การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ AEC ให้พนักงานกฟผ.


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ทุกท่าน

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2557 ผมได้รับเกียรติจากฝ่ายพัฒนาบุคลากร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในการเชิญผมบรรยายเรื่อง การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ AEC ให้กับพนักงานกฟผ.ทุกระดับ ทุกสายงาน จำนวน 240 คน  เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับข้อมูลความรู้เกี่ยวกับความคืบหน้าของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ประชาคมความมั่นคงอาเซียน เพื่อกระตุ้นให้เกิดความเข้าใจและตระหนักถึงการเตรียมความพร้อมทังเชิงรับและเชิงรุกในบริบทขององค์กรด้านธุรกิจพลังงาน เวลา 8.45-16.00 น. ณ ห้องประชุมเกษม จาติกวณิช ชั้น 9 อาคาร ต.040 สำนักงานกลาง กฟผ.

ภาพบรรยากาศการเรียนรู้

หมายเลขบันทึก: 579618เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2014 11:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2014 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สรุปการบรรยาย

กฟผ.กับการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ AEC (ช่วงเช้า)

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

3 พฤศจิกายน 2557

ณ ห้องประชุมเกษม จาติกวณิช ชั้น 9 อาคาร ต.040 สำนักงานกลาง กฟผ.

ศ.ดร.จีระ: การที่มีโอกาสมาพูดครั้งนี้เป็นเรื่องที่น่ายินดีมาก ขอให้วันนี้เป็นวันที่มาร่วมกันแชร์ความคิดเห็น

ประเด็นที่สำคัญ คือต้องมี Reality ก่อนที่จะเข้าอาเซียน กฟผ.ต้องเป็นองค์กรระดับโลก เพราะฉะนั้นต้องเป็นผู้นำระดับอาเซียน หากต้องเข้าไปอยู่ในธุรกิจพลังงาน ต้องคำนึงการเปลี่ยนแปลงของโลกทุกวันนี้มี 3 ประเด็น คือ

  • -เปลี่ยนแปลงเร็ว
  • -ไม่สามารถคาดคะเน
  • -มีความไม่แน่นอน

หากจะทำเรื่อง Social media จะได้เปรียบมาก

เมื่อมีโอกาสจัดอบรมที่นี่ ถึงแม้จะเป็นแค่ 1 วัน ก็ขอให้ทุกคนมีความใฝ่รู้ ใช้ Social media เพื่อให้เป็นเครือข่ายร่วมกัน หากทำสำเร็จก็สามารถกระเด้งไปนอกจากการทำงานเรื่องไฟฟ้า หากทำงานไปนานๆจะเกิด Comfort zone เกิดความเคยชินในการทำงาน

หากเราพูดถึงอาเซียน จะมองเป็นบ้าน 10 หลัง คือ 10 ประเทศ ต่างคนต่างอยู่ มีการตั้งกำแพงภาษี แต่ 2015 มีการเปิดเสรี ต้องเชื่อมกับลาวที่โรงฟ้าหงสา มี EGATi ในการลงทุนกับต่างประเทศ

ต้องมีการ Co-operate กับต่างประเทศ หากรวมเป็นอาเซียน ทำให้ต้องมีอำนาจต่อรองกับต่างประเทศมากขึ้น ยิ่งหากจับมือกับ ASEAN+3 +6 ก็จะทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ตัวของเราจะต้องมีความใฝ่รู้ แนวโน้มของทุนมนุษย์ในอนาคต สำคัญว่าภายในของเรามีความใฝ่รู้มากน้อยแค่ไหน จัดการกับประชานิยมและประชาธิปไตยอย่างไร

เมื่อมีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ขอให้เก็บเกี่ยวสิ่งที่ได้ในวันนี้เพื่อที่จะทำ Do what you know ทั้งเรื่อง ปรับmindset เพื่อ turn idea into action

สิ่งสำคัญ คือ เราต้องมีเครื่องมือ คิดว่าเราจะจัดการEGAT กับ ASEAN อย่างไรได้ในอนาคต อาเซียนคือ Diversity แนวโน้มของโลกคือต้องบริหารความหลากหลาย ต้องเข้าใจความหลากหลายในสังคม เรื่อง Green society เป็นเรื่องที่ต้องเน้น แต่จะทำอย่างไรให้ดูแลสิ่งแวดล้อม และให้มีไฟฟ้าควบคู่กัน

คนไทยบางกลุ่มเห่อปริญญาแต่ไม่บ้าปัญญา ซึ่งต้องมาปรับจุดนี้ก่อนซึ่งเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่สำคัญ

ปัญหาของเด็กไทย คือ คิดไม่เป็น เนื่องจากมีระบบพื้นฐานการศึกษาที่ไม่ดี วันนี้ต้องคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ให้ดี

การปรับตัวของกฝผ.เพื่อให้เข้าสู่อาเซียน ต้องเริ่มต้นจากการปรับพฤติกรรมของเรา

  • -สนใจวิธีการเรียน
  • -สนใจว่าอาเซียน คืออะไร สิ่งไหนที่ยังไม่รู้ โดยเฉพาะประโยชน์ที่เกี่ยวกับไฟฟ้าก็ตั้งใจให้มาก
  • -คิดต่อ ทำต่อ ถึงแม้จะเป็นวันเดียว แต่ถ้าสามารถเดินทางไปในอนาคตร่วมกันก็เป็นเรื่องดี Do what you know
  • -การดึงความสามารถของทุกคนในวันนี้เป็นเรื่องสำคัญ
  • -ความเป็นเลิศในอนาคตมาจากแนวคิด 3V

Value added

Value creation เกิดจาก Creativity และ Innovation หากมีอาเซียนแล้ว จะทำให้มีความคิดใหม่ๆเกิดขึ้น ต้องการให้ทำงานเชิงรุก และทำงานระบบนานาชาติมากขึ้น

สมองซีกซ้ายของคนในห้องนี้มีอยู่แล้ว แต่สมองซีกขวาต้องให้รู้จังหวะว่าช่วงใดที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์

Value diversity

แสดงความคิดเห็น

1. สาธิต ฝ่ายสำรวจ

ความคาดหวัง คือ แนวทางของประเทศเป็นอย่างไร ภาพรวมเป็นอย่างไร

กฟผ.เน้นการผลิต และจำหน่าย เมื่อเปิด ASEAN เรื่อง ASEAN GRID เป็นเรื่องสำคัญ ขอทราบมุมมองต่อต่างประเทศที่มีต่อประเทศไทย

อ .จีระ: มูลนิธิฯของผมตั้งตามมติครม. มีหน้าที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ต้องเข้าใจประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม หากทำกิจกรรมเหล่านี้ ต้องรู้เขา รู้เรา ต้องมีmindset

เรื่อง ASEAN Grid อยู่ที่โลจิสติกส์ ในอนาคตเป็นไปได้หากจะมีสายส่ง ระหว่างประเทศ พม่า กัมพูชา ไม่ยาก แต่อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ จะยาก

2. ชุมพล โรงไฟฟ้าแม่เมาะ

การเข้าสู่ AEC ในปัจจุบัน การสร้างโรงไฟฟ้ามีกระแสต้านของชุมชนมาก จะก้าวฝ่าปัญหานี้ได้อย่างไร

อ.จีระ: ปัจจุบันปัญหาต้องแก้ในประเทศ แต่ในอนาคตต้องแก้ปัญหา และต้องมี NGO ดูแลด้วย

กฟผ. ต้องมีวัฒนธรรมการเรียนรู้ เพื่อให้เข้าใจบริบทต่างๆ

ปัญหาสิ่งแวดล้อมในกาสร้างโรงไฟฟ้าเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข คนส่วนใหญ่คิดว่าสิ่งแวดล้อมสำคัญกว่า รัฐบาลก็สั่งให้ทำเรื่องยากๆ

3. ฝ่ายพัฒนาคุณภาพ

ทำอย่างไรให้บุคลากรมีความพร้อมในการเข้าสู่ AEC และทำอย่างไรเพื่อยกระดับ Mind set เพื่อเกิด 3V

อ.จีระ: ตอนนี้เรามี ASEAN+3 เรื่องไฟฟ้าต้องคิดถึง จีน เกาหลี ญี่ปุ่น แต่ควรเน้นไปที่จีน

คนในห้องนี้ ต้องคิดว่ามาหาความรู้ทุกคนก็ได้ไปแล้ว แต่ต้องช่วยกันคิดว่าอนาคตของกฟผ.ใน 5-10 ปีข้างหน้า จะพัฒนา ค้นหาตัวเองอย่างไร ใครอ่อนภาษาก็ต้องพัฒนา ที่สำคัญคือต้องดึงจุดแข็งออกมาในการสร้างมูลค่าเพิ่ม ด้วยการเปิด Mind set และต้องเอาชนะอุปสรรค

ข้อเสีย คือ พัฒนาทักษะ แต่ไม่ได้พัฒนา Strategic thinking การหาความรู้ของตัวเอง และเอาไปแก้ปัญหา

เรื่อง IT อยู่ในมือทุกคน ทุกคนต้องเรียนรู้ด้วยตัวเอง

4. คนในประเทศไทย ยังขาดการส่งเสริมจากผู้นำ ทั้งผู้นำในองค์กร และผู้นำระดับประเทศ ต้องส่งเสริมการเข้าสู่ ASEAN ในช่องทางต่างๆ ไม่ใช่ให้กฟผ.เดินไปอย่างไร้ทิศทาง

อ.จีระ: บางครั้งกฟผ.ทุกกำหนดควบคุมจากหลายฝ่าย ทั้งปัญหาการเมือง Regulator แต่ประเด็นในวันนี้คือ อาเซียนจะมาเสริมจุดอ่อนได้อย่างไร เพื่อให้เข้าสู่ความเป็นเลิศ โดยเฉพาะกับลาว มีความร่วมมือเพิ่มมากขึ้นอย่างไร

5. คุณนวลศรี อยากเข้ามาฟังเพราะอยากรู้ว่าเราจะเตรียมพร้อมอย่างไรในการเข้าสู่ AEC

อ.จีระ: วันนี้ต้องค้นหาตัวเองก่อน ว่าเรามีจุดอ่อน จุดแข็งอย่างไร มีการหาข้อมูลได้จาก Social media ต่างๆ วันนี้ทุกคนต้องดึงศักยภาพของตัวเองออกมา

ข้อเสนอในที่ประชุมในวันนี้ต้องเป็นทรัพย์สินทางปัญญาของทุกคน เสนอให้ทุกคนปฏิบัติได้ อยากทำอะไรให้ดีขึ้นก็ขึ้นอยู่กับทุกคน

Michael Hammer: โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และไม่สามารถคาดคะเนได้

MichaelPorter: ความสามารถในการแข่งขันขึ้นอยู่กับคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์

ประเทศไทยมีแรงงานที่มีคุณภาพต่ำ ทำให้ยังอยู่ใน Middle income trap

ผู้นำไมโครซอฟ คนใหม่ Satya Nadella มีปรัชญาในการทำงานคือมีการใฝ่รู้และกระหายอยากเรียนรู้

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ: โลกยุคโลกาภิวัตน์ และประชาคมอาเซียนสิ่งที่ต้องมี คือ ความสามารถแข่งขันทักษะในวิชาชีพตัวเอง และสื่อสารให้คนอื่นเข้าใจ เมื่อเข้าสู่ยุคอาเซียน มนุษย์ต้องเตรียมไว้ 3-4 อาชีพ ไม่มีใครเป็นนักบัญชี นักธุรกิจ หรือนักบริหารตลอดชีวิต การเตรียมคนเพื่อทำอาชีพเดียวจึงไม่เพียงพอไม่ทันต่อ โลกาภิวัตน์ที่ต้องเป็น ‘มัลติทาสกิ้ง’”

วัตถุประสงค์

1.เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเรื่องโลกาภิวัตน์ประชาคมอาเซียน (AC) และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ผลกระทบต่อตัวเรา องค์กร สังคม เพื่อเป็นแนวทางในการปรับตัว/พัฒนาพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

2.เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้ทุกท่านเห็นการเปลี่ยนแปลง

3.เพื่อสร้างวิสัยทัศน์และมุมมองเรื่องการพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์ให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

4.เพื่อแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ และการพัฒนา สนุกกับการฟังในวันนี้

5.เพื่อกระตุ้นให้ทุกท่านค้นหาตัวเองและค้นหาองค์กรของท่าน.. จะทำให้สำเร็จได้อย่างไร?

วิธีการเรียนรู้ในยุคที่โลกเปลี่ยน ของ ดร.จีระ

4L’s

Learning Methodology มีวิธีการเรียนรู้ที่ดี

Learning Environment สร้างบรรยากาศในการเรียนรู้

Learning Opportunities สร้าง/เกิดโอกาสจากการเรียนรู้

Learning Communities สร้าง/เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้

2R’s

Reality - มองความจริง

Relevance - ตรงประเด็น อย่าทำอะไรแบบดาวกระจาย ต้องดูว่าจุดแข็งของเราคืออะไร

ข้อเสนอบางอย่างในวันนี้ ควรใช้ 2 R’s เป็นหลัก

2i’s

Inspiration – จุดประกาย

Imagination – สร้างจินตนาการ

3V’s

Value Added สร้างมูลค่าเพิ่ม

Value Creation สร้างคุณค่าใหม่ มีความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ

Value Diversity สร้างคุณค่าจากความหลากหลาย

3L’s

Learning from pain เรียนรู้จากความเจ็บปวด

Learning from experiences เรียนรู้จากประสบการณ์

Learning from listening เรียนรู้จากการรับฟัง

C-U-V

Copy

Understanding

Value Creation/Value added/Value diversity

ปัจจัยท้าทายของกฟผ.กับการเตรียมพร้อมเข้าสู่ AEC

  • แรงกดดันให้หลุดจาก Comfort Zone หรือ Driving Force
  • ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
  • วิกฤตพลังงานในอนาคต
  • การเตรียมความพร้อมในการจัดหาอย่างเพียงพอและมีต้นทุนที่แข่งขันได้
  • การพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาที่มั่นในตลาดธุรกิจไฟฟ้าในประเทศไทย รวมทั้งขยายลู่ทางธุรกิจในตลาดพลังงานอาเซียน และภูมิภาค โดยขยายธุรกิจและการลงทุนผ่านกลุ่มบริษัทในเครือของ กฟผ.
  • คุณภาพของทุนมนุษย์ในองค์กร
  • การสร้างศรัทธาและการยอมรับจากสังคม
  • เรื่องภาษาต้องเป็นสิ่งแรกที่ต้องพัฒนาตอนนี้

    เรื่องที่ต้องรู้จริง เพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรี

    ประเทศในอาเซีย 10 ประเทศ

    ไทย

    มาเลเซีย

    ฟิลิปปินส์

    อินโดนีเซีย

    สิงคโปร์

    บรูไน

    ลาว

    กัมพูชา

    เวียดนาม

    พม่า มีความสำคัญกับ EGATi มาก

    ประชาคมอาเซียน (ASEAN COMMUNITY: AC) คือ อะไร? คือ ข้อตกลงร่วมมือกัน 3 สาขาใหญ่

    1)เศรษฐกิจ และการค้า การลงทุน

    2)สังคมและวัฒนธรรม

    3)ความมั่นคงทางการเมือง

    สำคัญที่สุดจะเชื่อมโยงทั้ง 3 เรื่องเข้าด้วยกัน เรียกว่า “ASEAN Connectivity” เชื่อมโยงเข้าหากัน

    AEC หรือ ASEAN Economics Community คืออะไร?

    คือ การรวมตัวของชาติใน ASEAN 10 ประเทศ เพื่อที่จะให้มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน จะมีรูปแบบคล้ายๆ กลุ่ม Euro Zone จะทำให้มีผลประโยชน์, อำนาจต่อรองต่างๆ กับคู่ค้าได้มากขึ้น และการนำเข้า ส่งออกของชาติในอาเซียนก็จะเสรี ยกเว้นสินค้าบางชนิดที่แต่ละประเทศอาจจะขอไว้ไม่ลดภาษีนำเข้า (เรียกว่าสินค้าอ่อนไหว)

    ASEAN จะรวมตัวเป็น ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและมีผลเป็นรูปธรรม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558

    AEC Blueprint : พิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

    เป็นแผนบูรณาการงานด้านเศรษฐกิจให้เห็นภาพรวมในการมุ่งไปสู่ AEC ซึ่งประกอบด้วยแผนงานเศรษฐกิจในด้าน ต่าง ๆ พร้อมกรอบระยะเวลาที่ชัดเจนในการดำเนินมาตรการต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายในปี 2558 รวมทั้งการให้ความยืดหยุ่นตามที่ประเทศสมาชิกได้ตกลงกันล่วงหน้าเพื่อสร้างพันธสัญญาระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน

    ได้กำหนดยุทธศาสตร์การก้าวไปสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ที่สำคัญดังนี้

    1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน

    2.การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง

    3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เท่าเทียมกัน และ

    4. การเป็นภูมิภาคที่มีการบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก

    7 อาชีพแรกที่เปิดอาเซียน

    -แพทย์

    -พยาบาล

    -ทันตแพทย์

    -วิศวกร

    -สถาปัตยกรรม

    -การสำรวจ นักบัญชี

    การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 นั้น จะเกิดผลกระทบต่อการใช้พลังงานอย่างไรบ้าง

    qในปี 2558 จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายจากภาษีศุลกากรมากนักเพราะชาติหลักของอาเซียนได้มีการลดภาษีเป็นศูนย์เกือบทุกรายการไปแล้วตั้งแต่ปี 2553

    qอาเซียนต้องเดินหน้าต่อเรื่องความเชื่อมโยงทางกายภาพ (physical to physical connectivity) ที่หมายถึง ความเชื่อมโยงของการคมนาคม โทรคมนาคมและแหล่งพลังงานทั้งไฟฟ้าและการขนส่งก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นรากฐานของการเป็นตลาดเดียว สมาชิกอาเซียนมีความแตกต่างกันไปของแหล่งทรัพยากรพลังงาน อาทิเช่น

  • ไทยและมาเลเซีย มีน้ำมัน ก๊าซ และถ่านหิน
  • ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย มี น้ำมัน ก๊าซ ถ่านหิน พลังงานจากน้ำและพลังงาน
  • จากความร้อนใต้ดิน

  • เวียดนามและเมียนมาร์ มีน้ามันก๊าซ และพลังงานจากน้ำ
  • ขณะที่เวียดนามยังมีถ่านหินอีกด้วย

  • กัมพูชาและลาวมีพลังงานจากน้ำ และกัมพูชายังมีน้ำมันอีกจำนวนไม่น้อย
  • สปป.ลาวมีพลังงานจากน้ำ

  • บรูไนมีน้ำมัน
  • โอกาสของกฟผ. ภายใต้ AEC

    1.มีโอกาสขยายฐานการผลิตไฟฟ้าไปยังประเทศในกลุ่มอาเซียนได้มากยิ่งขั้น สะดวกขึ้น

    2.มีโอกาสในการขยายตลาด

    3.การแข่งขันเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น

    4.มีโอกาสในการร่วมมือกับประเทศอาเซียนในการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิตไฟฟ้า และการพัฒนาพลังงานทางเลือก

    5.มีโอกาสในการลดต้นทุน

    6.มีโอกาสในการสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียนเพื่อลดมลพิษ

    7.มีโอกาสในการจัดทำมาตรฐานและโครงการพัฒนาบุคลากรด้านพลังงาน

    8.มีโอกาสเป็นศูนย์กลางความรู้และเทคโนโลยีในการผลิตไฟฟ้าของอาเซียน

    เป็นต้น

    สิ่งที่กฟผ.ต้องนำไปทำต่อ

    • -พลังงานทดแทน
    • -พัฒนาทรัพยากรมนุษย์
    • -การประหยัดพลังงาน
    • -สิ่งแวดล้อม Green electricity
    • -การเจรจาต่อรองกับชุมชน

    ต้องทำเป็นแผนปฏิบัติการระยะยาว เช่น เรื่องภาษาต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท