นุชรัตน์
ดร. นุชรัตน์ ประสิทธิศิลป์ชัย

ล้อมวง สะท้อนผลการจัดการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม : โรงเรียนโปโลเล้าสามัคคี


"..เป็นไงบ้างครับมาดูสภาพจริง...และ ผมกราบขอขอบพระคุณทุกท่านที่มานิเทศ ตรวจเยี่ยมเพื่อสะท้อนผลการจัดการเรียนการสอน DLTV เพื่อการศึกษาชาติ เพื่อเด็ก เพื่อในหลวง..ผมเห็นบรรยากาศเปิดใจคุยกันทั้งครูทั้งชุมชน ทั้งคณะของท่านผม .ผมภูมิใจมาก ..ขอบคุณอีกครั้งครับ "...

ตามนโยบาย คสช. โดย สพฐ. ส่งเสริมให้ สถานศึกษาขนาดเล็ก จัดการศึกษาในรูปแบบทางไกลผ่านดาวเทียม โดยมีโรงเรียนวังไกลกังวลเป็นโรงเรียนต้นทาง อบรมครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกคน และยัง จัดสรรชุดอุปกรณ์ ให้ใหม่ทั้งชุด และ ให้มีโรงเรียนต้นแบบ 2 โรงเรียน ในแต่ละเขต เริ่มจัดการศึกษาอย่างจิรงจัง ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 (ภาคเรียนที่ 2) หลังจากจัดการมาได้สองเดือน ทีมขับเคลื่อน จึงได้ ร่วมสะท้อนผลการจัดการศึกษา โดยมีกิจกรรม คือ ตอนเช้าเข้าสังเกตชั้นเรียน ในทุกชั้นเรียน และ 10.00 น. เป็นต้นไป ก็ร่วมกันสะท้อนผลการจัดการศึกษา มีประเด็นที่น่าสนใจจากวงสนทนา ..โรงเรียนต้นแบบ ที่น่าสนใจ ซึ่ง สรุปประเด็น จากการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย ผอ.สถานศึกษา กรรมการสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ รอง ผอ.สพป. ดังนี้

สถานศึกษา ได้มีการปรับปรุงบริบท ให้น่าอยู่ เอื้อต่อการเรียนรู้ สะอาด สวยงาม น่าเรียน ยังไม่มีการปรับหลักสูตรให้สอดคล้องกับ รร.ต้นทาง แต่มีการกำกับ นิเทศ ในชั้นเรียนอย่างใกล้ชิด และ ให้มีการบันทึกผลหลังสอน ทุกครั้ง ทำความเข้าใจกับชุมชน ติดตั้งอุปกรณ์รับชมฯ จัดหาคู่มือ และ อบรมครู ยังไม่มีการใช้ประโยชน์จาก Harddisk External ที่บรรจุสื่อและวิดีทัศน์การสอน

กรรมการสถานศึกษา

  • "ได้เดินไปสังเกตนักเรียน และมองว่า นักเรียนบางคน สมองไม่เท่ากัน บางคนก็จด บางคนก็สนใจ และบางคนก็ไม่สนใจ ดูแล้ว แตกต่างจากสมัยก่อน อดีต นักเรียนกลัวครู แต่ปัจจุบัน มันไม่ใช่ ดังนั้น ครูจึงควรกำชับ ดูแล นักเรียน ให้ทั่วถึง "
  • ตาทองแดง ปราชญ์ชาวบ้าน ".... ช่วยการสอนครู ดีมาก ทำให้โรงเรียนเจริญก้าวหน้า"
  • ".. การสอนทางไกล ดีเพราะมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสอน ทุ่นแรง เบาแรงครู เพียงแต่คอยกระตุ้นนักเรียน "

ครูผู้สอน สะท้อนตนเอง

  • ครูสุภาพร ประจำชั้น ป.6 ณ ตอนนี้ก็ยังต้องปรับตัว ไม่คุ้นชิน แต่ก่อนครูสอนเองทุก รายวิชา การจัดกิจกรรมจะเริ่มจาก ตรวจสอบอุปกรณ์ เตรียมการสื่อการสอบใบงาน (มีไม่ครบทุกวิชา) พฤติกรมนักเรียนในระยะแรก จะเครียด ตามไม่ทัน โดยเฉพาะอังกฤษ บางครั้งเด็กก็จะร้องขึ้นมาเสียงดังๆ โอ้ย ยย "มันไวโพด จดบ่ทันดอก" แต่วิชาที่เด็กชอบ คือศิลปะ ได้วาดภาพ ระบายสี ดนตรี สำหรับครูก็เครียด เพราะต้องคุมเด็ก เครียดจนถึงปัจจุบัน ถ้าทัน นร.ชอบวิชาใดก็จะไม่เครียด นร.บางคนสมาธิสั้นมาก บางวันจะเสริม นร.บอกไม่ไหว เหนื่อยฟังมาทั้งวันก็จะให้ ออกกำลังกาย จัดห้อง ทำความสะอาด .ครูะจดบันทึก เพื่อติดตามแก้ไขนักเรียนที่ตามไม่ทัน
  • ครูวิศาล ประจำชั้น ป.5 (ครูพิเศษ ใช้เงิน รร.จ้าง) เพิ่งเข้ามาใหม่ ไม่ชินกับระบบทีวี เป็นครั้งแรก ไม่เคยมีประสบการณ์สอนแบบนี้ แรก ๆ นร.ก็ จะสนใจ ฟังดีอยู่ แต่เป็นเพียงบางวิชา เช่น คณิตศาสตร์ เพราะครูชอบคิดและเล่นไปกับเด็ก และหารางวัลมาให้เด็ก แต่เด็กเก่งก็จะทัน เด็กไม่เก่งจะไม่ทัน , ศิลปะ เด็กได้วาดภาพ แต่วิชาที่เขาไม่ชอบ และยังอ่อนมากๆ คือ วิชาภาษาอังกฤษ ไม่ทัน เพราะค่อนข้างยาก ครูก็ตามไม่ทันเหมือนกัน ครูจะเตรียมการสอน แต่ก็มีปัญหาบ้าง บางวิชาไม่มีใบงาน เช่น คณิต (อาจจะหาไม่เจอ) ครูต้องทำเสริม และจะดูคู่มือเป็นหลัก วิชาวิทยาศาสตร์ ถ้าเตรียมตัวทันก็จะมีการทดลองพร้อมกับต้นทาง เช่น การสอน การระเหย นร.จะได้สังเกตน้ำแข็ง จริงๆ สำหรับวิชาคอมพิวเตอร์ รร.ขาดแคลน เด็กต้องดูจากทีวี ครูต้องมาเสริมเอง เด็กไม่ได้ฝึกจริง เพราะขาดสื่ออุปกรณ์ . การสอนกับทีวี ช่วยได้เยอะมาก คือ บางวิชาตัวเองไม่ถนัด จึงช่วยได้เยอะมาก
  • ครูสมพร ประจำชั้น ป.4 เคยมีประสบการณ์การสอน มาก่อน ปัญหา แต่ก่อนคือ ทีวีไม่ครบชั้น ทำให้ควบคุมเด็กลำบาก เด็กไม่ดู ทีวี แต่ที่โรงเรียนนี้ ครู และ ทีวี ครบชั้น ควบคุมดูแล ได้เต็มที่ ทีวี ครูได้อยู่กับเด็กตลอด ครูเติมเต็มให้กับนักเรียน ตอนจบบทเรียน นักเรียนได้ สัมผัสกับครูทางทีวีหลายคน ช่วยสอนในภาษาอังกฤษ ดูคู่มือที่กำหนด ถ่ายใบงาน เอกสารตามมา บันทึกผลหลังสอน ตอนเวลาว่าง เป็นรายวิชา ทุกแผ่น ทุกคน แบบฟอร์ม ใช้ของโรงเรียน

  • ครูวิลาวัณย์ ประจำชั้น ป. 3 ชอบมาก เพราะช่วยในการสอนของครู มีการกำหนดการสอนให้ชัดเจน เพียงแต่ครู ศึกษา สำรวจใบงาน และมีการศึกษาจากเว็บ เตรียมใบงานล่วงหน้า ไม่ได้พยายามทำกิจกรรม การสอนในแต่ละครั้ง แต่ครูต้องเตรียมรับมือกับเด็ก เพราะนร.จะสมาธิสั้น จากการสังเกตพฤติกรรรมนักเรียนเมื่อครูในทีวี เริ่มนำเข้าสู่บทเรียน เด็กจะสนุกสนาน แต่พอเริ่มเนื้อหา เด็กเริ่มจะหลุดและไม่มีสมาธิ ครูต้องคอยกำกับ กระตุ้น อยู่ตลอด ทำให้ตัวเอง คิดสะท้อน ทบทวน เผื่อโรงเรียนอื่น ๆ ว่า ทีวีทางไกลจะมาแก้ปัญหาขนาดเล็กครูครบชั้น ได้อย่างไร ถ้า รร.ที่ครูไม่ครบชั้นจะลำบาก มากเพราะจะปล่อยนักเรียน ไม่ได้เลย เด็กจะชอบวิชาวิทยาศาสตร์ เพราะ มีคลิป นำเสนอ น่าสนใจ ครูต้องคอยขนาบข้าง นักเรียน กำกับเด็กที่ไม่อยู่นิ่ง ช่วยเหลือ แต่วิชาภาษาอังกฤษ เด็กตามไม่ทันเลย
  • ครูปารณีย์ประจำชั้น ป. 2 ดีมาก ช่วยได้ในวิชาครูไม่ถนัด เช่น นาฏศิลป์ ครูจะมีการศึกษา ล่วงหน้า และต้องอธิบายเสริม ถ้าครูครบชั้น จะดีมาก เพราะควบคุมกำกับได้ แต่ถ้าไม่ครบ เคยมีช่วงหนึ่งที่ต้องสอน ป.1-2 พร้อมๆ กัน ลำบากมาก ถ้าปล่อย นร.ดู ไปด้วยกัน จะไม่ได้ผล ครูต้องมาอธิบายเพิ่มเติม ในวิชาที่ไม่เข้าใจ .ถ้าในทีวีบรรยาย ดูอย่างเดียว เด็กจะไม่สนใจ เด็กจะเล่น ต้องกำกับ ตลอดเวลา แบบฝึกหัดครูต้องช่วยเขียนบนกระดาน บางครั้งต้องใช้มือถือ ช่วยถ่ายรูป ใบงานไว้ .บางครั้งก็มีบ้าง นร.เคยขอทำแบบฝึกหัดเพิ่ม จากทีวี เช่นคณิตศาสตร์ เขียนไทย เด็กบอกในทีวีมีน้อย ขอ เยอะๆ เพราะเขาชอบและสนใจ เด็กไม่ชอบ นาฏศิลป์ .
  • ครูสมจิตต์ ประจำชั้น ป.1 มีทั้งดีและไม่ดี ส่วนที่ดีคือ มีสื่อ เสริม มีการเตรียมการสอน กิจกรรมหลากหลาย มีการร้องรำทำเพลง เด็กได้ผ่อนคลาย ไม่ดี คือ นร.ป1 เนื้อหาสาระเยอะเกินไป แต่เด็กยังอ่านเขียนไม่ได้ ครูต้นทาง บรรยาย เยอะ บางครั้ง เด็กหมดความสนใจก่อน เช่น การสอน สระ .คอมพิวเตอร์ก็ไม่ได้สอน เนื้อหายาก บางครั้งครูก็ไม่ทัน เขาให้พิมพ์ ให้อะไร แล้ว ใบงาน ก็เป็นปัญหา ต้องหาเสริม เพราะ ใบงานไม่สอดคล้อง เด็กเขียนไม่ทัน ครูอยากได้สื่ออุปกรณ์ โน๊ตบุ๊ก บางทีใช้มือถือถ่ายรูป ..ปัจจุบัน สอนตามทีวีแต่กำกับ ย้ำ ๆ บางครั้ง ครูต้องสอน และกำกับ เด็กจะคอยลอกตามทีวี มาส่งกับ ครู (รอเฉลย) ในชั้น ป.1 ครูต้องเสริมเยอะมาก ถึงแม้จะสอนตามทีวีก็ตาม

สิ่งที่ครูทุกคนประสบ ก็คือ วิชาภาษาอังกฤษยากเกินไปสำหรับเด็ก คอมพิวเตอร์ไม่ได้สอนให้ปฏิบัติ ครูแม้จะไม่เหนื่อยในการเตรียมสอน แต่ ครูก็เครียดเพราะต้องเตรียมรับมือกับพฤติกรรรมของนักเรียน ที่บางครั้งตามไม่ทัน ไม่สนใจ ล้า และ เหนื่อย ซึ่งต้องช่วยเหลือนักเรียนในชั้นเรียน โรงเรียนขาดแคลนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ทำให้ไม่ได้ฝึกปฏิบัติจริง สำหรับวิชาพลศึกษา ทางโรงเรียน บูรณาการกับวิชาลูกเสือ สอนไปพร้อมๆ กัน โดยครูปลายทาง แบ่งเป็น ป.1-2 , ป.3-4 , ป.5-6 การวัดผลและประเมินผลในชั้นเรียน ครูไม่ได้ดำเนินการวัดประเมินผลเพิ่มเติม วัดผลตามที่ครูต้นทางดำเนินการ ครูอยากให้เขต ช่วยเหลือ ในการระดมกันทำใบงาน ใบความรู้ ในรายวิชาที่ไม่ครบ เพิ่มเติม

สิ่งที่โรงเรียนต้องการจะปรับปรุงอีกสองเดือนต่อไป คือ

  • ศึกษา เตรียมสื่อ อุปกรณ์ ให้พร้อม
  • กำกับ และคอยช่วยเหลือ นักเรียน ที่ตามไม่ทัน ปรับวินัย
  • ชั้นเรียนต้องเป็น BBL ต้องแก้ไข บริเวณโรงเรียน เช่น สนามเด็กเล่น สถานที่ออกกำลังกาย ให้พอเพียง และต้องเสริมในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และต้องสร้างวินัยให้กับนักเรียน ในบางชั้นยังไม่มีข้อตกลงร่วมกัน

การสะท้อนผลของผู้นิเทศ (หลังจากการไปสังเกตการสอนในชั้นเรียน)

  • ศน.กชพร ครูบางชั้นไม่เตรียมการสอน ซึ่งเหมือนกับให้นักเรียนมานั่งดูทีวีเพียงอย่างเดียวทำให้นักเรียนไม่สนใจ เบื่อหน่าย แต่ในบางชั้นเรียน ครูคอยกระตุ้น ตลอดเวลา นร.ก็จะมีปฏิสัมพันธ์ สนุกสนาน
  • ศน.ลานนิพนธ์ . ครูต้อง ทำการศึกษาหลักสูตร ดูกำหนดการสอน ในชั้นเรียน ป.5 ครูจะคอยเขียน คำสำคัญ กำกับ ไปพร้อมกับครูต้นทาง จับประเด็นช่วยนักเรียน ควรเพิ่มเติม ในการประเมินเจตคติของนักเรียน และควรทำ บันทึกสั้น จุดพัฒนา จุดอ่อน
  • ศน. สายรุ้ง ครู ป.1 -2 กระตุ้น เอาใจใส่ มีบันทึกผลหลังสอน และมีร่องการนิเทศ ของ ผอ.รร. พฤติกรรม นร. เช้า ๆ นร.จะสดชื่น แต่ บ่ายจะล้า ครูยังไม่ศึกษาคู่มือกสอนทางไกลอย่างลุ่มลึก ควรมีการ เตรียมการสอนไว้มากมาย มีผลการบันทึกบ้าง ควรมีการปรับผังชั้นเรียน ให้เด็กได้ดูทีวีสะดวก
  • ศน.นุชรัตน์ ครูต้องคอยกำกับชั้นเรียน ศึกษาบทเรียนล่วงหน้า และต้องเติมเรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ creative เพราะเด็ก ทำเหมือน pattern เดียวกับ ทีวี ทุกๆ คน เช่น วาดรูปเดียวกันทั้งชั้น ทำผังความคิด คอยลอกข้อความในทีวี และ ครูต้องควรเสริมกิจกรรมการสอนในรูปแบบ PBL ให้เด็กได้ศึกษาเป็นกลุ่ม ด้วยตัวเอง มีการสำรวจ ค้นพบ ในเรื่องที่เขาสนใจ และ ควรจะให้นักเรียนได้ฝึกโจทย์สถานการณ์ ไม่ใช่ถามตอบสั้นๆ
  • ศน. สมหวัง . ครูต้องเสริม และต้องมีการเตรียมตัวครู เตรียมสื่ออุปกรณ์ และต้อง จัดชั้นเรียน BBL ต้องดูธรรมชาติ นักเรียน ควรมีการสังเกตชั้นเรียนอื่นๆ ด้วยเพื่อปรับปรุงการสอน ของตัวเอง
  • รองฯศิริรัตน์ ครูต้องกำกับชั้นเรียน เสนอแนะ และไม่ทิ้งนักเรียน


คณะทีมงาน เริ่มทำงาน ตั้งแต่ 9.00 น. สังเกตชั้นเรียน เกือบสองชม.และสะท้อนผลต่อเนื่อง อีก สองชั่วโมง ขอขอบพระคุณทีมงาน มากๆ เราไม่รู้ว่า โรงเรียนคิดอย่างไร แต่ได้รับข้อความสั้นๆ จาก ผอ.โรงเรียน นายเพิ่มพูน ผ่านสำแดง ดังนี้ค่ะ

"..เป็นไงบ้างครับมาดูสภาพจริง...และ ผมกราบขอขอบพระคุณทุกท่านที่มานิเทศ ตรวจเยี่ยมเพื่อสะท้อนผลการจัดการเรียนการสอน DLTV เพื่อการศึกษาชาติ เพื่อเด็ก เพื่อในหลวง..ผมเห็นบรรยากาศเปิดใจคุยกันทั้งครูทั้งชุมชน ทั้งคณะของท่านผม .ผมภูมิใจมาก ..ขอบคุณอีกครั้งครับ "


หมายเลขบันทึก: 583678เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2015 07:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มกราคม 2015 04:31 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มองเห็นภาพชั้นเรียน และเสียงสะท้อนของครู แล้วหนักใจแทนจริง ๆค่ะ

เด็กจะทนได้หรือที่จะต้องแหงนหน้าดูจอทีวีทั้งวัน แทบทุกวิชา วันแล้ววันเล่า นอกจากใบงานแล้วนักเรียนได้มีโอกาสอะไรอีกบ้างที่จะเกิดการเรียนรู้

ถ้าไม่ปรับอะไรเลย สถานการณ์ก็คงเป็นแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ที่น่ากลัวมากคือเด็กไม่สนุก หมดความสนใจที่จะเรียน ไม่ตั้งใจเรียน และจะไม่เรียนรู้อะไรตามที่เราตั้งจุดมุ่งหมายไว้



ยังมองว่าเป็นเรื่องราวที่ดี สำหรับ dltv แต่ คนนำไปใช้ต้องฉลาด และจัดการให้เป็น ครูต้องเรียนรู้ วิธีการใช้ในการเรียนการสอน อย่างเหมาะสมกับบริบทตัวเอง แต่ถ้าเปิด และบังคับให้นักเรียนฟัง อย่างเดียว เราจะได้เด็ก pattern เดียวกัน ทั้งประเทศ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท