กระบวนการจัดการความรู้


กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process) ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้

1. การบ่งชี้ เช่น พิจารณา ว่า วิสัยทัศน์ / พันธกิจ / เป้าหมาย คืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

2. การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่น การสร้างความรู้ใหม่ แสวงหาความรู้จากภายนอก รักษาความรู้เก่า กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว

3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้ อย่างเป็นระบบในอนาคต

4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่น ปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน ใช้ภาษาเดียวกัน
ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์

5. การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้นั้นเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก

6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธี โดยกรณีเป็น ความรู้เด่นชัด อาจจัดทำเป็น เอกสาร ฐานความรู้
เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น ความรู้ซ่อนเร้น / ความรู้ฝังลึก อาจจัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน

7. การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน

การจัดการความรู้อย่างง่าย 3 วิธีการคือ

1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากวิธีการทำงานแบบ Best Practice
2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน "ชุมชนนักปฏิบัติ" (Community of Practice CoP)
3. วงจรแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ยกกำลังสาม บวก คว้า

1. การแลกเปลี่ยนการเรียนรู้จากวิธีทำงานแบบ Best Practice
วิธีการทำงานที่เป็น Best Practice คือ วิธีการทำงานที่เกิดผลงานในลักษณะที่น่าภูมิใจ น่าชื่นชม ผลสัมฤทธิ์สูง ประสิทธิภาพสูง หรือคุณภาพสูง

2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ใน "ชุมชนนักปฏิบัติ" (Community of Practice CoP)

ชุมชนนักปฏิบัติ คือ ชุมชนที่มีการรวมตัวกัน หรือเชื่อมโยงกันอย่างไม่เป็นทางการ
- ประสบปัญหาลักษณะเดียวกัน
- มีความสนใจในเรื่องเดียวกันต้องการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากกันและกัน
- มีเป้าหมายร่วมกันมีความมุ่งมั่นร่วมกัน ที่จะพัฒนาวิธีการทำงานได้ขึ้น
- วิธีปฏิบัติคล้ายกัน ใช้เครื่องมือและภาษาเดียวกัน
- มีความเชื่อและยึดถือคุณค่าเดียวกัน
- มีบทบาทในการสร้างและใช้ความรู้
- มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกันและกันอาจจะพบกันด้วยตัวจริง หรือผ่านเทคโนโลยี
- มีช่องทางเพื่อการไหลเวียนของความรู้ทำให้ความรู้เข้าไปถึงผู้ที่ต้องการใช้ได้ง่าย
- มีความร่วมมือช่วยเหลือเพื่อพัฒนาและเรียนรู้จากสมาชิกด้วยกันเอง
- มีปฏิสัมพันธ์ต่อเนื่อง มีวิธีการเพื่อเพิ่มความเข้มแข็งให้แก่สายในทางสังคม

แนวคิด "ชุมชนนักปฏิบัติ" (Community of Practice CoP)

  • -CoP เป็นกลไกของการไขว่คว้าหาความรู้เข้าหาตัว มากกว่าการรวบรวมความรู้
  • -CoP เป็นเรื่องของการเรียนรู้ เพื่อเป็นคนทำงานที่เก่งขึ้น
  • -การเป็นสมาชิกของ CoP คือ มีส่วนร่วมในชุมชนนั้น อย่างมีความหมาย
  • -CoP ควรเชื่อมโยงกับเป้าหมายหลักขององค์กร

3. วงจรแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ยกกำลังสาม บวก คว้า

เป้าหมายของวงจรนี้ เพื่อเป็นวงล้อหมุนให้เป้าหมายของงานที่กำหนดไว้ไปสู่ความสำเร็จในลักษณะที่เป็นความสำเร็จระดับน่าภูมิใจ น่าชื่นชม ในวงล้อหลักใช้พลังงานของการเรียนรู้ร่วมกัน

แนวทางสู่ความสำเร็จของการใช้ KM

  • -ต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร จากวัฒนธรรมอำนาจเป็นวัฒนธรรมความรู้ จากการบริหารงานแบบควบคุมสั่งการ
  • -ดำเนินการให้คนในองค์กรร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ หรือปณิธานความมุ่งมั่นและเป้าหมาย โดยไม่ใช่แค่ร่วมกำหนดเท่านั้นแต่ต้องร่วมกันตีความ
  • -เน้นการพัฒนาคนผ่านการทำงาน คือ พัฒนาคน – พัฒนางาน ไปพร้อม ๆ กัน
  • -สร้างบรรยากาศ สร้างพื้นที่ในองค์กรให้เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้งการประชุมแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ
  • -รู้จัก "เรียนลัด" การเรียนรู้ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นจากศูนย์เพราะจะทำให้เสียเวลา ควรเรียนรู้จากคนอื่นที่ทดลองทำจนประสบความสำเร็จแล้วแต่ไม่ใช่คัดลอก
  • -สร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยยุทธศาสตร์เชิงบวก เมื่อเกิดการทำงานที่ประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าภาคภูมิใจ
  • -ดำเนินการจัดการความรู้ควรเป็นเครือข่าย เพราะการเป็นเครือข่ายจะทำให้ช่วยกันกระตุ้นเสริมพลังกันเมื่อท้อแท้
  • -นำความรู้ "ถอด" มาจากกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้มารวบรวมจัดเก็บให้เป็นระบบที่ค้นหาง่าย ปรับปรุงให้ทันสมัย







คำสำคัญ (Tags): #ความหมาย
หมายเลขบันทึก: 582069เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2014 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2014 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท