บทบาทหน้าที่ทางการเงิน



หน้าที่ทางการเงิน (financial function) ประกอบด้วยหน้าที่หลัก ๆ คือ
1. หน้าที่ในการจัดหาเงินทุน
2. หน้าที่ในการจัดสรรเงินทุน
3. การตัดสินใจในนโยบายเงินปันผลการจัดหาเงินทุนผู้จัดการทางการเงินมีหน้าที่ต้องตัดสินใจว่า ควรจะจัดหาเงินทุนมาจากแหล่งใดและจะจัดหาด้วยสัดส่วนเท่าใด จึงจะทำให้ค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนทางการเงิน (financial cost) ต่ำที่สุด ในขณะเดียวกันก็จะต้องไม่เกิดความเสี่ยงภัยทางการเงิน (financial risk) มากจนเกินไป
การจัดหาเงินสามารถจัดหาได้จาก 2 แหล่งใหญ่ ๆ คือ
1. แหล่งเจ้าหนี้หรือหนี้สิน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้1. หนี้สินระยะสั้น ได้แก่ การซื้อเชื่อ การเบิกเกินบัญชี ตั๋วเงินจ่าย รายได้รับล่วงหน้า ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เป็นต้น2. หนี้ระยะปานกลาง ได้แก่ การเช่าทรัพย์สิน การซื้อผ่อนชำระ เป็นต้น3. หนี้สินระยะยาว ได้แก่ การกู้ยืมระยะยาว การออกจำหน่ายหุ้นกู้หรือพันธบัตร เป็นต้นในการจัดหาเงินจากแหล่งหนี้สินนี้จะมี financial risk สูง แต่มี financial cost ต่ำ (มีความเสี่ยงทางการเงินสูงแต่มีต้นทุนทางการเงินต่ำ)
2. แหล่งเจ้าของกิจการ ได้แก่ การออกจำหน่ายหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ และกำไรสะสม ซึ่งการจัดหาเงินทุนจากแหล่งเจ้าของกิจการจะเสียต้นทุนทางการเงิน (financial cost) สูง แต่จะมีความเสี่ยงทางการเงิน (financial risk) ต่ำส่วนการพิจารณาสัดส่วนการจัดหาเงินทุนว่าควรจะจัดหาจากแหล่งต่าง ๆ ในสัดส่วนเท่าใด เพื่อให้การจัดหาเงินทุนเป็นไปอย่างเหมาะสม ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับการชอบความเสี่ยง (risk preference) ของผู้บริหารทางการเงินแต่ละคนว่าชอบความเสี่ยงมากหรือน้อย ถ้าหากชอบความเสี่ยงมากโครงสร้างเงินทุนก็จะประกอบไปด้วยสัดส่วนของหนี้สินมากกว่าส่วนของเจ้าของ แต่ถ้าไม่ชอบความเสี่ยงโครงสร้างเงินทุนก็จะประกอบไปด้วยสัดส่วนของส่วนของเจ้าของมากกว่าหนี้สิน การตัดสินใจจัดหาเงินทุนจึงเป็นตัวกำหนดต้นทุนของเงินทุน (cost of capital) และความเสี่ยงทางการเงิน (financial risk) หรือความเสี่ยงที่อาจจะไม่สามารถชำระหนี้ได้เมื่อถึงกำหนดชำระ ซึ่งแหล่งเงินทุนแต่ละแหล่งจะมีคุณลักษณะแตกต่างกันดังนี้- แหล่งเงินทุนระยะสั้น โดยปกติจะเสียต้นทุนของการจัดหาเงินต่ำ เนื่องจากเจ้าหนี้รับภาระความเสี่ยงในระยะเวลาไม่นานนัก จึงสามารถรับอัตราผลตอบแทนที่ต่ำได้ แต่ความเสี่ยงภัยในการหาเงินจะสูง เนื่องจากผู้จัดหาเงินมีเวลาสั้นในการหาเงินมาชำระหนี้- แหล่งเงินทุนระยะยาว โดยปกติจะเสีย ต้นทุนของการจัดหาเงินสูง เนื่องจากมีระยะเวลานาน เจ้าหนี้จะรับภาระความเสี่ยงเพิ่มขึ้น จึงต้องเรียกร้องดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น เพื่อให้คุ้มกับความเสี่ยงที่เจ้าหนี้ได้รับ แต่ความเสี่ยงภัยในการหาเงินต่ำ เนื่องจากผู้จัดหาเงินมีเวลานานในการหาเงินมาชำระหนี้ในการเปรียบเทียบแหล่งของการจัดหาเงินทุนโดยละเอียดว่าแหล่งใดมีความเสี่ยงภัยสูงหรือต่ำกว่า และต้นทุนการจัดหาสูงหรือต่ำกว่า ก็อาจเปรียบเทียบจากการเรียงลำดับการจัดหาเงินทุนจากงบดุลทางด้านขวาหรือด้านหนี้สินและทุนซึ่งโดยปกติจะเรียงลำดับจากแหล่งเงินทุนที่มีระยะสั้นที่สุดไปหาแหล่งที่มีระยะยาวที่สุด หรือเรียงจากความเสี่ยงสูงที่สุดไปหาความเสี่ยงต่ำที่สุดดังนี้ผู้จัดการทางการเงินที่เลือกจัดหาเงินทุนจากแหล่งระยะสั้นในสัดส่วนที่มากกว่าจะเสียต้นทุนในการจัดหาเงินทุนที่ต่ำแต่มีความเสี่ยงภัยสูง ตรงข้ามกับผู้จัดการทางการเงินที่จัดหาเงินทุนจากแหล่งระยะยาวในสัดส่วนที่มากกว่าจะเสียต้นทุนในการจัดหาเงินทุนสูงแต่ความเสี่ยงภัยจะลดลงการจัดสรรเงินทุนผู้จัดการทางการเงินจะต้องตัดสินใจว่าควรจะนำเงินทุนที่ได้มาไปลงทุนสินทรัพย์อะไรบ้างและในสัดส่วนเท่าไร ซึ่งถ้าหากเป็นการลงทุนในเงินสดก็จะไม่ก่อให้เกิดรายได้ แต่จะก่อให้เกิดความคล่องตัวในการชำระหนี้ แต่ถ้าหากเป็นการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรก็จะก่อให้เกิดรายได้สูง แต่ความคล่องตัวหรือสภาพคล่องในการเปลี่ยนเป็นเงินสดเพื่อการชำระหนี้ต่ำสุดนั่นคือ เมื่อดูจากการจัดสรรเงินทุนในงบดุลทางด้านซ้าย จะเห็นว่าทรัพย์สินหมุนเวียนจะมีสภาพคล่องที่สูงแต่ให้ผลตอบแทนที่ต่ำ ส่วนทรัพย์สินถาวรจะมีสภาพคล่องที่ต่ำแต่จะให้ผลตอบแทนที่สูง (สภาพคล่อง หมายถึง ความสามารถในการเปลี่ยนสินทรัพย์ให้เป็นเงินสด เพื่อนำมาชำระหนี้ให้เร็วที่สุด)ในการจัดสรรเงินทุนนั้นจะส่งผลกระทบต่อหลายอย่างดังนี้
- ขนาดของธุรกิจ (size of firm)
- สภาพคล่องของธุรกิจ (liquidity)
- กำไรของกิจการ (return)
- ขนาดของกำไร (size of profit)
- ความเสี่ยงของธุรกิจ (business risk) 
อ้างอิง http://52010916041.blogspot.com/2012/09/blog-post_12.html


.

คำสำคัญ (Tags): #สุจิตรา
หมายเลขบันทึก: 584208เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2015 12:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2015 13:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท