แกนนำขับเคลื่อนฯ ปศพพ. คนสำคัญวันละคน _ ๐๑ : ผอ. ธนิตา กุลสุวรรณ โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร จังหวัดร้อยเอ็ด


การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา ถือเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของการปฏิรูปประเทศ (ยุทธศาสตร์ที่ ๒) ดังภาพด้านล่าง ซึ่งผมเคยเขียนไว้ที่นี่

การขับเคลื่อน ปศพพ. สู่สถานศึกษา จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัย "แกนนำ" ที่เข้าใจอย่างถูกต้อง น้อมนำไปปฏิบัติกับตนเองอย่างต่อเนื่อง จนเกิดความมั่นใจและภูมิใจในผลลัพธ์กับตนเอง "ระเบิดจากภายใน"

ผม ตั้งใจจะเขียนบันทึกเกี่ยวกับบุคคลสำคัญที่เป็น "แกนนำ" ในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา เพื่อยกย่องเชิดชูท่านเหล่านั้น และเพื่อ "ชี้บอก" ตัวอย่างที่ดี (BP) และแบ่งปันความรู้ ความเข้าใจ และความรู้สึกไปยังผู้บริหารหรือผู้เกี่ยวข้อง ... ดังที่ได้ตั้งปณิธานไว้ในใจว่าจะเดินตามรอยเท้าพ่อ (ดูที่นี่) ที่จะ "ส่งเสริมคนดีให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง"

ผอ. ธนิตา กุลสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร จ.ร้อยเอ็ด เป็น "ผอ.พอเพียง" ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ ผมหมายถึงท่านเป็นต้นแบบของความ "พอเพียง" ดำเนินชีวิตอย่างมี "คุณค่า" อุทิศตนเองเพื่องานเพื่อส่วนรวม โดยเฉพาะการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาสู่โรงเรียนทั่วภาคอีสาน ทั้งที่สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และโรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งผมถือว่า เป็นหนทางเดียวที่จะเปลี่ยนแปลงประเทศนี้ให้ดีขึ้นได้ในระยะยาว

(ขอบคุณภาพจาก facebook Thanita Kunsuwan ครับ )

โรงเรียน เทศบาลวัดป่าเรไร จ.ร้อยเอ็ด เป็นหนึ่งใน "โรงเรียนแกนนำ" เพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทย ผอ.ธนิตา กุลสุวรรณ เป็น "ผอ.แกนนนำ" เพียงไม่กี่คนที่เข้าใจและมีศักยภาพสูงยิ่งในการขับเคลื่อนฯ และ คณะครูทุกคน เป็น "ครูแกนนำขับเคลื่อนหลักปรัชญาฯ" รุ่นแรกๆ ในประเทศไทย ดังนั้นหน้าที่(ซึ่งต้องใช้จิตอาสา)ในการขับเคลื่อนฯ ปศพพ. ในประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่อีสาน ต้องฝากไว้กับ ฯวัดป่าเรไรฯ แตกต่างจากโรงเรียนทั่วไปที่ต้องพัฒนาตนเองภายในโรงเรียนเป็นหลัก

ในฐานะที่เป็นคนร้อยเอ็ดคนหนึ่ง รู้สึกภมูิใจ ยินดีมีมุทิตาจิตกับความสำเร็จของโรงเรียนวันป่าฯ ขอยกย่องใน "จิตอาสา" เป็นแกนนำพัฒนาประเทศ ผมคิดว่า นี่คือเป็นปัจจัยในความสำเร็จของการปฏิรูปประเทศต่อไป

หมายเลขบันทึก: 579816เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2014 05:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2014 08:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท