การพัฒนาเครือข่าย พลังนิสิตนักศึกษาเพื่อชุมชนครั้งที่ 3 ภาคอีสาน(1)


กิจกรรมการพัฒนานิสิต นักศึกษาโดยความร่วมมือของมหาวิทยาลัยมหาสารคามกับมูลนิธิรากแก้ว

ตอนนี้ผู้เขียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหาสารคามเมื่่อวาน 22 พฤศจิกายน 2557 มีกิจกรรมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัยครั้งนี้ประมาณ 19 มหาวิทยาลัย โดยมหาวิทยาลัยมหาสารคามร่วมกับมูลนิธิรากแก้ว ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ซึ่งสามารถอ่านครั้งที่ 1 ได้ที่นี่ เมื่อครั้งที่ 2 ผู้เขียนไม่ได้ไปเนื่องจากติดงานกับงานทันตสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย


กิจกรรมวันที่ 21 พฤศจิกายน 2557 มีกิจกรรมต้อนรับเครือข่ายโดยมีโปงลางอีสานที่บ้านทรงไทยของพิพิธภัณฑ์ของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้เขียนเชอบชุดการแสดงที่แสดงให้เครือข่ายดู มีการเซิ้งสอยไข่มดแดงด้วย


ถ้าไม่ได้มาภาคอีสานคงไม่ค่อยได้ดูการแสดงของชุดนี้ แถมตอนสุดท้ายเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานทุกๆท่านได้ร่วมกิจกรรมกับวงโปงลางด้วย


ตอนเช้าวันที่ 22 พฤศจิกายน ผู้เขียนมาในงานโดยคุณพนัส ปรีวาสนาหรือบล็อกเกอร์เราที่ชื่อคุณแผ่นดินไปรับมาจากที่พักคือเรือนแก้ว เป็นสถานที่พักสวยมากติดแม่น้ำ ตอนเช้าสามารถเดินดูธรรมชาติรอบๆที่พักได้ ถ้าใครผ่านมาแถวมหาสารคามลองมาพักที่นี่นะครับ


ในตอนเช้าวันนี้ผู้เขียนได้พบคุณพีรวัศ กี่ศิริบล็อกเกอร์ของเราที่เป็นผู้บริหารของมูลนิธิรากแก้วด้วย คุณแผ่นดินและท่านอาจารย์ ผศ.ดร.ฉันทนา เวชโอสถศักดา ได้เตรียมเพื่อพูดคุยเล่าเรื่องโครงการหนึ่งหลักสูตรหนึ่งชุมชนให้สมาชิกเครือข่ายฟังเรื่อง การพัฒนาระบบและกลไกลงานวิชาการและงานวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคามซึ่งสามารถอ่านได้ในบันทึกคุณแผ่นดินที่นี่


ผู้เขียนได้พบผศ.ดร. จินดาพร จำรัสเลิศลักษณ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต อาจารย์มาเล่าเรื่อง การทำงานบริการวิชาการโดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยไปทำบ้านดินในชุมชนและบูรณาการกับคณะศิลปกรรมศาสตร์อีกด้วย


ผู้เขียนเป็นผู้ช่วยคุณแผ่นดินวึ่งเป็นผู้ดำเนินการหลัก ถามคำถามนำผศ.ดร. จินดาพร จำรัสเลิศลักษณ์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต และท่านอาจารย์ ผศ.ดร.ฉันทนา เวชโอสถศักดา ซึ่งอาจารย์ผศ.ดร.ฉันทนา เวชโอสถศักดาได้เล่าเรื่องของโครงการตั้งแต่ปีแรกเลย โดยใช้โมเดลที่ขับเคลื่อนงานบริการวิชาการที่รับใช้สังคม


ในตอนบ่ายเป็นอาจารย์ดร.วิภาวี ไทเมืองพลที่ดำเนินโครงการ การขยายผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเพาะปลานิลแปลงเพศแก่เกษตรกรผู้เพาะสัตว์น้ำบ้านยางน้อย โดยดำเนินโครงการที่จังหวัดมหาสารคาม โครงการนี้มีความชัดเจนในด้านการจัดตารางสอนลงชุมชน การจัดการเรื่องตารางสอนนิสิตที่ฝึกงานโดยเป็นนิสิตชั้นปีที่ 1 นิสิตชั้นปีที่2 3 และ 4 ไปลงพื้นที่ทำแลปที่เรียนรู้จากชุมชน จะเรียนว่าเป็นห้องเรียนจากชุมชนจริงโดยไปเลือกพันธุ์ปลา ไปฉีดโฮโมนและผสมจากสถานที่บ่อปลาจริง...


ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้ไปเป็นวิทยากรกระบวนการหรือ Facilitator ของกลุ่มนิสิตประมาณ 15 คนเพื่อระดมความคิดเห็นเรื่องโครงการที่นิสิตทำ แต่เริ่มการพูดคุยด้วยการเริ่มต้นจากเรื่องเล่าเร้าพลังของโครงการศูนยืการเรียนรู้ด้านการจัดการขยะ ของคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ หลังจากนั้นก็ให้นิสิตคนอื่นเล่าเรื่องโครงการของตนและให้ทีมงานของนิสิตช่วยกันสรุปเป็นแผนที่ความคิดด้วย



ในตอนสุดท้าย ได้ขมวดประเด็นว่า ต่อไปโครงการจะเป็นอย่างไร วันที่ 23 พย 2557 ได้ลงพื้นที่ด้วย


ผู้เขียนจะมาเขียนต่อนะครับว่า ได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการลงพื้นที่ ขอบคุณมากๆครับที่เข้ามาอ่าน...




ความเห็น (10)

ส่งอาจารย์ไปเป็นนักข่าวภาคสนาม

ไม่ได้ไปเอง ก็เหมือนได้ไปกับเค้าด้วย ;)...

ขอบคุณอาจารย์ was มากครับ

มาครั้งนี้ยังไม่ได้ใช้พลังเท่าไรครับ

5555

แต่ได้เรียนรู้เรื่องชุมชนมากเลยครับ

  • อิสานหนาวหรือยังครับ ที่พิษณุโลกเริ่มๆแล้ว..
  • ฮาๆๆ มีบ่น ใช้พลังงานน้อยไป เหนื่อยไม่พอ!
  • ระลึกถึงเสมอนะครับ อาจารย์ขจิต..

ดีจังเลย นะคะ ...ได้เจอกัลยานมิตร หลายๆๆ ท่านเลย นะคะ .... เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ ว่า ...ทางภาคอีสาน .... ความรู้เชิงวัฒนธรรมมีอยู่มากมาย... ทั้งในตัวคนและกลุ่มคน .... เป็นความรู้ที่ฝังแน่นในคน (Tacit Knowledge) .... น่าจะมีการจัดการที่ดีและดึงออกมา....ได้หลายๆๆ เรื่องราว นะคะ ..... โดย เฉพาะด้านวัฒนธรรม...และภูมิปัญญาด้านต่างๆๆ นะคะ


ขอบคุณค่ะ .... จะมาเมืองเพชรกันเมื่อไหร่ดีค่ะ

ดีจังค่ะ...ได้ทั้งสองฝ่ายทั้งผู้ให้และผู้รับ....

ขอบคุณที่มาเติมเต็มการเรียนรู้ครับแถมยังอยู่ช่วยเทรนกระบวนการต่อน้องๆ อีก....

ขอบคุณจริงๆ ครับ


ขอบคุณอาจารย์ธนิตย์

จริงๆครับ

ยังไม่ได้ใช้พลังเท่าไร

555

ตอนนี้ที่มหาสารคามตอนเช้าเย็นแล้วครับ

ขอบคุณพี่เปิ้นมากครับ

ใช่ครับทางอีสานมีภูมิรู้ภูมิธรรม ภูมิปัญญาที่นี่มาก

ทางมหาวิทยาลัยให้นิสิตเรียนเรื่องนี้และลงไปศึกษาจากชุมชนครับ

ขอบคุณพี่ใหญ่มากครับ

ใช่ครับ

ได้ทั้งสองฝ่าย

ได้เรียนรู้ร่วมกันด้วยครับ

ขอบคุณคุณแผ่นดิน

ยังไม่ใช้พลังเท่าไรเลย

555

น้องๆมีฐานจากกิจกรรมมาแล้ว

ไม่น่าห่วงครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท