #6 – Get Personal (สร้างความคุ้นเคยเฉพาะตัว)
***********************************