กุศลกรรม 10


การให้ทาน ก่อนถึงว่าบทที่ว่าด้วยจะไปให้ทานที่ไหน ขอกล่าวถึง ทานแต่ละประเภทโดยสังเขปดังต่อไปนี้

1 ทานมัย การบริจาคเงินหรือสิ่งของ เช่นการใส่บาตรอาหาร บริจาคเงินสร้างสาธารณประโยชน์

2 ศีลมัย การตั้งมั่นอยู่ในศีล รักษาศีล พิจารนาศีลของตนไม่ขาดทะลุ หรือด่างพร่อย

3 ภานามัย การฝึกจิตรักษาใจให้สงบ อย่างที่กล่าวในบทข่างต้น

4 ไวยาวัจจมัย การสละแรงกายช่วยเหลือผู้อื่นหรือส่วนรวมเช่นการที่นักเรียนนักศึกษามาช่วยกันสร้างโรงเรียนอาคารเรียนให้เด็ก ๆ ในท้องถิ่นทุรกันดาร เป็นต้น

5 อปจายนมัย ความอ่อนน้อมถ่อมตัว ไม่ถือตัวถือตนดูถูกผู้อื่น แม้กับคนที่อายุน้อยกว่า หรือฐานะด้อยกว่า

6 ปัตตานุโมทนามัย ความยินดีในความดีของผู้อื่น เช่นเมื่อเห็นคนอื่นทำกุศลก็อนุโมทนา หรือยินดีด้วย

7 ปัตติทานมัย การเผื่อแผ่ความดีให้ผู้อื่นได้มีส่วนร่วม หรือการบอกบุญให้ร่วมกันทำความดีร่วมกัน

8 ธรรมสวนมัย การฟังธรรมะ การฟังข้อคิดที่ดีงามในการดำเนินชีวิต

9 ธรรมเทศนามัย การให้ธรรมะ และข้อคิดที่ดีงามแก่ผู้อื่น

10 ทิฏฐุชุกรรม การนึกคิดในทางที่ถูกต้องดีงาม

บทต้นผู้เขียนได้กล่าวถึงการสร้างกุศลกรรมในภาพกว้างตามแนวทางพระพุทธศาสนา ต่อจะเล่าถึงการให้ทานในที่ต่าง ๆ ที่เราสามารถสร้างบุญกุศลอยางง่าย ๆ ในชีวิตประจำวัน ในชีวิตของคนทำงานอาจมีวัดอยุดเพียงหนึ่งหรือสองวันต่ออาทิตย์เท่านั้นนนอกจากนั้นเช่นวันอยุดสำคัญวันนักขัตตฤกษ์ต่าง ๆ ก็ล้วนแต่เป็นวันที่ปุถุชนหรือคนมีกิเลสมิได้อยู่กันอย่างสันโดษจะได้มุ่งให้กุศลกรรมพอเกิดขึ้นได้เช่นการไปวัดทำบุญ การให้ทานกับเด็กกำพร้าคนชราช่วยเหลือชีวิตสัตว์ไถ่ชีวิตสัตว์ การสอนเด็กการเป็นอาสาสมัครบ้านเด็กกำพร้า บ้านคนชรา การสร้างสาธารณประโยชน์เช่นถนนหนทางวัด ดูแลท้องถิ่นชุมชน การมีจิตใจสวยงามยิ้มแย้มแจ่มใส หรือแม้แต่การงดสังสรรค์เครื่องดื่มมึนเมาเข้าสถานบันเทิงเริงรมย์ให้น้อยลงหรืองดเว้นเลยยิ่งดีเป็นกุศลกรรมที่ดีกับตัวเองสร้างความรักความสุขอย่างง่าย ๆ กันเองภายในครอบครัวสร้างรอยยิ้มความสุขให้ครอบครัว ทำให้ได้รายได้เพิ่มขึ้นมาจุนเจือสร้างสุขให้ครอบครัว นอกจากนี้ในเศรษฐกิจกระแสหลักการถั่งโถมโหมแรงของไฟกิเลส ที่มาในรูปโฆษณา มันรุนแรงเร่าร้อนให้บางคนถึงกับเป็นโรคติด ช๊อบปิ้งต้องซื้อต้องจับจ่ายอยู่ตลอดเวลาสิ้นเปลืองเงินทอง ไม่มีสติทำความเดือดร้อนให้กับตนเองและครอบครัว

การทำบุญที่วัด

การทำบุญที่เป็นที่นิยมกันที่วัด เป็นบุญเป็นกุศลกรรมที่ดี ขอชื่นชมและสนับสนุนให้ทำกันต่อไปให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไปนอกจากเป็นกุศลกรรมที่ดีแก่ผู้ทำแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมประเพณี และรักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมความดีงามของความเป็นอยู่แบบชาวพุทธ ส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้เจริญยิ่งขึ้น การทำบุญที่วัดเป็นทานที่สำคัญ ผู้ทำต้องตั้งใจ ให้บริสุทธิ์ และวัตถุทานที่ทำก็บริสุทธิ์ พิจารณาแล้วไม่ทำแบบตาม ๆ กันไปดังนั้นต้องนึกถึง เมื่อพระสงฆ์รับทานไปแล้วเป็นวัตถุทานที่ดีเป็นประโยชน์ใช้งานได้จริง ๆ มีสังฆทานมากที่มีวัตถุทานที่มากเกินไป ไม่เป็นประโยชน์ เช่นในบางวัดได้ถังสีเหลืองจำนวนมากหรือ บางวัดไม่ได้ใช้เทียนแล้ว หรือมีของการปนเปื้อนกันในถังเช่นผงซักฟอก ปนกับอาหารในถังเดียวกันเป็นต้น มีของบางอย่าง ที่ไม่ได้ใช้ หือใช้ไม่ได้ เช่นผ้าอาบน้ำฝนผืนเล็ก ๆ หรืออาหารแห้งด้อยคุณภาพ จึงอยากให้ใส่ใจในการเลือกสรร ของดีมีคุณภาพ และเป็นประโยชน์ได้ใช้จริง ๆ ตามแต่ทรัพย์และปัจจัยที่เราทำได้ด้วยความตั้งใจใส่ใจด้วยความประณีต

หมายเลขบันทึก: 584771เขียนเมื่อ 29 มกราคม 2015 16:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มกราคม 2015 16:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท