การพัฒนาเครือข่าย พลังนิสิตนักศึกษาเพื่อชุมชนครั้งที่ 3 ภาคอีสาน(2)


การบริการวิชาการแก่ชุมชน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

เขียนขอเขียนต่อจากบันทึกนี้นะครับ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2557ผู้เขียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่พักเป็นรีสอร์ทชื่อเรือนแก้วรีสอท์อยู่ติดกับแม่น้ำ อากาศดีมาก แถมที่พักสะดวกสบาย เหมาะแก่การมานั่งเขียนหนังสือมาก




ห้องพักเป็นสีเขียว มองผ่านหน้าต่างไปจะเห็นแม่น้ำ ผู้เขียนเองชอบโคมไฟซึ่งเป็นตะเกียงสมัยก่อนที่ติดอยู่ที่เสา ทำให้คิดถึงสมัยเด็กใช้ตะเกียงแบบนี้ แต่เข้าใจว่าปัจจุบันคงหาตะเกียงแบบนี้ได้ยากแล้ว


ทีมงานลงพื้นที่เพื่อศึกษาเรื่องการเพาะพันธุ์ปลาและการแปลงเพศปลานิลซึ่งเป็นงานวิจัยของอาจารย์ดร.วิภาวี ไทเมืองพล ซึ่งเป็นโครงการวิจัยที่บริการชุมชน สามารถอ่านได้ในบันทึกนี้ของคุณแผ่นดิน จะพบว่าบริบทของอาจารย์ครบวงจรคือนิสิตได้ฝึกงานปีที่1 ในชุมชน ได้ลงพื้นที่จริงโดยใช้ชุมชนเป็นเหมือนแลบปฏิบัติการ นิสิตได้เรียนรู้จากการปฏิบัติ นอกจากนี้ยังตอบโจทย์ของชุมชนที่มีปัญหาอีกด้วย


ทีมงานเครือข่ายได้ลงแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับชุมชน นิสิตได้เรียนรู้ว่าการลงพื้นที่จริงเป็นอย่างไร เครือข่ายได้ลงมือปฏิบัติจริงในเรื่องการแปลงเพศปลานิล

นอกจากนี้ยังมีการทำโมเดลของทีมงานที่ลดต้นทุนการผลิตและการแปลงเพศปลานิลได้อีกด้วย เครือข่ายที่ลงพื้นที่ได้เรียนรู้ทั้งหมด ที่สำคัญคือนิสิตได้เรียนรู้จากชุมชนอย่างเต็มที่


ผู้เขียนเองชอบการที่นิสิตลงพื้นที่ได้ปฏิบัติจริง ที่ชอบใจคือมีผู้ปกครองของนิสิตลงพื้นที่มาด้วย หลังจากจบการศึกษาผู้ปกครองวางแผนว่าจะให้นิสิต(ตัวกลมใส่หมวกสีฟ้าในน้ำ) ไปเพาะเลี้ยงปลาที่บ้านเกิด โดยวางแผนทำบ่อปลาให้นิสิตเลี้ยงเลย เนื่องจากเห็นประโยชน์จากการทำงานที่นี่


ปกติเราไม่ค่อยพบผู้ปกครองตามมาเรียนรู้ด้วยในระดับมหาวิทยาลัยปกติจะมีแต่เฉพาะในระดับประถมและมัธยมศึกษา แต่ระดับนี้ถือว่าประสบความสำเร็จมากที่ผู้ปกครองวางแผนให้นิสิตเพราะเห็นประโยชน์จากการเรียนรู้ของนิสิต


ตอนที่ทำกิจกรรมกันนั้น ผู้เขียนเห็นแววตานิสิตที่กระตือรือร้นในการเรียนรู้มากถึงแม้นว่าอากาศจะร้อนมากเช่นกัน

รู้สึกว่าไม่มีนิสิตคนไหนไม่อยากลงพื้นที่เลย



หลังจากนั้นเครือข่ายก็นั่งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในแต่ละมหาวิทยาลัย ถ้ามีประเด้นที่สำคัญก็สามารถถามคำถามได้เช่นกัน ประเด้นที่ชอบอีกประเด็นคือมีอาจารย์ท่านหนึ่งถามคำถามพ่อผู้ใหญ่บ้านที่เป็นภูมิปัญญาว่าคิดว่าได้เงินคุ้มไหม ใช้อะไรวัด พ่อผู้ใหญ่ตอบว่า ขอให้มีเงินส่งลูกเรียน มีเงินเหลือพอใช้ได้ก็พอแล้ว ชอบใจคำตอบพ่อผู้ใหญ่ 555



นิสิตที่อยู่ในโครงการวิจัยนี้ตอบคำถามได้ชัดเจน อธิบายให้เพื่อนต่างสถาบันได้เรียนรู้เรื่องปลา เรื่องการแปลงเพศปลา เรื่องการดูว่าปลาตัวไหนเพศผู้และเพศเมีย การผสมโฮโมนแปลงเพศ


อาจารย์แต่ละมหาวิทยาลัยมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการลงพื้นที่ชุมชน การบริการวิชาการที่สามารถทำเป้นโจทย์วิชัยและตอบปัญหาชุมชนได้อีกด้วย


การลงพื้นที่ครั้งนี้ผู้เขียนและเครือข่ายได้เรียนรู้มากเลย ผู้อ่านสนใจเนื้อหาเพิ่มเติมสามารถอ่านเอกสารต่อได้ที่บันทึกคุณแผ่นดินบันทึกนี้นะครับ ขอบคุณครับที่เข้ามาอ่าน...



ความเห็น (16)

มาสารคามหรือครับ ต้องฮักนะสารคาม555 ...หลานฝาแผดผมเรียนสารคามครับ ปี 2 ไม่รู้ล่วงหน้า จะส่งหลานไปขอถ่ายรูปด้วยครับ สารคามมีที่เที่ยวหลายแห่งที่อาจารย์ต้องชอบมากๆ ....คนน่ารัก...ทำงานให้สนุก รักษาสุขภาพด้วยครับ คนแถวนี้คิดถึงครับ

ขอบคุณค่ะอาจารย์ขจิต ดิฉันก็มีแนวคิดนี้เช่นกัน ลูกสาวคนเล็กเรียนจบ causework ป.โทเดือนหน้า เธอยังเลือกหัวข้องานวิจัยของตัวเองไม่ได้ ช่วงปีใหม่ดิฉันจะพาลงพื้นที่ 'community lab' ในพื้นที่ที่ตนเองเคยศึกษา คาดหวังว่าประสบการณ์ตรงจะช่วยให้เธอเกิดการเรียนรู้และพัฒนางานของตนเองได้ รวมทั้งน้องพยาบาลบางคนที่ทราบข่าวก็จะขอติดตามลงไปด้วย .. ดิฉันขออนุญาตนำแนวทางในบทความนี้ไปประยุกต์ใช้ด้วยนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

แปลงเพศปลานิล เช่นตัวผู้ก็แปลงเป็นตัวเมีย อย่างนั้นเหรอคะ !

แปลงเพศปลา .... แหม ๆ จะสมดุลไหมละนั่น ๕ ๕ ๕ ๕

อ.ขจิต เจอ อ.แผ่นดินอีกแล้ว อิจฉานะคะเนี่ย ^_,^

ขอบคุณมากครับคุณทิมดาบ

คงมีโอกาสได้พบกัน

มหาสารคามมีที่เที่ยวมาก

แต่ยังเที่ยวไม่ครบเลยครับ

555

ขอบคุณพี่พยาบาลดารณีมากครับ

ถ้าพาลูกสาวและเพื่อนทีสนใจลงชุมชน

จะได้เรียนรู้จะได้โจทย์ปัญหาจากชุมชน

ที่น่าสนใจมาก ลูกสาวพี่เรียนปริญญาโทสาขาอะไรครับ

ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะครับ

ขอบคุณครูนก

แปลงจากตัวเมียเป็นตัวผู้เพราะตัวผู้จะเลี้ยงโตไวกว่า

ถ้าเป็นตัวเมียจะโตช้าเพราะต้องดูแลไข่ปลาครับ

ขอบคุณคุณหมอธิรัมภามากครับ

สมดุลย์ในแง่เศรษฐกิจครับ

ปกติบริษัทยักษ์ใหญ่เขาผูกขาดการทำการแปลงเพศปลา

ชาวบ้านไม่ได้กำไรจากตรงนี้เลย

คงมีโอกาสได้ไปทำงานกับคุณหมอและคุณแผ่นดินครับ

ดูแลสุขภาพด้วย นะคะ ....

พี่ชอบมากเลยนะการให้นิสิตลงพื้นที่จริง เรียนรู้จริงในชุมชนตัวเอง

ตามไปอ่านบันทึกอื่นๆ ของ อ.แผ่นดินแล้ว

พักหนึ่งพี่หลงไหลตะเกียงโบราณ หมดเงินไปเยอะกับการไปตามซื้อ ตะเกียงแบบนี้สมัยใหม่ก็ผลิตขายแต่วัสดุไม่สวยเหมือนของเก่า รู้จักตะเกียง "อิดด้า" มั๊ยคะ พี่ไปซื้อมาเก็บไว้ชิ้่นหนึ่ง เพิ่งรู้ว่าชื่ออิดด้ามาจากยี่ห้อ วันหลังจะถ่ายรูปตะเกียงโบราณมาอวดนะคะ

เห็นความเชื่อมโยงของการมีส่วนร่วมกับชุมชน เป็นพลังที่ยั่งยืนในการขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นเช่นนี้ค่ะ

ขอบคุณพี่นุ้ย

ดีจังเลย รอดูรูปตะเกียงโบราณนะครับ

ตอนถ่ายรูปสวยมากครับ

แต่ขึ้นระบบ ภาพมันมาไม่เต็ม งง งง ครับ

ขอบคุณพี่เปิ้น

จะดูแลสุขภาพอย่างดี

ตอนนี้ออกกำลังกายบ่อยครับ

ไม่ต้องห่วง

ขอบคุณพี่ใหญ่

ชุมชนและมหาวิทยาลัย

ทำงานเชื่อมโยงกันครับ

นิสิตได้เรียนรู้จากชุมชน

ชุมชนได้ผลการวิจัยไปพัฒนาอาชีพขงอตนเองครับ

อาจารย์ขจิต เดินทางตลอดเลยนะคะ

เห็นภาพแล้วมีความสุข ;)

ขอบคุณพี่หนูรี

เดินทางเป็นการเรียนรู้ครับ

555

พี่สบายดีนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท