อันตรายจากการใช้หูฟังที่ผิดวิธี อาจทำให้คุณหูหนวกได้


     หูฟังที่วางขายในท้องตลาดนั้นมีให้เราเลือกได้มากมายหลายแบบ ตามลักษณะการใช้งานและการสวมใส่ไม่ว่าจะเป็น แบบสอดเข้าในหู (In-Ear), แบบครอบหู (Around-Ears) และแบบสวมแนบพอดีหู (On-Ear) ในแต่ละแบบนั้นจะมีข้อดีและด้อยต่างกันไป แต่แบบที่กำลังเป็นที่นิยมมากที่สุดในหมู่ผู้ใช้งานเครื่องเล่นเพลงแบบพกพานั่น ก็คือหูฟังแบบ In-Ear นั่นเอง

     เดี๋ยวนี้ไม่ว่าจะผ่านไปแห่งหนไหนก็จำต้อง เห็นผู้คนมากมาย ทั้งเด็กเล็ก เด็กโต วัยรุ่น หรือแม้กระทั่งคนวัยทำงานปรากฏโฉมพร้อมๆ กับการใช้หูฟังจากโทรศัพท์มือถืออยู่ตลอด ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมันจึงทำให้เราเพลิด เพลินสำเริงใจไปกับการฟังเพลง
ได้ทุกที่ทุกเวลา แถมบางคนใจดีฟังคนเดียวก็กลัวเหงาเลยเผื่อแผ่เสียงเพลงมาฝากคนข้างๆ ให้ได้ยินประหนึ่งว่าได้ร่วมใช้หูฟังเพลงไปด้วยกันอย่างนั้นและ หากที่กล่าวมาข้างต้นตรงกับพฤติกรรมของคุณๆ ทั้งหลายล่ะก็เตรียมตัวเตรียมใจต้อนรับขบวนพาเหรดของอาการผิดปกติเกี่ยวกับ ระบบประสาทในหูกันได้เลยไม่ว่าจะเป็น หูอื้อ หูตึง หรือหูหนวก

       แม้ว่าการใช้หูฟังฟังเพลงระดับเสียงปกติที่ควรใช้คือไม่เกิน 80 เดซิเบล แต่ด้วยเสียงรบกวนจากสภาพแวดล้อมรอบตัวในที่ที่เราอยู่ไม่ว่าจะเป็นบนรถไฟ ฟ้า บนรถประจำทาง เสียงยวดยานบนท้องถนนฯลฯ เหล่านี้ทำให้เราต้องเพิ่มระดับเสียงในการฟังให้ดังมากขึ้นจนเกิดระดับเสียง ปกติ และหากฟังติดต่อกันนานจะส่งผลให้เซลล์ประสาทรับสัญญาณในหูเสื่อมลงไปเรื่อยๆ ทำให้สูญเสียการได้ยินทีละน้อย…ทีละน้อย จนกระทั้งเกิดอาการหูตึง หรือหูหนวกในที่สุด

สัญญาณอันตรายของประสาทหูผิดปกติที่พบบ่อย
1.ได้ยินเสียงวิ้งๆ ในหู ทั้งที่ไม่ได้เปิดเพลง หรือใช้หูฟัง
2.มีอาการมึนงง หรือยืนทรงตัวไม่ได้ เมื่อตื่นนอน
3.หูอื้อจนทำให้เกิดปัญหาในการสื่อสาร
*หากมีอาการเหล่านี้ติดต่อกัน 2-3 วัน ขอแนะนำให้ไปพบคุณหมอเพื่อเข้ารับการตรวจรักษาโดยด่วนที่สุด

ข้อควรระวัง
1.หลีกเลี่ยงการใช้หูฟังฟังเพลงในที่ที่มีเสียงดัง
2.ไม่ควรเสียบหูฟังฟังเพลงตลอดเวลา แม้กระทั้งเวลาเข้านอน
3.หากใช้หูฟังฟังเพลง ควรปรับระดับเสียงไปที่ระดับกลาง และไม่ควรฟังต่อเนื่องเกิน 2 ชั่วโมง
4.หลีกเลี่ยงการใช้หูฟังร่วมกับผู้อื่นเพราะอาจติดเชื้อโรคได้
5.หมั่นทำความสะอาดหูฟังเป็นประจำเพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อโรคอื่นๆ

เคล็ดลับการดูแลหูอย่างคนมีสุขภาพดี
1.ใช้ผ้าซุบน้ำหมาดๆ เช็ดทำความสะอาดบริเวณใบหูและรูหูเท่าที่นิ้วจะเช็ดเข้าไปได้
2.ไม่จำเป็นต้องปั่นหรือแคะขี้หูเพราะโดยธรรมหากขี้หูมีจำนวนมากจะเคลื่อน ตัวหรือร่วงออกมาเอง แต่หากต้องการทำความสะอาดอาจใช้สำลีพันปลายไม้เช็ดเพียงหูชั้นนอกเท่านั้น และไม่ควรเช็ดเข้าไปลึกเกินครึ่งเซ็นติเมตร
3.ไม่ควรใช้ของมีคมหรือของแข็งจำพวกที่แคะหู หรือกิ๊บเสียบผมแคะหูหรือเขี่ยรูหู เพราะอาจเป็นอันตรายต่อเยื่อแก้วหู
4.ระวังอย่าให้หูถูกกระแทกอย่างรุนแรงเพราะอาจทำให้เยื่อแก้วหูฉีกขาดได้

หมายเลขบันทึก: 579811เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2014 22:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2014 22:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท