แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องเสียง (ฉบับย่อ)


แผนการจัดการเรียนรู้

หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง เสียงเวลาเรียน 3 ชั่วโมง

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชาฟิสิกส์พื้นฐานชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4ภาคเรียนที่ 2/2557ผู้สอน นายปรเมศวร์ วงศ์ชาชม

สาระสำคัญ

เสียง เกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดคลื่นเสียง จัดเป็นคลื่นตามยาวที่ต้องอาศัยตัวกลางในการเคลื่อนที่ซึ่งก็คืออนุภาคของอากาศ เสียงสามารถแสดงสมบัติการสะท้อน การหักเห การแทรกสอด และการเลี้ยวเบนได้

จุดประสงค์การเรียนรู้

1) ทดลองและอธิบายการเกิดคลื่นเสียงได้

2) อธิบายและยกตัวอย่างการเกิดการสะท้อนของคลื่นเสียงได้

3) อธิบายและยกตัวอย่างเกี่ยวกับการหักเหของคลื่นเสียงได้

4) อธิบายและยกตัวอย่างเกี่ยวกับการแทรกสอดของคลื่นเสียงได้

5) อธิบายและยกตัวอย่างการเกิดการเลี้ยวเบนของคลื่นเสียงได้

6) นำความรู้เกี่ยวกับคลื่นเสียงไปอธิบายสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องในชีวิตประจำวันได้

7) ใช้ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม

สาระการเรียนรู้

1) ธรรมชาติของคลื่นเสียง

2) สมบัติและปรากฏการณ์ของคลื่นเสียง

- การสะท้อนของคลื่นเสียง

- การหักเหของคลื่นเสียง

- การแทรกสอดของคลื่นเสียง

- การเลี้ยวเบนของคลื่นเสียง

3) เสียงกับการได้ยิน

4) บีตส์ของเสียง

กิจกรรมการเรียนการสอน

ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน

  1. สนทนาเกี่ยวกับการเกิดคลื่นและสมบัติต่างๆ พร้อมตั้งคำถาม

- นักเรียนทราบหรือไม่ว่าเสียงที่เราได้ยินทุกวันนี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร

- นักเรียนว่าเสียงจัดเป็นคลื่นหรือไม่ นักเรียนจะพิสูจน์ได้อย่างไร

  1. ให้นักเรียนลองจับไปที่ต้นคอซึ่งก็คือแหล่งกำเนิดเสียงที่ใกล้ตัวที่สุด จากนั้นให้แต่ละคนลองออกเสียง แล้วให้เด็กสังเกตอาการจากนั้นจึงให้เด็กร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

ขั้นสำรวจและค้นหา

  1. ครูให้นักเรียนสืบค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องเสียง จากแหล่งต่างๆ เช่น หนังสือเรียน อินเตอร์เน็ต ใบความรู้ต่างๆ เป็นต้น
  2. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 - 5 คน จากนั้นให้แต่ละกลุ่มร่วมกันสรุปสิ่งที่ได้จากการดูวิดีโอ

ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป

  1. ให้นักเรียนนำข้อมูลที่ได้มาตีความหมายและสรุปภายในกลุ่ม
  2. ครูให้นักเรียนส่งตัวแทนกลุ่มมาอภิปรายให้เพื่อนฟังที่หน้าชั้นเรียน พร้อมเปิดโอกาสให้เพื่อนๆซักถาม

ขั้นขยายความรู้

  1. ครูเปิดสื่อการเรียนรู้เช่น วิดีโอเกี่ยวกับการกำเนิดของเสียง สมบัติต่างๆของเสียง ปรากฏการณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับเสียง เป็นต้น
  2. ผู้สอนอธิบายเพิ่มเติม เกี่ยวกับการเกิดเสียง สมบัติต่างๆของเสียง ปรากฏการณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับเสียง
  3. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปลักษณะสำคัญของการเกิดเสียง สมบัติต่างๆของเสียง ปรากฏการณ์ต่างๆที่เกี่ยวกับเสียงในชีวิตประจำวัน

ขั้นประเมิน

  1. ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดเรื่องเสียง
  2. เฉลยแบบฝึกหัด พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้นักเรียนถามในส่วนที่ยังสงสัย
  3. สอบถามความคิดเห็นพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆที่นักเรียนมี เพื่อใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนในครั้งต่อไป
หมายเลขบันทึก: 579818เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2014 07:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2014 07:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท