บทบาทและหน้าที่ของผู้บริหารทางการเงินในองค์กรธุรกิจ


ปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจและการเงินมีความผันผวนอย่างมาก อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนของเงินสกุลต่าง ๆ การขึ้นลงประจำวันของราคาน้ำมัน การขึ้นลงของอัตราเงินเฟ้อ การปฏิรูปทางกการเงินและการเกิดนวัตกรรมทางการเงิน ทำให้ผู้บริหารการเงินต้องเรียนรู้ และปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ ต่าง ๆ ตลอดจนการนำเทคโนโลยีและวิทยาการทางการเงินสมันใหม่เข้ามาใช้ บทบาทและหน้าที่ของผู้บริหารการเงินจึงต้องมีขอบข่ายงานกว้างขวางจากเดิม เพื่อให้ครอบคลุมถึงหน้าที่และความรับผิดชอบต่อบุคคลหลายฝ่ายที่เข้ามาเกี่ยวข้องรวมทั้งรัฐบาลได้เพิ่มบทบาทเข้ามาควบคุมการดำเนินงานของธุรกิจ เพื่อเป้าหมายของการพัฒนาเศรษฐกิจและสวัสดิการแก่สังคมมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ธุรกิจจำเป็นต้องดำเนินงานและประสานงานกับหลาย ๆ ฝ่าย ทำให้การบริหารงานของผู้บริหารการเงินต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อผู้ที่เกี่ยวข้องด้านต่าง ๆ ดังนี้1 ความรับผิดชอบต่อเจ้าของหรือผู้ถือหุ้น คือ ต้องการให้ผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในอัตราสูงสุด 2.ความรับผิดชอบต่อลูกจ้าง(พนักงาน)คือ ต้องส่งเสริมให้ลูกจ้างมีความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ และความมั่นคงในการทำงาน ตลอดจนจัดให้มีสวัสดิการแก่ลูกจ้างด้วย3.ความรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้ คือ การบริหารงานให้มีความมั่นคงทางการเงิน เพื่อเจ้าหนี้จะได้มีความมั่นใจว่าธุรกิจสามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดเวลา4.ความรับผิดชอบต่อรัฐบาล คือ ธุรกิจต้องดำเนินงานโดยไม่ขัดต่อรัฐบาล และกฎหมายของประเทศที่ตนดำเนินงานอยู่5.ความรับผิดชอบต่อชุมชนในสังคม คือ ธุรกิจต้องดำเนินงานโดยไม่เป็นภัยต่อสุขภาพ หรือศีลธรรมอันดีต่อประชาชน หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารการเงิน (The Financial Staff’s Responsibilities) ไม่ว่าธุรกิจจะมีรูปแบบองค์กรเป็นอย่างไรก็ตาม จะเป็นกิจการขนาดเล็ก ขนาดกลางหรือขนาดใหญ่ ผู้บริหารการเงินจะมีหน้าที่หลักในการบริหารเพื่อทำให้เกิด มูลค่าเพิ่มแก่กิจการ นั่นหมายถึงการบริหารเพื่อให้เกิดผลกำไรและขยายกิจการให้เกิดความเจริญ เติบโตในอนาคตอันจะส่งผลให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงสุดแก่กิจการ ( Maximizing Value of the Firm) ดังนั้นหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารการเงินจะมี 5 ประการคือหน้าที่ในการพยากรณ์และวางแผน ( Forecasting and Planning)หน้าที่ในการตัดสินใจลงทุนและจัดหาเงินทุน ( Investment and Financing Decision) หน้าที่ในการประสานงานและควบคุม (Coordination and Control)หน้าที่ในการเป็นตัวแทนขององค์กรทำการติดต่อกับตลาดการเงิน ( Dealing with the Financial Market) หน้าที่ในการบริหารความเสี่ยง (Risk Management)หน้าที่ในการพยากรณ์และวางแผน ( Forecasting and Planning) ผู้บริหารการเงินจะมีหน้าที่ในการประสานงานกับฝ่ายต่าง ๆ ขององค์กรเพื่อรับข้อมูลอันเป็นประโยชน์ต่อการพยากรณ์ และวางแผนทางการเงิน ซึ่งการพยากรณ์และการวางแผนสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ - การพยากรณ์และการวางแผนการเงินระยะสั้น - การพยากรณ์และการวางแผนการเงินระยะยาว เพื่อพยากรณ์หรือคาดการณ์เกี่ยวกับการรับและจ่ายเงินสดของกิจการว่าเป็นอย่างไร ในแต่ละเดือนมีเงินสดส่วนเกินหรือเงินสดขาดมือจำนวนเท่าใด ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารสามารถวางแผนว่าถ้าในเดือนที่กิจการมีเงินสดส่วนเกินควรนำเงินไปลงทุนอย่างไร หรือเดือนใดที่เงินสดขาดมือ ควรจัดหาเงินสดมาจากแหล่งใด การพยากรณ์และวางแผนการเงินระยะสั้นนี้ช่วยให้กิจการได้ใช้เงินทุนระยะสั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดและรักษาสภาพคล่องของกิจการอย่างมีประสิทธิภาพ

หมายเลขบันทึก: 584210เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2015 12:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2015 12:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท