beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

การตีความและการแปลความหมาย


ทั้ง working memory กับ Longterm memory มันลืมได้ ซึ่งก็มีทั้งดีและไม่ดี แบบที่เขาร้องเป็นเพลงว่า " คนเรานี้ คิดให้ดีก็น่าขำ อยากจำกลับลืม อยากลืมกลับจำ"

การตีความและการแปลความหมาย ภาษาอังกฤษใช้คำว่า interpretation and construction ซึ่งนั่นก็คือ การคีความในนิยามของภาษา

คราวนี้มาพูดเรื่องธรรมชาติทางจิตกันบ้าง การตีความ อาจจะทำให้เราสุขหรือทุกข์ จากวิธีคิดของเราได้ เช่น ถ้ามีคนมาต่อว่าเรา "คุณทำอย่างนี้ ฉันว่าไม่ถูกน๊ะ" ถ้าคนนั้นเป็นหัวหน้า เราตีความว่าถูกตำหนิ อาจเกิดความทุกข์ แต่ถ้าเราตีความว่า คนๆ นั้นหวังดีกับเราน๊ะ และต่อจากนั้นเราก็ไปทำในสิ่งที่ดีๆ เช่น ไปช่วยเหลือคนอื่น เราก็อาจพบกับความสุข จากการให้ความช่วยเหลือคนอื่น

คนมาด่าเราว่า "เห.." (สัตว์ชนิดหนึ่งคล้ายตะกวด) เราอาจจะโกรธเขา เพราะเขาเปรียบเทียบ เราเหมือนสัตว์ตัวเงินตัวทอง แต่ถ้าเรารู้เท่าทันใจของเราว่า ครั้งนี้เราไม่โกรธเลย เรารู้เท่าทันความคิดของเราแล้ว เราก็จะเกิดความสุขที่เราควบคุมตัวเองของเราได้ เรามีสติ...

คราวนี้หันมาว่าเรื่องราวทางวิทยาศาสตร์กันบัาง...เอาภาพที่มาจาก Slide ของท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ มาให้ชมกันก่อน


การตีความของสมอง

แรกเริ่มเดิมทีนั้น พอเราเกิดมานั้น เราจะมีประสาทรับสัมผัส เช่น

  • ตาเห็นรูป-สังเกต
  • หูฟังเสียง-เก็บข้อมูล

สิ่งเหล่านี้ก็จะเกิดที่สมองส่วน working memory ซึ่งจะจำเอาไว้ (เป็นความจำระยะสั้น) แล้วจะส่งต่อให้ สมองส่วน Longterm Memory เพื่อเก็บเอาไว้เป็นความจำระยะยาว...พอข้อมูลมันทับถมกันเรื่อยๆ และไม่มีสิ่งกระตุ้นใหม่ๆ เข้ามา มันก็จะเกิดการลืม (ความจริงข้อมูลยังอยู่ แต่ว่าอยู่ลึกมากๆ อาจจะค้นหายาก ถ้าไม่มีสิ่งมากระตุ้นใหม่ๆ)

ทั้ง working memory กับ Longterm memory มันลืมได้ ซึ่งก็มีทั้งดีและไม่ดี แบบที่เขาร้องเป็นเพลงว่า " คนเรานี้ คิดให้ดีก็น่าขำ อยากจำกลับลืม อยากลืมกลับจำ"

หลายปีผ่านไป...เมื่อมีข้อมูลเข้ามาใหม่ที่ "ความจำใช้งาน" คราวนี้เราก็จะไปดึงข้อมูลใน "ความจำระยะยาว" มาตีความ (อาจถูกหรือผิด) เกิดการเรียนรู้ (อาจถูกหรือผิด) เกิดเป็นความคิด ไตร่ตรอง เกิดการตระหนักรู้ เกิดเป็นชุดความรู้ใหม่ แล้วก็เอาไปเก็บเอาไว้ใน "ความจำระยะยาวนี้"

ความรู้ใน "ความจำระยะยาว" นี้มันมีเป็นชุดๆ หลายชุด ซึ่งเมื่อถึงเวลาจะใช้ ส่วน "ความจำใช้งาน" จะไปดึงชุดความรู้เหล่านี้มาเชื่อมโยงกัน เพื่อตีความ ซึ่งอาจถูกหรือผิดก็ได้ เพื่อจะตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้น

ตัวอย่าง อย่างบีแมน เห็น slide อันนี้ ของท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ ก็เอาข้อมูลไปตรวจสอบกับข้อมูลเดิมในความจำระยะยาว แล้วก็ดึงเอาความรู้เดิมๆ ซึ่งเป็นความรู้ต่างๆ มาบูรณาการกันเข้า ตีความ แล้วก็มาเขียน เป็นชุดความรู้ (เพื่อกันลืม)

สรุปว่า การตีความก็คือการแปลความหมายของสมองนั่นแหละ เกิดจาก การที่มีสิ่งเร้ามากระตุ้นผ่านประสาทรับสัมผัส มาเก็บไว้ที่สมองส่วน "ความจำใช้งาน" และมีการดึงเอาชุดความรู้ที่เราเก็บเอาไว้หลายชุดใน "ความจำระยะยาว" มาบูรณาการเข้าด้วยกัน มาสร้างเป็นชุดความรู้ใหม่ ในสมองส่วนความจำใช้งาน (สมองส่วนคิด) ซึ่งอาจถูกหรือผิดได้ (ขึ้นกับเงื่อนไขเวลา) แล้วทำการตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้น ผ่านระบบประสาทและกล้ามเนื้อ (โดยการ คิด พูด หรือกระทำ) และชุดความรู้ใหม่นี้ ก็จะนำไปเก็บไว้ใน "ความจำระยะยาว" อีกครั้งหนึ่ง..

หมายเลขบันทึก: 581413เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2014 09:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2014 10:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สำหรับดิฉันเข้าใจว่า แปลความ คือ การแปลตรงตามเนื้อความของภาษา ส่วน การตีความ นั้นเรานำไปเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิมของแต่ละคน อาจ ถูก ผิด บิดเบี้ยว ได้

ขอบคุณค่ะ

ตามรูปศัพท์ น่าจะเป็นแบบนั้นครับ แปลความ, ตีความ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท