--- จดหมายถึงอาจารย์แพทย์ ---


ครูแพทย์ในฐานะนักการศึกษา ควรเข้าใจ current concepts ของ cognitive psychology ที่สามารถนำไปใช้ในการ lecture การสอน bedside การเรียนการสอนแบบ small groups หรือแม้แต่การออกแบบและการประเมินหลักสูตร :
หลักการสำคัญคือ
1. Optimal learning อาศัย optimal use of memory
2. ความจำ (memory) คือ ความสามารถที่จะจัดเก็บข้อมูล (store) รักษาข้อมูลนั้นไว้ (retain) และเรียกข้อมูลนั้นกลับมาได้ (recall)
3. ความจำ อาศัย 3 ขั้นตอนหลัก คือ
..3.1 Encoding information ซึ่งต้องอาศัย
--- Organizational structure
--- Helped by attaching basic science explanations
..3.2 Storing information
--- ซึ่งต้องใช้ working memory ซึ่งมีข้อจำกัดที่จะเก็บได้ประมาณ 3-4 major concepts และ concepts ที่กำลังเก็บนี้จะหายไปถ้าไม่มีการทวนซ้ำ (rehearsal) ในสมองภายใน 30 วินาที
..3.3 Retrieving information
--- การลืม (Forgetting) คือ การล้มเหลวของการดึงข้อมูลที่เก็บไว้ออกมา (failure of retrieval) ไม่ใช่การล้มเหลวในการเก็บข้อมูล (storage)
--- ช่วยได้โดย:
(1) กระจายการสอนเป็นช่วงยาว (Dispersing the teaching) จะดีกว่าการสอนเป็น "blocks"
(2) กระตุ้น( forcing) ให้นักศึกษาดึงข้อมูล (retrieve) ที่เก็บไว้ในสมองออกมา มากและบ่อยเท่าที่จะทำได้ (เช่น การให้เขียนบท reviews การทำ quizzes….)

:: การแก้ปัญหาทางการแพทย์นั้นซับซ้อน ต้องอาศัย 2 ระบบหลัก คือ
1. pattern recognition สัญชาตญาณ (instinct) mental short-cuts ซึ่งเป็น non-analytical
-- เกี่ยวข้องกับการจดจำ "key features" ได้ ซึ่งมักจะเป็นกระบวนการระดับ subconscious
-- อาจารย์แพทย์ควรต้องสอนหรือบอก "key features"ให้นักศึกษารู้อย่างชัดแจ้ง ไม่ปิดบัง (overtly) (เช่น ระบุอยู่ใน objectives สำหรับแต่ละ small group discussion)
2. analytical reasoning (เช่น probability-based, hypothetico-deductive reasoning)

:: 5 ปรัชญาหลักที่อาจารย์แพทย์ควรระลึกในการสอนนักศึกษาแพทย์ คือ
1. Help students organize their knowledge by providing them a structure and basic science underpinnings --> สอนเป็นระบบ เป็นองค์ประกอบ ที่จะช่วยให้จดจำได้ง่าย
2. Less is more [helps storage in memory] --> อย่าอัด
3. Disperse learning [helps retrieval from memory] --> อย่าแน่น (กระจายดีกว่า)
4. If students are having trouble retrieving: do more retrieving! --> ให้ทำ quizzes ทำ tests บ่อย ๆ
5. Try to make overt what unconsciously occurs in experts’ minds ["key features" teaching] --> บอก point สำคัญให้ชัดเจน

(แปลสรุปจาก จดหมายถึงอาจารย์แพทย์ ของรองคณบดีฝ่ายแพทยศาสตรศึกษา ของโรงเรียนแพทย์ของ Univ Calgary ซึ่งถือเป็น pioneer ของ Clinical Presentation Curriculum ซึ่งหลักสูตรใหม่ของรามาธิบดีกำลังประยุกต์มาใช้ในไม่ช้า)

หมายเหตุ : แม้ทำยาก แต่ก็ควรทำ

หมายเลขบันทึก: 579624เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2014 12:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2014 12:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แม้ทำยาก ..... ก็ควรทำ....

ขอบคุณค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท