มัทนา
มัทนา (พฤกษาพงษ์) เกษตระทัต

ในที่สุด สุขภาพช่องปาก ก็เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสหวิทยาการงานดูแลผู้สูงอายุระดับจังหวัด


"network, net work, and network"

เมื่อเช้ามีประชุมกับพยาบาลรุ่นบิ๊กในกระทรวงสาธารณสุขที่นี่ ได้ประโยชน์มากๆค่ะ

สาระสำคัญคือ เค้าเป็นคนดูแลงานผู้สูงอายุของจังหวัด แล้ว เค้าเห็นว่า งานสหวิทยาการที่ทำๆกันอยู่ระดับจังหวัดนั้น ยังขาด ทันตบุคลากรเข้าไปร่วม วันนี้เลยขอมาคุยกับทีมทันตกรรมผู้สูงอายุ ของ UBC ว่าจะ วางแผนและลงมือทำโครงการอะไรร่วมกันได้บ้าง

ก็คุยกันแบบกันเอง 5 คน มีคุณหัวหน้าพยาบาลพิเศษคนนี้ อ.ที่ปรึกษาของผู้เขียน 2 คน (เป็นทันตแพทย์ทั้งคู่) ผู้เขียนเอง แล้วก็เพื่อนที่เรียนป.เอกด้วยกัน (เป็น dental hygienist)

ผลการประชุมเป็นที่น่าพอใจมากๆ สรุปได้ว่ามี 3 งานหลักที่ทำได้เลยเร็วๆนี้

1. ในเอกสารอ้างอิงที่มีเก็บไว้ตามสถานพยาบาลต่างๆนั้น ต้องเพิ่ม สุขภาพช่องปากเข้าไปด้วย เอกสารอ้างอิงนี้เป็นแฟ้มแบบห่วงขนาด ครึ่งนึงของกระดาษ A4 ปกแข็ง มีแยกเป็นส่วนๆ เป็นการ์ดแข็งๆ สี่สี  เคลือบกันน้ำ สรุปย่อความรู้ทั่วไปและทักษะการดูแลแก้ไข Geriatric Giants แต่ละด้าน เป็นเครื่องมือให้บุคลากรสาธารณสุขอ้างอิงถึงได้อย่างรวดเร็วเมื่อพบปัญหา แฟ้มนี้จะเก็บไว้ในที่ที่เข้าถึง ใครก็หยิบได้ง่ายๆ

วางแผนว่าจะเิ่พิ่ม สุขภาพช่องปากเข้าไปในโมเดล วงจรอุบาทว์ (vicious cycle) ของ Geriatric Giants ที่อยู่หน้าแรกของแฟ้ม (ปัญหาอื่นๆที่พบบ่อยในผู้สูงอายุเช่น ภาวะปัสสวะเล็ด ปัญหาหกล้ม ปัญหาแผลกดทับ ภาวะหลงลืม ปัญหาโภชนาการ หูตาฟ้าฟาง ฯลฯ) เพื่อให้เห็นความสำคัญว่าผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตโดยรวมเป็นอย่างไรบ้าง แ้ล้ัวก็ เพิ่มความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุที่ดูแลตนเองไม่ได้รวมเข้าไปในเอกสารนั้นด้วย แยกเป็นอีก section นึง

 2. ร่วมประชุมผ่านวีดีโอกับทีมสหวิทยาการทั่วจังหวัด เพิ่ม profile ของทันตบุคลากรให้บุคลากรสาขาอื่นๆรู้จัก ให้เวลา 2 ชม. เสนองานหรือพูดคุยเรื่องอะไรก็ได้ที่ต้องการ ผู้เข้าร่วมสนทนามีประมาณร้อยกว่าคน จากหลายสาขา  (จังหวัดนี้ใหญ่กว่าประเทศเราอีกค่ะ ประชุมเลยต้องเป็น vdo conference)

3. สร้างเอกสารการสอนแบบ PBL ให้ คณะ family practice ที่เค้ามีหลักสูตร "interdisciplinary care for elders" อยู่แล้ว ตอนนี้เค้ามี module เรียนรู้เรื่อง ปัญหาโภชนาการ ในผู้สูงอายุ เค้าี่ต้องการให้ทางทันตะไปร่วมเขียน PBL case ด้วยโดยด่วน

--------------------------------------------------------------------------- 

เครือข่ายงานการดูแลผู้สูงอายุระดับจังหวัดนี้ เค้าแน่นมากค่ะ แล้วเค้าก็ประสบความสำเร็จในโครงการผ่านๆมามากๆ  เห็นแล้วดีใจที่วันนี้ได้มีโอกาสเรียนรู้จากท่านหัวหน้าพยาบาลพิเศษท่านนี้

หมายเลขบันทึก: 58215เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2006 17:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 พฤษภาคม 2012 14:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ดีจังค่ะ แล้วทันตบุคลากรกลุ่มไหน เป็นผู้เข้าร่วมจัดกิจกรรม หรือบรรยายล่ะคะ

ขอขอบคุณอาจารย์มัทนา...

  • ขอแสดงความยินดีด้วยครับ... น่าดีใจที่เมืองไทยก้าวไปถูกทางเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

พี่หมอนน: ผู้บรรยาย และจัดทำสื่อการสอน คือ กลุ่มอ.มหาวิทยาลัย และ ทันตบุคลากรที่ทำงานพิเศษให้มหาวิทยาลัยค่ะ

แต่คนที่เข้าร่วมกิจกรรม คือ ใครก็ได้ที่สนใจค่ะ

  1. ส่วมมากก็จะเน้นที่พยาบาล และ ผู้ช่วยพยาบาลค่ะ ทั้งพยาบาลในโรงพยาบาล และ พยาบาลที่เป็นหน่วย home care ที่ ไปเยี่ยมที่บ้านโดยเฉพาะ
  2. แล้วก็มี public health dental hygienist กับ public health certified dental assistant
  3. กลุ่มที่เน้นกลุ่มต่อไปคือนักศึกษาปีสุดท้าย กับ แพทยประจำบ้าน คณะแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัช โภชนากร สังคมสงเคราะห์ OT PT และ นักศึกษาป.โท/เอกคณะสหวิทยาการโดยเฉพาะค่ะ

อย่างที่เคยเล่าให้ฟังค่ะ ที่นี่หมอฟันไม่มีหน่วยสาธาฯ มีแต่หมอเอกชนล้วนๆ คนที่ทำงานสาธาฯคือคนที่สนใจมาทำกันเอง หัวเรี่ยวหัวแรงก็มาจากในมหาวิทยาลัยค่ะ ไม่เหมือนบ้านเราที่มีคนในกองในกระทรวงหลายแรงแข็งขัน

สิ่งที่ทางกระทรวงที่นี่ทำได้ก็คือจัดให้มี dental hygienist กับ ผู้ช่วย สาธาฯ เท่านั้นเอง  

มาดูตัวอย่างที่นี่ ต้องเลือกค่ะ ว่าแบบไหนดี แบบไหนไม่ดี หลายๆอย่างบ้านเราก็ดีกว่ามากค่ะ

แต่มัทก็รู้สึกว่า เค้าเก่งมากที่ขนาด infrastructure เค้าไม่อำนวยเค้าก็ยังพยายามหาทางทำให้มันสำเร็จได้ 

อ.หมอวัลลภ: ขอบคุณที่แวะมาเช่นเคยค่ะ ถึงบันทึกนี้จะเป็นเรื่องราวที่แคนาดา (มัทเองก็บันทึกไม่ละเอียด) แต่มัทเชื่อว่าได้คนดีๆอย่างพี่หมอนน เมืองไทยเราไม่แพ้ใครค่ะ

อ.มัทนา อย่าเพิ่งชมมากค่ะ เขิน ... เพราะว่าทางเมืองไทยมีหลายคนจับในเรื่องผู้สูงอายุ ทั้งทบวงมหาวิทยาลัย และภาคราชการ

... ความจริงแล้วในเมืองไทย เริ่มมีความสนใจในกิจกรรมผู้สูงอายุขึ้นมามากขึ้น และชัดเจนขึ้นเมื่อ กรมอนามัยมีการแบ่งกลุ่มภาระกิจตามกลุ่มอายุ ทางกองทันตฯ เลือกที่จะทำกลุ่มผู้สูงอายุก่อน (ที่แหวกแนวขึ้นมา จากเดิม กลุ่มเด็กเล็ก กลุ่มเด็กประถมฯ) กลุ่มวัยทำงาน เพราะว่ากลุ่มผู้สูงอายุกำลังมี highlight ตรงที่ เป็นประชากรกลุ่มที่ใหญ่โตมากขึ้นเรื่อยๆ ค่ะ และตอนนั้นมีกำลังเสริมที่จริงจัง ก็คือชมรมผู้สูงอายุค่ะ

... ในส่วนของกรมอนามัย เราค่อนข้างทำงานไปเป็นทีม คือ กองทันตฯ ร่วมกับสำนักส่งเสริมสุขภาพ (คุณหมอมนู เป็นหัวหน้ากลุ่มผู้สูงอายุ) ในการทำงานครั้งใดของทีมส่งเสริมสุขภาพ และทีมทันตสาธารณสุข ที่ทำงานเรื่องผู้สูงอายุ ก็จะเชิญอีกฝ่ายมาร่วมกันด้วย

... ตอนนี้สำนักส่งเสริมสเป็นแกนผลักดันไปในหลายทาง เช่น

  • ส่วนของชุมชน มีเรื่องชมรมผู้สูงอายุ ที่ add กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ออกกำลังกาย เข้าไปในชมรมด้วย 
  • ส่วนของพื้นที่บริการ คือ รพศ. รพท. add เรื่อง การเยี่ยมบ้าน ที่เดิมมีการเยี่ยมหลังคลอด การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยโรคเรื้อรังอยู่แล้ว ก็ให้มีการเยี่ยมเยียนผู้สูงอายุด้วย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง จนถึงขั้นช่วยเหลือตนเองไม่ได้ (อันนี้เพิ่งเริ่มชัดเจน ปีนี้ละค่ะ 2550)
  • กิจกรรมรณรงค์สร้างกระแส เรื่องของทันตฯ เพราะได้ช่วงเวลา เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติในหลวง 60 ปีครองราชย์ และ 80 พรรษา ค่ะ
  • การสร้างกระแสผู้สูงอายุฟันดี วัย 80 ปี ทุกครั้งที่มีการรณรงค์ และกิจกรรมจังหวัด
  • อื่นๆ อาจดูได้เพิ่มเติมจาก เวป http://dental.anamai.moph.go.th/oralhealth/elderly/

มี อ.หมอมัท ได้เล่าเรื่องที่แคนาดาให้ฟัง ก็เป็นความรู้ดีมากเลยค่ะ ว่า แต่ละประเทศ ก็เหมือนกับพัฒนาไปพร้อมๆ กัน ... มีเรื่องดีดี มาเล่าให้ฟังต่อนะคะ เพราะว่าเดิมเราก็เรียนรู้ผลเมื่อเขาทำสำเร็จแล้ว แต่ขณะที่เขากำลังทำ กำลังคิดอะไรนั้น ยังไม่ค่อยจะรู้เลยค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท