ชาข้าวไรซ์เบอร์รี่


ข้าวไรซ์เบอร์รี่เพื่อสุขภาพ

ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ผิวข้าวสีม่วงดำ มองดูแล้วเหมือนข้าวหอมนิล ข้าวเหนียวดำ ถ้าไม่เขียนบอกชื่อไว้ แต่ถ้าผู้ชำนาญการเรื่องเมล็ดข้าวก็คงจะดูออก ข้าวไรซ์เบอร์รี่ เมื่อหุงจนสุก เมล็ดข้าวดูไม่ขยาย ดูเหมือนเดิม แต่เมล็ดข้าวที่สุกนิ่ม หุงโดยไม่ต้องแช่น้ำก่อนก็ได้ ข้าวไรซ์เบอร์รี่กำลังเป็นที่นิยมกันมากขึ้นกับผู้ที่พอจะหาซื้อได้ง่าย แต่ส่วนใหญ่แล้วจะหาซื้อกันไม่ได้เพราะไม่มีวางขายทั่วไปเหมือนข้าวเมล็ดสี ขาว ขนาดข้าวกล้องยังหาซื้อได้ไม่ง่ายนัก ถ้าไม่เข้าร้านค้าใหญ่ ได้นำข้าวไรซ์เบอร์รี่มารวมกับหัวกะทิเคี่ยวจนได้น้ำมะพร้าวข้าวไรซ์เบอร์รี่ ที่หอม ใช้ทำอาหารแทนน้ำมันอื่นได้อร่อย

ได้นำฝากชาสมุนไพร https://www.gotoknow.org/posts/tags/%E0%B9%80%E0%B...ไว้มากพอควร เช่น ชาดอกอัญชันขาว ม่วง ดอกพะยอม ดอกลำดวน ดอกสารภี ใบหม่อน ใบย่านาง ใบ ฟักข้าว ชาข้าวเหนียวดำ ฯลฯ ช่วงนี้มีข้าวไรซ์เบอร์รี่ ก็ชงชาดื่มอุ่นๆ เพื่อได้สารอาหารจากผิวข้าว แล้วนำเมล็ดข้าวไปหุงข้าว นำสรรพคุณและชา มาฝากค่ะ





สรรพคุณ ประโยชน์ข้าวไรซ์เบอร์รี่

" พันธุ์ข้าวไรซ์ เบอร์รี่

เป็นพันธุ์ข้าวที่ได้จากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิลกับข้าวขาวดอกมะลิ105 จึงไม่เป็นสีดำ แต่มีลักษณะเป็นสีแดงแบบลูกเบอร์รี่ (ลูกหม่อน) ที่สุกแล้ว รูปร่างเมล็ดเรียวยาว เมื่อหุงเป็นข้าวเจ้าจะมีลักษณะเป็นสีม่วงเข้ม มีความนุ่มนวลแต่ยืดหยุ่น รสชาติอมหวาน มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์

หากนำมาหุงก็ไม่ยาก สามารถปรับปริมาณการใส่น้ำได้ตามความชอบว่าจะรับประทานแบบใด หรือจะทำเป็นข้าวต้มก็ได้ สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี ต้านทานโรคไหม้ดีมาก อีกทั้งทนทานต่อสภาพธาตุเหล็กเป็นพิษในดินได้อีกด้วย

จากการศึกษาพบว่า ข้าวยิ่งมีสีม่วงเข้มมากประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระ จะยิ่งมีมากขึ้นโดยมีค่าอยู่ระหว่าง 35.3-214.7 umole/g จากการศึกษาด้วยวิธี ORAC (Oxygen Radical Absorbance Capacity)โดยเฉพาะในรำข้าวเจ้าหอมนิลและรำข้าวไรซ์ เบอร์รี่ มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสูงถึง 229-304.7 umole/g และเมื่อนำข้าวสายพันธุ์ต่าง ๆ มาเปรียบเทียบกับน้ำผลไม้พร้อมดื่มหรือน้ำชาเขียว พบว่า มีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระมากกว่าเกือบ 100 เท่า

สำหรับกระบวนการหุงต้มข้าวที่มีสีม่วงเข้มด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้า พบว่า มีผลทำให้ประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระลดลงประมาณร้อยละ 50 หรือลดประสิทธิภาพลงประมาณครึ่งหนึ่งของข้าวดิบ

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาแล้วข้าวสีม่วงก็ยังมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพสูงกว่าน้ำผลไม้พร้อมดื่มหรือน้ำดื่มชาเขียวที่ขายตามท้องตลาด โดยข้าวยิ่งสีเมล็ดมีความเข้มเท่าไรยิ่งทำให้มีผลในการต้านอนุมูลอิสระได้สูงขึ้นเท่านั้น

จากงานวิจัยดังกล่าวพบว่า
ข้าวพันธุ์ไรซ์ เบอร์รี่ เมื่อหุงสุกแล้ว ยังมีสารต้านอนุมูลอิสระเหลืออยู่ ไม่ได้ถูกความร้อนทำลายหมด จึงเป็นแหล่งอาหารที่ให้สารต้านอนุมูลอิสระสูง การที่ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระพอเพียงต่อความต้องการในแต่ละวัน จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และโรคมะเร็งได้

เมื่อเป็นเช่นนี้ คุณสมบัติด้านโภชนาการของข้าวไรซ์ เบอร์รี่ ที่ผู้บริโภคได้รับ คือ มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงในเมล็ดข้าว ได้แก่ เบต้าแคโรทีน,แกมมาโอไรซานอล, วิตามินอี, แทนนิน, สังกะสี, โฟเลตสูง, มีดัชนีน้ำตาลต่ำ-ปานกลาง ในส่วนของรำข้าวและน้ำมันรำข้าว ยังมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระที่ดีเหมาะสำหรับใช้ทำผลิต ภัณฑ์อาหารเชิงบำบัดอีกด้วย

หญิงมีครรภ์เมื่อบริโภคจะได้ประ โยชน์ โดยเฉพาะบุตรในครรภ์ซึ่งจะเป็นอนาคตของชาติ เนื่องจาก ข้าวชนิดนี้มีสารโฟเลตสามารถป้องกันโรคปากแหว่งเพดานโหว่ ซึ่งทำให้บุตรเสียอนาคตได้ รวมทั้งมีน้ำตาลต่ำ จะช่วยให้มารดาควบคุมน้ำหนักเพื่อไม่เกิดครรภ์เป็นพิษ และมีธาตุเหล็กสูงซึ่งหญิงมีครรภ์ต้องการมากกว่าคนปกติ

สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและคนเป็นโรคอ้วน ถ้าปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานานจะมีโรคแทรกได้ง่าย สูญเสียโอกาสต่าง ๆ และชีวิตจะสั้นขึ้น แต่ด้วยคุณสมบัติของข้าวไรซ์ เบอร์รี่ ที่มีน้ำตาลต่ำกว่าข้าวทั่วไป หากผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือโรคอ้วนเปลี่ยนจากการรับประทานข้าวทั่วไปมารับประทานข้าวไรซ์ เบอร์รี่ ก็จะช่วยในการควบคุมน้ำตาลและคุมน้ำหนักได้ ส่วนผู้ที่เป็นโรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก หากรับประทานข้าวไรซ์ เบอร์รี่ เป็นประจำก็จะได้สารอาหาร โดยเฉพาะธาตุเหล็กธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยในการบำรุงโลหิตและบำรุงร่างกาย "


ขอบคุณ http://www.dailynews.co.th/Content/Article/93861/%..





ก่อนหุงข้าวนำมาชงชาดื่มอุ่นๆสักแก้ว 2 แก้ว ก่อนได้นะคะ

ตักใส่แก้ว 1 ช้อนโต๊ะใส่น้ำสะอาดพอท่วมข้าว1 ครั้งเทน้ำออก

กดหรือทน้ำเดือดร้อนๆใส่แช่ไว้สักพักรอน้ำเป็นสีม่วงดำ ดื่มได้ทันที

ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มอื่นๆก็นำไปผสมหรือนำไปชง เพิ่มสารอาหารม่วงดำในแก้วได้อีกเช่นกัน

ได้สารอาหารจากผิวเมล็ดข้าว ไม่มีแป้งในเมล็ดข้าว ได้ประโยชน์ดีต่อสุขภาพ

ไม่ต้องรอเป็นเมล็ดข้าวสวยก็ได้ ทำไม่ยากค่ะ


ด้วยความปรารถนาดี กานดา แสนมณี

วันจันทร์ที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ ๒๕๕๗



หมายเลขบันทึก: 580171เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2014 19:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2014 20:17 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท