สมองเสื่อม...ท้าทายจิตตปัญญา


ขอบพระคุณท่านอาจารย์พญ.สิรินทร ฉันศิริกาญจน ผู้มีประสบการณ์กว่า 10 ปีในการริเริ่มก่อตั้งระบบการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมและทำให้ดร.ป๊อปได้มีโอกาสพบกับอาจารย์แพทย์รุ่นใหม่ อจ.สมทรง (พยาบาลผู้เสียสละกับสมาคมการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อม) และทีมสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์...ทำให้กิจกรรมบำบัดอยู่ในทีมฝึกอบรมบุคลากรสุขภาพทั่วประเทศ

วันนี้นับว่าคุ้มค่าที่ดร.ป๊อปหายจากไข้ทอนซิลอักเสบ...ตื่นตีสีครึ่งเพื่อเดินทางไปขอนแก่น แม้ว่าจะมีเวลาบรรยายเชิงปฏิบัติการเรื่อง ADL - Functional Maintainance ตอน 12.45-13.30 น. เริ่มจริงๆก็ราว 13.00 น. จึงย้ำประเด็นสำคัญให้ผู้เข้าอบรมกว่า 170 ท่านได้ทำความเข้าใจกิจกรรมบำบัดมากขึ้นโดยสรุปดังต่อไปนี้

1. จากหัวข้อที่ให้...นักกิจกรรมบำบัดมีมุมมองที่เน้นผู้สูงอายุให้เพิ่มความสามารถจนถึงศักยภาพสูงสุด ไม่ว่าจะบกพร่องใดๆก็ตามโดยปรับสิ่งแวดล้อม 5 ด้านที่อยู่ภายนอกตัวเรา กับอีก 1 ด้านที่ขณะทำกิจกรรมในชีวิตจริงก็ต้องเข้าใจการรับความรู้สึก การรับรู้ และการรู้คิด

2. ในทีมสุขภาพ อาจมองเป้าหมายในการคงไว้ซึ่งความสามารถของร่างกาย แต่กิจกรรมบำบัดสนใจการทำกิจกรรมกับการมีส่วนร่วมตามแนวคิดสากลของการจำแนกผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกายนานาชาติ หรือ ICF

3. ในสามสไลด์ข้างต้น บุคลากรสุขภาพพยายามประเมินการทำกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นและขั้นสูง แต่ไม่มีแบบประเมินใดๆที่สามารถทำความเข้าใจกับความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันได้ัชัดเจนในผู้สูงอายุสมองเสื่อม จำเป็นที่ต้องมีการประเมินหลายมิติและการประเมินภาวะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะของผู้สูงอายุกับผู้ดูแลด้วย ที่น่าสนใจนักกิจกรรมบำบัดต่อยอดกิจวัตรประจำวันขั้นสูงได้ถึง 12 กิจกรรมขณะที่บุคลากรสุขภาพประเมินเพียง 7 กิจกรรม แต่จริงๆกิจวัตรประจำวันต้องจัดการระบบคิดของผู้สูงอายุให้เป็นรูปธรรมเช่น การเลือกภาพกิจกรรมไม่เกิน 10 กิจกรรมเพื่อจัดลำดับฝึกในแต่ละวันกับนักบำบัด (มีตัวอย่างที่ดีคือ นักกิจกรรมบำบัดในแต่ละประเทศสากลพิจารณากิจกรรมการดำเนินชีวิตไม่เกิน 258 กิจกรรม ที่เชื่อมโยงระหว่างการดูแลตนเอง (ทั้งกิจวัตรประจำวันขั้นต้นและขั้นสูง) การใช้เวลาว่าง การสร้างคุณค่าในตนเองจากผลงานหลังการทำกิจกรรม และการพักผ่อนหย่อนใจ อย่างไรก็ตามหลักสูตรที่เฉพาะในการดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อมอย่างพิเศษน่าจะต้องฝึกฝนทักษะความรู้ ทักษะปฏิบัติ และทักษะกระบวนการคิดดี รวมอย่างน้อย 20 ชม.ต่อหนึ่งด้านของกิจวัตรประจำวัน ศึกษาเพิ่มเติมจากที่นี่ในการบำบัดด้วยกิจกรรมสำหรับผู้ดูแล [Acknowledgement YOUTUBE.COM]

4. ตัวอย่างข้างต้นเป็นการประเมินและการบำบัดฟื้นฟูความรู้ความเข้าใจในระดับ 1-3 ที่ตั้งเป้าหมายจาก 1 ไป 2 จาก 2 ไป 3 โดยเชื่อมโยงกับการปรับผิวสัมผัสอาหาร ความชอบอาหาร (5 จาก 10 เมนู) และจังหวะที่สัมพันธ์ระหว่างการหายใจกับการกลืน คลิกศึกษากิจกรรมบำบัดกับการบริโภคอาหาร/ยาที่นี่ [Acknowledgement YOUTUBE.COM]

5. ตัวอย่างข้างต้นเป็นการประเมินและการบำบัดฟื้นฟูความรู้ความเข้าใจในระดับ 1-5 ในการฝึกทักษะการเข้าห้องน้ำกับการขับถ่าย คลิกศึกษาวิธีการฝึกที่นี่ และการฝึกอาบน้ำที่นี่ [Acknowledgement YOUTUBE.COM]

6. ผู้เข้าอบรมน่าจะเกิดความคิดเช่ื่อมโยงกับความรู้ช่วงเช้าที่อจ.แพทย์และพยาบาลในช่วงเสวนาที่น่าสนใจตั้งแต่ระบบการวางแผนการเยี่ยมบ้านที่มีความสำคัญและความต่อเนื่องของการปรับสิ่งแวดล้อม [คุณหมอแนะนำ http://www.yotathai.com/] โปรแกรมการกระตุ้นสมองด้านความรู้ความเข้าใจ โปรแกรมการป้องกันสมองเสื่อมที่ต่อเนื่อง และโปรแกรมสำหรับผู้ดูแลผู้สูงอายุสมองเสื่อม ตลอดจนการพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุในรูปแบบสหวิชาชีพการพัฒนาความทรงจำ การเคลื่อนไหวที่สนุก สุข และสบาย เป็นกิจกรรมบูรณาการที่มีการวางแผนได้น่าสนใจ ณ รพ.พระมงกุฎเกล้า (เน้นอยู่กับปัจจุบัน มิติสัมพันธ์ การจำภาพ-ตัวเลข การวาดแผนที่ การเลื่อกซื้อของ-การจัดบ้านสองมิติ การเขียนไดอารี่อัตชีวประวัติ การทัศนศึกษาพร้อมการวาดแผนที่และความรู้ การเคลื่อนไหวตารางเก้าช่อง การฝึกใส่ใจรายละเอียด-ฟังเพลงกับเรื่องเล่า-เล่าเรื่อง-วาดภาพหลังฟังกลุ่มเล่าเ่รื่อง มีการบ้าน สรุป และตรวจกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง การแนะนำตัว-จุดเด่น-ทำท่าทางในกิจกรรมที่ชอบ และการฝึกวางแผนด้วยตนเอง) อีกทั้งมีแนวปฏิบัติที่ดีจากรพ.รามาฯ รพ.ศิริราช รพ.ศรีนครินทร์ รพ.โคราช ฯลฯ ที่มีการทำงานสหวิชาชีพระหว่างแพทย์เวชศาสตร์ผู้สูงอายุ-แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว-จิตแพทย์-นักกายภาพบำบัด-นักกิจกรรมบำบัด-พยาบาล-นักโภชนาการ-นักจิตวิทยา-ฯลฯ ส่งผลให้เกิดระบบการดูแลที่ค่อยๆงอกงามขึ้นในบริบทต่างๆ ซึ่งอ.สิรินทรคาดว่าต้องใช้เวลาในการใช้ความดีค่อยๆเรียนรู้ค่อยๆพัฒนาระบบที่งอกงามแล้วเชื่อมต่อเป็นระบบการส่งต่อกับระบบการให้คำปรึกษาที่เป็นรูปธรรมในอีก 3 ปีข้างหน้า ตลอดจนนวัตกรรรมการบำบัดด้วยกิจกรรมหลากหลายเทคนิค เช่น มอนเตสซอรี่ ภูมิปัญญาผู้สูงอายุ การดูแลชุมชนเข้มแข็ง ฯลฯ



หมายเลขบันทึก: 584778เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2015 20:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มกราคม 2015 20:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

-สวัสดีครับพี่หมอ

-ตามมาเยี่ยมและให้กำลังใจครับ

-หายจากอาการป่วยก็เดินทางไปขอนแก่น

-อากาศกำลังเปลี่ยนแปลงคนปรับตัวไม่ทันก็เลยเจ็บป่วยครับ

-มาชิมผักสด ๆ เพิ่มวิตามินให้ต่อต้านกับโรคภัย ณ Hi Hug House@หนองราง ด้วยกันนะครับ


น่าสนใจและให้ความรู้ดีมากค่ะ

ขอบพระคุณมากครับสำหรับกำลังใจที่งดงามเสมอจากคุณเพชรน้ำหนึ่ง

ขอบพระคุณมากครับพี่โอ๋ คุณยายธี และอ.ดร.ไพโรจน์ จันทรมณี

ได้ความรู้มากเลยครับ

ดูแลสุขภาพดีๆนะครับ

ม๊โอกาสก็ออกกำลังกายบ้างครับ

ขอบพระคุณมากครับ ผมก็พยายามลดงานและเพิ่มเวลาว่างออกกำลังกายครับพี่ขจิต พี่ชายที่แสนดี

ขอบพระคุณมากครับคุณจัตุเศรษฐธรรม พี่ดร.พจนา และคุณ Bonjure

ผู้สูงอายุสมองเสื่อมเป็นปัญหาใหญ่แล้วค่ะ

ญาติก็ต้องการความรู้ความเข้าใจในการดูแล และเมื่อไม่รู้ก็ทอดทิ้งค่ะ ป่วยก็เอามาขอร้องแกมบังคับให้แพทย์รับไว้นอนรพ. เพิ่มโรคติดเชื้อให้เสียชีวิตได้ง่ายขึ้น

บุคลากรเองก็ไม่เข้าใจวิธีดูแลนะคะ

เห็นด้วยและขอบพระคุณมากครับพี่ Nui

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท