ประสบการณ์ที่สุดแย่ (ห่วยแตก) กับบริการด้านสาธารณสุขของไทย ขอเรียกร้องให้ ท่านรัชตะ ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข และท่านประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี ออกมาแก้ไขปรับปรุงระบบด้วยเถอะ ชีวิตและสวัดิภาพของคนไทยทุกคนอยู่ในมือของพวกท่าน


ปัจจุบันชีวิตความเป็นความตาย เหมือนขึ้นอยู่กับคนๆ หนึ่ง คำพูดของหมอโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง กล่าวว่า "หมอไม่ใช้เทวดาน๊ะ" หารู้ไม่ว่า หมอนั้นแหละคือความหวัง คือคำตอบสุดท้าย ของชีวิตผู้ป่วยที่ทุกข์ทรมาน จากโรคภัยไข้เจ็บ หรือผู้ป่วยบางคนที่ต้องนอนรอความตาย และรอความหวังที่จะมีชีวิตรอดมีสุขภาพที่สมบูรณ์ จากเทวดาอย่างหมอ

ประสบการณ์ที่แสนจะผิดหวังจากระบบบริการด้านสาธารณสุขของไทย มันดูน่าสมเพศ จริงๆกับคนไทยที่ต้องหวังพึ่งพิงเอาชีวิตไปฝากไว้ มีประสบการณ์ตัวอย่างที่จะนำมาเล่าสู่กันฟัง เรื่องมีอยู่ว่า มีผู้ป่วยคนหนึ่งซึ่งเป็นญาติกับผู้เขียนเองนี้แหละ แกมีอาการ ชาตามแขน ขา อย่างเฉียบพลัน ไม่สามารถขยับแขนขา และถ่ายหนักถ่ายเบาได้ ซึ่งในระยะแรกของอาการ มีอาการปวดหลังและเจ็บหน้าอก จึงพาไปพบแพทย์ ณ.โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง (ในส่วนตัวไม่ศรัทธาในโรงพยาบาลของรัฐ จึงยอมเสียเงินมากหน่อย) ซึ่งแพทย์ก็ทำการตรวจรักษา เจาะเลือดเอกซเรย์ เพื่อหาอาการสาเหตุ ให้ยามากินและให้กลับบ้าน แต่อาการก็ไม่ดีขึ้นจึงกลับมาพบแพทย์ใหม่เป็นครั้งที่ 2 ทำการรักษาและให้กลับบ้านตามเดิม ซึ่งผู้ป่วยเริ่มมีอาการแย่ลง คือแขน ขา ชาไม่สามารถขยับหรือเดินได้ จึงทำการส่งโรงพยาบาลให้หมอตรวจอีก หมอกลับพูดว่า "ทำไมไม่มาพบหมอให้เร็วกว่านี้ มาช้าเกินไปทำให้รักษายาก" แล้วที่ผ่านมา ได้พาผู้ป่วยมาโรงพยาบาลถึง สองครั้งตั้งแต่อาการเจ็บในระยะแรกไม่เรียกว่าพาผู้ป่วยมาหาหมอหรือ? (หรือพามาหาหมากันแน่!) แพทย์ลงความเห็นให้ส่งไป สแกน MRI ที่โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่ง เนื่องจากทางโรงพยาบาลที่ทำการรักษาไม่มี และส่งผลไปวิเคราะห์ที่กรุงเทพฯ (บุคลากรทางการแพทย์ไทย ไร้ความสามารถสิ้นดี) เมื่อได้ผลการวิเคราะห์กลับมา สรุปคือผู้ป่วย เป็นเนื้องอกที่ไขสันหลัง ต้องทำการส่งไปผ่าตัดโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ

ประเด็นไม่ได้อยู่ในเรื่องของหมอ แต่กล่าวถึงหมอไว้เยอะเลย เพราะรู้ว่าศักยภาพของหมอในเมืองไทยมีอยู่แค่นี้เอง

ประเด็นมันมีอยู่ว่า ระบบบริการด้านสาธารณสุขของไทย ควรมีการรื้อ พัฒนาและปรับปรุงใหม่

หลังจากที่ หมอลงความเห็นว่าต้องผ่าตัด จึงเดินเรื่องสิทธิ์ในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย ทีนี้แหละวุ่นวาย ยุ่งยาก เสียเวลา เสียความรู้สึกกับพฤติกรรมของบุคลากรทางการแพทย์บางคนมาก กว่าหมอจะวินิจฉัยโรค กว่าจะพบสาเหตุของอาการ ผู้ป่วยต้องนอนรอด้วยความเจ็บปวด ยังต้องมาพบเจอกับระบบบริการสาธารณสุขที่……..สุดจะบรรยาย และล้าช้า ชีวิตของผู้ป่วยมีค่า เพียงแค่มารอรับการรักษา (อนาจใจจริงๆ คนไทย หรือต้องกลับไปพึ่งพิง ไสยศาสตร์ตามเดิม เงินภาษีที่ลูกหลานของผู้ป่วยที่เสียไป ไม่มีอะไรดีขึ้นเลย)

ขั้นตอนการให้บริการ มีดังนี้

ดังนั้น ญาติผู้ป่วยต้องการใช้สิทธิ์ในการรักษาเพื่อส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ การรักษาที่ผ่านมาญาติผู้ป่วยไม่ต้องการใช้สิทธิ์เนื่องจาก สามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลเองได้ และที่ต้องเข้ารักษาโรงพยาบาลเอกชน ในจังหวัดที่ไม่ใช้ภูมิลำเนาของผู้ป่วย เนื่องจากผู้ป่วยได้มาเยี่ยมลูก หลาน ในอีกจังหวัดหนึ่ง และมีอาการป่วยในขณะนั้น อาการในระยะแรกยังเดินได้ และไปหาหมอให้ตรวจวินิจฉัยตามปกติ แต่หลังจากนั้น 2 วัน ผู้ป่วยมีอาการแย่ลง คือ ไม่สามารถเดินได้ขยับได้ และถ่ายหนัก ถ่ายเบาได้ จึงต้องพา (หาม) ส่งโรงพยาบาลเอกชน(มีคำถามว่า ในสถานการณ์แบบนี้ เรียกว่าอยู่ในสภาวะฉุกเฉินหรือไม่? และเหตุที่ไม่นำส่งโรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดนั้นเลย เพราะไม่เคยเชื่อในระบบบริการของรัฐเลย และยอมเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเองดีกว่า) เมื่อแพทย์ลงความเห็นว่าต้องส่งไปผ่าตัดโรงพยาบาลที่กรุงเทพฯ จึงของใช้สิทธิ์ในการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย (เชื่อมั่นในระบบบริการของโรงพยาบาลรัฐแห่งนี้ เนื่องจากพ่อของแผ่นดินยังไปรักษาที่นั้น)

1. ผู้ป่วยมีสิทธิ์ขั้นพื้นฐานในการรักษา ที่โรงพยาบาลประจำอำเภอ แต่ได้ทำการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชน จึงต้องนำเอกสารแสดงการรักษาของหมอโรงพยาบาลเอกชนไปยื่น ที่โรงพยาบาลที่ผู้ป่วยมีสิทธิ์ฯ อยู่

2.เมื่อญาติผู้ป่วยได้ยื่นเอกสาร ยังโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยมีสิทธิ์ฯอยู่ แต่ทางโรงพยาบาลประจำอำเภอที่ผู้ป่วยมีสิทธิ์ฯอยู่ ไม่มีอำนาจในการส่งตัวผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพฯตามสิทธิ์ หมอจึงออกหนังสือรับรองให้ไปยื่น ยังโรงพยาบาลประจำจังหวัดที่มีอำนาจ

3.ญาติผู้ป่วยจึงนำเอกสารแสดงการรักษา และใบรับรองจากหมอ ผลการสแกน MRI ไปยื่นเพื่อของสิทธิ์ผู้ป่วยในการส่งไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ

ขั้นตอนเหล่านี้แหละ ที่สุดแสนจะห่วยแตก และควรปรับปรุงเป็นอย่างยิ่งรวมทั้งบุคลากรทางการแพทย์ ที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และเสียเวลามาก เอาชีวิตของผู้ป่วยมานอนรอเจ็บปวด มานอนรอความตาย เพราะระบบการให้บริการ และสันดารบุคลิกส่วนบุคคลของเจ้าหน้าที่ ตัวอย่างคำพูดและพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่

" ไม่เห็นคนป่วยแล้วจะส่งตัวได้ยังไง ไม่ได้หรอก แกล้งปลอมมารึเปล่าก็ไม่รู้" คือเป็นคำพูดของคนที่ไม่น่าจะออกมาจากบุคคลกรทางการแพทย์ได้เลย ควรที่จะพูดคุยสอบถาม ถึงสาเหตุ และขอดูเอกสารทางการแพทย์ให้ชัดเจนก่อน แล้วจึงค่อยตัดสินใจ

" หมอ ไม่อนุญาตหรอก ไปติดต่อที่ศูนย์รับเรื่องไป" พอไปติดต่อที่ศูนย์รับเรื่อง เจ้าหน้าที่แนะนำ ให้ไป ณจุดเดิมเพื่อรอพบแพทย์ และให้แพทย์ลงความเห็นก่อน เมื่อเจอสถานการณ์แบบนี้เข้า ญาติผู้ป่วยจึงเกิดอาการ ปี๊ดแตก ขึ้นสมองเลย (กว่าหมอจะวินิจฉัยพบอาการของโรค ต้องใช้ระยะเวลา ผู้ป่วยต้องทนทรมานรอขนาดไหน แล้วยังต้องมาพบระบบบริการและบุคลากรทางการแพทย์ที่ห่วยแตก ซึ่งต้องใช้เวลานานมากอีกเช่นกัน และญาติผู้ป่วยยังต้องขับรถเป็นร้อยกิโลเมตรเพื่อไปเดินเรื่องกับโรงพยาบาลในแต่ละแห่ง) และพยายามนำเอกสารต่างๆ เพื่อยืนยัน จึงยอมให้เข้าพบแพทย์ แพทย์จึงลงความเห็นและรับรองให้

เปรียบเทียบข้อแตกต่างของ โรงพยาบาลเอกชน กับ โรงพยาบาลของรัฐ ในส่วนภูมิภาค

1.โรงพยาบาลเอกชนต้องจ่ายเยอะ บริการดี แต่บุคลกรทางการแพทย์ยังต้องพึ่งโรงพยาบาลของรัฐ

2.โรงพยาบาลของรัฐจ่ายน้อยหน่อยมีสิทธิ์ในการเยียวยาแต่บริการแย่มาก แพทย์มีความสามารถ แต่ใช้เวลาในการดูแลผู้ป่วยเฉพาะชาวกับเย็น เวลาที่เหลือเปิดคลินิกหรือรับจ้อบพิเศษจากโรงพยาบาลเอกชน

3.บุคลิกการบริการของเจ้าหน้าที่ และพยาบาล ของโรงพยาบาลเอกชนสุภาพเรียบร้อย

4.บุคลิกการบริการของเจ้าหน้าที่ และพยาบาล ของโรงพยาบาลรัฐ แข็งกระด้าง คิดว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา เป็นตาสี ตาสา เหมือนกันหมด

มีเรื่องราวอีกเยอะ ที่จะเขียนเกี่ยวกับการให้บริการระบบบริการด้านสาธารสุขของไทย แต่ประสบการณ์เพียงเรื่องเดียว ก็เขียนไปเกือบ 3 หน้ากระดาษแล้วจึงขอเรียกร้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้เข้ามาดูแล และปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น เพื่อคนในชาติเดียวกัน เทิด

"ใครที่รู้ตัวว่าจะเจ็บไข้ได้ป่วย ให้เก็บเงินไว้เยอะๆ เพื่อชีวิตของท่านจะได้อยู่รอดปลอดภัย"

นี้คือ สังคมไทยในปัจจุบัน

หมายเลขบันทึก: 580746เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2014 12:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2014 12:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ยังคงเป็น "เรื่องเศร้า" เรื่องหนึ่งในสังคมไทยนะครับ

ผมไปโรงพยาบาล ที่เป็นของคณะแพทย์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง มันเป็นเรื่องที่เปลี่ยนความคิดที่ผมมีต่อพวกเขาอย่างสิ้นเชิง บอกได้เลยว่า แย่กว่าที่คิด ไปฉีดวัคซีน แค่ 6 ครั้ง ครั้งแรก แพ้ยา หมอแอดมิท หัวใจเต้น 140 ครั้งต่อนาที ผื่นจาก test ที่ต้นแขน เกินวงที่ขีด แต่หมอลงความเห็นว่า รับวัคซีนได้ ซึ่ง 15 นาทีต่อมา แพ้ ผื่นขึ้นเต็มตัว นอนดูอาการหนึ่งคืน ออกโรงพยาบาลเที่ยงวันต่อมา ใบส่งตัว รับรองโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์แพทย์หญิง บอกหัวใจเต้น 120 ผื่นขาดจากเส้นรอบวงหนึ่งเซนติเมตร ซึ่งผู้ป่วยไม่มีหลักฐานแย้งได้ เนื่องจากสถานที่ห้ามถ่ายรูป ผู้ป่วยไม่คิดร้องเรียนใดๆ และเข้ารับวัคซีนต่อจนเกิดปัญหาอีกครั้ง เมื่อเข้ารับวัคซีนเข็มสุดท้าย คือ จ่ายวัคซีนผิด ซึ่งผู้ป่วยได้แจ้งเจ้าหน้าที่ ทั้งเภสัชกร และพยาบาลทีรับหน้าที่คีย์ข้อมูลการสั่งยาจากแพทย์ ครั้งนี้ไม่ทราบหมอสั่งผิด หรือพยาบาลคีย์ข้อมูลผิด แต่ไม่ใช่ความผิดของเภสัชกร เพราะจ่ายยาตามใบสั่งแพทย์ ผู้ป่วยร้องเรียน โดยจดหมายไปถึงผู้อำนวยการ ต่อมามีเจ้าหน้าที่ติดต่อมา ทราบภายหลังว่า จากหน่วยงานพัฒนาคุณภาพบริการ สอบถามดั่งเป็นจำเลย ยัดเยียดความผิดให้ผู้ป่วยก่อนโดยมิได้ถามไถ่ พออธิบาย จึงเข้าใจและกล่าวขอบคุณที่แจ้ง แต่เรื่องนี้มันได้แค่นี้ โดย ผอ.รพ. โยนเรื่องมาให้หน่วยพัฒนาคุณภาพ ไม่มีการตั้งกรรมการสอบหาสาเหตุหรือ นี่คือ การจ่ายยาผิด ที่มีหลักฐานชัดเจน ซึ่งคือใบจ่ายยาของเภสัชกร อยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องและสังคมจริงจังกับเรื่องนี้

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท