เรียนรู้เรื่องการขับเคลื่อนสังคมด้วยวัฒนธรรมการใช้ข้อมูล


กระบวนการทำข้อมูลเป็นกระบวนการสร้างความเข้มแข็ง เรื่องข้อมูลต้องใช้เทคโนโลยี และเรื่องเทคโนโลยี เด็กเก่งกว่า

ตอนที่ 123 และ 4

วันที่ 8 กันยายน 2557

เมื่อคืนดิฉันนอนเร็วกว่าปกติ เช้าวันนี้จึงตื่นขึ้นมาตั้งแต่ตีสี่กว่าๆ ไม่ได้เอาโน๊ตบุ๊คมาพิมพ์งาน ได้แต่อ่านหนังสือและเอกสารที่เอาติดตัวมาด้วย จนได้เวลาประมาณ 06 น.กว่า จึงอาบน้ำแต่งตัวและลงไปรับประทานอาหารเช้าที่ห้องอาหารชั้นสองเมื่อประมาณ 07 น.

ดิฉันขออนุญาตอาจารย์ ดร.เดชรัต สุขกำเนิด เข้าสังเกตการประชุมคณะกรรมการกำกับทิศทางแผนงานขับเคลื่อนสังคมด้วยวัฒนธรรมการใช้ข้อมูล ซึ่งมี ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช เป็นประธาน

การประชุมคณะกรรมการฯ ตั้งแต่เวลาประมาณ 09 น. กว่าเล็กน้อยจนเที่ยงกว่า เต็มไปด้วยสาระที่น่าสนใจ อาจารย์เดชรัตนำเสนอการทำงานต่างๆ ด้วย PowerPoint ซึ่งออกแบบมาอย่างมีความหมายและมีศิลปะ 


ภายในห้องประชุม


ดิฉันฟังการประชุมและบันทึกได้ ดังนี้

ความก้าวหน้าในการทำงานของแผนงานฯ

  • การทำงานข้อมูลระดับตำบลจังหวัดอำนาจเจริญ มีการฝึกอบรมการเก็บข้อมูล NPI Questionnaire เป็น Web Application ใช้ที่จังหวัดอื่นได้เลย แต่ละตำบลเตรียมทีมเยาวชนเก็บข้อมูลตำบลละ 20-30 คน มีนักวิชาการหรือคนดูแลคนละ 3-4 ตำบล อบต. เทศบาลเตรียมเจ้าหน้าที่ลงข้อมูลในระบบเพราะไม่สามารถใช้ระบบออนไลน์ได้เป็นส่วนใหญ่ ทีมวิเคราะห์ข้อมูล (มหิดล มนส. พอช.) ก็พร้อม ข้อมูลเริ่มเข้าสู่ระบบเกือบร้อยละ 90 ต้องมีการ clean ข้อมูลเยอะเนื่องจากไม่มีคนดูแลใกล้ชิด จากข้อมูลสู่แผนการพัฒนา จะวางแผนพัฒนาระดับตำบล (ต.ค. 2557) วางแผนระดับจังหวัดสู่ อบจ. (ต.ค. 2557) แผนที่ชีวิตอำนาจเจริญ (ม.ค. 2558) จากข้อมูลสู่ปฏิบัติการในเรื่องต่างๆ
  • กระบวนการมองภาพอนาคตภาคตะวันออก อาจารย์เดชรัตเล่ากระบวนการและมีภาพการทำกิจกรรมประกอบว่าทำอะไร กับใครบ้าง ได้ผลออกมาอย่างไร ทำให้ได้รู้จักกระบวนการอีกแบบหนึ่ง ภาพอนาคตไม่ใช่ prediction ไม่ใช่สิ่งที่อยากให้เกิดขึ้น แต่เป็นภาพที่อาจจะเกิดขึ้น ชอบหรือไม่ชอบก็ได้ ในกระบวนการนี้ คนที่มาจะต้องมาจากทุกภาคส่วน เป็นตัวแทนสังคม ไม่ใช่ solution แต่เป็น learning space ของคนต่างกลุ่ม เปลี่ยนที่คน ให้เป็น change agent ในกลุ่มของตนและไปทำงานต่อ ทำครั้งเดียวไม่พอ โอบคนที่มีความคิดต่างเข้ามา

อาจารย์วิจารณ์บอกว่าเทคนิคนี้กลุ่ม ScenarioThailand เรียนมาจาก Adam Kahane พื้นฐานใช้แก้ปัญหาความขัดแย้ง

  • การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพการวิเคราะห์และการสื่อสารข้อมูลสถิติ เป็นการอบรมทีมจากสำนักงานสถิติจากทุกภาค มีการบรรยายน้อย ฟังน้อย ลงมือทำเยอะผ่านกิจกรรมต่างๆ แสดงภาพกิจกรรมและตัวอย่างผลงาน
  • รายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัย การจัดทำบัญชีผลิตภัณฑ์มวลรวมสีเขียวในภาคเกษตรของประเทศไทยฯ
  • (ร่าง) การจัดเวทีวิชาการว่าด้วยข้อมูลการพัฒนา

ความคิดเห็น/การอภิปรายของที่ประชุม มีมากมาย

การใช้ข้อมูลเป็นเรื่องใหญ่มาก การมีข้อมูลที่มีคุณภาพ ยากน้อยกว่าการฝึกให้ชาวบ้านใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาด เป็นอัตโนมัติ

สสส. มี project คล้ายแบบนี้ที่อื่นอีก (เขตสุขภาพที่ 2, 3) ที่พรหมภิรามพบว่าเด็กและ อสม. เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน เด็กและผู้ใหญ่มีปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น

มูลนิธิสยามกัมมาจลมีโครงการทำงานกับตำบล อบต. เรื่องการพัฒนาคน เมื่อถามว่าขาดความรู้ competency อะไร ชวนกันคุยแล้วพบว่าการพัฒนาเยาวชนเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานในพื้นที่ มีหลักสูตรนักถักทอชุมชนให้ อบต. มาเรียนรู้ มีกิจกรรมพัฒนาเด็ก อย่างหนึ่งคือให้เด็กเก็บข้อมูลชุมชน มีคนหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้อง

ที่อำนาจเจริญ การใช้ข้อมูลทำควบคู่กับการขับเคลื่อนสำนึกไปด้วย พาก้าวย่างผ่านความยากจน ทำคู่กับงานที่ถนัดคือขับเคลื่อนสังคม มีการปลุกเร้าสำนึกกันอย่างมาก ให้เกิดพลังของประชาชน

อาจารย์วิจารณ์บอกว่ากระบวนการทำข้อมูลเป็นกระบวนการสร้างความเข้มแข็ง เรื่องข้อมูลต้องใช้เทคโนโลยี และเรื่องเทคโนโลยี เด็กเก่งกว่า

สิ่งที่ทำที่อำนาจเจริญเป็น Questionnaire Based App สารภีออกแบบมาเป็น Database

นพ.ชาญวิทย์ บอกว่า สสจ.เชียงใหม่จะทำทุกอำเภอ แล้วจะส่งต่อให้สถาบันการศึกษาเป็นเจ้าของข้อมูล ถ้ามหาวิทยาลัยในพื้นที่ทำอย่างนี้จะตอบโจทย์ได้มากมาย ที่สารภีเป็นข้อมูลในมิติสุขภาพ ยังไม่ค่อยเห็นมิติอื่น


ส่วนหนึ่งของผู้เข้าประชุม


อาจารย์เดชรัตบอกว่าจะฝึก Advanced Analytical Skill Camp เชิญชวนโรงเรียนเข้ามา

Who’s next สู่กลุ่ม เมือง อำเภอ จังหวัดใดต่อนั้น จะต้องมีเครือข่ายที่ตั้งใจ มีเป้าหมาย มีทีมจัดเก็บข้อมูล พื้นที่มีงบประมาณหรือร่วมสมทบทุน

การใช้ข้อมูลมีความซับซ้อน เมื่อ 30 ปีที่แล้ว กุญแจที่ญี่ปุ่นเจริญคือ information และชาวบ้านรู้จักใช้

เจ้าหน้าที่จากสำนักงานสถิติจังหวัดเชียงใหม่กล่าวว่าสำนักงานสถิติมีหน้าที่ทำสถิติพื้นฐาน (ส่วนใหญ่ serve สภาพัฒน์ฯ) และเรื่องเฉพาะตามที่ร้องขอ ระดับท้องถิ่น แม้ให้ข้อมูลไปบางทีก็ไม่ใช้ การวิเคราะห์เชิงลึกและเชื่อมโยง ยังเกินความสามารถของนักวิชาการสถิติ

คุณธนบูรณ์ สมบูรณ์ จาก Creative Move นำเสนอตัวอย่างการใช้ Infographic ขับเคลื่อนสังคม ในหนึ่งหน้ามีการเสนอข้อมูลให้คนดูแล้วเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ใช้จิตวิทยากระตุ้น (สื่อสารทางจิตวิทยา+วิธีการทาง marketing) ผลกระทบ และวิธีการแก้ปัญหา คนดูข้อมูลแล้วอยากชี้นำว่าเอาอะไรไปทำต่อได้บ้าง Infographic เหมือนการเล่าเรื่อง ผูกเรื่องแล้วจบอย่างไร ใช้สี ตัวเลข เอาข้อมูลมาทำ processing สื่อสารสร้างพลัง

คุณเปา ปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร บอกว่าการดึงคนในพื้นที่เข้ามาร่วมกันคิด ชวน active partners หลากหลายในพื้นที่มาร่วมคิด ร่วมคิดและร่วมทำทั้งปัจจุบันและอนาคต ร่วมกำหนดโจทย์เพื่อให้เกิดการเก็บข้อมูล แล้วร่วมเอาไปวางแผนชุมชน หลายระดับ

การเก็บข้อมูลต้องมองเลยไปถึงการใช้

กระบวนการชุมชนนำไปสู่การเก็บข้อมูล การใช้ข้อมูล ให้น้ำหนักเด็กในการมีส่วนร่วมในการเก็บข้อมูล มีโอกาสในการพัฒนาเด็กให้เป็น active citizen ต้องเข้ามาจัดกระบวนอีกนิด โดย coach การพัฒนาเยาวชน เป็นการต่อยอด เด็กยังทำอะไรได้อีกเยอะ เห็นทุนชุมชน อยากใช้ศักยภาพตนเองในการพัฒนาชุมชน เข้ามา involve แล้วจะพัฒนาสำนึกหรือ leadership ต่อยอดการพัฒนาคนรุ่นใหม่ในพื้นที่


ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการฯ


อาจารย์วิจารณ์กล่าวว่าจากเรื่องข้อมูลและฝ่ายต่างๆ มาพูดคุยกัน โยงไปสู่ change โยงเข้าไปได้เยอะถึงโรงเรียน มหาวิทยาลัย

แผนการจัดเวทีวิชาการ นพ.ชาญวิทย์เสนอว่าในเดือนมกราคม 2558 น่าจะจัดเป็นวงเล็ก รวมคนที่ทำงานมาหารือกัน แล้วต่อไปจัดวงใหญ่ วิธีการแก้ปัญหาคนเข้าห้องย่อยน้อย จะต้องทำการตลาดห้องย่อย อาจารย์วิจารณ์ให้หลักการว่าจะต้องให้คนทำงานมาเอง ให้เป็นเวทีขยายความรู้ปฏิบัติ เพื่อการปฏิบัติ ให้รู้ว่าเป็นเวทีเพื่อการปฏิบัติ

จบการประชุมในเวลาประมาณ 12.10 น.

คณะของเรารับประทานอาหารกลางวันที่โรงแรมแล้วก็ออกเดินทางไปสนามบินเพื่อกลับกรุงเทพฯ สายการบินไทยสมายส์ออกในเวลา 14.00 น. ส่วนนกแอร์ออกในเวลา 14.25 น. ดิฉันซื้อของฝากคนกรุงเทพฯ และคนนครศรีธรรมราช จากร้านรักษ์เมืองเหนือ มีไส้อั่วเม็งราย แคบหมูมันน้อย น้ำพริกหนุ่ม ข้าวซอยตัด รู้สึกว่าของที่ขายที่สนามบินมีราคาสูงกว่าที่ซื้อจากตลาดมาก


เชียงใหม่ มองจากหน้าต่างเครื่องบิน หลังเครื่องขึ้นได้ประมาณ 5 นาที


วัลลา ตันตโยทัย

บันทึกเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2557

หมายเลขบันทึก: 576234เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2014 01:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 กันยายน 2014 01:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ข้อมูลดี ต้อง วิเคราะห์ และนำมา ปรับ ปรุง ใช้ครับ กล้วยแขก เมือง นคร หายไปไหน หนอนี่

เรียนอาจารย์ JJ

พออาจารย์กลับไปแล้ว วันศุกร์มีคนซื้อกล้วยแขกเจ้าเดิมมาให้กินค่ะ แสดงว่ายังขายอยู่นะคะ แต่ช่วงที่อาจารย์อยู่นครฯ เขาคงปิดร้านชั่วคราว

...... กุญแจที่ญี่ปุ่นเจริญคือ information และชาวบ้านรู้จักใช้......

ตอกย้ำความสำคัญของ statistical thinking นะคะ  หลักสูตรมหาวิทยาลัยวิชาพื้นฐานควรให้สถิติเป็นหนึ่งในนั้น 

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท