​ชีวิตที่พอเพียง : ๒๒๗๖. สี่ปีของการทำงาน HPER


          เผลอแว้บเดียว เวลาผ่านไป ๔ ปีแล้ว ในการทำงาน HPER

          HPER ย่อมาจาก Health Professional Education Reform หมายถึงการปฏิรูประบบการศึกษาของวิชาชีพสุขภาพ โดยผมได้ลงบันทึกที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เป็นระยะๆ ที่นี่

          เรื่องนี้สำคัญมาก ต่อความเข้มแข็งของระบบสุขภาพของประเทศไทย ซึ่งมีความหมาย หรือมีคุณค่า สองด้าน คือด้าน Health/Social Equity กับด้าน Competitiveness ในธุรกิจบริการสุขภาพแก่ลูกค้าชาวต่างประเทศ

          คุณหมอเฉลิม นายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน บอกว่า เรื่อง Medical Hub ไม่ใช่เรื่องต้องกังวลอีกต่อไป ซึ่งหมายความว่าเราเป็นเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ต้องทำคือรักษาไว้ให้ดี เขาจึงเสนอว่า เราควรเป็น Hub ด้าน HPE ให้แก่ภูมิภาค

          ทำให้ผมตระหนักว่า เราไม่สามารถปฏิเสธ market force ได้เลย มันทรงพลังอย่างยิ่ง จึงเสนอต่อที่ประชุม คณะอนุกรรมการดำเนินการจัดประชุมวิชาการระดับชาติ เพื่อการพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ (อศบส.) ครั้งที่ ๔/๒๕๕๗ เมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๗ ว่า HPER ของไทย น่าจะยึดหลักเป้าหมายสุดท้าย ที่หลายเป้าหมาย (multiple purposes) โดยตระหนักในความขัดแย้ง หรือ tension ระหว่างเป้าหมายต่างขั้ว ให้ระบบดำรงอยู่ และก้าวหน้าไป ในท่ามกลางความเข้าใจ เป้าหมายที่แตกต่าง

          คุณหมอสุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ประธานในที่ประชุมบอกว่า การประชุมที่มีผู้แทนจาก ๗ วิชาชีพ มาประชุมกันอย่าง พร้อมเพรียง เพื่อคุยกันเรื่อง HPER เช่นนี้ ไม่เกิดขึ้นในประเทศอื่น มีเฉพาะในประเทศไทยเราเท่านั้น น่าภาคภูมิใจนะครับ

          ที่น่าภาคภูมิใจคือ มีการวางแผนการประชุมวิชาการประจำปีระดับชาติ “การพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ” (Annual National Health Professional Education Reform Forum – ANHPERF) ไปล่วงหน้า ๕ ปี ดังนี้

พ.ศ. ๒๕๕๗ การปฏิรูปการบริหารจัดการสถาบัน (instutional reform)

พ.ศ. ๒๕๕๘ เทคโนโลยีสารสนเทศสู่การเรียนรู้

พ.ศ. ๒๕๕๙ การเรียนรู้สู่การสร้างทีมสุขภาพ (inter-professional education)

พ.ศ. ๒๕๖๐ การขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ (instructional design)

พ.ศ. ๒๕๖๑ ก้าวข้างหน้าของการปฏิรูปการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ

          แผนนี้มีสปอนเซอร์ด้านการเงินจากทั้งภายในและภายนอกประเทศ ตลอด ๕ ปี

          ผมได้เห็นการทำงานเพื่อบ้านเมือง ในลักษณะของงานสร้างสรรค์ ที่ไม่มีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งเป็นเจ้าของ แต่มีหลายหน่วยงานร่วมกันเป็นเจ้าของ แบบที่จะไม่มีวันเกิดขึ้นใน sector อื่นได้เลย เพราะใน sector ไม่มีความหลากหลายขององค์กรที่มีความเป็นอิสระ ที่จะเข้ามาร่วมกันสนับสนุนความริเริ่มสร้างสรรค์ให้แก่บ้านเมือง

          กล่าวให้เข้าใจง่ายขึ้น ระบบสุขภาพพร้อมที่จะร่วมกันทำงานเชิงเครือข่าย เพื่อการสร้างสรรค์ใหญ่ให้แก่บ้านเมือง และแก่โลก เพราะเรามีการกระจายอำนาจเชิงสถาบัน มีสถาบันที่มีอิสระ และมีทรัพยากร หลากหลาย พร้อมที่จะ ร่วมมือกันส่งเสริมงานสร้างสรรค์ สร้างการเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคต

           การประชุมวิชาการประจำปีระดับชาติ การพัฒนาการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านสุขภาพ ครั้งที่ ๑ ‘ปฏิรูปสถาบัน สู่การเรียนรู้ สร้างคน สร้างสุขภาพ’ จัดระหว่างวันที่ ๑๘ - ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๗ ที่โรงแรม แกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน กรุงเทพ โดยก่อนหน้านั้น มีการประชุมปรึกษาหารือเชิงนโยบายระดับสูงในวันที่ ๑๗ พฤศจิกายน ที่โรงแรมสยามเคมปินสกี

          ทั้งหมดนี้เป็นกระบวนการ Change Management ที่เรากำหนดยุทธศาสตร์เชิงบวก เน้นการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน แล้วเสาะหาตัวอย่างการดำเนินการไปสู่เป้าหมายที่มีผู้ดำเนินการอยู่แล้ว เอามา ลปรร. กัน และร่วมกันหาแนวทางยกระดับและขยายผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับสถาบัน หรือเชิงระบบ

          ผมมีความสุข ว่าความรู้จากการทำงาน KM อย่างเข้มข้น เป็นเวลา ๕ ปี และเขียนหนังสือ ผู้บริหารองค์กรอัจฉริยะมอบไว้แก่สังคมไทย มีการนำมาเป็นยุทธศาสตร์ HPER

วิจารณ์ พานิช

๑๖ ก.ย. ๕๗

หมายเลขบันทึก: 579378เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2014 09:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 ตุลาคม 2014 09:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท