Super Hero ช่วยคนพิการให้มีงานทำ


ขอขอบพระคุณคุณไพบูลย์ แดงประสิทธิ์ นายกสมาคม Will Share ดร.นภัสสร เสรีวงศ์ ที่ปรึกษาบ้านเรียนชวนชื่น และนพ.ระพล พูลสวัสดิ์กิติกูล ประธานผู้ปกครองบ้านเรียนชวนชื่น ที่จุดประกายให้ดร.ป๊อปเห็น SuperHero ของพลเมืองเด็กพิเศษ

เมื่อวานดร.ป๊อปได้มีโอกาสเรียนรู้ "การช่วยเหลือคนพิการให้มีงานทำผ่านพรบ.ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการพ.ศ.2550 มาตรา 33-34-35" จากคุณไพบูลย์ แดงประสิทธิ์ นายกสมาคม Will Share ผู้เป็น Super Hero ให้ความรู้เรื่องคนพิการ ความพิการ และปรับทัศนคติที่ดีแก่หน่วยงานต่างๆ ในการจ้าง การจ่าย และการจัดโอกาสให้คนพิการทุกประเภทมีงานทำ และผมได้เห็นหัวใจนักสู้ผู้เสียสละของดร.นภัสสร เสรีวงศ์ กับนพ.ระพล พูลสวัสดิ์กิติกูล แห่งบ้านเรียนชวนชื่นที่กำลังพัฒนาเป็นศูนย์ฝึกอบรมเพื่อพัฒนาเด็กพิเศษชั้นนำของไทยในอนาคต นับเป็นพื้นที่ปลอดภัยในการฝึกทักษะชีวิตบูรณาการผ่านการบำบัดด้วยกิจกรรม (Activities Therapy) ที่ไม่มีนักกิจกรรมบำบัด (Occupational Therapist) และมีความเป็นธรรมชาติของการเข้าร่วมของผู้ปกครองเด็กพิเศษที่มีการฟื้นคืนสุขภาวะหรือพลังชีวิตได้อย่างน่าสนใจ และผมขอมอบคำว่า Super Hero สำหรับเด็กพิเศษกว่า 30 ราย

ประเด็นสำคัญที่คนไทยที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสุขภาวะให้คนพิการทุกประเภทยังไม่รู้มีมากมาย ที่คุณไพบูรย์ฯ ยกตัวอย่าง

  • ม.33 การจ้าง: หน่วยงานรัฐและเอกชนที่มีคนทำงาน 100 คนขึ้นไปต้องรับคนพิการทำงาน 1 คน แต่คนพิการ 80% เข้าไม่ถึงสิทธิ์ หรือคนพิการปรับตัวในที่ทำงานนอกบ้านไม่ได้จึงทำงานไม่ได้นาน หรือหน่วยงานต่างๆ หาคนพิการเข้าทำงานไม่ได้ จนถึงหาคนพิการทำงานแต่ไม่เป็นไปตามที่คาดหวัง อันเนื่องมาจากทั้งสองฝ่ายไม่มีความรู้ในด้านการฟื้นฟูเพื่อเตรียมความพร้อมในการประกอบอาชีพ ซึ่งนักกิจกรรมบำบัดในประเทศที่พัฒนาแล้วควรให้บริการตรวจประเมินและฝึกทักษะการทำงานให้พร้อมก่อนการประกอบอาชีพในแต่ละรายบุคคลและแต่ละหน่วยงาน
  • ม.34 การจ่าย: หน่วยงานที่ไม่สามารถจ้างคนพิการทำงานได้ต้องจ่ายเงินทดแทนคนพิการ 1 คนคือ 300 บาท คูณ 365 วัน เท่ากับ 109,500 บาทต่อปี ให้กับสำนักงานส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ซึ่งมีกองทุนราว 4 พันล้านบาทที่หน่วยงานต่างๆ ยอมจ่ายเหมือนทำเงินหล่นหาย แต่ไม่มีคุณค่าและความหมายในมิติของความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อช่วยเหลือคนพิการไทย
  • ม.35 การจัด: หน่วยงานที่ต้องการมีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคมสามารถดำเนินการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือคนพิการไทยได้หลายรูปแบบคือ การให้สัมปทาน-การจัดสถานที่จำหน่ายสินค้า (มีพื้นที่ ไม่มีค่าเช่า ให้คนพิการมาหารายได้ทั้งปี) การฝึกงานในระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 600 ชม. (120 วันๆละ 5 ชม.ต่อวัน) โดยมีหลักสูตรที่ผ่านการพิจารณาจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงานกับกรมการจัดหางานก่อน 2 สัปดาห์ เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ของการส่งเสริมทักษะการประกอบอาชีพอิสระ (รวมทั้งมีวิทยากร มีค่าพาหนะ มีค่าที่พัก-อาหาร ฯลฯ) แม้ว่ามาตรานี้จะดีสอนให้คนพิการพัฒนาศักยภาพได้จริงและถือเป็นการประชาสัมพันธ์หน่วยงานได้อย่างมาก แต่มาตรานี้คนไม่ค่อยตีความและนำมาใช้อย่างสำเร็จและสร้างสรรค์มากนัก และหน่วยงานของกระทรวงพม.กับแรงงานควรจับมือกันอย่างต่อเนื่อง
  • ข้อยุ่งยากของมาตราข้างต้น ทุกหน่วยงานต้องนับว่าต้องการคนพิการเท่าไร และจะดำเนินการมาตราใด ตั้งแต่ 1 ต.ค. ของปี ถึง 31 ม.ค. ของปีถัดไป

ผมเองก็เคยทราบมาบ้าง แต่ก็เคยมีประสบการณ์เข้าร่วมประชุมกับสสส.ที่มีความพยายามจะใช้ม.33 ในการวิจัยและพัฒนาระบบการทำงานของคนพิการทางร่างกาย ณ อมตะนคร แต่ก็ใช้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลายรอบระหว่างทีมสหวิชาชีพและมีข้อจำกัดของระยะเวลาการพัฒนาระบบมากเกินไป ต่างจากประเทศที่พัฒนาแล้วที่ทีมสหวิชาชีพยอมรับและเข้าใจในบทบาทอย่างเป็นทีมและค้นหากลยุทธ์ที่เป็นไปได้ด้วยการทดลองลงมือปฏิบัติแล้วสะท้อนให้ผู้สร้างนโยบายระดับชาติรับรู้และร่วมแก้ไขปัญหาในระยะ 5-15 ปี อย่างเป็นรูปธรรม

และขอแนะนำให้กัลยาณมิตรทุกท่านไปชมหนังเรื่อง BIG HERO 6 [ขอบคุณความคิดเห็นจากเซียวเล้งบล๊อก] ที่สร้างสรรค์ได้ยอดเยี่ยมจากวัฒนธรรมญี่ปุ่นกับอเมริกาในการใช้เทคโนโลยีที่เข้าไปอยู่ในหัวใจอันทีคุณธรรมของมนูษย์ที่ว่า "เราจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยใจตลอดไป...จงทำความดีเพื่อให้โลกมีความสุขเสมอ" โดยให้โอกาสพลเมืองทุกช่วงวัย (เน้นเด็กที่มีความสามารถเป็นพิเศษ) ในการสร้างสรรค์ปัญญาเพื่อรับผิดชอบช่วยเหลือสังคม เป็นหนังการ์ตูนอนิเมชั่นที่ถ่ายทอดคุณธรรมได้ยอดเยี่ยมครับผม ซึ่งตรงกับ Super Hero ทั้งสามท่านของดร.ป๊อปในวันหยุดรัฐธรรมนูธปีนี้ครับ


หมายเลขบันทึก: 582059เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2014 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2014 11:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอบพระคุณกำลังใจที่มีคุณค่าสำหรับผมมากครับท่านอาจารย์ JJ ด้วยความเคารพรักและคิดถึงอาจารย์เสมอครับผม

ชอบใจการทำงาน

ที่ช่วยเหลือผู้พิการ

มีอะไรพอช่วยเหลือได้ยินดีครับ

...ด้วยความชื่นชม...และเป็นกำลังใจค่ะ

ขอบพระคุณมากครับพี่ขจิตและดร.พจนา

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท