บรรยากาศหนึ่งที่แปลงนาเกษตรกรตำบลบ้านเอื้อม


แนะนำเกษตรกร ในการป้องกันกำจัดแบบวิธีการป้องกันแบบผสมผสาน หากไม่จำเป็นเราจะไม่แนะนำให้ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัด ในเบื้องต้นให้ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ผสมน้ำฉีดพ่น นอกจากนี้ เราได้แนะนำให้รวมกลุ่มกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่ม โดยมี เกษตรกร นักส่งเสริมการเกษตร นักอารักขาพืช และหน่วยงานภาคี ได้เข้าร่วมเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืน

                

                    เยี่ยมเกษตรกรที่แปลงนาตำบลบ้านเอื้อม เมื่อเร็วๆนี้ทีมงานของกลุ่มอารักขาพืช สำนักงานเกษตรจังหวัดลำปาง ร่วมกับนักส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบตำบล สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองลำปางได้ลงพื้นที่เพื่อเยี่ยมเกษตรกรในแปลงนา ในตำบลบ้านเอื้อม อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง พร้อมได้สำรวจ ประเมินสถานการณ์การระบาดของศัตรูข้าว โดยเฉพาะ โรคไหม้ข้าว ซึ่งเกิดการระบาดในแปลงนาของเกษตรกรเป็นบางจุด โดยเฉพาะแปลงนาที่มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดโรคระบาด เป็นต้นว่า สภาพฟ้าอากาศ ความชื้นในแปลงนา การปลูกข้าวที่แน่นเกินไป พันธุ์ข้าวที่ปลูก ไม่มีการคัดเมล็ดพันธุ์ก่อนปลูก ปล่อยวัชพืชขึ้นในคันนารอบแปลงนา และประการสำคัญที่สุด เกษตรกรไม่ลงไปดูแลแปลงนาข้าวของตนเองอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง เวลาเมื่อไปพบต้นข้าวของตนเองแสดงอาการเป็นโรคหรือผิดปกติมากก็จะแจ้งนักส่งเสริมการเกษตร ได้ออกไปดูแปลงนาของตนนั่นเอง



                    ความจริงแล้ว เราก็ได้วางกลไกในการทำงานไว้ในชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุกหมู่บ้าน ก็จะมีอาสาสมัครเกษตรประจำหมู่บ้าน ที่เรียกชื่อย่อกันว่า อกม.นั่นเอง คือ อกม.ได้ถูกออกแบบไว้ จะต้องประสานงานกับนักส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบตำบล ในกรณีที่เกิดศัตรูพืชระบาด พร้อมให้คำแนะนำเบื้องต้นแก่เกษตรกร และร่วมกับนักส่งเสริมการเกษตร ผู้นำชุมชน เกษตรกรผู้นำ อปท. ได้ออกสำรวจข้อมูลการระบาดของศัตรูพืชในชุมชนนั้นๆ

               

                   

                   

                   เมื่อทีมงาน ได้ลงไปพบเกษตรกรเพื่อสอบถามข้อมูลในการปลูกข้าว เพื่อวินิจฉัยอาการเกิดโรคข้าวในแปลงนา พร้อมทั้งประเมิน สถานการณ์ว่าจะมีแนวโน้มระบาดไปยังพื้นที่ใกล้เคียงหรือไม่ และจะป้องกันกำจัดอย่างไรในขณะเดียวกันเราก็ต้องให้คำแนะนำเกษตรกร ในการป้องกันกำจัดแบบวิธีการป้องกันแบบผสมผสาน หากไม่จำเป็นเราจะไม่แนะนำให้ใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัด ในเบื้องต้นให้ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา ผสมน้ำฉีดพ่น นอกจากนี้ เราได้แนะนำให้รวมกลุ่มกันเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในกลุ่ม โดยมี เกษตรกร นักส่งเสริมการเกษตร นักอารักขาพืช และหน่วยงานภาคี ได้เข้าร่วมเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาชุมชนแบบยั่งยืนนั่นเองครับ



                    ทั้งนี้เพื่อพัฒนาไปสู่การจัดตั้งศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการติดตามสถานการณ์การระบาดของศัตรูพืช และป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยไม่มุ่งเน้นการใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยพยามปรับแนวคิดของเกษตรกรให้เกิดความตระหนักถึงพิษภัยของสารเคมี ที่ใช้เกินความจำเป็น ใช้ไม่ถูกต้อง ซึ่งจะเป็นพิษต่อเกษตรกรผู้ผลิต ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมของชุมชนนั่นเองครับ





เขียวมรกต

๒๕ ตค.๕๗




หมายเลขบันทึก: 579235เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2014 10:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 ตุลาคม 2014 11:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

...ด้วยความชื่นชมค่ะ...ทำงานอย่างมีความสุขนะคะ...

ขอบคุณครับท่านอาจารย์ ดร.พจนา ที่กรุณาแวะมาให้กำลังใจเสมอมาครับ

ขอบคุณ คุณครู tuknarak ที่แวะมาให้กำลังใจเสมอมาครับ

-สวัสดีครับ

-ตามมาเยี่ยมชมพี่น้องส่งเสริมการเกษตรที่ลำปาง

-ทีมงานเข้มแข็งนะครับท่าน

-ดูแลสุขภาพด้วยนะครับ

ชอบจังครับ
อาสาสมัครเกษตรประจำหมู่บ้าน
กลไกเหล่านี้ คือการเชื่อมร้อยวิถีแห่งการพึ่งพิงกันและกัน...

ชื่นชมครับ

ขอขอบคุณ ท่านอาจารย์แผ่นดิน ที่กรุณามาทักทาย และลปรร.เสมอมาครับ

ขอบคุณ อ.เพชรน้ำหนึ่ง ที่แวะมาทักทายกันเสมอนะครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท