เรียนรู้วิธีการ PBL ครูเพ็ญศรี ใจกล้า


เมื่อเทน้ำออก การเรียนรู้ย่อมบังเกิด

ครู PBL มหาสารคาม มาเรียนรู้ร่วมกัน


        วันนี้ทางคณะท่านคุณครู PBL เรียนรู้การทำ PBL ที่โรงเรียนเราที่เเต่ละท่านก็ล้วนเป็นคนหลักในการขับเคลื่อนงานในเเต่ละท้องถิ่น ในคราวนี้มาดูของเชียงยืนดูบ้างในรูปเเบบของเชียงยืนนี้ว่าจะเป็นอย่างไร วันนี้มีพี่ฮักนะเชียงยืนเข้าร่วมเป็นผู้ช่วยกระบวนกร ที่มีพี่เอ็ม พี่ส้ม พี่ก๊อต พี่เเซม พี่เเสน เเละพี่เจมส์ เข้าร่วมด้วย

เห็นจากความคาดหวัง ที่มุ่งไป 3 ส่วนด้วยกัน(ครูเพ็ญศรีออกเเบบกระบวนการ) ได้เเก่

๑.ความต้องการอยากเห็นวิธีการของ PBL ในบริบทเชียงยืนเเละของครูเพ็ญศรี

๒.ความอยากเห็นวิธีการทำงาน การขับเคลื่อน เเละทางโรงเรียน

๓.ความอยากเห็นเทคนิคของครูเพ็ญศรี ในการพัฒนาคนให้มีความรู้ที่คงทน ยั่งยืน

ซึ่งทั้ง 3 ความคาดหวังของคณะคุณครูนี้เอง เราเองมองว่าก็มีวิธีการที่ให้ มีอยู่ 3 ส่วนด้วยกันที่มองเห็นในวันนี้ ได้เเก่

๑.ห้องเรียนโดยเป็นการจัดห้องเรียนของเด็กๆให้มีชีวิตเเล้วเรียนรู้จากการปฏิบัติผ่านกระบวนการ 3PBL คือ project pattle problem เเละยังมี ABL (Activity best learning)

๒.เครื่องมือการคิด การให้เด็กๆได้ลงมือทำอย่างเห็นภาพ คือ แผนที่เดินดิน(บริบทปัญหา) เเผนภาพต้นไม้(ปัญหา สาเหตุ ผลกระทบ) เเละหลัก 5 ภาพของละคร(โครงงาน๑เรื่อง) ที่เป็นเครื่องมือ/เทคนิคในการให้เด็กๆวิเคราะห์เเละเขียนเค้าโครงงานของตนเอง

๓.หลักการทำ PBL ของครูเพ็ญศรี ที่มี ๖ ขั้นตอนด้วยกัน ได้เเก่ การสำรวจชุมชน วิเคราะห์ปัญหา ดูผลกระทบ การเเก้ไขปัญหา การพัฒนาย่อยอด/ภาพฝัน การสื่อสารสู่สาธารณชน...

        ซึ่งผมเองมองว่า ครูเพ็ญศรี มีอยู่ 3 ส่วนด้วยกันที่เป็นฐานสำคัญในการพัฒนาเด็กๆ ได้เเก่ 

  • การจัดบรรยากาศการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนเเละนอกห้องเรียนโดยให้เด็๋กปฏิบัติเเล้วสะท้อนผล จึงมา AAR เเล้วหลายๆครั้งมีบทเรียนสรุปเตือนใจ  
  • การให้เครื่องมือการคิดให้เเก่เด็กได้คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ วิจารณ์ เพื่อต่อยอดงานของตนเอง เครื่องมือการคิดที่ว่า เป็นเครื่องมือผ่านการเขียน  การปั้น  การวาด  หรือผ่านกิจกรรม เป็นต้น
  • การมีข้อปฏิบัติหรือข้อดำเนินงานในตนเองว่าต้องทำอย่างไร ในระยะนี้ๆ ต้องพัฒนาอย่างไร ตามขั้นตอน ๖ ขั้น ในการ PBL ของครูเพ็ญศรี อันได้เเก่ การสำรวจชุมชน วิเคราะห์ปัญหา ดูผลกระทบ การเเก้ไขปัญหา การพัฒนาย่อยอด/ภาพฝัน การสื่อสารสู่สาธารณชน

        ครั้งนี้เราเองก็รู้สึกกดดันอยู่ในช่วงเเรกๆ เเต่พอมาเข้าจริงๆนั้น ครูๆ ก็เล่นกับเราด้วยทำให้เรารู้สึกมั่นใจมากยิ่งขึ้น นี่ล่ะครู PBL เป็นครูที่พร้อมเรียนรู้ไปกับเด็กๆ ที่ไม่ใช่นัดตัดสินคน วันนี้เห็นคณะคุณครูที่เข้ามา ไม่ถือตัวว่าเป็นครู ซึ่งพร้อมจะเรียนรู้ไปกับเด็กๆ ชื่นชมคุณครูทุกๆท่าน เเละขอบคุณคุณครูทุกๆท่านที่ให้ความเมตตารับฟังเด็กอย่างเรา...

บทบาท วันนี้

ในเรื่องบทบาทของวันนี้เราก็ได้ม่ส่วนร่วม ได้เเก่

๑.เป็นผู้ช่วยกระบวนกร ที่คอยจับประเด็นสรุปใจความสำคัญของบทเรียน หรือข้อเรียนรู้ต่างๆ

๒.เป็นกระบวนกรระยะเวลาสั้นๆ พาละลายพฤติกรรม กิจกรรมผ่อนคลาย มีสรุปบทเรียนตอนสุดท้ายด้วย

ข้อเรียนรู้...

        วันนี้มีข้อเรียนรู้สำคัญที่เกิดขึ้นที่ต้องขอบคุณท่านอาจารย์ฤทธิไกร ไชยงาม ที่สะท้อนกระบวนกร ให้สรุปให้ผู้ฟัง ตามความต้องการของผู้ฟัง ซึ่งอันนี้เราเองก็ชินๆกับการสรุปบทเรียนให้กับน้องๆ ที่เน้นไปทางบทเรียนทีได้จากกิจกรรม เเต่คราวนี้ครูต้องการอยากได้กระบวนการ วิธีการ เเละเทคนิค ซึ่งเราเองก็๋ควรมองในเรื่องความคาดหวังก่อนเเล้วค่อยสรุป สรุปในเเง่ของกระบวนการของกระบวนกร...

.

.

.

.

.

หมายเลขบันทึก: 575416เขียนเมื่อ 31 สิงหาคม 2014 07:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 สิงหาคม 2014 08:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

นายทำหน้าที่ได้เกิน ร้อย...เยี่ยมที่สุด 

แต่อัตตาในตัวครูก็มีอยู่บ้าง

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท