วิธี ลดเสี่ยงสมองเสื่อม อัลไซเมอร์


ภาพ: สมองผ่าซีก หันหน้ามาทางตัวเรา

ทางซ้ายเป็นสมองปกติ ดูคล้ายๆ กับมี ลูกตา-จมูก-ปาก-ใบหู

ทางขวาเป็นสมองเสื่อม เนื้อสมองหายไป

จะเห็นตาโตขึ้น - จมูกบานขึ้น - ปากกว้างขึ้น - ใบหูใหญ่ขึ้น

.

ภาพ: สมองดีทางซ้าย

สมองเสื่อม เนื้อสมองหายไปบางส่วน คล้ายผิวหนังเหี่ยวย่น ทางขวา

อ.นพ.เกบ เมียคิน ตีพิมพ์เรื่อง "อัพเดท (ทบทวนความรู้ใหม่) สมองเสื่อม อัลไซเมอร์", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ

การศึกษาใหม่พบว่า ถ้าลดปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้ได้ น่าจะลดเสี่ยงสมองเสื่อมได้ คือ

(1). โรคหัวใจ

(2). สโตรค (stroke)

หรือ กลุ่มโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต

(3). ซึมเศร้า

(4). กามโรค

(5). ยาที่ใช้รักษาโรควิตกกังวล หรือ ยาคลายเครียด

.

ถ้าลดปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ และ ซึมเศร้า ได้อย่างเป็นระบบ

น่าจะลดเสี่ยง สมองเสื่อมอัลไซเมอร์ ได้มากกว่า 50%

สมองเสื่อม มีความสัมพันธ์กับ โรคหลายอย่างได้แก่

  • เบาหวาน
  • ความดันเลือดสูง
  • อ้วน
  • ไม่ ออกแรง-ออกกำลัง
  • ซึมเศร้า
  • บุหรี่

.

ปัจจัยเสี่ยงหลักในทวีป อเมริกาเหนือ คือ

ไม่ ออกกำลัง

การศึกษาที่ทบทวนผลงานวิจัย 25 รายงานพบว่า

คนที่เป็นโรคสมองเสื่อม มีประวัติเป็นกามโรค มากกว่าคนทั่วไป คือ

  • ซิฟิลิส = 10 เท่า
  • หนองในเทียม = 5 เท่า

.

ปี 2456 ฮิเดโยะ โนกูจิ และ J. W. มัวร์

พบเชื้อโรคซิฟิลิส ในสมองคนเป็นโรคสมองเสื่อมตาย

หลังปี 2531 มีรายงานพบเชื้อหนองในเทียม คล้ายๆ กัน

.

การศึกษาที่ทบทวนการวิจัยย้อนหลัง 9 รายงาน

พบว่า คนที่เป็นโรคเส้นเลือดสมองแตก-ตีบตัน อัมพฤกษ์ อัมพาต

เพิ่มเสี่ยง อัลไซเมอร์ = 160%

.

การศึกษาใหม่ พบว่า

การใช้ยาคลายเครียด กลุ่มเบนโซไดอาเซพีน

เช่น ไดอาซีแพม (วาเลียม), ลอราซีแพม (อาทิแวน)

มีความสัมพันธ์กับ โรคสมองเสื่อม คือ

  • ขนาดสูง เสี่ยงมากกว่า ขนาดต่ำ
  • ใช้นาน เสี่ยงมากกว่า ใช้ไม่นาน

.

อัลไซเมอร์ เป็น โรคสมองเสื่อมที่พบบ่อยที่สุด

สมองเสื่อม จากโรคหลอดเลือดสมองแตก-ตีบตัน พบรองลงไป

สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้สมองเสื่อม เช่น

  • แอลกอฮอล์
  • อุบัติเหตุส่วนหัว
  • โรคติดเชื้อ เช่น เอดส์ (HIV)
  • โลหะหนัก เช่น ตะกั่ว

.

ถ้าเราลดปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้

น่าจะ ลดเสี่ยงสมองเสื่อมไปได้มากทีเดียว

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

From > http://drmirkin.com/morehealth/recent-research-on-dementia.html

หมายเลขบันทึก: 581039เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2014 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2014 16:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท