"เศรษฐกิพอเพียง" เป็นเรื่องของภูมิคุ้มกันที่ทำให้ "สมดุล ยั่งยืน"


ผมได้เรียนรู้แบบ "กระตุก" เมื่อได้ชมวีดีโอของ รศ.ดร.เสรี พงศ์พิศ  เป็นการ "กระตุก" ให้เข้าที่เข้าทาง อยู่กับแก่นของการดำเนิน "งาน" ที่กำลังทำอยู่  ท้าทายให้ท่านลองดู ...  แล้วย้อนกลับดู "โครงการ" ที่เราทำผ่านๆ มา ว่า "ยั้งยืน ต่อเนื่อง สมดุล" หรือไม่ อย่างไร ...

หลังจากศึกษา สืบค้น ในเวลาอันจำกัด  ผมพบว่า ท่านเป็นหนึ่งใน "คนดีวันละคน" ของ ศาสตราจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช และมีข้อมูลผลงานท่านจำนวนมากในเว็บไซต์ www.phongphit.com จึงสรุปกับตนเองว่า ท่านเป็นนักคิด (นักปรัชญา) และนักพัฒนาชุมชน ที่คนรุ่นหลังอย่างเรา ต้องเอาเป็นแบบอย่างและเรียนรู้ "องค์ความรู้ตามทางเดิน" หรือ "ทางปฏิบัติ" ของท่านให้มาก...

ท่านบอกว่า

  • ไม่มีใครเปลี่ยนแปลงชาวบ้านได้จริง ต้องระเบิดจากข้างใน เหมือนผลึกที่มันต้องเกิดตรงนั้นและโตออกมาจากข้างใน
  • โครงการ(ในปัจจุบัน) จะยั่งยืนต้องมีเงินและคน เงินหมดคนไป.... จึงไม่ยั่งยืน
  • โอท็อปที่ไม่มีฐานเศรษฐกิจชุมชนไม่ยั่งยืน เพราะไม่มีข้อมูล ความรู้และมีแผน ต้องเข้มแข็งทางความคิด
  • กิจกรรมเป็นเพียงเครื่องมือ ปัญหาคือความอ่อนแอของใจ เพียงพอแล้วกับการพัฒนาจากภายใน

แต่ถ้าจะย้อนฟัง "ภาคทฤษฎี" เชิญท่านดูคลิปนี้ครับ

  • ปศพพ. ชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิต...ไม่เฉพาะทางเศรษฐกิจ ....เป้าหมายคือ "ดำรงอยู่ได้อย่างมั่งคงและยั่งยืน" ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ทั้งดีและไม่ดี
  • เมื่อน้อมนำมาใช้แล้วจะมี.. " แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนเพื่อสมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม "
  • "ต้องสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความ ซื่อสัตย์สุจริต มีความรอบรู้ที่เหมาะสม
  • ปศพพ. มีหลักการ หลักวิชา และหลักปฏิบัติ ดังนี้ หลักการคือ "ทางสายกลาง" ต้องนำ"หลักวิชา" มาใช้อย่างรอบคอบ หลักปฏิบัติคือ "๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข"
หมายเลขบันทึก: 579384เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2014 12:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 ตุลาคม 2014 12:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

แลกเปลี่ยนนะคะ ดิฉันนำแนวคิดชุมชนพึ่งตนเองของ ดร.เสรี พงศ์พิศ มาต่อยอดบูรณาการเข้ากับงานแนว รปศ. ได้งานวิจัยออกมาชิ้นหนึ่ง งานนี้ได้ปริญญาเป็นรางวัลโดยไม่มีโอกาสพบกับท่าน มีเพียงโอกาสเดินสายทำความรู้จักกับปราชญ์ชาวบ้านในผลงานของท่านหลายคน .. ชักจะยาวไป ขอแค่นี้ก่อน ขอบคุณค่ะ

คนบ้านเดียวกันกับ ท่าน ดร. รู้สึกดีใจแทนท่านค่ะ ที่ผลงานมีประโยชน์มากมาย

ขอบคุณค่ะในโรงเรียนจะต้องจัดการเรียนรู้ให้ถึงแก่นแท้ของความพอเพียงเน้นการดำรงชีวิตของทุกคนค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท