โครงการสร้างคนที่ชุมชนบ้านปะอาว : (ตอนที่ 1) อารัมภบท​


กรอบงานที่เราสองแม่ลูกจะเข้าไปทำในชุมชนคือ สื่อเผยแพร่งานศิลปหัตถกรรมเครื่องทองเหลืองบ้านปะอาว สำหรับผู้สนใจ .. แต่สำหรับเราได้รับมากกว่านั้น .. กิจกรรมการผลิตสื่อเผยแพร่นี้เป็น 'สื่อ' นำเราเข้าไปสัมผัส 'วิถีชีวิต' ของคนในชุมชนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชน

16 ม.ค.58

ดิฉันมีประสบการณ์คลุกคลีอยู่ในชุมชนบ้านปะอาวมานานกว่า 5 ปีแล้ว มีความผูกพันกับชุมชนนี้มาก จนบอกกับตัวเองว่าเป็นคนปะอาว และจะใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุราชการที่ชุมชนนี้

ลูกสาวคนเล็กของดิฉันเรียนปริญญาโท สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วันนี้เธอเหลือเพียงงานภาควิทยานิพนธ์ เท่านั้น หากสอบผ่าน เธอก็จะได้เป็นมหาบัณฑิตสมความตั้งใจ

การเรียน coursework นั้นผ่านไปได้อย่างสบายๆ แต่สำหรับวิทยานิพนธ์นั้นไม่ง่าย เพราะเธอเรียนจบปริญญาตรีก็เรียนต่อปริญญาโททันที จึงไม่มีประสบการณ์การทำงาน ประสบการณ์ชีวิต 24 ปีไม่สามารถช่วยอะไรเธอได้เลยแม้แต่น้อย

ดิฉันเคยพูดเปรยๆ ถึงแนวความคิดที่จะส่งเธอไปฝึกงานวิจัยภาคสนามที่บ้านปะอาว ดูเธออิดๆ ออดๆ ไม่อยากไปนัก คืนนี้เรานอนคุยกันอย่างจริงจัง ต่อเมื่อเห็นว่าแม่ตั้งใจจริง เธอก็ยอม เราจึงวางแผนร่วมกันว่า

กรอบงานที่เราสองแม่ลูกจะเข้าไปทำในชุมชนคือ ผลิตสื่อเผยแพร่งานศิลปหัตถกรรมเครื่องทองเหลืองบ้านปะอาว สำหรับผู้สนใจ จำนวน 3 กลุ่ม ซึ่งดิฉันได้สัญญากับ 'พ่อช้าง' ครูภูมิปัญญา ที่ศูนย์ฯ ว่าจะจัดการให้ตั้งแต่หลายปีก่อน ช่วงที่ทำงานวิจัยของตนเอง ดังนั้นสิ่งที่ชุมชนจะได้รับตรงๆ คือ เทคโนโลยีเผยแพร่งานศิลปหัตถกรรมเครื่องทองเหลือง .. แต่สำหรับเราได้รับมากกว่านั้น

เราวางแผนใช้กิจกรรมการผลิตสื่อเผยแพร่นี้เป็น 'สื่อ' นำเราเข้าไปสัมผัส 'วิถีชีวิต' ของคนในชุมชนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของชุมชน เราจะได้เรียนรู้ถึงการดำรงชีวิต วิธีคิด มุมมอง การเผชิญปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ฯลฯ ของคนต่างบทบาท ต่างวัย ในชุมชนนั้น ดิฉันจะพาสูกสาวเข้าไปแนะนำตัวที่ศูนย์ฯ ด้วยความสัมพันธ์อย่าง 'เพื่อนเก่า' เพื่อ 'ฝากฝัง' ลูกหลานให้ดูแลคนหนึ่ง หลังจากนั้นจึงจะทะยอยไป 'คารวะผู้ใหญ่' ตามสถานการณ์

แผนการนี้ได้ผลดีเกินคาด เพราะวันรุ่งขึ้น เราได้คารวะ 'ผู้ที่ใหญ่ที่สุด' ของชุมชนนี้โดยบังเอิญ แล้วจะเล่าให้ฟังในตอนที่ 2 นะคะ

หมายเหตุ : ดิฉันขอเผยแพร่บทความนี้ 1 วัน (18 ม.ค.58)

ขออนุญาตเปลี่ยนใจนะคะ ขอเผยแพร่ตอนนี้ต่อ เพื่อให้ผู้ที่เพิ่งเข้ามาใน gotoknow เข้าใจว่าเหตุใดเปิดอ่านบทความเกี่ยวกับโครงการนี้ไม่ได้ค่ะ และถ้าอ่านบทความที่ (92) เร่งการเรียนรู้ด้วยบทความ จะเข้าใจมากขึ้นค่ะ

หมายเลขบันทึก: 584110เขียนเมื่อ 17 มกราคม 2015 22:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2015 10:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท