คนดีวันละคน : (15) ดร. เสรี พงศ์พิศ


ผมชื่นชมว่าท่านไม่ใช่แค่เป็นนักคิด นักปรัชญา เท่านั้น แต่ยังเป็นนักริเริ่มสร้างสรรค์ตัวยง ผลงานที่ผมชื่นชมมีมากมาย เช่น การก่อตั้งและบริหารมูลนิธิหมู่บ้าน โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต (www.rulife.net) เป็นต้น

         ประวัติของ ดร. เสรี  พงศ์พิศมีอยู่ในเว็บไซต์ของท่าน   www.phongphit.com   ท่านเป็นนักเขียนและนักพูดที่ผมชื่นชอบ  เรียนปริญญาตรี - โท - เอก ด้านปรัชญา   โดยจบปริญญาตรี - โท จากโรม  และเอกจากมิวนิค

          ผมรู้จักท่านครั้งแรกเมื่อกว่า 10 ปีมาแล้ว   เมื่อ ดร. บุญรักษ์  บุญญะเขตมาลา  ผอ.ฝ่ายความสัมพันธ์ข้ามชาติของ สกว. เชิญท่านมาทำหน้าที่ผู้ประสานงานชุดโครงการวิจัย 10 ยอดนักคิดของไทย   ผมสรุปในภายหลังว่า ดร. เสรี เองนั่นแหละเป็นยอดนักคิดคนหนึ่งของไทย

         ผมชื่นชมว่าท่านไม่ใช่แค่เป็นนักคิด  นักปรัชญา เท่านั้น   แต่ยังเป็นนักริเริ่มสร้างสรรค์ตัวยง   ผลงานที่ผมชื่นชมมีมากมาย เช่น การก่อตั้งและบริหารมูลนิธิหมู่บ้าน   โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต (www.rulife.net) เป็นต้น

วิจารณ์  พานิช
 1 ม.ค.50
วันขึ้นปีใหม่

หมายเลขบันทึก: 74154เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2007 14:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • เข้าไปอ่านแล้วครับ
  • กำลังตื้อท่านมาอยู่ใน gotoknow ด้วยครับ
  • ขอบคุณมากครับผม
ด.ต. ธีรกานต์ เทพขาว นศ.มหาวิทยาลัยชีวิตเชียงใหม่ (๑)

กระผมเป็นลูกศิษย์อาจารย์เสรี พงศ์พิศ  ในหลักสูตร สหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น  เริ่มเรียนกับ อ.เสรีฯ มาตั้งแต่ สวช.ร่วมกับรามคำแหง จนมา ม.ราชภัฎพระนครปัจจุบัน (วันปฐมนิเทศ นศ.ใหม่ ผมรู้แต่ว่าท่านคือ อ.เสรี พงศ์พิศ คงเป็นอาจารย์ธรรมดาคนหนึ่ง)  เป็นหลักสูตรที่โดนใจผมมาก ๆ เพราะผมประสบปัญหากับคุณพ่อที่ท่านคิดจะปลูกพืชเชิงเดี่ยวเพื่อให้ได้ทุนคืนมา แต่ท่านอายุมากแล้ว ดินก็เสื่อมไปแล้ว เพราะใช้สารเคมีทุกชนิดมาตลอดเวลา ไม่รู้จะแก้อย่างไร มาลองทำเองก็ขาดทุนปี้ป่น ผมจึงทิ้งจอบมาเรียนหนังสือกับ อ.เสรี ฯ ผมได้อ่านหนังสือ อ.เสรีฯ ผมขนลุกขนพอง ใช่เราหมดเลย เวลาอยู่ในห้องสอบผมจึงเขียนได้มากและนานกว่าเพื่อน ๆ เพราะผมได้ระบายความอัดอั้นตันใจที่คั้งค้างมานานวัน (อ.ณรงค์ สมณะ ผอ.ศูนย์เรียนรู้มักจะถือกระดาษเปล่ามาที่โต๊ะผม ว่าเอากระดาษอีกไหม อ่านสนุกดี) (อ.นรมน โลไทสงค์ อ.ประจำวิชา บอกว่าชื่นใจที่ ยังมีนศ.ในห้องตอบคำถามได้ว่า กระบวนทัศน์พัฒนาพื้นฐาน คืออะไร ก็ปมแก่นแท้แห่งปัญหาของผมนี่ครับจึงตอบได้เหมือนท่องจำ) บ้านเดิมผมอยู่ อ.ป่าซาง จว.ลำพูน   บิดามารดา และคนในชุมชน ปลูกพืชเชิงเดี่ยวอย่างเอาเป็นเอาตาย ด้าน หอม กระเทียม ลำไย ฯลฯ ซึ่งปลูกกันมาก  เพื่อขายมาก ๆ จะได้เงินมาก ๆ แต่ผลผลิตไม่ได้ราคา มีหนี้สินกันถ้วนหน้าทั้งชุมชน ดินก็เสื่อม ใจคนก็เสีย ไม่มีความสุข มีแต่หนี้ ธกส. และทุกระบบ คนวัยทำงานส่วนใหญ่ย้ายไปทำงานในเมืองบ้าง กรุงเทพบ้าง  ถ้าผมไม่มาเรียนหลักสูตรนี้ ผมก็คงไม่รู้ว่าชุมชนบ้านผมถูกเปลี่ยนวิธีคิดเพราะ แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๐๔ สิ้นเสียงกลองผู้ใหญ่ลีแล้ว ชุมชนบ้านผมได้เปลี่ยนวิถีชีวิตจากปลูกข้าวตามฤดูกาล(มีเก็บไว้ในยุ้ง)  พืชหมุนเวียน ไว้กินไว้ใช้ แบ่งปันเผื่อแผ่ เกื้อกูลกัน ชุมชนที่เคยทอผ้าฝ้ายพื้นเมืองมีชื่อเสียงในอดีต (ยุคก่อน พ.ศ.๒๕๐๔ บทเพลงชื่นชมความงามเกี่ยวกับชุมชนป่าซางลือลั่นทั่วเมืองไทย ไม่ว่าจะ สุรพล สมบัตเจริญ ม.ร.ว.ถนัดศรี สวัสดิวัฒน์ หรือนักร้องที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นต่างมีบทเพลงชื่นชมความงามป่าซางกันเสมอๆ) เขาได้ทิ้งทอหูก หันหลังให้เครื่องปั่นด้าย เดิม ๆ กลับกลายมาเป็นปลูกพืชเพื่อขายทำกันในเชิงเดี่ยว เป้าหมายคือ "ป๊อก" หรือรวย    เช่น หอม กระเทียม ลำไย ตั้งแต่เล็กจนโตข้าพเจ้าจำได้ราคาหอมกระเทียมขึ้นลงสลับกันปีเว้นปี ขึ้นอยู่กับว่า ผู้คนจะเฮโลกันไปทางไหน (ลือกันว่าบ้านโฮ่งป๊อกหลายแสน ก็ลองปลูกตามบ้านโฮ่งบ้าง) ปลูกหอมแดง หรือกระเทียม ลำไยราคาดีก็เฮโลปลูกลำไย จนล้นท่วมเมืองเป็นปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำในปัจจุบัน  ไม่คุ้มกับการลงทุน ผมพึ่งจะมารู้วันนี้เองหลังจากมาเรียนมหาวิทยาลัยชีวิต  ว่าคนชุมชนเขาไม่เชื่อมั่นในศักยภาพของตนเอง เพราะมีวิธีคิดแบบพึ่งพาจากภาครัฐ  หวังแลกหนักเพื่อให้ได้เงินหนัก ๆ บ้านผมมีแต่คนมีความรู้สูง ๆ แต่คิดเหมือนกันหมด เก่งที่สุดก็เป็นนักวิชาการเกษตร ให้ข้อแนะนำ ขายปุ๋ยขายยาฆ่าแมลงที่ผลิตให้กับเกษตรกร  ทำในเชิงพาณิชย์  ซึ่งเป็นเสมือนหมอยาเม็ดที่ไม่ได้รักษาแบบองค์รวม  จึงพากันล้มระเนระนาดตาม ๆ กัน  หากชุมชนรู้วิธีคิด วิธีปฏิบัติ วิธีให้คุณค่า บนการมองโลกของความเป็นจริง หรือกระบวนทัศน์พัฒนาพื้นฐานนี้  ทุน ทรัพยากรบ้านผมคงไม่ถูกทำลาย เพราะคนในชุมชนไม่เห็นคุณค่า แม้แต่ตัวเขาเอง เป็นผู้มีภูมิปัญญาสูงมาก เป็นถึงหนาน(ทิดสึกจากพระ) ฯลฯ เขายังไม่เชื่อมั่นในตัวเอง ผมอยากให้  หลักสูตรสหวิทยาการเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น  ไปโผล่ที่กลางไร่หอมกระเทียม กลางสวนลำไย ป่าซางบ้านผม (เริ่มจากจุดเล็ก ๆ เหมือนแสงหิ่งห้อยในความมืด  จุดประกายเพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของคนก่อน)   อยากให้คนที่เขาทิ้งทุ่งนาไปทำงานนิคมอุตสาหกรรม กลับมาเห็นคุณค่าในทุนชุมชนอีกครั้ง  หากผมเรียนจบหลักสูตรนี้แล้ว  ผมจะเป็นอาสาสมัครช่วยเหลือ "โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต" (ชาวยอง)  โดยไม่หวังเงินค่าตอบแทน แต่จะหวังสิ่งตอบแทนคือความสุขของผู้คนในชุมชนจะต้องกลับคืนมาเหมือนในอดีต  บทเพลงมนต์รักป่าซางจะต้องกลับมาดังกระหึ่มอีกครั้ง  ขอบคุณครับ

ผมเขียนเกี่ยวกับโครงการมหาวิทยาลัยชีวิตและอาจารย์เสรีไว้บ้างเหมือนกันครับ ลองคลิกลิงก์ไปดู
http://gotoknow.org/blog/surachetv/81766
http://gotoknow.org/blog/surachetv/81918
http://gotoknow.org/blog/surachetv/81606
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท