การสร้างและการพัฒนาสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (FORMATION AND DEVELOPMENT OF THE ASSOCIATION OF SOUTHEAST ASIAN NATIONS)


การสร้างกลุ่มอาเซียน ในช่วงปี 1967 โดยมีเป้าหมายเพื่อต่อต้านภัยคอมมิวนิสต์ และ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคอาเซียน

กิจกรรมทางกลุ่มอาเซียน มีวัตถุประสงค์เพื่อเร่งรัดการเติบโตทางเศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม และ การพัฒนาทางวัฒนธรรมในภูมิภาคผ่านข้อตกลงโดยสมัครใจและความเป็นหุ้นส่วนในการสร้างความแข็งแกร่งให้แก่กลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ เพื่อส่งเสริมสันติและความมั่นคงของภูมิภาค

สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองปัจจุบันของอาเซียน อาเซียนเกิดขึ้นในปี 1967 ในกลุ่มประเทศที่ก่อตั้งช่วงแรกๆ มีความแข็งแกร่งในระบบการเมืองการปกครองโดยการปกครองในช่วงนี้นั้น ประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีในแต่ละประเทศ ซึ่งเป็นผู้นำทางการเมืองของประเทศสมาชิกก็ตกอยู่ในอำนาจของประธานาธิบดีมาร์กอส (Marcos) และ ประธานาธิบดีซูฮาร์โต นายกรัฐมนตรีถนอม (Thanom) นายกรัฐมนตรีเราะห์มาน (Rahman) และ นายกรัฐมนตรีลี กวน ยู (Lee Kuan Yew)

ในกรณีของประเทศอินโดนีเซีย ประธานาธิบดีซูฮาร์โตเข้ามามีอำนาจในช่วงปี 1967 ภายหลังจากรัฐประหารในเดือนกันยายน ปี 1965 นายพลซูฮาร์โตพยายามที่จะแสดงจุดยืนอย่างชัดเจนในการต่อต้านคอมมิวนิสต์ และ รักษาระเบียบไว้ด้วยอำนาจทางการทหาร รัฐบาลซูฮาร์โตได้รับความช่วยเหลืออย่างมากจากต่างประเทศและการลงทุน ซึ่งส่วนใหญ่มาจากสหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่น ซึ่งอำนาจดังกล่าวของประธานาธิบดีซูฮาร์โตได้ใช้การปกครองแบบระบบทหาร (เผด็จการทหาร)

ในกรณีของประเทศไทยในช่วงปี 1967 ประเทศไทยอยู่ภายใต้ระบอบการปกครองของจอมพลถนอม ที่ขึ้นมามีอำนาจภายหลังจากการเสียชีวิตของจอมพลสฤษดิ ในปี 1963 จอมพลถนอมเป็นหนึ่งนักปฏิรูปรัฐธรรมนูญปี 1932 เหตุการณ์นี้ส่งผลทำให้ประเทศไทยมีการปกครองระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ในปี 1958 สฤษดิได้ทำรัฐประหาร และ สร้างระบอบทหารในประเทศไทย ถนอมได้สืบทอดระบอบนี้ในปี 1963 และ พัฒนานโยบายอุตสาหกรรม และ การใช้ทุนจากต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่มาจากสหรัฐอเมริกา และ ญี่ปุ่น

ในกรณีของประเทศมาเลเซียในช่วงปี 1967 นายกรัฐมนตรีของประเทศมาเลเซีย คือ ตนกู อับดุล ราห์มาน (Tunku Abdul Rahman) ในฐานะหัวหน้าพรรคพันธมิตรของมาเลเซีย นับตั้งแต่การได้รับเอกราชในปี 1957 จนกระทั่งการสร้างชาติมาเลเซียในปี 1963 สืบเนื่องจากลักษณะสังคมแบบพหุนิยม (Pluralistic Society) ดังนั้น ความเป็นผู้นำทางการเมืองในมาเลเซียจึงอาศัยความสมดุลของชนชั้นระดับสูงของกลุ่มชาติพันธ์ 3 กลุ่ม ชนชั้นอำนาจชาวมาเลย์ (Malay elite) ได้ก่อตั้ง Malays National Organization (UMNO) ขึ้นมาในปี 1946 ชนชั้นอำนาจชาวอินเดีย (Indian elite) ได้ก่อตั้ง Malayan Indian Congress (MIC) ขึ้นมาในปีเดียวกัน และ ชนชั้นอำนาจชาวจีน (Chinese elite) ได้ก่อตั้ง Malayan Chinese Association (MCA) ขึ้นมาในปี 1949 การเลือกตั้งระดับท้องถิ่นในกรุงกัวลาลัมเปอร์เมื่อปี 1952 ทำให้กลุ่ม UMNO และ MCA สร้างกลุ่มพันธมิตรขึ้นมา และในปี 1955 กลุ่ม MIC ก็เข้าร่วมกับกลุ่มพันธมิตรดังนี้ ฉะนั้น จึงก่อให้เกิดพรรคพันธมิตร (Alliance Party) แห่งมาเลเซีย พรรคพันธมิตรชนะการเลือกตั้งในปี 1959, 1964 และ 1969 ซึ่งมีอำนาจมาจนถึงทุกวันนี้ ฝ่ายค้านความเป็นผู้นำของพรรคพันธมิตร คือ พรรคคอมมิวนิสต์มาลายา (Malayan Communist party) และ พรรคกิจประชาธิปไตย (Democratic Action Party) พวกเขาเหล่านี้ยังคงสนับสนุนจุดยืนของลัทธิคอมมิวนิสต์ หรือไม่ก็ลัทธิสังคมนิยม

ในกรณีของประเทศสิงคโปร์ในช่วงปี 1967 ความเป็นผู้นำทางการเมืองของสิงคโปร์เกิดจากพรรคกิจประชา ซึ่งเป็นพรรคที่ก่อตั้งขึ้นในช่วงปี 1954 โดยการต่อสู้เพื่อเอกราช ภายในพรรคกิจประชาประกอบด้วยกลุ่มทางสายกลาง กับ กลุ่มสนับสนุนคอมมิวนิสต์ ในปี 1959 กลุ่มสนับสนุนคอมมิวนิสต์แยกตัวออกมาสร้างพรรคสังคมนิยมบารีซันตร์ในระหว่างปี 1960-1963 สิงคโปร์เข้าร่วมกับประเทศมาเลเซียในปี 1963 แต่แยกตัวออกมาปกครองตนเองในปี 1965 หลังจากนั้น พรรคสังคมนิยมบารีซันตร์ก็แสดงเจตนารมณ์ต่อต้านประชาธิปไตยของพรรค PAP และ คว่ำบาตรสภา จนกระทั่งมีการเลือกตั้งในปี 1968 พรรค PAP ก็ชนะการเลือกตั้งอีกครั้ง จากอำนาจทางการเมืองของพรรคเดียว ดังนั้น พรรค PAP จึงพัฒนาโครงการเพื่อสร้างความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมให้แก่สิงคโปร์ และ ชักชวนให้เกิดการลงทุนจากบริษัทต่างชาติ และ ในปี 1972 พรรค PAP ก็ชนะการเลือกตั้งอีกครั้ง ดังนั้น พรรค PAP ภายใต้การนำของ ลี กวนยู จึงผูกขาดการเมืองของชาวสิงคโปร์แต่เพียงผู้เดียว

อย่างไรก็ตามจากการก่อตั้งอาเซียนขึ้นมาในปี 1967 นั้น ทำให้กลุ่มประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และ สิงคโปร์จึงอยู่ภายใต้การนำของประธานาธิบดีมาร์กอส ซูฮาร์โต ลี กวน ยู ภาวะผู้นำในมาเลเซียได้เปลี่ยนจากเราะห์มานไปสู่ราซัค แต่รัฐบาลพรรคพันธมิตรยังคงครองอำนาจ ส่วนในประเทศไทย ภายหลังขบวนการเคลื่อนไหวของกลุ่มนักศึกษา ทำให้ระบอบการทหารก็ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ลำบาก ดังนั้น หากไม่นับรวมประเทศไทย ความเป็นผู้นำทางการเมืองของทั้ง 4 ประเทศก็ถือว่าอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง เพราะฉะนั้นในสถานะการณ์ปัจจุบันนี้ รัฐบาลในกลุ่มประเทศอาเซียนยังคงเผชิญกับปัญหาเดียวกัน นั่นคือ การลดทอนความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจ และ การรักษาสันติภาพระหว่างประเทศ

จะเห็นได้ว่า บทบาทและความเป็นไปในช่วงการก่อตั้งอาเซียนในปี 1967 มีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงภูมิภาคอาเซียนให้มีความเสถียรภาพ เช่น ความเป็นผู้นำทางการเมืองของกลุ่มประเทศอาเซียนที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการมุ่งต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์และโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกยังคงมีลักษณะเป็น "การผลิตที่ผลิตพืชเดี่ยวเป็นหลัก (Monoculture)" และ "เศรษฐกิจแบบคู่ขนาน (dual economic)" กลุ่มประเทศอาเซียนมีการพึ่งพาอาศัยประเทศสหรัฐอเมริกากับญี่ปุ่นค่อนข้างสูง โดยผ่านทางการค้า เศรษฐกิจ และ ความช่วยเหลือ อย่างไรก็ตามการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนจากต่างประเทศส่งผลให้ความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และ ชาติพันธุ์ขยายไปในวงกว้าง ในสถานการณ์เช่นนี้ รัฐบาลในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ให้ความสำคัญกับอำนาจทางการเมืองในระดับสูงสุด และเริ่มแก้ไขปัญหาภายในประเทศที่พยายามปรับตัวให้คุ้นเคยกับความเสถียรภาพระหว่างประเทศ จากมุมมองการพึ่งพาอาศัยทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศอาเซียน แม้อนาคตของกลุ่มประเทศอาเซียนจะไม่ดีนัก แต่ด้วยความร่วมมือทางการเมืองของกลุ่มประเทศอาเซียนในช่วง ปี 1967 ก็สามารถพัฒนาไปสู่ตำแหน่งที่ดียิ่งขึ้นในทางการเมืองระหว่างประเทศของเอเชีย

หมายเลขบันทึก: 582639เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2014 10:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ธันวาคม 2014 10:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีครับ

ขอบคุณครับสำหรับการแบ่งปันสาระความรู้ที่ค่อนข้างจะหาอ่านได้ยากคือรายละเอียดของอาเซียน สาระดีมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท