เขียนวันที่ 29 สิงหาคม 2557


เขียนวันที่ 29 สิงหาคม 2557

การบริหารจัดการความเครียด ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม

ในชีวิตประจำวันของเรามีเรื่องให้น่าเครียดมากมาย เกิดได้ตลอดตั้งแต่ตื่นจนหลับทีเดียว การอยู่กับความเครียดนี่ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญและควรบริหารจัดการให้ได้ ไม่งั้นความเครียดทุกวันจะกลายเป็นเครียดสะสมจนแสดงออกมาทางร่างกายหลายอย่าง เช่น เหนื่อยเพลีย ใจสั่น นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น

นิยามความเครียด ก็คือ ความรู้สึกของเราที่ไม่ได้รับการตอบสนองจากเรื่องต่างๆ ที่เราคาดหวัง ไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่ผลลัพธ์มักไม่ได้อย่างนั้นจึงทำให้เกิดความเครียด

สำหรับเรื่องของปัญหา ควรคิดว่าปัญหามีมาให้เราแก้ไข ไม่ใช่มีมาให้ทุกข์ใจหรือเครียด การแก้ปัญหานั้นอย่ามองข้างหน้าหรือเพียงรอบตัว แต่ให้มองมุมบนลงมาที่ปัญหา เราจะเห็นในทุกมิติ ยิ่งเราขึ้นไปมองสูงมากเท่าไร เราก็จะมองเห็นได้กว้างมากขึ้น ที่สำคัญเราเห็นปัญหามันเล็กลงๆ นั่นเอง หากมองไม่เห็นหรือขึ้นไปมองไม่ไหว ก็ให้หาตัวช่วย เพียงคำพูดให้กำลังใจ อาจทำให้เรามองเห็นปัญหาเล็กลงได้ หากปัญหาที่เราเจอแก้ไม่ได้ทำอะไรไม่ได้จริงๆ ก็ไม่ต้องทำอะไร ปล่อยให้เวลาผ่านไป ปัญหาก็กลายเป็นอดีตไปแล้ว ขอเพียงเอาจิตของเราออกมาจากอดีตให้ทันปัจจุบัน ใช้แนวคิด "อย่าไปคิดมาก " อะไรพอวางได้ก็วาง รับรอง ไม่มีความเครียดสะสม แน่นอน”

เรียนกับอ.วัลลภ สนุกและได้เกร็ดความรู้ในหลาย ๆ ประเด็นได้แก่

  • อาบน้ำผ่อนคลายมากที่สุด ให้อาบน้ำจากล่างขึ้นบน หน้าอกจากล่างขึ้นบน เน้นบริเวณต่อมน้ำเหลือง
  • ถูใบหน้าจากล่างสู่บน การออกกำลังกายต้อง warm จากเท้ามาก่อน
  • เราต้องรักตัวเราเองให้ได้ก่อน ดูแลสภาพตัวเองได้
  • ความสุขคือ พลังสมอง
  • ความสุข คือ การได้ทำในสิ่งที่รัก และมีงานอดิเรก

อาจารย์สอนเรื่อง "หัวเราะบำบัด" ขจัดเครียด ซึ่งอาจารย์เป็นผู้คิดค้นศาสตร์นี้ ขึ้น “เทคนิคการหัวเราะบำบัดเป็นการป้องกันเรื่องความเครียด ช่วยให้หายจากโรคซึมเศร้า และยังสามารถบรรเทาและป้องกัน โรคต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็ง หัวใจ ความดัน เบาหวาน และสารพัดโรค ” เรียนแล้วคงต้องลงมือทำ ไม่ต้องมีคำว่า “แต่”


ทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยกับคณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์

อ.จรัส สุวรรณเวลา อ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์

อาจารย์ทั้งสองท่านได้อภิปรายเรื่องทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยกับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทย์ มีประเด็นท้าทายการแพทย์ไทยในยุคปัจจุบันถึงอนาคต ดังนี้

  • การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร คนแก่มีมากขึ้น การเกิดน้อยลง ทำให้ขาดแคลนแรงงานในระยะยาว
  • การพัฒนาการความรู้และเทคโนโลยีในบริการทางการแพทย์
  • การเปลี่ยนของภาระโรค NCDs Emerging infections
  • ASEAN Community Opportunities & Threats
  • เครือข่ายสุขภาพ
  • ระบบการส่งเสริมสุขภาพ

เราในฐานะคณะแพทย์ ฯ สงขลานครินทร์ คงต้องมาดูทิศทางที่เราจะก้าวไป ในฐานะที่เราเป็นที่พึ่งและความหวังของประชาชนภาคใต้ เราจะต้องลดอัตตาของการเป็นโรงเรียนแพทย์ ฯ อาจารย์อยากให้เราหลุดพ้นจากกรอบเดิม ๆ การเข้าไปสู่ยุคใหม่ ให้ปรับเป็นยุควิจัยและนวภาพ ความใหม่ ส่วนเพื่อนที่อยู่รอบ ๆ Steakholder ของเรา ถ้าเพื่อนอยากให้เราช่วยอะไร เราควรให้ความช่วยเหลือ โดยคงไม่ใช่เป็นเรื่องของการทำให้ แต่ช่วยให้ทรัพยากร ช่วย Empowerment ให้เขาสามารถทำภารกิจของเขาได้ ระบบสุขภาพของไทยควรเป็นในแนวทางของการป้องกัน มากกว่ารักษา

คำสำคัญ (Tags): #บริหาร
หมายเลขบันทึก: 575409เขียนเมื่อ 30 สิงหาคม 2014 21:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 สิงหาคม 2014 21:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท