อ่านข่าววันนี้จาก ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ ให้สะดุดตากับข่าวนี้
เตรียมยื่น 1 หมื่นรายชื่อ ผลักดันหอสมุดแห่งชาติให้บริการออนไลน์ ก่อนเอกสารโบราณเสื่อมสภาพ
updated: 27 ต.ค. 2557 เวลา 18:46:29 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
รู้สึกอึ้งทึ่งกับหอสมุดแห่งชาติของไทยเรา และรู้สึกยินดีที่มีผู้รณรงค์ให้มีการยกเครื่องขนานใหญ่ในระบบการเก็บรักษาและบริการเอกสารเก่า หายากและมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ซึ่งปัจจุบันระบบและบริการดังกล่าว โบราณ ล้าหลัง
อย่างเหลือเชื่อ
จากเนื้อหาข่าว ผู้รณรงค์คือนางประภัสสร โพธิ์ศรีทอง นักวิชาการอิสระศึกษาวิจัยด้านประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมไทย โดยเสนอให้หอสมุดแห่งชาติทำการพัฒนาระบบการให้บริการออนไลน์เอกสารโบราณของหอสมุดแห่งชาติ เพื่อลดปัญหาการเสื่อมสภาพของเอกสารต้นฉบับและรักษาเอกสารโบราณอย่างยั่งยืน และให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลการเรียนรู้ที่เปิดกว้างเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ
นางประภัสสรเล่าถึงสภาพปัจจุบันว่า
......ต้องไปใช้บริการแผนกเอกสารโบราณของหอสมุดแห่งชาติอยู่บ่อยครั้ง และได้พบปัญหาการให้บริการที่สั่งสมมายาวนาน ....... นักวิชาการและนักศึกษา....ก็พูดให้ฟังถึงความไม่ประทับใจในการใช้บริการ...... โดยปัญหาใหญ่ที่พบ เช่น การนำเอกสารโบราณต้นฉบับอายุเก่ากว่าร้อยปีที่มีเพียงฉบับเดียวออกมาให้บริการโดยไม่ทำตามหลักการสากลว่าด้วยการให้บริการเอกสารโบราณ เอกสารจึงเสี่ยงต่อการเสื่อมสภาพได้…….
……………..สมุดไทยดำที่เขียนด้วยดินสอขาวที่มีลักษณะเป็นผงฝุ่น ซึ่งหากถูกสัมผัส ข้อความก็จะเลอะเลือนได้ง่าย ทำให้ข้อความที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สูญหายไป.....
................ ผู้รับบริการต้องมานั่งเปิดสมุดบัญชีรายการเอกสารที่หอสมุดแห่งชาติทั้งวัน แล้วต้องจดบันทึกด้วยมือเท่านั้น เพราะไม่มีระบบออนไลน์ที่เข้าถึงได้ ทำให้เสียทั้งเงินและเวลาเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะคนที่ต้องมาใช้บริการจากต่างจังหวัด....
เมื่อสภาพเป็นเช่นนี้ก็สมควรแล้วที่จะต้องปฏิรูปครั้งใหญ่ โดยการนำระบบดิจิทัลมาใช้ในการเก็บเอกสารต้นฉบับ เป็นการรักษามรดกของชาติทางวิชาการไว้ให้ยืนยาวต่อไปรวมทั้งให้บริการออนไลน์ที่คนในชาติรวมทั้งชาวโลกสามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา
คิดแล้วก็ขำ ตนเองเคยไปหอสมุดแห่งชาติที่ท่าวาสุกรีสมัยเรียน ป. ตรี กับเพื่อน ๆ เข้าไปแล้วต้องเดินตัวลีบ ราวกับไปสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ จะหยิบจับอะไรก็กลัวจะทำเสียของ กลัวผู้ใหญ่ที่นั่งมองเฉย ๆดุเอา ช่างไร้ชีวิตชีวาเลียจริง ๆ แต่ก็ไม่เคยเข้าใช้นานแล้วยังคิดว่าก็คงทันสมัยเช่นเดียวกับหอสมุดที่ดีทั่วไปแล้ว แต่การณ์กลับไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อเร็ว ๆนี้สามารถอ่านหนังสือเก่าอายุร้อยกว่าปีทั้งเล่มที่เก็บไว้ที่ต่างประเทศ โดยผ่าน Google แสนสะดวกสบาย รวมทั้งสามารถค้นหาประกาศราชกิจจานุเบกษาไทยย้อนหลังไปไกลนับร้อยปีเช่นเดียวกัน
หวังว่าการรณรงค์ของกลุ่มบุคคลครั้งนี้จะทำให้หอสมุดแห่งชาติสามารถปรับปรุงระบบและบริการให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศโดยเร็ว ประเทศไทยไม่ได้สิ้นไร้ไม้ตอกอีกแล้วทั้งเรื่องคน เงิน และเทคโนโลยี ขอเพียงให้คิดที่จะทำ และลงมือทำ
...สมุดไทยดำที่เขียนด้วยดินสอขาวที่มีลักษณะเป็นผงฝุ่น ซึ่งหากถูกสัมผัส ข้อความก็จะเลอะเลือนได้ง่าย ทำให้ข้อความที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สูญหายไป...เป็นเหตุผลที่สำคัญที่ทำให้ไม่สามารถนำระบบดิจิทัลมาใช้ในการเก็บเอกสารต้นฉบับหรือเปล่าค่ะอาจารย์
ขอบคุณคุณเพชรน้ำหนึ่งและท่านอาจารย์ Pojana มากค่ะ น่าคิดเหมือนกันว่าจะดูแลเอกสารสมุดไทยดำอย่างไร
แต่ถ้าอะไรที่มีลักษณะเฉพาะเช่นสมุดไทยดำ ก็ไม่ควรให้หลายมือไปสัมผัส เพราะเสื่อมแน่นอน เวลาเราไปพิพิธพันธ์ จะเห็นว่าเขาจะทำเชือกกั้นไว้ให้ชมแต่ตา มืออย่าต้อง สมุดไทยดำนี่ผู้ใช้คงสนใจเนื้อหา ดังนั้นก็น่าจะถ่ายรูปแต่ละหน้า แล้วจัดเป็นไฟล์ เข้าระบบออนไลน์ให้ค้นคว้า ส่วนเล่มของจริงก็จัดแสดงให้ชม หรือทำระบบอื่น ๆตามหลักวิชาการด้านบรรณารักษ์ศาสตร์ซึ่งปัจจุบันนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศมาใช้เช่นเดียวกับสาขาอื่น ๆ แต่ด้วยความเคารพบุคลากรหอสมุดแห่งชาตินะคะ เขาคงทราบดีกว่าผู้อื่นนอกวงการ แต่ยังไม่ได้ทำก็คงมีเหตุผลของเขานะคะ
ถ้ามีระบบการถ่ายภาพ ระบบออนไลน์และเก็บรักษาไว้จะดีมาก
เพราะต้นฉบับจริงจะเลื่อนหายได้ง่ายตามกาลเวลา
มาสนับสนุนอาจารย์ครับ