R2R :เกร็ดความรู้และ เทคนิค_1


การทำงานประจำ  ทุกวัน หากไม่คิดอะไร ก้ไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็ทำงานเหมือนเดิมได้ แต่ว่าโลกหมุนไปเรื่อยในอัตราที่การแข่งขันสูงมากโดยเราเข้าไปแข่งอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้   ทุกท่านที่มีงานประจำคงทราบว่า มีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ชีวิตการทำงานประจำให้มีคุณค่า คือ  R2R (Routine to research) ซึ่งริเริ่มโดย ท่าน ศาสตราจารย์นายแพทย์วิจารณ์ พานิช  เริ่มทำมามากกว่า 10 ปี ไม่ว่าท่านจะคิดอย่างไรกับงานวิจัย ลองไม่ต้องคิดว่ารู้สึกอย่างไร แต่ทำตัวว่าจะทำงานให้สนุกเหมือนเล่น นั้นต้องทำอย่างไร ทำอะไรบ้างลองเลือก R2R มาเล่นดู   ผู้เขียนเองรับทราบแต่ดูเหมือนเข้าไม่ถึง เหมือนเข้าใจแต่ ดููไม่ชัดเอาหล่ะไม่ต้องไปสนใจ มากนัก ขอเป็นว่า มีได้รับรู้และปฏิบัติก็พอหละคิดว่าคงต้องสั่งสมอีกนาน  ต่อไปจะเล่าประสบการณ์ที่ได้รับผิดชอบ R2R  ในมุมมองของชีวิตจริง และทีละประเด็นเพื่อแลกเปลี่ยนกัน

  • วันนี้ คิดว่าประเด็น การหาปัญหาวิจัย เป็นเรื่องยาก ของนักวิจัยหน้าใหม่ มือใหม่ มากทีเดียว วิธีที่ช่วยได้คือ  ทบทวนงานของตัวเอง (ภาษานักวิจัยใช้ว่าบริบท) ว่าทำอะไรบ้าง  สังเกตและค้นหารวบรวมข้อมูลทั้งเป็นตัวเลขสถิติ  ข้อมูลเชิงคุณภาพตอนแรกเราก็คิดว่า ทุกคนน่าจะทำได้แต่พบว่าไม่ตรง ไม่ออก   ผู้เขียนเลยใช้วิธี ส่ง PP Template.( :ศ.นพ สมบูรณ์ เทียนทอง ซึ่งเป็น Fa  ของผู้เขียนเป็นผู้จัดทำ) ในหัวข้อนี้ เป็นตัวอย่างให้พบว่าเป็นไปได้ทีเดียวมีอย่างน้อยสามราย ที่สามารถทำได้ และเป็นแค่ตัวอย่างแล้วเขาจะต่อของเขาเอง  ผู้เขียนสรุปว่า การมีตัวอย่างทำให้ผู้เรียนเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้เลยโดยไม่ต้องเริ่มต้นใหม่ ค่ะ    
หมายเลขบันทึก: 575418เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2014 09:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 สิงหาคม 2014 09:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ทำงานประจำให้มีความสุขและสนุก  โจทย์นี้ทำยากแต่ไม่ยากถ้าคิดจะทำค่ะ ..... ชอบคะ

ทำดีค่ะ เดี๋ยวเราช่วยกันทำต่อไป

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท