จันทร์ยิ้ม
ทีมจันทร์ยิ้ม เพื่อพัฒนาเยาวชน

เทศกาลทะเลาะกัน ตอน “ เกรดเทอมต้นออกแล้วครับแม่”



“ต้น (นามสมมติ)แม่บอกกี่ครั้งแล้วให้เลิกเล่นเกม”

เงียบ

“เกรดออกมายังงี้แล้วยัง.......................................................

........................................................................................

......เนี่ยถ้าหนูขยันแล้วได้คะแนนน้อยแม่จะไม่ว่าซักคำ

 แต่นี่ หนังสือไม่เคยหยิบไม่เคยจับ เล่น อยู่นั่นแหละ “

เงียบ

“ต้น” แม่เสียงดังมาก”แม่บอกให้หยุดไง”


ต้นกระแทกเม้าส์ปังแล้วไปทิ้งตัวนอนคว่ำหน้าลงที่โซฟาข้างๆ

สำหรับต้น เด็กชาย๑๔ปี มัธยมต้นมันช่างเป็นเวลาที่เชื่องช้าน่าเบื่อจริงๆ

ปีที่แล้วก็อย่างนี้เกรดออกทีไรแม่ทะเลาะกับต้นทุกที


“เลข วิทย์ อังกฤษแค่ 1 จะไปสอบอะไรได้”แม่ชอบว่าต้นอย่างนั้น

จริงๆแล้วครูก็ว่า เพื่อนก็ว่า

มีแต่เพื่อนกลุ่มต้นที่เล่นบอลด้วยกันนั่นแหละที่ขำๆและรับใบเกรดแล้วไม่ค่อยอยากกลับบ้านนัก


ส่วนแม่เห็นต้นหยุดเล่มเกม แต่กลับไปนอนคว่ำหน้าอยู่อย่างนั้นก็จนใจ 

แม้ไม่มีน้ำตาให้ใครเห็นแต่ในใจกลับก็ห่อเหี่ยว ท้อแท้จนไม่เหลือเรียวแรงทำอะไร


เทศกาลเกรดออกแถวบ้านท่านผู้อ่านอย่างนี้บ้างไหม

หมายเลขบันทึก: 578926เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2014 13:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 ตุลาคม 2014 13:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

เป็นเหมือนกันครับ  จริงแท้ แน่นอน เด็กสมัยนี้ ไม่รู้เป็นงัย เรื่องอ่าน เขียน  รับความรู้ ไม่ค่อยเอา โดยเฉพาะชนบท เช่นบ้านเรา  ส่วนผปค.นั้น สมัยนี้ก็ต่างจากก่อน คอยเอาใจ  ทำให้  เข้าข้างไปตลอดแล้วแบบนี้จะให้พัฒนาได้อย่าง ไร  ....ควรแก้ที่จุดไหนก่อนดี  อยากให้ผู้เกี่ยวข้อง มาตั้งใจพัฒนาแก้ปัญหาเหล่านี้ ให้จริงจังซักที  แล้วแบบนี้จะไม่ให้การศึกษาไทย ล้าหลังกว่าเพื่อนบ้านได้อย่างไร 

นักเรียนมัธยมต้นเป็นช่วงวัยรุ่น
กำลังค้นหาและสร้างอัตลักษณ์ให้กับตนเอง
หากได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือถูกทาง
เด็กก็สามารถภูมิใจในตนเอง รับรู้ความสามารถและข้อจำกัดของตนเอง
รับรู้ความแตกต่างและยอมรับคนอื่นๆรอบตัว

แต่จากบทความ เรื่องพหุปัญญาทั้ง 9 ด้าน ของ Howard Gardner
บันทึกโดย เทพพิทักษ์ พัฒน์ช่วย ที่

http://www.kroobannok.com/blog/30129

ระบบการศึกษาอาจไม่สามารถตอบสนองจุดนี้ทั้งหมด
ทำให้เด็กที่มีความถนัดบางอย่าง ไม่ถูกวัดคุณค่าออกมา
ให้ครู เด็ก ผู้ปกครอง รับรู้ความสามารถและ ระดับการพัฒนาได้
เกรดออกมาว่าเรียนไม่เก่ง ครูและเพื่อนก็บอกอย่างนั้น ผู้ปกครองก็เครีอดกับเรื่องนี้

เด็กที่เคยคิดว่าตัวเองมีความสามารถก็เริ่มไม่ค่อยเชื่อตัวเองไปด้วย


ทุกข์จึงเกิดขึ้นในใจวัยรุ่น

เขาต้องแก้ไขเยียวยาตนเอง ด้วยเพื่่อน ด้วยเพลง ด้วยเกม
ต้องแสดงพฤติกรรมเสี่ยง ความกล้าบ้าบิ่น
เพื่อให้เป็นที่ยอมรับ

ถ้าพลาด ปัญหาหลายอย่างอาจเกิดตามมา

การเข้าใจวัยรุ่นของครู และผู้ปกครอง ตั้งแต่ต้นช่วยลดปัญหาเหล่านี้ได้มาก แต่......

ครูเองก็มีภาระสอนเนื้อหาส่วนที่รับผิดชอบ


ภาระดูแลเด็กในห้อง ในหน้าที่ของครูประจำชั้น 

ก็หนักหนาเพราะมีจำนวนเด็กต่อห้องเกินความเหมาะสม


งานอื่นที่ได้รับมอบหมายจากการตรวจโรงเรียนบ้าง ชุมชนผู้มีอุปการะคุณบ้าง

ครูที่ขยันๆจะได้รับมอบหมายงานอื่นๆอีก เช่นร้านค้าสหกรณ์ 


ไหนจะภาระครอบครัวของครูเองที่ต้องดูแล


ข้อจำกัดหลายๆอย่าง

ทำให้เด็กที่ดูแลง่าย ปัญหาน้อยก็ได้รับการดูแลไป

เด็กที่ต้องการกำลังแรงกายแรงใจในการดูแลก็ถูกจัดลำดับไว้ถัดไป 

ซึ่งอาจไม่ทันการณ์....(มีต่อ)

ครับ คือเด็กสมัยนี้ไม่สนใจเรียน  ไม่ทำงานที่ครูมอบหมาย ไม่สนใจอยากได้คะแนน  สนใจแต่เพื่อน เล่นเฟส เล่นไลน์  และสนใจอยากมีแฟน  จนเป็นแฟชั่น ผมเองพยายามวิเคราะห์ หาวิธี หาทางช่วยเหลือ บอกสอน ให้ข้อคิดทุุกอย่าง บอกมากก็เบื่อเราอีกหาว่าพูดมาก  เด็กอยากให้ครูตามใจเขา เอาใจเขาเหมือนอยู่บ้าน ที่ ผปค.ส่วนใหญ่ตามใจ นั่นแหละครับ สมัยนี้อะ  สมัยนี้แตะลูกหลานเขาก็ไม่ได้ มาคอยเอาเรื่อง ต่างจากสมัยก่อนมากๆ  เรายังไม่สามารถดึงดูดความสนใจ จากเด็กได้ เพราะเขาสนใจสิ่งแวดล้อมของเขาที่เป็นกระแสน แฟชั่น ในสังคมปัจจุบันนี้มากกว่า ขอบคุณนะครับที่ได้แลกเปลี่ยนทัศนคติกัน 

ผู้ปกครอง

ไม่ค่อยรู้เรื่องความเปลี่ยนแปลงและการช่วยเหลือวัยรุ่น

ต้องทำงานรับผิดชอบครอบครัว

ขณะลูกเข้าสู่วัยรุ่น แม่ก็เข้าสู่วัยทอง ปู่ย่าตายายก็ชรา

ทำให้ภาระรับผิดชอบมาก ขณะที่ศักยภาพลดลง


เมื่อวัยรุ่นไม่ได้ผลลัพท์ที่ดี(?) ดังหวัง

ก็ตกใจ โกรธ แก้ปัญหาไม่ถูก

ได้แต่บ่น ต่อว่า ตำหนิ

น้อยใจในโชคชะตา(ทำไมไม่เหมือนลูกคนอื่่น)


วัยรุ่นเมื่อที่โรงเรียนก็ไม่เป็นที่ยอมรับ

กลับบ้านก็มีปัญหา

ก็ต้องออกนอกบ้าน หรือหลบเข้าไปในสังคมเสมือน เกม หรือ social network


ผู้ปกครองยิ่งหนักใจ ยิ่งผิดหวัง ยิ่งท้อใจ

ปัญหาแทรกซ้อนและการให้การช่วยเหลือยากขึ้นไปอีก


เขียนมาถึงตอนนี้

ท่านผู้อ่านท่านใดมีแนวแก้ไขดีๆมาแชร์กันนะครับ

ผู้ปกครองที่ต้องการเข้าใจวัยรุ่น

และต้องการความรู้เรื่องการช่วยเหลือวัยรุ่น

เชิญที่บันทึกนี้ด้วย อีกบันทึก

https://www.gotoknow.org/posts/576886

ครูอาจารย์ที่อยากเพิ่มทักษะ ให้คำปรึกษาวัยรุ่น

เชิญอ่านบันทึกนี้เพิ่มเติม

https://www.gotoknow.org/posts/577876

รอความเห็นและวิธีการดีๆจากผู้อ่านทุกท่านอยู่นะครับ

ฉากข้างบน ถ้าเปลี่ยนเป็น 

"ต้น เล่นเกมอะไรน่ะลูก สนุกมั้ย แม่ขอดูด้วยได้มั้ย" ถ้าดูแล้วก็จะพอเข้าใจว่าลูกเล่นเพราะอะไร ถ้าไม่เข้าใจก็ลองถามดูว่า เกมนี้สนุกตรงไหน เราคิดว่าอย่างไร 

ขั้นนี้คือการ พยายามทำความเข้าใจความคิดของลูก แล้วหากเราทำสม่ำเสมอ โอกาสที่ลูกจะฟังเราจะมีมากขึ้น และโอกาสที่ลูกจะแสดงความคิดเห็นให้เรารู้ว่า เกิดอะไรขึ้นจึงเรียนได้อย่างที่เป็น ซึ่งเราจะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาได้ เชื่อว่าลูกเองก็คงไม่อยากให้ผลออกมาเป็นอย่างนั้น แต่ไม่รู้วิธีที่จะทำให้ดีขึ้น เพราะการที่เราบอกให้อ่านหนังสือเรียน หยุดเล่นเกม ก็ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาในระยะยาว

ถ้าพ่อแม่ใช้แต่ความคิดเห็นของตัวเอง โดยไม่รู้ว่าลูกคิดอย่างไร ก็ยากที่จะเข้าใจว่าทำไมลูกจึงไม่อยากเรียนให้ได้คะแนนดี ลูกคะแนนไม่ดีเพราะปัญหาอะไร ลูกเข้าใจหน้าที่และสิ่งที่เขาต้องทำ และเห็นคุณค่าของการทำหน้าที่หรือไม่

สิ่งเหล่านี้สร้างไม่ได้ในระยะเวลาอันสั้นค่ะ เราต้องสร้างพ่อแม่ที่เข้าใจลูกมาตั้งแต่ต้น เราจึงจะได้เด็กที่เข้าใจตนเองในวัยรุ่น 

คุณครูก็คงมีภาระหน้าที่มากมาย หากมุ่งแต่การทำหน้าที่ในการสอนวิชาการ แต่ไม่ได้สนใจสอนวิชาชีวิตให้นักเรียนไปด้วย ก็คงยากที่่จะจัดการช่วยเหลือให้นักเรียนรู้จักตัวเอง 

ปัญหาที่เห็นชัดๆก็คือ การที่พ่อแม่ และเด็กไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง ไม่ตระหนักว่าอะไรคือจุดดี จุดด้อยของตัวเอง ทำให้หมุนวนไปตามสังคมแห่งการแข่งขัน โอกาสที่จะภูมิใจและเห็นคุณค่าของตัวเองก็ยิ่งน้อยลงค่ะ 

เราคงต้องมีโรงเรียนพ่อแม่กันก่อน เราจึงจะได้เด็กที่พร้อมสำหรับโลกในวันต่อๆไป เพราะผู้ใหญ่ทุกวันนี้ก็มีปัญหาไม่ได้น้อยไปกว่าเด็กๆเลยค่ะ

ดช.ต้น วัยเดียวกับลูกสาวเลยค่ะ ชีวิตจะยู่กับ line จนตอนแรกก็กังวลว่าจะไหวมั้ย เกรดตกแน่ปีนี้ ก็ได้แค่เตือนลูกเป็นระยะ แล้วก็ใช้การเข้าวงในแซวเล่นๆ ว่า มีอะไรแม่ดูบ้างสิ  เพราะกลุ่มที่เค้าส่ง line กันก็คือเพื่อนที่คุณครูสั่งการบ้านผ่านมาทางเพื่อน  ก็ลองวัดใจกับลูกกันดู..ก็เห็นการบ้านก็ทำเรียบร้อยดี ถึงเวลาสอบก็อ่านหนังสือดี ผลสอบออกมาก็น่าพอใจระดับหนึ่ง มีซ่อมคณิตเพิ่มหนึ่งวิชา แต่ก็ซ่อมกันค่อนห้อง เราก็ต้องยอมรับขำๆ ไปเพราะเคยเอาข้อสอบลูกมาดู มันยากมากๆๆๆๆ ส่วนหนึ่งของสื่อ social ที่โตมาพร้อมกับเด็กรุ่นนี้ สำคัญคือ การปลูกฝังวินัยการใช้ social ตั้งแต่เล็ก เพราะเด็กตัวเล็กๆ ยังไม่รู้ภาษาพ่อแม่ก็ปล่อยให้นั่งเล่นเกมกันแล้ว เพราะเข้าใจว่าลูกเก่ง...แต่พอปล่อยทิ้งไว้ ไม่กำหนดเวลา ไม่เลือกเกมที่ควรเล่น ไม่สอนการใช้ social สุดท้ายก็เจอปัญหาลูกติดเกม  แล้วส่วนใหญ่มักเจอกับพ่อแม่ที่ไม่มีกิจกรรมเล่นร่วมกันกับลูก ปล่อยลูกมีเพื่อนเป็นเกม

   กับอีกเรื่องของลูกวัยรุ่น คือ อย่าบ่น แต่เปลี่ยนเป็นบอกแบบชัดเจนว่าต้องการอะไร และให้เวลาเค้าเริ่มทำ เพราะหลายครั้งจะช้าไม่ทันใจพ่อแม่ แล้วให้คิดเอง มีทางเลือกเอง ถ้าเจอแบบต้น ก็คงถามว่า เราจะทำอย่างไรกันดี  ต้นจะทำอย่างไร แล้วให้แม่ทำอย่างไร win win

ขอบคุณอ.โอ๋ อ.ศศิชลมากครับ

ตั้งใจตอบและเป็นประโยขน์อย่างยิ่งครับ

แหะๆ ยังไม่มีประสบการณ์นี้เลยค่ะอาจารย์ รู้แต่เพียงว่าพ่อแม่ต้องคิดก่อนพูดหมั่นสร้างความมั่นใจให้ลูกตั้งแต่ยังเล็กค่ะ

ครูต้องรู้จักจังหวะเวลาที่ควรให้กำลังใจผู้เรียนที่มีปัญหานะคะ ไม่ใช่เอาแต่ลงโทษหรือไม่ให้กำลังใจใดๆ แก่ผู้เรียนเลย และที่สำคัญต้องติดตามและให้ผู้เรียนสะท้อนกลับอย่างสม่ำเสมอค่ะ

ขอบคุณความเห็น อ.จัน

ยอดเยี่ยมทั้งแง่มุมของพ่อแม่ ที่ต้องปรับตัวเรื่องการพูดกับลูกวัยรุ่น

และในแง่มุมของครูอาจารย์ที่ต้องเปิดโอกาสรับข้อมูลเพิ่มเติมจากวัยรุ่น และสร้างโอกาสให้การช่วยเหลือ

วัยว้าวุ่นเลยนะคะ อ่านแล้วก็เห็นใจทั้งต้นและแม่ ทุกอย่างแม่ทำไปก็ด้วยความรัก เพียงแต่การแสดงออกเป็นอุปสรรคที่ทำให้ความรักอุดตันส่งไปไม่ถึง เรามักใช้อารมณ์นำความรู้สึกที่แท้จริง เรารักลูก ห่วงลูก แต่เอาความโกรธ ความผิดหวัง ความหงุดหงิดขัดใจนำส่งสารความรัก ความห่วงใยนี่ออกไป เด็กอาจรับสารว่าแม่เห็นเขาไม่เอาไหน ไม่ดีพอ ยิ่งกับช่วงวัยรุ่นแบบนี้ยิ่งแล้วใหญ่ ถึงลูกจะไม่ได้อยู่ในช่วงวัยรุ่น แต่ก็เคยผ่านการเป็นวัยรุ่นมาแล้วฮ่าๆๆ พอเข้าใจค่ะ

คงดีหากเราคุยกันด้วยความรักความห่วงใยอย่างเป็นมิตร ตรงใจ จริงใจ หลายคนถอดใจกับลูกวัยรุ่น ใคร ๆ ก็มักบอกว่า ถ้าจะปลูกฝังจิตสำนักดี ๆ พฤติกรรมดี ๆ ควรทำตั้งแต่ก่อนจะเป็นวัยรุ่น หลายตำรามักเป็นตัวเลข 0-6 ปี วัยนี้ต้องสร้างวินัย หากเราไปนึกถึงสุภาษิตว่า "ไม้่อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก" ก็จะยิ่งถอดใจ ท้อใจ เหมือนแทบไม่เห็นแสง ยิ่งทุกข์ระทมหนักเข้าไปใหญ่ ถ้าจะให้มีกำลังใจต้องคิดใหม่ให้ใจฟูไว้ "ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่แกะสลักได้" แค่เปลี่ยนบางประโยคในความคิด ชีวิตก็เห็นแสงสว่างได้มากขึ้นนะคะว่าไหม

มาเป็นกำลังใจพ่อแม่สู้ๆ ค่า

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท