หลักทศพิศราชธรรม ในทัศนะของมิติทางการเมือง เศรษฐกิจ เเละสังคม ในปัจุบัน


ราษฺฏฺรํ ปาลยเต นิตฺยํ

สตฺยธรฺมปรายญะ

นิรฺชิตฺย ปรไสนฺยานิ

ปติธรฺเมณ ปาลเยตฺ

Rastram palayate nityam

satyadharmaparaynah

nirjitya parasainyani

patiddharmena palayet

พระราชาพึงปกครองราชอาราจักร

โดยยึดมั่นในสัจจะเเละธรรมะอยู่เป็นนิตย์

เเละเมื่อเอาชนะกองทัพศัตรูได้เเล้ว

ก็พึงปกครองโดยบดีธรรม(ธรรมะของผู้เป็นนาย)

การปกครองอาณาจักรสามารถปกครองให้รุ่งก็ได้หรือให้ล่มก็ได้โดยตัวของกษัตริย์เอง ว่าจะทำอย่างไรให้ไพรฟ้าประชาชนของตนนั้นมีความสงบร่มเย็น อยู่ดีมีสุขกันถ้วนหน้า การที่พระราชาจะทำให้ปวงชนมีความเชื่อ ความศรัทธาในตัวของพระราขาเองนั้น ก็โดยหลักของสัจจะ คือ ความยึดมั่น ยึดถือ ในคำพูดหรือคำสัตย์ หรือที่เรียกกันจนคุ้นหูว่า “กษัตริย์ตรัสแล้วไม่คืนคำ” นั่นก็หมายความว่าการที่พระราชาได้ให้คำมั่งสัญญาอะไรไปแล้วย่อมที่จะปฎิบัติตามคำพูดของตน เพราะถ้าหากว่าไม่สามารถทำตามคำพูดของตนได้แล้ว ประชาชนก็จะเสื่อมศรัทธาได้เพราะว่าพระราชาของตนมีแต่ลมปากจากการกระทำที่แสดงออกมา เมื่อเป็นผู้ปกครองก็ต้องมีหลักการปกครองหรือธรรมอันเป็นแนวทางในการปกครองของตนเอง ก็เพื่อที่จะให้ประชาชนในรัฐของตนสามารถดำเนินชีวิตอย่างปกติสุข

หลักการปกครองอาณาจักร

การปกครองในอดีตนั้นเป็นการปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชที่เป็นการปกครองโดยกษัตริย์ ซึ่งในหลายยุคหลายสมัยที่มีการสืบราชสมบัติ หรือกระทั่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองจะระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขของรัฐาธิปัตย์ ทรงอยู่ในฐานะศูนย์รวมจิตใจของคนทั้งชาตินับแต่อดีตจนสืบเนื่องมาถึงปัจจุบันก็ยังคงเป็นเช่นนั้น และที่สำคัญกว่านั้นก็คือ การปกครองในระบอบกษัตริย์ที่สืบเนื่องกันมาหลายสมัยและยาวนานก็เนื่องจากมีหลักการปกครองโดยยึดถือหลักการปกครองโดยธรรมหรือหลักทศพิศราชธรรมที่ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาทุกยุคทุกสมัยของกษัตริย์ไทย และเป็นขอบเขตที่เป็นหลักรับประกันว่าบ้านเมืองมีความสงบสุขยุติธรรม แม้พระมหากษัตริย์มีอำนาจล้นฟ้าสั่งประหารชีวิตคนได้ แต่จะไม่ใช้พระราชอำนาจล้นฟ้านั้นตามใจชอบ พระมหากษัตรย์ยึดถือและปฎิบัติตามกรอบแห่งทศพิสราชธรรมหรือราชธรรม ๑๐ ประการ

๑. ทาน คือ การให้ทรัพย์สินสิ่งของและธรรมเพื่อช่วยเหลือประชาชน รวมทั้งการบำเพญสาธารณะประโยชน์ต่างๆ เป็นการให้เพื่อสงเคราะห์ตมหลักราชสังคหวัตถุ ๔ เป็นสำคัญ

๒. ศีล คือ การสำรวมระวังรักษาพฤติกรรมทางกายวาจาและใจให้ถูกต้องเรียบร้อย สามารถทำตนแบบอย่างและเป็นที่เคารพนับถือแก่คนทั่วไปโดยไม่มีข้อยกเว้น และไม่ทำตัวเหนือกฎหมายเพราะมีอำนาจ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี

๓. บริจาค คือ การเสียความสุขสบายส่วนตัว หรือละทิ้งความเห็นแก่ตัวหรือการกระทำอันเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตน เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม

๔. อาชชวะ คือ ความซื่อตรงซื่อสัตย์สุจริต บอกความจริงแก่ประชาชน ไม่ฉ้อฉลหลอกลวง ไม่ทุจริตคอรัปชั่น

๕. มัททวะ คือ ความอ่อนโยนในการกระทำหรือการปฎิบัตหน้าที่ก็ทำไปโดยความเห็นอกเห็นใจ สุภาพเรียบร้อย ไม่เย่อหยิ่งหลงตัวเอง

๖. ตบะ คือ ความเพียรเผากิเลส ไม่หลงระเริงไปกับคำสรรเสริญเยิยนยอและความสำเริงสำราญที่มาพร้อมกับอำนาจวาสนาจนลืมปฎิบัติหน้าที่ให้บริบูรณ์

๗. อักโกธะ คือ ความไม่โกรธ คามเมตตาต่อคนทั่วไป ไม่ตกอยู่ไต้อำนาจของความโกรธ ไม่ใช้อำนาจบาตรใหญ่

๘. อวิหิงสา คือ ความไม่เบียดเบียน ความกรุณาต่อคนทั่วไป ไม่หาเรื่องกดขี่ข่มเหงหรือการลงอาญาโดยปราศจากเหตุสมควร สงสารหวั่นใจเมื่อเห็นความทุกข์ของประชาชนและหาหนทางที่จะดับทุกข์ของพวกเขาเหล่านั้น

๙. ขันติ คือ ความอดทนต่อสภาวะแวดล้อมต่างๆที่ต้องประสบพบเจอสามารถควบคุมกิริยาอาการให้นิ่งสงบอยู่ได้

๑๐. อวิโรธนะ คือ ความไม่เคลื่อนจากธรรม ความยึดมั่นในหลักการปกครอง หลักนิติธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ โดยไม่ประพฤติปฎิบัติให้คลาดเคลื่อนผิดเพี้ยนไปจากหลักการเหล่านั้น

หลักราชธรรมทั้ง ๑๐ ประการนี้ คือ หลักการปกครองแผ่นดินโดยธรรม หรือหลักการบริหารบ้านเมืองให้เป็นไปโดยความสงบเรียบร้อย ด้วยหลักธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมอันเป็นประโยชน์แก่คนในชาติให้มีความสงบสุขร่มเย็น อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

ความสัมพันธ์ในด้านการเมือง

ในด้านของการเมืองหลักทศพิศราชธรรมมีความสำคัญอย่างมากต่อการบริหารนโยบายสาธารณะของนักการเมืองที่มีการจัดสรรงบประมาณในส่วนต่างๆ ให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาประเทศในมีความเจริญมากยิ่งกว่าเดิมทั้งในด้านวัตถุและจิตใจ อันหมายถึงสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานและการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ซึ่งหากว่าถ้านักการเมืองทุกคนมีหลักการหรือหลักราชธรรมเป็นอุดมการณ์ในการเป็นตัวแทนเข้ามาบริหารนโยบายให้เป็นไปตามประสงค์ของประชาชนที่ได้เลือกเข้าไปในสภาผู้แทนราษฎร ก็จะเป็นการบริหารนโยบายให้เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนอย่างแท้จริง แต่หากว่าปัจจุบันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเพราะเกือบทั้งหมดของข้าราชการประจำและข้าราชการการเมือง ก็เข้ามาบริหารเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนทั้งนั้น จะมีเพียงแต่ก็แค่ส่วนน้อยที่คิดไปเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนแต่ก็ถูกกลืนกินไปกับนักผลประโยชน์ไปเสีย

ดังนั้นหากว่า ข้าราชการหรือนักการเมืองข้างต้น มีหลักราชธรรมสักข้อหนึ่งในหลักราชธรรมก็เพียงพอที่จะทำคุณประโยชน์แก่ส่วนรวม หากว่าในเรื่องของ บริจาค ที่พูดถึงการบริจาคกำลังกาย กำลังปัญญาของตนเองให้เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขแก่ส่วนรวมในหลักราชธรรม บ้านเมืองก็จะเกิดความสงบสุข ไม่ต้องมีการประท้วงเพราะการดำเนินงานของรัฐบาลหรือกระทั่งในส่วนของราชการเองก็ตามที่กระทำไปเพื่อผลประโยชน์ของตนเองก็จะหยุดไป ประชาชนก็สามารถดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขได้

ความสัมพันธ์ในด้านเศรษฐกิจ

การเจรจาการค้าการลงทุนต่างๆ ของเศรษฐกิจการค้าทั้งในระดับจุลภาคและระดับมหภาคก็ล้วนแต่ต้องอาศัยสัจจะในการเจรจาการค้า หรือการแบ่งสรรผลประโยชน์ทางการค้าต่างๆ ตลอดจนการค้าระหว่างประเทศที่มีการลงทุนที่สูงก็ล้วนแต่ต้องอาศัยหลักการนี้ แต่ว่าถ้าหากขาดหลักการนี้แล้วก็ไม่สามารถทำการค้าต่อเนื่องได้เพราะไม่มีสัจจะทำให้การค้าหยุดชะงักลงได้

การค้าที่ขาดสัจจะนั้นจะเป็นไปไม่ได้เลยในสังคมเศรษฐกิจปัจจุบันที่มีการแข่งขันที่สูงยิ่ง หากว่าบริษัทไม่รักษาสัญญาที่ให้ไว้กับอีกบริษัทหนึ่ง บริษัทที่ว่านั้นก็จะไปหาหรือว่าจ้างทำสัญญากับบริษัทอีกที่หนึ่งที่มีผลประโยชน์สูงกว่าหรือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่ากว่าการลงทุนในบริษัทเดิม ฉะนั้นจำเป็นที่จะต้องดำรงความซื่อตรง ความซื่อสัตย์ ต่อการกระทำเป็นอย่างยิ่ง เพราะว่าในสังคมเศรษฐกิจมีความหลากหลายทางการบริการทั้งการลงทุนที่สูงที่ตามๆกันมา หากว่าการทำธุรกิจที่ขาดซึ่งอาชชวะธรรมที่เป็นหลักของความซื่อตรงแล้วการดำเนินหรือการพัฒนาไปข้างหน้าก็เป็นไปไม่ได้เลย

ความสัมพันธ์ในด้านสังคม

ในสังคมปัจจุบันที่วุ่นวายสับสนเพราะขาดหลักธรรมหรือการอบรมสั่งสอนทั้งในสังคมระดับครอบครัว หรือกระทั่งระดับโรงเรียนเองก็ตาม ก็มุ่งเน้นแต่เพียงการอบรมสั่งสอนที่เป็นเพียงนามธรรมที่เยาวชนบางคนหรือบางกลุ่มไม่อาจกระทำตามได้ ก็ได้แต่นำเอาแบบอย่างที่มีอยู่เกลื่อนในสังคมมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตในสังคม ซึ่งนับว่าเป็นการกระทำที่ผิดพลาดของเยาวชนในมิติมุมมองของสังคมที่ต้องการให้ทุกคนเป็นคนดี เป็นคนมีศีลธรรม จริยธรรม เป็นที่ต้องการของคนรอบข้างและสังคม

การใช้หลักราชธรรมในการเยียวยาสังคมปัจจุบันนั้นนับว่ามีความเหมาะสมอย่างยิ่งในทุกระดับวัยวุฒิหรือระดับฐานะทางสังคมตลอดจนหน้าที่อันเป็นส่วนที่กำหนดคุณค่าในสังคม หลักราชธรรมมีความหลากหลายหากได้นำไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมในสังคม เพราะว่าเยาวชนต้องการตัวอย่างที่ดี ที่มีคุณค่าในสังคม คุณค่าที่สังคมกำหนดขึ้นมาเอง โดยผ่านยุคผ่านสมัยมาอย่างประณีตและงดงามในตัวของสังคมเอง ที่ว่าเยาวชนอันเป็นอนาคตของชาติหรือการสืบต่อเจตนารมณ์ดำรงความเป็นอยู่ของความเป็นชาติเป็นรัฐาธิปัตย์ อันจะเปลี่ยนผ่านจากมือของคนรุ่นเก่าไปสู่มือของคนรุ่นใหม่ ต้องการตัวอย่างที่ดีของสังคมนั้น จำเป็นที่จะต้องให้บุคคลากรที่มีอยู่ในสังคมให้การอบรมดูแลแนะนำให้เป็นไปเพื่อส่วนรวม หาใช่เพื่อส่วนตน เพราะว่าหลักราชธรรมสามารถนำไปใช้ได้ในทุกระดับ ทั้งในระดับครอบครัวอันเป็นปราการแรกที่เด็กและเยาวขนจะต้องเจอเป็นที่แรกของชีวิต ผู้นำครอบครัวพ่อหรือแม่ ตาหรือยายให้หารแนะนำในสิ่งที่ควรหรือไม่ควรกระทำ ในราชธรรมหลักแรก คือ ทาน การให้ปันสิ่งของ ซึ่งเป็นสิ่งแรกๆที่เยาวชนจะต้องเข้าใจในการใช้ชีวิตในสังคมด้วยการให้ปันในส่วนของน้ำใจที่หาได้ยากยิ่งในสังคมปัจจุบัน และเป็นปราการแรกในการอยู่ร่วมกันในสังคม

สรุป

ราชธรรมหรือหลักทศพิศราชธรรม(หลักธรรมของพระราชา) คือ หลักการดำรงชีวิตเพื่อสังคมขั้นพื้นฐานจนถึงขั้นสูงสุด และเป็นหลักการหรืออุดมการณ์ของนักปกครองที่ต้องปกครองให้เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวมซึ่งก็คือประชาชนภายในรัฐนั่นเอง ที่จะได้รับสิ่งที่ดี โอกาสรวมถึงแบบอย่างที่ดีของสังคม ที่นักปกครองในระดับต่างๆพึงต้องมี

หมายเลขบันทึก: 576231เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2014 23:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 กันยายน 2014 23:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ประเทศไทยโชคดีมากค่ะ ที่มีพระราชาที่ปกครองประเทศโดยใช้หลักทศพิธราชธรรม ขอบคุณที่แบ่งปันบันทึกดีๆค่ะ ฝากติดตามด้วยค่ะ

http://www.gotoknow.org/user/thebeattlecity38/posts

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท