บทที่ 2


บทที่ 2

เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

        การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาและปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมวัยรุ่นในชุมชน ตำบลทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี ดังนั้นผู้วิจัยได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1. แนวคิดเกี่ยวกับวัยรุ่น

2. ปัญหาเกี่ยวกับวัยรุ่น

3. แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรม

4. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

5. ปัญหาในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

1. แนวคิดเกี่ยวกับวัยรุ่น

1.1 ความหมายของวัยรุ่น

       คำว่า วัยรุ่น ในภาษาอังกฤษเรียกว่า adolescence มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า adolescere หมายถึง การเจริญสู่วุฒิภาวะ (grow into maturity)

        วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์ (2543) กล่าวว่า วัยรุ่นเป็นวัยที่จะเริ่มเป็นหนุ่มสาวเป็นช่วงวัยหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิต เป็นวัยพายุบุแคม เนื่องจากว่าวัยนี้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงมีการพัฒนาการจากวัยเด็กเป็นวัยผู้ใหญ่ นอกจากการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายแล้วในด้านจิตใจ

        ศรีเรือน แก้วกังวาน (2545) กล่าวว่า วัยรุ่นเป็นวัยที่อยู่ในระยะคาบเกี่ยวระหว่างความเป็นเด็กต่อเนื่องกับความเป็นผู้ใหญ่มีความอ่อนไหว ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ได้ง่าย เรียกได้ว่า เป็นวัยวิกฤตเนื่องจากวัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา จากวัยเด็กไปสู่วัยผู้ใหญ่ อารมณ์ สังคมและสติปัญญาก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จนบางครั้งอาจทำให้วัยรุ่นบางคนมีปัญหาในการปรับตัวได้

        องค์การอนามัยโลก (WHO, 2000) ได้ให้ความหมายของวัยรุ่น (adolescents) หมายถึง บุคคลที่มีอายุระหว่าง 10-19 ปี ผู้ที่มีอายุระหว่าง 10-14 ปี เรียกว่าวัยรุ่นรุ่นเยาว์หรือวัยแรกรุ่น ผู้ที่มีอายุระหว่าง 15-19 ปี คือวัยรุ่นเข้าสู่วัยของการเป็นผู้ใหญ่ สำหรับองค์การสหประชาชาติได้กำหนดอายุวัยรุ่นอยู่ในช่วงอายุ 15-25 ปี ส่วน IPPF(International Planned Parant-hood Federation)    ก็กำหนดอายุไว้ใกล้เคียงกับองค์การสหประชาชาติแต่ว่าวัยเริ่มนั้นเร็วกว่า คือ กำหนดไว้ว่าวัยรุ่นจะอยู่ในช่วงอายุ 10-25 ปี ส่วนประเทศไทยนั้นมีการกำหนดอายุไว้เช่นใน “นโยบายและแผนพัฒนาเยาวชนระยะยาว” ระบุว่าวัยรุ่นไทยอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 15-25 ปี ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วจะมีอยู่ประมาณร้อยละ 17-19 ของประชากรทั้งหมด สไตน์เบิร์ก (Steinberg, 1999) กล่าวว่า วัยรุ่นเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตจากวัยเด็กและย่างก้าวไปสู่วุฒิภาวะแห่งการเป็นผู้ใหญ่ จัดเป็นวัยพายุบุแคม (period of storm and stress) และเป็นช่วงวัยแห่งการเปลี่ยนผ่านที่ไม่สามารถระบุได้ชัดเจนว่าเริ่มต้นและสิ้นสุดของวัยนี้อยู่ที่ช่วงอายุใด

        วีนัส ศรีศักดา (2545) วัยรุ่นเป็นลักษณะที่เด็กจะพัฒนาไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ เป็นวัยที่อยู่ในช่วงของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในชีวิตอย่างรวดเร็วในทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญาอารมณ์ และสังคม เป็นเหตุให้วัยรุ่นเป็นวัยที่ประสบปัญหาและเผชิญวิกฤติการในการปรับตัวมากที่สุดในชีวิต

        ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ และคณะ (2547) วัยรุ่น หมายถึง วัยที่มีการเปลี่ยนแปลงจากเด็กไปเป็นวัยผู้ใหญ่มีการเจริญเติบโตเข้าสู่ความมีวุฒิภาวะทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยยึดเอาความพร้อมและวุฒิภาวะทางเพศเป็นจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดเมื่อมีความพร้อม และมีวุฒิภาวะทางด้านสังคมและเศรษฐกิจ

       นภาพร สังข์กระแส (2546 : 8) กล่าวว่า วัยรุ่นเป็นวัยที่เปลี่ยนแปลงจากวัยเด็กไปสู่วัยผู้ใหญ่ มีการพัฒนาการเจริญเติบโตด้านร่างกายและพัฒนาการทางเพศ เด็กหญิงตั้งแต่เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรกและเด็กชายเมื่อเริ่มมีการผิตเซลล์สืบพันธุ์และสังคม

        เพ็ญพิไล ฤทธาคณานนท์ (2550 : 181-184) วัยรุ่น หมายถึง เป็นวัยที่สำคัญของชีวิต ต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงในหลายๆด้าน ซึ่งต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ โดยทั่วไปนักจิตวิทยาแบ่งช่วงระยะวัยรุ่นเป็น 3 ระยะ ดังต่อไปนี้

        1) วัยรุ่นตอนต้น (early adolescence) เป็นระยะเริ่มแรกในการเข้าสู่วัยรุ่น โดยอยู่ในช่วงอายุ 12-15 ปี วัยรุ่นในช่วงนี้จะเป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงต่างๆ อย่างเต็มที่และรวดเร็วมาก ทาให้ต้องปรับตัวต่อปัญหาทางร่างกาย สังคม อารมณ์

        2) วัยรุ่นตอนกลาง (middle adolescence) อยู่ในช่วงอายุ 15-18 ปี ช่วงนี้เป็นช่วงที่ผ่านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆได้

        3) วัยรุ่นตอนปลาย (late adolescence) อยู่ในช่วงอายุ 18-25 ปี ระยะนี้เป็นช่วงสุดท้ายก่อนจะเข้าสู่วัยผู้ใหญ่

        โยธิน ศันสนยุทธ (2533 : 191-192) ได้กล่าวถึง วัยรุ่นเป็นวัยที่เริ่มในช่วงอายุตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย (12-13 ปี) จนอายุที่เด็กสามารถมีงานทา ซึ่งในแต่ละสังคมจะสิ้นสุดระยะอายุไม่เท่ากัน อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปวัยรุ่นจะสิ้นสุดระยะอายุประมาณ 20 ปี วัยรุ่นเป็นวัยที่มีพัฒนาการที่รวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย การเปลี่ยนแปลงกลุ่มของสังคมหรือการเปลี่ยนแปลงทางสติปัญญา การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วนี้ทาให้เด็กต้องปรับตัว ซึ่งการปรับตัวนามาซึ่งความวิตกกังวล ความเครียดของอารมณ์ ความโกรธ ฯลฯ นักจิตวิทยา Stangley Hall เรียกระยะวัยรุ่นว่า เป็นวัยพายุบุแคม (Storm and Stress) นั่นก็คือ เด็กวัยรุ่นจะไม่มีความมั่นคงทางอารมณ์ มีความขวัญผวาของอารมณ์ และอารมณ์ก็มักจะเป็นอารมณ์ที่รุนแรง มีความกดดันสูง ในสายตาของคนทั่วไปก็เรียกว่า วัยรุ่นเป็นวัยของปัญหาวัยอลวนวัยรุ่น เพราะฉะนั้นวัยรุ่นจึงจัดเป็นวัยหนึ่งที่บุคคลในสังคมให้ความสนใจและคิดว่าเป็นปัญหาพฤติกรรมส่วนหนึ่งของสังคม

         สุชา จันทร์เอม (2533 : 30) กล่าวถึงวัยรุ่นไว้ว่าเป็นวัยที่มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย ความเชื่อมั่น ความต้องการ ตลอดจนความปรารถนาต่างๆเป็นไปอย่างรุนแรงปราศจากความยั้งคิด ชอบทาอะไรตามใจหรือตามความนึกคิดของตน ต้องการเป็นที่ยอมรับนับถือในหมู่เพื่อนฝูง โดยพยายามทาอะไรให้คล้ายๆกัน เลียนแบบตามกัน จึงมีวัยรุ่นเป็นจานวนไม่น้อยที่มีปัญหาและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เลวร้าย ได้ตกเป็นทาสของยาเสพติด จากแนวคิดดังกล่าวสรุปได้ว่า วัยรุ่น เป็นวัยที่เริ่มตั้งแต่อายุ 12-20 ปี มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา จากการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วหรือที่เรียกว่า พายุบุแคม (Storm and Stress) นี้ ส่งผลต่อการปรับตัว ความวิตกกังวล ความเครียดทางอารมณ์ทาให้แสดงพฤติกรรมต่างๆออกมาโดยไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมหรือพฤติกรรมเบี่ยงเบนนั่นเอง

สรุปได้ว่า วัยรุ่น หมายถึง เป็นช่วงชีวิตของบุคคลที่พัฒนาจากเด็กไปเป็นผู้ใหญ่อย่างสมบูรณ์ เป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตระหว่างความเป็นเด็กและความเป็นผู้ใหญ่ โดยมีการเปลี่ยนแปลงของพัฒนาการทุกด้านทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ซึ่งถือว่าช่วงชีวิตนี้เป็นระยะวิกฤตของชีวิต เนื่องจากเป็นช่วงระยะเวลาที่มีความสับสนทางจิตใจมากกว่าวัยอื่นๆ

1.2 พัฒนาการด้านต่างๆ ของวัยรุ่น

วัยรุ่นเป็นช่วงของการเปลี่ยนวัย เป็นระยะหัวเลี้ยวหัวต่อที่เปลี่ยนจากความเป็นเด็กไปสู่ความเป็นผู้ใหญ่ และถ้านับการเริ่มต้นของความเป็นวัยรุ่นตามลักษณะพัฒนาการ สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนว่าช่วงวัยรุ่นเริ่มต้นแล้วก็คือการเปลี่ยนแปลงภายนอกและภายในร่างกาย พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายก็มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะพัฒนาการด้านอื่นๆ ด้วย (ศรีเรือน แก้วกังวาล, 2545)

1.2.1 พัฒนาการทางด้านร่างกายจะเป็นในด้านของความงอกงาม เจริญเติบโตถึงขีดสมบูรณ์เพื่อทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ การเจริญเติบโตมีทั้งส่วนภายนอกที่มองเห็น เช่น ส่วนสูง น้ำหนัก ส่วนสัดของร่างกาย เป็นต้น ส่วนการเจริญเติบโตภายใน เช่น โครงกระดูกแข็งแรงขึ้นการทำงานของต่อมบางชนิด เช่น ต่อมพิทูอิทารี่ (pituitary gland) คือ ต่อมใต้สมอง จะมีฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของรังไข่และอัณฑะ และควบคุมการตกไข่ (ovulation) ของเพศหญิง (ศรีเรือน แก้วกังวาล, 2545) ดังจะเห็นได้จาก เด็กหญิงจะเริ่มเป็นสาว มีหน้าอก มีประจำเดือนมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างเป็นทรวดทรง เด็กชายจะเริ่มมีหนวด มีฝันเปียก เสียงแตก ร่างกายจะมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง ซึ่งทั้งสองเพศนี้จะมีสิว มีกลิ่นตัว และขนขึ้นในที่ลับ มีร่างการที่สูงใหญ่อย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงทางร่างการที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว บางครั้งเด็กปรับตัวไม่ทันทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัด อ่อนไหวเกี่ยวกับสัดส่วน อวัยวะต่างๆ ของร่างกายตนเอง อาจเห็นได้จากการพฤติกรรมซุ่มซ่าม เก้งก้างเพราะแขนขายืดยาวเร็ว จนกะระยะต่างๆ ไม่แม่นยำ (วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์, 2543)

1.2.2 พัฒนาการทางด้านจิตใจวัยรุ่นจะเริ่มมีความคิดอ่านที่ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น เริ่มสังเกตตนเอง ครอบครัว เพื่อน และสังคมสิ่งแวดล้อมมากขึ้น จึงทำให้วัยรุ่นมีเอกลักษณ์เฉพาะตนเอง คือมีความรู้ว่าตนเองมีความเป็นหนึ่งที่แตกต่างไปจากคนอื่นในสิ่งต่อไปนี้ รูปร่างและเอกลักษณ์ลักษณะดีลักษณะด้อยของตนเอง ความชอบ ความถนัด ความพึงพอใจทางเพศ (วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์, 2543) เอกลักษณ์ของวัยรุ่นจะพัฒนาได้ดีเมื่อได้เรียนรู้เกี่ยวกับกลุ่มเพื่อน และได้รับการสนับสนุนจากพ่อแม่ มีความต้องการเป็นอิสระที่จะคิดที่จะทำอะไรด้วยตนเองหรือกับกลุ่มเพื่อนมากขึ้น มีความรู้สึกอึดอัดคับข้องในในกฎระเบียบต่างๆ ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน มีความต้องการเป็นที่ยอมรับ ชื่นชม จากเพื่อนวัยเดียวกัน จึงทำให้เกิดการเลียนแบบต่างๆ ในกลุ่มเพื่อให้เกิดการยอมรับซึ่งกันและกัน มีความอยากรู้อยากลอง เนื่องมาจากความต้องการหาเอกลักษณ์ของตนเอง (Steinberg, 1999) และแสวงหาสิ่งที่ทำให้เขามีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองได้ เช่น กิจกรรมกลุ่มกีฬา งานอดิเรก ความสัมพันธ์กับเพื่อนตรงข้ามหรือยาเสพติด เมื่อลองแล้วรู้สึกเหมาะกับตนเองก็จะทำสิ่งนั้นซํ้าๆ ถ้าทำแล้วไม่พอใจจะเลิกไปเอง การลองในสิ่งอันตรายจะมีมากน้อยไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับการรู้จักยับยั้งใจตนเอง และการตระหนักในโทษหรือข้อเสียในสิ่งที่จะลอง ส่วนในด้านความมีอุดมคติ วัยรุ่นจะเริ่มแยกแยะความดี ความชั่ว ข้อดี ข้อเสีย ของบุคคลและเรื่องราวต่างๆ ได้ดีมีมโนธรรมที่ถูกต้อง (พนม เกตุมาน, 2542)

1.2.3 พัฒนาการทางด้านอารมณ์สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงและการเจริญเติบโตทางร่างกายทั้งภายในและภายนอก กระทบกระเทือนแบบแผนอารมณ์ของวัยรุ่น อารมณ์ที่เกิดขึ้นกับเด็กวัยรุ่นนั้นมีทุกประเภท เช่น รัก ชอบ โกรธ เกลียด อิจฉา ริษยา ฯลฯ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ประเภทใดจะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ง่าย สับสน อ่อนไหว และขาดการควบคุมการแสดงออกทางอารมณ์ของตนเองมีความเข้มของอารมณ์สูง ไม่มั่นคง ระดับความเข้มของอารมณ์ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพดั้งเดิม และสิ่งเร้าที่ทำให้เกิดอารมณ์ของวัยรุ่น มีนักจิตวิทยาเรียก ลักษณะการแสดงออกทางอารมณ์ของวัยรุ่นว่า เป็นแบบพายุบุแคม (storm and stress) ซึ่งหมายถึง อารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย รุนแรง อ่อนไหว สามารถเปลี่ยนแปลงอารมณ์หนึ่งไปเป็นอีกอารมณ์หนึ่งได้อย่างรวดเร็ว (Steinberg, 1999) เมื่อลักษณะอารมณ์ของวัยรุ่นเป็นเช่นนี้ บุคคลต่างวัยจึงต้องใช้ความอดทนสูงเพื่อจะเข้าใจและสร้างสัมพันธภาพกับพวกเขาซึ่งอาจทำให้เกิดช่องว่างระหว่างวัย(generation gap) และเนื่องจากวัยรุ่นเข้ากับบุคคลอื่นได้ยาก วัยรุ่นจึงเกาะกลุ่มกันได้ดีเป็นพิเศษกว่าวัยอื่นๆ เพราะเข้าใจและยอมรับกันได้ง่าย (ศรีเรือน แก้วกังวาล, 2545)

1.2.4 พัฒนาการทางด้านสังคมความสัมพันธ์ของวัยรุ่นกับพ่อแม่จะเริ่มห่างกันมากขึ้นแต่ความสัมพันธ์กับเพื่อนจะเริ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และจะมีสูงสุดในระยะตอนกลางของวัยรุ่น วัยรุ่นจะเริ่มสนใจเพศตรงข้าม คบเพื่อนที่ถูกใจมีกิจกรรมทำร่วมกัน ได้ฝึกทักษะทางสังคม ค้นหาเอกลักษณ์ของตนเอง ได้รับการยอมรับจากเพื่อน ได้รับการยอมรับเข้ากลุ่ม ซึ่งจะทำให้ตนเองรู้สึกว่ามีความสำคัญ วัยนี้จึงมีเพื่อนสนิทที่สามารถปรึกษาและเลียนแบบพฤติกรรมซึ่งกันและกัน (Steinberg, 1999) การคบเพื่อนร่วมวัยเป็นพฤติกรรมทางสังคมที่สำคัญยิ่งต่อจิตใจของวัยรุ่น แต่การคบเพื่อนมีทั้งประโยชน์และโทษ เพื่อนอาจเป็นผู้ประคับประคองจิตใจในยามทุกข์ร้อน ชี้แนะสิ่งมีประโยชน์ ในทางตรงกันข้ามเพื่อนก็อาจชักนำไปในทางเสื่อมถอย ผู้เป็นอาชญากรวัยรุ่นมากมายในแทบทุกประเทศส่วนมากมีสาเหตุมาจากเพื่อนชักจูง เช่น เกเร ติดยาเสพติด (ศรีเรือน แก้วกังวาล, 2545)

1.2.5 การพัฒนาทางด้านสติปัญญาวัยนี้จะมีการพัฒนาของสติปัญญาอย่างมาก โดยความคิดจะลึกซึ้งเป็นนามธรรมมากขึ้น มีการใช้เหตุผล รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินได้อย่างดีคล้ายกับความคิดของผู้ใหญ่มากขึ้น แต่ความคิดของวัยรุ่นจะไม่มั่นคง บางครั้งมีความคิดเหมือนเด็ก บางครั้งมีความคิดเหมือนผู้ใหญ่ ซึ่งขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ของวัยรุ่นด้วย การเรียนรู้ของวัยนี้สามารถที่จะเรียนรู้ได้มากมาย และจะเรียนรู้ได้ดีเมื่อสภาพอารมณ์สงบ มีความอยากรู้อยากเห็น และได้เรียนรู้ในแบบที่ตนเองมีส่วนร่วมในการคิดและการกระทำด้วย (Steinberg, 1999)

ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นหลายประการในวัยรุ่นทั้งด้านร่างกายอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด และความสัมพันธ์กับผู้อื่นและสังคม ทำให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมที่เป็นไปเพื่อการแสวงหาประสบการณ์ที่แปลกใหม่ที่จะช่วยสร้างความเข้าใจตนเอง และสถานการณ์ต่างๆ ให้มากยิ่งขึ้น โดยปกติวัยรุ่นจะมีพฤติกรรมที่เป็นพัฒนาการตามวัย คือ ความพยายามที่จะทำสิ่งต่างๆให้สำเร็จด้วยตนเอง ความต้องการอิสระ เป็นตัวของตัวเอง การเข้ากลุ่มเพื่อน หรือความอยากลองเพื่อช่วยให้ตนเองเกิดความเข้าใจในปรากฏการณ์ต่างๆ และด้วยกระบวนการพัฒนาการตามวัยที่เป็นไป

สรุปได้ว่าเนื่องด้วยลักษณะวัยรุ่นมีการเปลี่ยนแปลงมากมายในด้านร่างกาย, จิตใจ และวิถีชีวิต ปัจจัยต่างๆ ที่อาจเกี่ยวข้องกับการดื่มสุราของวัยรุ่น คือ1ความรู้สึกอยากเสี่ยง เป็นพฤติกรรมที่เป็นผลจากสมองที่อยู่ในช่วงพัฒนาการ วัยรุ่นจึงมีแนวโน้มที่มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่นและเข้าไปทดลองสถานการณ์ใหม่และเสี่ยง เช่น การดื่มสุรา และพฤติกรรมที่รุนแรง มากขึ้น รวมทั้งเมื่อวัยรุ่นมีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ วัยรุ่นจะมีอัตราการดื่มสุรา อย่างหนัก (binge drinking) มากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากสมองของวัยรุ่นที่เริ่มดื่มยังไม่ได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากการดื่มสุรา ในขณะที่สมองของวัยรุ่นมีความไวต่อฤทธิ์ด้านบวกของสุรา มากกว่าผู้ใหญ่

1.3 องค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อวัยรุ่น

พัฒนาการของวัยรุ่น อาจมีลักษณะบางอย่างคล้ายกัน เช่นการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย และจิตใจ แต่ในขณะเดียวกันสภาพแวดล้อม ก็มีส่วนสำคัญที่ทาให้วัยรุ่นมีความแตกต่างกัน (UNFPA , 2005 อ้างถึงใน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ , 2549) ดังนั้น ในการศึกษาเกี่ยวกับวัยรุ่น นอกจากจะศึกษาโดยตรงที่ตัววัยรุ่นเองแล้ว การศึกษาบริบทแวดล้อมที่สำคัญต่อพัฒนาการ และลักษณะนิสัยของวัยรุ่นก็เป็นสิ่งจาเป็นที่ควรศึกษาประกอบไปพร้อมกัน ด้วยเหตุผลนี้ สเตนเบริ์ก (Steinberg ,1996 ) จึงเสนอให้ศึกษาบริบทแวดล้อมที่สำคัญ 4 ประการ ที่มีอิทธิพลต่อวัยรุ่นอันได้แก่

1) วัยรุ่นกับครอบครัว

ครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานที่มีความสำคัญ ต่อพัฒนาการของมนุษย์มากที่สุดนับตั้งแต่เด็กจนโต ครอบครัวจะเป็นเสมือนเบ้าหลอม ให้คนมีพื้นฐานที่ดีหรือไม่ดีต่างกันไป จากการศึกษาปัญหาสังคมจะพบว่า ปัญหาของวัยรุ่นส่วนใหญ่ล้วนมีสาเหตุเบื้องต้น มาจากปัญหาภายในครอบครัวทั้งสิ้น( พรพิมล เจียมนาคินทร์, 2539) ดังนั้นในการแก้ปัญหาวัยรุ่น หนทางหนึ่ง ที่สามารถเป็นไปได้คือ การเริ่มแก้ปัญหาของครอบครัวก่อน และเมื่อครอบครัวมีปัญหาน้อยลง ปัญหาของวัยรุ่นก็จะลดน้อยลงตามไปด้วย ในปัจจุบัน ครอบครัวในสังคมไทย มีแนวโน้มที่จะมีขนาดลดลงจากครอบครัวขยายกลายมาเป็นครอบครัวเดี่ยว หรือเป็นครอบครัวที่ขาดพ่อหรือแม่ เนื่องมาจากปัญหาการหย่าร้างที่เพิ่มมากขึ้น โดยผลกระทบของการหย่าร้าง จะปรากฏในพฤติกรรมทางสังคมของวัยรุ่น (พรพิมล เจียมนาคินทร์, 2539 ) เช่น วัยรุ่นที่เติบโตขึ้น ภายในครอบครัวที่ความสัมพันธ์ไม่ดีมีแนวโน้มที่จะไม่สามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวใหม่ของตน เนื่องจากขาดต้นแบบของครอบครัวที่อบอุ่น ครอบครัวที่ขาดความอบอุ่น พ่อแม่ขาดการดูแลเอาใจใส่ และขาดความรับผิดชอบจะสร้างปัญหาให้แก่ลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับลูกที่อยู่ในวัยรุ่น ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยลดปัญหาสังคม ที่มีพื้นฐานมาจากปัญหาครอบครัว พ่อแม่จึงควรวางตัวเป็นเพื่อนที่ดีของลูก หลีกเลี่ยงการโต้เถียงกันต่อหน้าลูก อบรมสั่งสอนลูกโดยมีความเมตตาเป็นพื้นฐานเมื่อลูกย่างเข้าสู่วัยรุ่น ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และลูกจะเริ่มห่างเหินขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากวัยรุ่นต้องการเป็นอิสระ พ่อแม่ควรหาโอกาสพูดคุยกับลูก ในเรื่องต่างๆ เช่นการวางตัวในสังคมการเคารพในสิทธิของผู้อื่น การคบเพื่อน และการรู้จักคุณค่าของเงิน หรืออบรมสั่งสอนโดยยึด หลักของเหตุผล และใช้การแนะนาแทนการออกคาสั่ง

2) วัยรุ่นกับโรงเรียน

นอกเหนือจากสถาบันครอบครัวแล้วโรงเรียนเป็นอีกสถาบันหนึ่งที่มีความสำคัญต่อพัฒนาการ หรือการเจริญเติบโตของวัยรุ่นเป็นอย่างมาก วัยรุ่นจะใช้เวลากว่าหนึ่งในสามของวันอยู่ภายในโรงเรียนหรือสถานศึกษา สังคมในโรงเรียนถือเป็นสังคมภายนอกบ้าน ที่เป็นประสบการณ์ครั้งแรกของเด็ก (พรพิมล เจียมนาคินทร์, 2539) เป็นสถานที่ที่เด็กมีโอกาส ได้พบเพื่อนรุ่นเดียวกันได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ทั้งที่เป็นวิชาความรู้ และเป็นประสบการณ์ชีวิต เด็กจะได้เรียนรู้การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น การทำงานเป็นหมู่คณะ ความรับผิดชอบงานต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ความมีน้ำใจ เรียนรู้บทบาทการเป็นผู้ให้และผู้รับรู้จักสิทธิและหน้าที่ ของตนเองและผู้อื่นและยังได้เรียนรู้ ความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศ โดยสิ่งต่างๆ ที่เด็กเรียนรู้ในโรงเรียนจะช่วยให้เด็กพัฒนาไปสู่การมีวุฒิภาวะทางสังคม เมื่อเป็นวัยรุ่น ซึ่งเป็นรากฐานของการใช้ ชีวิตในสังคมเมื่อโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ภายในโรงเรียน บุคคลที่มีความสำคัญต่อวัยรุ่นเป็นอย่างมากคือ ครู หน้าที่ของครูโดยทั่วไปคือ การถ่ายทอดวิชาความรู้ให้แก่ลูกศิษย์ พร้อมทั้งสั่งสอนให้เป็นพลเมืองที่ดี มีความรับผิดชอบต่อสังคม ครูเป็นบุคคลที่จะสร้างให้เด็กมีวุฒิภาวะที่สมบูรณ์ จากการศึกษาของพรพิมล เจียมนาคินทร์ (2539) พบว่า เด็กวัยรุ่น คือ อนาคตของชาติ ที่ต้องการเวลาในการเอาใจใส่ดูแลจากครูเป็นพิเศษมากกว่าในวัยอื่นๆเด็กจะมีความเชื่อถือและไว้วางใจต่อครูมาก แต่ในบางครั้งปัญหาที่เกิดขึ้นภายในห้องเรียน เช่น เด็กหนีเรียน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบอาจมีสาเหตุมาจากตัวเด็กหรือตัวครูโดยสมพรสุทัศนีย์ (2531 อ้างถึงใน พรพิมล เจียมนาคินทร์, 2539 ) ได้รวบรวมปัญหาต่างๆ ที่เกิดจากตัวครูไว้ เช่น ครูสอนไม่ดี ครูไม่มีความยุติธรรม ครูไม่สนใจและไม่ให้ความสำคัญกับเด็ก และครูเจ้าอารมณ์ เหล่านี้ ล้วนเป็นสาเหตุที่ทาให้เด็กมีพฤติกรรมเป็นปัญหาได้ ดังนั้นครูที่สอนเด็กวัยรุ่นจะต้องมีความรู้ความเข้าใจ ในจิตวิทยาวัยรุ่นจึงจะสามารถควบคุมพฤติกรรมของเด็กได้ นอกเหนือจากความสามารถในการสอน คุณสมบัติทีสำคัญประการหนึ่งของครูคือ การมีอารมณ์ขัน เพราะจะช่วยระบายความเครียด และสร้างบรรยากาศการเรียนให้เกิดความสนุกสนาน ทาให้เด็กอยากเรียนมากขึ้น ดังมีคากล่าวที่ว่า “ ครูที่ดีที่สุด คือ ครูที่หัวเราะสนุกสนานไปกับเด็ก ส่วนครูที่เลวที่สุด คือ ครูที่หัวเราะเยาะเด็ก ” (สมบัติ พิศสะอาด, 2536 อ้างถึงในพรพิมล เจียมนาคินทร์, 2539 )

3) วัยรุ่นกับเพื่อน

วัยรุ่นกับกลุ่มเพื่อน ถือเป็นสิ่งที่คู่กัน การคบเพื่อนมีความสำคัญมากสาหรับวัยรุ่น กลุ่มเพื่อนจะมีอิทธิพลต่อทัศนคติ และพฤติกรรมของวัยรุ่นเป็นอย่างมาก วัยรุ่นมักจะเลือกเพื่อนที่มีรสนิยมตรงกัน มีทัศนคติคล้ายคลึงกัน และมีขนาดของร่างกายเท่าๆ กัน (สุชา จันทน์เอม และสุรางค์ จันทน์เอม, 2521) โดยเด็กชายจะรวมกลุ่มกับเด็กชายด้วยกันก่อน ในทานองเดียวกัน เด็กหญิงก็จะรวมกลุ่ม และมีกิจกรรมต่าง ๆร่วมกัน (Steinberg, 1996) จากนั้นเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่นเด็กจะเริ่มมีความรู้สึก อยากคบเพื่อนต่างเพศบ้าง ลักษณะการคบเพื่อนของวัยรุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเมื่อวัยรุ่นเติบโตขึ้น ซึ่ง Grimder (1996 อ้างถึงใน พรพิมล เจียมนาคินทร์, 2539) ได้แบ่งขั้นตอนการพัฒนาการเป็นกลุ่มของวัยรุ่นไว้ดังนี้

ขั้นที่ 1 การพัฒนาการของกลุ่มวัยรุ่นชาย-หญิง เป็นแบบอิสระต่อกัน

ขั้นที่ 2 มีการรวมกลุ่มอย่างมีโครงสร้าง โดยมีการแยกเพศของกลุ่มชายและกลุ่มหญิงแม้ว่าจะรวมอยู่ในกลุ่มเดียวกัน

ขั้นที่ 3 การปฏิสัมพันธ์ของวัยรุ่นชายหญิงมีลักษณะเป็นกลุ่มย่อยหลายกลุ่มและแต่ละกลุ่มยังคงมีความสัมพันธ์ต่อกัน หมายถึง มีลักษณะของการจับคู่แต่ยังอยู่ภายในกลุ่ม 12

ขั้นที่ 4 เริ่มแบ่งแยกจากคู่ที่อยู่ในกลุ่มมาเป็นคู่เดียว

การเข้ากลุ่มของวัยรุ่นนั้น เกิดจากวัยรุ่นมีความกังวลใจ ในการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างทำให้เกิดความไม่มั่นใจ จึงต้องการการยอมรับจากสังคมและกลุ่มเพื่อน วัยรุ่นต้องการให้เพื่อนยอมรับตนเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่ม โดยอาจทำกิจกรรมร่วมกัน แต่งกายแบบเดียวกัน พูดจาโดยใช้ภาษาระดับเดียวกัน การเข้ากลุ่มจะช่วยให้วัยรุ่นมีความเชื่อมั่นในตนเอง มีสังคมกว้างขวางขึ้น และยังช่วยให้เข้าใจชีวิตมากขึ้น เมื่อได้เห็นปัญหาของผู้อื่นความสัมพันธ์ในครอบครัว ก็มีความเกี่ยวข้องกับการคบเพื่อนของวัยรุ่น ในครอบครัวที่ไม่อบอุ่น วัยรุ่นจำเป็นต้องรวมกลุ่มกับเพื่อนเพื่อ หาเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ อาศัยความเข้าใจและความอบอุ่นจากเพื่อน มาเป็นสิ่งทดแทนความรักจากครอบครัว โดยวัยรุ่นจะยอมทาตามเพื่อนทุกอย่างซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวล หากกลุ่มเพื่อนมีพฤติกรรมเกเร สร้างความเดือดร้อนให้ผู้อื่นก็อาจทาให้หลงทาในสิ่งที่ผิด และสูญสิ้นอนาคตได้

4) วัยรุ่นกับกิจกรรม

ตามธรรมชาติของวัยรุ่นนั้น วัยรุ่นเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็น อยากทดลองสิ่งใหม่ๆ ที่ตนสนใจ ทั้งในเรื่องหลักการและแนวคิดต่างๆ เรื่องที่ท้าทาย รวมถึงเรื่องเร้นลับ นอกจากนี้ วัยรุ่นยังมีความพยายามที่จะปรับปรุงตนเอง แก้ไขข้อบกพร่องของตน และมีความมุ่งมั่น ในงานที่รับผิดชอบวัยรุ่นจึงมักใช้เวลาว่าง ในการตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ทางเลือกของวัยรุ่นในการใช้เวลาว่างอาจเป็นไปในทางที่เกิดประโยชน์ หรือเกิดโทษต่อตัววัยรุ่นเอง หรือต่อสังคม พรพิมล เจียมนาคินทร์ (2539) กล่าวว่า กิจกรรมบันเทิงที่วัยรุ่นเลือกปฏิบัตินั้น เกิดขึ้นจากเหตุผลเพียงข้อเดียว นั่นคือเพื่อให้ร่างกายผ่อนคลายความตึงเครียด และความกดดันที่เกิดขึ้นในโรงเรียน หรือจากงานที่ได้รับมอบหมายจากทางบ้าน กิจกรรมนันทนาการต่างๆ ที่วัยรุ่นสนใจ มักจะเกี่ยวข้องกับความถนัดของตัววัยรุ่นเอง ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้มีประโยชน์ต่อพัฒนาการทั้ง4 ด้านของวัยรุ่น อันได้แก่ ทางร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา การทางานพิเศษหรือการทากิจกรรมนันทนาการของวัยรุ่นอาจเกิดผลกระทบต่อการเรียน หรือเกิดผลเสียต่อตัวของวัยรุ่นเองได้ หากวัยรุ่นไม่รู้จักการจัดสรรเวลาที่เหมาะสม หรือมีการเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด สิ่งผิดกฎหมาย หรือคบเพื่อนที่ไม่ดี ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆ ตามมาดังที่ปรากฏเป็นข่าวบ่อยครั้ง

1.4 พฤติกรรมและความต้องการของวัยรุ่น

1.4.1 พฤติกรรมวัยรุ่น

เด็กและวัยรุ่น เป็นวัยที่กำลังเจริญเติบโต อยากรู้อยากเห็น ชอบเลียนแบบและแสดงออก มีอารมณ์รุนแรง ไม่ค่อยมีความยับยั้งชั่งใจ อ่อนความรู้และด้อยประสบการณ์ จึงอาจหลงผิด หรือถูกชักจูงไปในทางที่ผิดได้ง่าย โดยเฉพาะวัยรุ่น เป็นวัยเปลี่ยนจากเด็กสู่ผู้ใหญ่ นับเป็นวัยหัวเลี้ยวหัวต่อของชีวิตคืออาจเสียคนเสียอนาคตได้ง่ายกว่าช่วงอายุในวัยอื่น ซึ่งนักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงคือG.Stanley Hall ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งวิชาวัยรุ่น กล่าวว่า “วัยรุ่น เป็นวัยแห่งพายุ (Stormand Stress) เป็นวัยที่มีความต้องการและอารมณ์รุนแรง มีพลังมาก เนื่องจากร่างกายและจิตใจเปลี่ยนจากเด็กมาเป็นผู้ใหญ่ อารมณ์จึงแปรปรวนและจิตใจไม่ปกติ เกิดความขัดแย้งภายในจิตใจ ถ้าอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่ดีเด็กและวัยรุ่นเหล่านี้ก็จะมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน และนำไปสู่การกระทำผิดได้ง่าย

พฤติกรรมเบี่ยงเบน (Delinquency) คือความประพฤติที่ออกนอกลู่นอกทางไปจากทำนองคลองธรรมที่ดี (บรรทัดฐาน) ของสังคม ซึ่งถ้าทำสะสมนานเข้าก็จะทำให้ก่ออาชญากรรมได้ในที่สุด

1.4.2 ความต้องการของวัยรุ่น

ต้องการของมนุษย์โดยเฉพาะของวัยรุ่นมักจะขึ้นอยู่กับค่านิยมที่แต่ละคนยึดถือ และส่วนใหญ่ก็มักจะยึดถือค่านิยมในกลุ่มที่ตนเข้าร่วมด้วย กลุ่มมีอิทธิพลมาก ต่อความต้องการของวัยรุ่น ดังนั้น ความต้องการที่เป็นจริงก็คือความต้องการของตนเองบวกกับความต้องการของสังคมอันที่จริงความต้องการของวัยรุ่นคล้ายกับความต้องการของมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไปในสังคมคือ ต้องการความมั่นคง ต้องการการยอมรับ ต้องการประสบการณ์ใหม่ ๆ ฯลฯ แต่ในที่นี้จะสรุปความต้องการออกเป็นข้อ ๆ เพื่อง่ายต่อการเข้าใจ คือ

1) ต้องการความรัก ความรักในที่นี้มีหลายแบบคือ รักพ่อแม่ญาติพี่น้อง รักเพื่อน รักพวกพ้อง ในขณะเดียวกันอยากให้เพื่อนรัก รักตัวเอง อยากดี อยากมีความสำเร็จ รักเพื่อนต่างเพศ ซึ่งเป็นความรักแบบหนุ่มสาว ฯลฯ

2) ต้องการความสนุกสนานเพลิดเพลิน ซึ่งส่วนมากมักจะออกมาในรูปของกิจกรรมกีฬาหรือการบันเทิง

3) ต้องการความเป็นอิสระ ความต้องการนี้จะรุนแรงมากในวัยนี้ เพราะเป็นวัยที่อยู่

ระหว่างวัยเด็กกับวัยผู้ใหญ่ จึงอยากจะแสดงออกซึ่งความเป็นตัวของตัวเอง ฉะนั้น จึงไม่ชอบให้ผู้ใหญ่มาก้าวก่ายในชีวิตของตน ไม่ชอบให้ใครสอน คอยช่วยเหลือ บางคนจึงทำอะไรโดยผู้ใหญ่ไม่รู้ไม่เห็น

           4) ต้องการได้รับการยกย่อง ต้องการมีชื่อเสียง วัยนี้เป็นวัยที่อยากให้สังคมยอมรับหรือชมเชยหรืออยากเด่น อยากดัง เช่น อยากเป็นนักกีฬาที่เก่ง เป็นขวัญใจ เป็นต้น หรืออาจจะออกมาในแง่เทิดทูนนักกีฬาดาวประจำคณะ หรือมหาวิทยาลัย หรือไม่ก็ตั้งชมรมต่าง ๆ เพื่อแสดงให้สังคมได้รู้ว่าเขาได้พยายามทำดีที่สุดแล้ว

           5) มีอุดมคติสูง วัยรุ่นยังอยู่ในวัยที่เรียนรู้ทางทฤษฎีและยังไม่เคยออกไปประสบกับสภาพความเป็นจริง จึงละเลยมองข้ามความเป็นจริงไปบ้าง คือ เป็นพวกอุดมคตินิยม (Idealist) มากกว่ามุ่งไปในทางปฏิบัติได้จริง ๆ (Pragmatist) ซึ่งบางครั้งก็ตกเป็นเครื่องมือของผู้ที่มีอำนาจ มีอิทธิพล มีบารมี แสวงหาประโยชน์ได้ เพราะวัยรุ่นมักจะเป็นพวกที่มีอุดมคติแรงกล้า มีความกล้าเสี่ยง และมีพลังผลักดันสูง เชื่อคนง่าย โดยไม่คิดว่ามนุษย์ในโลกอาจมีวิธีการลึกซึ้ง มีลักษณะไปในทางไม่สุจริตและอาจแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวได้จุดอ่อนสำคัญของวัยรุ่นอีกประการหนึ่ง คือ ถ้ามีความเชื่อแล้วมักจะเชื่ออย่างจริงจัง แต่ในขณะเดียวกันก็มีความระแวงไม่ยอมเชื่ออะไรง่าย ๆ นอกจากจะมีหลักฐานมาอ้างอิงให้เชื่อถือ และถ้าเชื่อแล้วเกิดไม่เป็นจริงจะเปลี่ยนความเชื่ออย่างรวดเร็ว เพราะเป็นวัยที่ชอบวีรบุรุษ คือ เชิดชูทั้ง

คนกล้าจริงและคนกล้าไม่จริง

            6) มีความสนใจเรื่องเพศและเพื่อนต่างเพศ เป็นวัยที่ต้องการความรู้ ความเข้าใจทางเพศอย่างถูกต้อง ถ้าถูกกีดกันจะแสดงออกทางอ้อมโดยการปิดบัง และพูดคุยเฉพาะในกลุ่มเพศเดียวกันหาความรู้จากการได้ยินได้ฟังคนอื่นพูด ซึ่งอาจถูกบ้างผิดบ้าง หรือไม่ก็อ่านจากหนังสือเรื่องเพศหนุ่มสาวมักจะชอบดู

              7) ต้องการการรวมกลุ่ม เพื่อนมีความสำคัญมาก เป็นวัยที่อยากให้เพื่อนยอมรับเพราะฉะนั้นจึงพยายามทำตามเพื่อน แม้บางครั้งจะขัดกับความรู้สึกส่วนตัวก็ตาม เช่น เพื่อนชวนเดินขบวนแม้ไม่อยากเดินก็เดินด้วย เพราะกลัวเพื่อนจะไม่รักหรือว่าไม่มีสปิริต หรือไม่ก็ไม่กล้าขัดใจเพื่อน เป็นต้น

            8) ต้องการการยอมรับจากผู้ใหญ่ คือ อยากให้ผู้ใหญ่ยอมรับบ้างว่ามีความสามารถหรือมีประโยชน์ต่อสังคม เพราะฉะนั้นผู้ใหญ่ไม่ควรจะเพิกเฉย ควรให้วัยรุ่นช่วยรับผิดชอบในกิจกรรมบางอย่าง จะช่วยให้วัยรุ่นรู้จักความรับผิดชอบ เป็นตัวของตัวเองหรือช่วยตัวเองได้มากขึ้น

            9) ต้องการแบบอย่างที่ดี วัยรุ่นในปัจจุบันแม้จะชอบความอิสระ ก็ยังอยากได้คำแนะนำจากผู้ใหญ่ที่ดี ผู้ใหญ่จะต้องเป็นปูชนียบุคคลที่ดี วัยรุ่น จึงจะมีแนวโน้มที่ดีได้ ผู้ใหญ่จะต้องคอยนำทางคอยตักเตือนเมื่อทำผิดและให้รางวัลเมื่อทำดี

          10) ต้องการความปลอดภัยและความมั่นคง คือ อยากได้หลักประกันว่าถ้าหากทำในสิ่งที่ดีแล้วจะไม่ถูกลงโทษหรือเป็นที่พอใจของผู้ใหญ่ เพราะในสายตาของผู้ใหญ่สิ่งที่วัยรุ่นคิดว่าดีแล้ว

          11) ต้องการประสบการณ์ใหม่ ๆ ความต้องการนี้อาจจะรุนแรง และหาความพอใจโดยทางใดทางหนึ่งให้จนได้ ซึ่งผู้ใหญ่บางคนก็มักจะกีดกันห้ามไม่ให้หนุ่มสาวรับความสนุกสนานเพลิดเพลิน ทั้ง ๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด เช่น อยากแต่งกายแปลก ๆ ตามสมัยนิยม อยากมีเพื่อนต่างเพศ เป็นต้น ผลที่ติดตามมา คือ เกิดการซ่อนเร้น หลอกลวง และในที่สุดอาจจะเกิดการเสื่อมเสียเพราะเป็นวัยที่มีความรักกับความเกลียดใกล้กันมาก

2. ปัญหาเกี่ยวกับวัยรุ่น

2.1 ปัญหาวัยรุ่น

วัยรุ่นถือได้ว่าเป็นวัยที่สำคัญที่สุด ซึ่งอาจพัฒนาไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ หรืออาจหลงเดินทางผิดจนหมดอนาคต ตั้งแต่ยังไม่เป็นผู้ใหญ่ นักจิตวิทยาวัยรุ่นได้กล่าวถึงวัยรุ่นว่าเป็น “วัยแห่งพายุบุแคม” (สุชา จันทน์เอม และสุรางค์ จันทน์เอม, 2521) หรือเป็น วัยวิกฤต อิริคสัน (Erikson, 1968) วัยรุ่นจึงเป็นวัยที่มีความเสียงต่อการเกิดปัญหามากที่สุด สาเหตุของปัญหาวัยรุ่นมีหลายประการ เช่น เกิดจากมีอารมณ์ตึงเครียด เกิดความทุกข์และความวิตกกังวลใจ มีอารมณ์โกรธ และต้องการระบายออก มีความขัดแย้งภายในใจ ชอบความท้าทาย มีอารมณ์พิศวาสและมีความต้องการทางเพศ หรือได้รับความกดดันจากสังคมรอบข้างทั้งนี้ ได้มีผู้จัดลาดับความกดดันในเรื่องต่างๆ ของวัยรุ่นเรียงตามลาดับจากมาก - น้อยไว้ดังนี้ (พรพิมล เจียมนาคินทร์, 2539 ) เพศ ยาเสพติด งาน การศึกษา การสอบคัดเลือก เพื่อน ผลการเรียน การสอบ สงคราม ปัญหาของเพื่อน ปัญหาอนาคต มีผู้กล่าวว่าปัญหาวัยรุ่นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะแก้ไขให้หมดไปได้ เพราะปัญหาวัยรุ่นเป็นปัญหาเฉพาะของแต่ละยุคสมัยในยุคสมัยหนึ่งก็มีปัญหาแบบหนึ่ง ซึ่งถึงแม้เราจะแก้ปัญหาในสมัยนั้นๆ ได้ แต่เมื่อเข้าสู่ยุคใหม่ก็จะเกิดปัญหาใหม่ๆ ขึ้นมา ให้เราตามแก้ไขไปเรื่อยๆ ซึ่งก็สอดคล้องกับปัญหาสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยเช่นกัน ทั้งนี้ ปัญหาวัยรุ่นส่วนมากที่พบจะได้แก่

1) ปัญหาด้านพัฒนาการ

ตามที่เราได้แบ่งพัฒนาการของวัยรุ่นออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านสติปัญญา ดังนั้น จึงขอกล่าวถึงปัญหาด้านพัฒนาการของวัยรุ่นในแต่ละด้านตามลาดับ เมื่อเด็กเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด จะเกิดขึ้นกับร่างกายก่อนเมื่อร่างกายเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว วัยรุ่นจะเกิดความวิตกกังวลกับความเปลี่ยนแปลง เช่นการมีเสียงแตก การมีหนวดเคราหรือมีขนขึ้น การมีประจำเดือน หรือการที่เต้านมขยาย เป็นต้นเด็กจะกลัวถูกเพื่อนล้อ และขาดความมั่นใจในตนเอง ซึ่งอาจมีผลต่อบุคลิกภาพได้ ในขณะเดียวกันเด็กที่มีพัฒนาการช้ากว่าเพื่อนก็จะเกิดความกังวลใจ หรือเกิดความเครียดได้เช่นเดียวกัน พัฒนาการทางอารมณ์เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สร้างปัญหาให้กับวัยรุ่น เนื่องจากวัยรุ่นเป็นวัยที่มีลักษณะอารมณ์แปรปรวน ไม่คงที่ คือ มีความรุนแรง หรือบางครั้งอ่อนไหวได้ง่าย เมื่อได้รับความกระทบกระเทือน จิตใจ มักจะมีอาการ เก็บกด และหันไประบายออกกับสิ่งอื่น เช่น การเล่นกีฬา เล่นดนตรี การเที่ยวเตร่ การใช้สารเสพติด การหนีออกจากบ้าน หรือฆ่าตัวตาย เป็นต้น

ปัญหาด้านการปรับตัวในสังคมนับว่าเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสนใจเช่นกัน วัยรุ่นในปัจจุบันมักขาดระเบียบวินัย และขาดความเคารพในสิทธิ และหน้าที่ทั้งของตนเอง และของผู้อื่น ทาให้สังคมเกิดความปั่นป่วนวุ่นวาย เนื่องจากวัยรุ่น เป็นวัยแห่งความคึกคะนอง ชอบละเมิดกฎ และไม่เชื่อฟังคาสั่งสอนตักเตือนของผู้ใหญ่เพราะถือว่า วัยรุ่นมีความคิดเป็นของตัวเอง ดังนั้นผู้ปกครองของวัยรุ่นจึงควรปลูกฝังความมีระเบียบวินัยตั้งแต่วัยเยาว์ รวมถึงประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีของวัยรุ่นด้วย ความแตกต่างทางด้าน สติปัญญา ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งสาหรับวัยรุ่น ภายในชั้นเรียนเด็กที่เรียนเก่ง จะมีปัญหา เช่น มีความมั่นใจในตนเองสูง ใช้ความฉลาดเอาเปรียบผู้อื่น ไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ และอาจรู้สึกกดดัน เมื่อเป็นที่คาดหวังของพ่อแม่และครูอาจารย์ ส่วนเด็กที่เรียนอ่อนก็จะมีปัญหา เช่น ไม่ได้รับความสนใจ หรือถูกดูแคลนจากเพื่อนหรือครู เข้ากลุ่มกับเพื่อนได้ยาก เนื่องจากมีความเข้าใจในบทเรียนหรือในเรื่องราวต่างๆ ช้ากว่าคนอื่น ทาให้ไม่มั่นใจในตนเอง เกิดความเครียด ขาดความภาคภูมิใจในตัวเองและเห็นว่าตนเองไม่มีคุณค่า

2) ปัญหายาเสพติด

ยาเสพติดเป็นสิ่งที่เร้าใจและมีอันตรายอย่างใหญ่หลวง ต่อวัยรุ่นโดยเฉพาะวัยรุ่นที่มีความคึกคะนอง วัยรุ่นจะมีความอยากรู้อยากทดลองเสพสิ่งเสพติดชนิดต่างๆ เมื่อ ตนมีโอกาส โดยมองข้ามโทษภัยของสิ่งเสพติดเหล่านั้นไป สาเหตุสำคัญที่ทาให้วัยรุ่นติดยาเสพติด นอกจากความคึกคะนองอยากลองนั้น ได้แก่ การแสวงหาทางออกเมื่อเกิดปัญหาในชีวิต สิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกครอบครัวที่มีผู้ติดยาหรือมียาเสพติด การใช้เวลาว่างในทางที่ผิด และการถูกชักชวนหรือล่อลวงโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ (สุชา จันทน์เอม และสุรางค์ จันทน์เอม, 2521) ปัจจุบันยาเสพติดมีมากมายหลายชนิด ซึ่งล้วนแต่เป็นอันตรายต่อผู้เสพทั้งสิ้น การปลูกฝังความเข้าใจเรื่องโทษภัยของยาเสพติดการรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ รวมถึงการนาหลักธรรม มาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจจะสามารถช่วยให้วัยรุ่นห่างไกลจากยาเสพติดได้ อย่างไรก็ดี ความรักและความเข้าใจภายในครอบครัวถือเป็นเกราะป้องกันยาเสพติดที่ดีที่สุด

3) ปัญหาการทะเลาะวิวาท และใช้ความรุนแรง

ปัญหาการทะเลาะวิวาทในหมู่วัยรุ่น หรืออาจเรียกว่าการยกพวกตีกัน เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจาในสังคมไทย โดยรูปแบบของการทะเลาะวิวาท มีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆจากอดีตนักเรียนที่ทะเลาะกัน จะใช้เพียงการชกต่อย หรือตีกันด้วยไม้ แต่ในระยะหลังมีการใช้อาวุธเช่น มีด ปืน หรือท่อนเหล็กเป็นอาวุธในการต่อสู้กัน (พรพิมล เจียมนาคินทร์,2539) เสียชีวิตจากเหตุทะเลาะวิวาทอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพบว่า เด็กนักเรียนหญิงในชั้นมัธยมศึกษามีแนวโน้มการก่อเหตุทะเลาะวิวาท และใช้ความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากไม่พอใจที่เพื่อนดีเด่นกว่าตน หรือหลงรักชายหนุ่มคนเดียวกัน นอกจากนี้ ประเด็นปัญหาวัยรุ่นที่สังคมให้ความสนใจมากยังได้แก่ ปัญหาการใช้ความรุนแรง ในการรับน้องใหม่ของรุ่นพี่ในสถาบันการศึกษา และปัญหาแก๊งมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น

4) ปัญหาทางเพศ

การเจริญเติบโตทางร่างกายของวัยรุ่น ทาให้เกิดพัฒนาการทางเพศ โดยมีฮอร์โมนเพศเป็นตัวกระตุ้นความรู้สึกนึกคิด ในเรื่องนี้วัยรุ่นจึงมีความสนใจใคร่รู้เกี่ยวกับเรื่องเพศ ทั้งในเพศของตนและเพศตรงข้าม แต่เนื่องจากสังคมไทยยังไม่เปิดกว้าง ในเรื่องการศึกษาหาความรู้เรื่องเพศมากนักทาให้พ่อแม่ รวมทั้งครูอาจารย์ มีความกระดากอายที่จะพูด และหลีกเลี่ยงที่จะให้ความรู้ในเรื่องเพศศึกษากับวัยรุ่น หรือพยายามหลีกเลี่ยงการตอบคาถาม เกี่ยวกับเรื่องเพศ โดยมักจะกล่าวว่า“เมื่อโตขึ้นก็รู้เอง” ความอยากรู้อยากเห็นในเรื่องเพศ และความคิดที่ว่าตัวเองโตแล้ว ประกอบกับการขาดความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องเพศศึกษา ทาให้วัยรุ่นอยากทดลอง แสวงหาความรู้ด้วยตนเองโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปัจจุบันวัยรุ่นได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้ารอบตัว ไม่ว่าจะเป็นทางหนังสือสื่อโทรทัศน์ ภาพยนตร์ หรือทางอินเตอร์เน็ท ทาให้วัยรุ่นใช้เวลาครุ่นคิดกับเรื่องเพศมากขึ้นวัยรุ่นที่ไม่ได้รับคาแนะนาที่ถูกต้อง จากผู้ใหญ่ในเรื่องการหักห้ามใจ หรือขาดการปลูกฝังค่านิยมในเรื่อง ความเป็นสุภาพบุรุษ และลักษณะของกุลสตรี ตั้งแต่เยาว์วัย จะทาให้ไม่สามารถแยกแยะในเรื่องความรักกับการมีเพศสัมพันธ์ได้ เมื่อวัยรุ่นชายหญิงเกิดความพึงพอใจ ในกันและกันและคิดว่านั้นคือความรัก ก็อาจจะมีเพศสัมพันธ์กัน หรืออาจร้ายแรงไปกว่านั้น หากวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์โดยที่ไม่ได้สมัครใจ เช่น การถูกล่อลวง และล่วงละเมิดทางเพศ จะทาให้สภาพจิตใจทรุดโทรมเกิดเป็นตราบาป และอาจส่งผลไปถึงพฤติกรรมทางเพศที่ผิดปกติเมื่อเป็นผู้ใหญ่

5) ปัญหาการอาชญากรรม และการกระทำผิดกฎหมาย

วัยรุ่นที่ประกอบอาชญากรรม หรือกระทาผิดกฎหมาย มักจะมาจากครอบครัวที่แตกแยกขาดความอบอุ่น เมื่อมาพบกับเพื่อนที่มีพื้นฐานครอบครัวใกล้เคียงกัน จึงพากันใช้เวลาว่างในทางที่ไม่เกิดประโยชน์ โดยเริ่มจากการทาตัวเกเร หนีโรงเรียน ต่อมาก็หนีออกจากบ้านมาอยู่รวมกันและอาจมีการรวมกลุ่มกัน มั่วสุมทางเพศหรือเสพยาเสพติด วัยรุ่นเหล่านี้ ยังขาดความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพ เพื่อหารายได้เลี้ยงตนเอง ดังนั้น จึงจาเป็นต้องเลี้ยงชีพโดยการประกอบอาชญากรรม เช่นการลักขโมย การปล้นจี้ ชิงทรัพย์ การค้ายาเสพติด หรือขายบริการทางเพศ เป็นต้น

6) การป้องกันปัญหาวัยรุ่น

แนวทางป้องกันปัญหาวัยรุ่นไว้ว่า ต้องเริ่มแก้ไขจากครอบครัวเป็นอันดับแรก เพราะบ้านเป็นสภาพแวดล้อมเบื้องต้น ที่จะมีผลต่อความคิด ค่านิยมทัศนคติในการมองโลก รวมถึงพฤติกรรมและบุคลิกภาพของวัยรุ่น พฤติกรรมของวัยรุ่นจะเป็นผลมาจากการอบรมเลี้ยงดูในบ้าน วัยรุ่นที่มาจากครอบครัวที่อบอุ่น มีแนวโน้มที่จะมีปัญหาน้อยกว่าวัยรุ่นที่มาจากครอบครัวที่แตกแยก พ่อแม่จึงควรทาหน้าที่เอาใจใส่ ดูแล ให้คาปรึกษา เมื่อลูกมีปัญหาโดยต้องเปิดใจกว้าง ยอมรับฟังข้อคิดเห็นของลูก ให้เวลากับลูกให้พอเพียง เพื่อที่ลูกจะไม่ใช้เวลาอยู่กับกลุ่มเพื่อนมากเกินไป พ่อแม่ยังอาจชักนาให้ลูกมีความสนใจในธรรมะ มีศรัทธายึดมั่นในศีลธรรม เพื่อเป็นแนวทางในการดาเนินชีวิต หากวัยรุ่นมีปัญหาในด้านอารมณ์ และสภาพจิตใจก็ควรแนะนาให้ไปปรึกษา จิตแพทย์ นอกจากนี้ ภาครัฐ ควรมีนโยบายสนับสนุนสื่อมวลชนในการนาเสนอเนื้อหาสาระ ที่เป็นตัวอย่างที่ดีมีประโยชน์ต่อสังคมและหลีกเลี่ยงการนาเสนอภาพความรุนแรง เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องทางเพศเพื่อไม่ให้วัยรุ่นหมกมุ่นและจดจาแบบอย่างที่ไม่ดี(พรพิมล เจียมนาคินทร์, 2539)

ปัญหาวัยรุ่นมีหลายด้าน ข้อมูลจากสถาบันราชานุกูล ปี 2549 โดยสรุปแล้วปัญหาวัยรุ่นที่

สำคัญมีดังนี้

1) การบริโภคอาหาร

การบริโภคอาหารของวัยรุ่นในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างสูง คือมีรูปแบบการบริโภคที่ไม่เหมาะสมและถูกต้อง ทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการในวัยรุ่น ได้หลายรูปแบบ ทั้งทำให้การเจริญเติบโตล่าช้า เจ็บป่วยบ่อย สมรรถภาพในการทำกิจกรรมและการเล่นกีฬาด้อยหรือถดถอยลง ข้อมูลจากกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข(2549) สำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยรุ่น พบว่า เด็กวัยรุ่นอายุ 12-18 ปี มีภาวะโภชนาการเกินมาตรฐานร้อยละ10.22 ภาวะโภชนาการต่ำกว่ามาตรฐาน ร้อยละ 4.33 ปัญหาหลักที่พบจากข้อมูลขององค์กรอนามัยโลก ปี 2550 มีดังนี้ 1. Micronutrient deficiency เช่น การขาดธาตุเหล็กจนทำให้เกิดโรคโลหิตจาง คือภาวะที่ร่างกาย มีจำนวนเม็ดเลือดแดงต่ำกว่าปกติ เนื่องจากมีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ที่จะนำไปสร้างเม็ดเลือด และโรคขาดธาตุไอโอดีน โรคขาดวิตามินเอ 2. Macronutrient deficiency เช่น ภาวะของการขาดโปรตีนและพลังงาน เมื่อร่างกายได้รับพลังงานและโปรตีนไม่เพียงพอ ก็จะมีผลต่อการเจริญเติบโตของวัยรุ่น เช่น ตัวเตี้ย ผอมน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์และสติปัญญาการเรียนรู้ซึ่งมักพบในชนบท โดยเฉพาะในถิ่นทุรกันดารสาเหตุสำคัญคือ ขาดความรู้ และมีความยากจน 3. Malnutrition and stunting ภาวะที่ร่างกายได้รับสารอาหารน้อยไปจากปกติส่งผลให้การเจริญเติบโตทางด้านสรีระเจริญไม่เต็มที่จนก่อให้เกิดการแคระแกร็นของร่างกายขึ้น หรือตัวเตี้ยได้ 4.Obesity and other nutrition related chronic diseases ภาวะโภชนาการเกินที่ก่อให้เกิดโรคอ้วนและนำมาซึ่งโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเกาต์โรคมะเร็งเต้านม มดลูกในผู้หญิงและมะเร็งต่อมลูกหมากหรือมะเร็งลำไส้ใหญ่ในผู้ชาย นิ่วในถุงน้ำดี ฟันผุ เป็นต้น รวมทั้งการก่อให้เกิดโรคทั้งทางร่างกายและทางจิตใจด้วย 5. Nutrition in relation to early pregnancy การที่ตั้งครรภ์เมื่ออยู่ในวัยรุ่นของหญิง พบภาวะขาดอาหารเนื่องจากขาดความรู้ทำให้รับประทานอาหารไม่เหมาะสมซึ่งจะส่งผลให้ผลิตน้ำนมได้น้อยและได้ทารกที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์ เป็นต้น

2) การใช้สารเสพติด

2.1) การสูบบุหรี่

วัยรุ่นเป็นเริ่มต้นของพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ โดยเฉพาะการสูบบุหรี่ จากการสำรวจล่าสุดของสำนักงานสถิติแห่งชาติ เมื่อปี 2547 พบว่าเด็กไทยอายุต่ำหกว่า 18 ปี ติดบุหรี่เกือบ 5 แสนคนสิ่งที่น่าเป็นห่วงมากคือ ผลการวิจัยพบว่า การสูบบุหรี่ของวัยรุ่นเกี่ยวกันกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมอื่น ๆ อีกหลายอย่าง ทั้งทำลายสุขภาพและอาจทำลายอนาคตของเยาวชน

2.2) การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

ปัญหาการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในวัยผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ยังเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับวัยรุ่น จากการสำรวจสำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปี 2545 วัยรุ่นร้อยละ 52 นิยมดื่มสุราและเบียร์โดยผู้ชายดื่มมากกว่าหญิง9 เท่า โดยเฉพาะนักดื่มหน้าใหม่ ที่ผู้ผลิตเจาะกลุ่มเป้าหมายที่เด็กผู้หญิง อายุ 13 – 19 ปี มีจำนวนการดื่มสุราเพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า และในการศึกษาการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของนักเรียนภาคกลางพบว่า นักเรียนดื่มในโอกาสพิเศษ เช่นวันเกิด วันขึ้นปีใหม่ ฉลองเทศกาลต่าง ๆ มากที่สุด โดยดื่มกับเพื่อนและดื่มที่บ้านเป็นส่วนใหญ่ และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ที่นิยมดื่มคือ สุราและเบียร์ (รุ่งวิทย์ มาศงามเมือง และคณะ, 2542)

2.3) การใช้ยาเสพติด

การใช้ยาเสพติดเป็นปัญหาที่สำคัญประการหนึ่งของสังคมไทยขณะนี้ ดังจะเห็นได้จากการที่เด็กวัยรุ่นตกเป็นทาสของยาเสพติดในรูปต่าง ๆ นับแต่ ยาบ้า กัญชา จนกระทั่งเฮโรอีน และมีการกระทำที่เป็นอันตรายต่อสังคม เช่น การลักทรัพย์ จี้ปล้น ทำร้ายผู้คนสุจริต เพื่อต้องการแย่งชิงทรัพย์สินเงินทองไปบำบัดความต้องการยาเสพติดของตน หรือมีการตั้งกลุ่มมั่วสุมผู้ที่ติดยาเสพติดด้วยกัน คบคิดกันทำมิชอบก่อกวนความสงบสุขของสังคมตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ยาเสพติดให้โทษหมายถึงสารเคมีหรือวัตถุชนิดใด ๆ ซึ่งเมื่อเสพเข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะโดยรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยประการใด ๆแล้วทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจในลักษณะสำคัญ เช่นต้องการเพิ่มขนาดการเสพเรื่อย ๆ มีอาการถอนยาเมื่อขาดยา มีความต้องการเสพ ทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรงอยู่ตลอดเวลาและสุขภาพโดยทั่วไปจะทรุดโทรมลง กับให้รวมตลอดถึงสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพย์ติดให้โทษดังกล่าวด้วย ยาเสพติดให้โทษ แบ่งเป็น 5 ประเภทเรื่องระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 ดังนี้ ยาเสพติดประเภทที่ 1 ได้แก่ เฮโรอีน แลเอสดี แอมเฟตามีน และอนุพันธ์ทั้งสิ้น 15 ชนิดเป็นต้น ตัวที่สำคัญคือ เมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า) เมทิลีนไดออกซีเมทแอมเฟตามีน หรือ MDMA (ยาอี) และเมทิลีนไดออกซีแอมเฟมามีน หรือ MDA (ยาเลิฟ) เนื่องจากกำลังแพร่ระบาดอย่างรุนแรงในปัจจุบัน ไม่ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์แต่อย่างใดยาเสพติดประเภท 2 เช่น ฝิ่น มอร์ฟีน โคเคนและใบโคคา โคเดอีน และเมทาโดน เป็นต้นยาเสพติดให้โทษประเภทนี้ สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้แต่มีโทษมาก ดังนั้น ต้องใช้ภายใต้ความควบคุมของแพทย์และเฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ยาเสพติดประเภท 3 คือ ยาสำเร็จรูปที่ผลิตขึ้นตามทะเบียนตำราที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขแล้ว มีจำหน่ายตามร้านขายยา ได้แก่ ยาแก้ไอที่มีตัวยาโคเดอีน หรือยาแก้ท้องเสียที่มีตัวยาไดเฟนอกซีน ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน เพทิดีน ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น ยาแก้ปวดที่มีโคเดอีนผสมอยู่ เป็นต้น ยาเสพติดประเภท 4 คือ สารเคมีที่นำมาใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษประเภท 1 และ 2 เช่น น้ำยาเคมี อาเซติดแอนไฮโดรด์ และอาเซติลคลอไรด์ ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอีน สารเออร์โกเมทรีนหรือคลอซูโดอีเฟดรีน ซึ่งใช้ผลิตยาบ้าได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก12 ชนิด ที่ใช้ผลิตยาอีและยาบ้าได้ เป็นต้น ยาเสพติดประเภท 5 ได้แก่ ทุกส่วนของพืชกัญชา ซึ่งให้สาร Terahydrocannabinal ทุกส่วนของพืชกระท่อม ซึ่งให้สาร Alkaloid ของ Mitragynine พืชฝิ่นที่ให้สาร Alkaloid ของ Codeine(Papever bracteatum หรือ Papever Somniferum Linn.) และเห็ดขี้ควาย (Psilocybe cubensis) ซึ่งให้สาร Psilocin หรือ Psilocybin เป็นต้นทั้งนี้สิ่งเสพติดประเภทเครื่องดื่มมึนเมา บุหรี่ สารระเหย ยานอนหลับ ยากล่อมประสาทที่แพทย์ควบคุมการใช้ เป็นสิ่งเสพติดที่ให้โทษต่อร่างกาย แต่ไม่ผิดกฎหมาย

จากการศึกษาของ เลิศลักษณ์ บุญรอด ( 2543) ในนักเรียนมัธยมต้นในโรงเรียนสังกัดกรมสามัญ กรุงเทพมหานคร พบว่า กลุ่มตัวอย่างนักเรียนที่ศึกษา มีพฤติกรรมด้านการใช้สารเสพติดสูงในเรื่องการดื่ม และการคบค้าสมาคมกับบุคคลที่ติดบุหรี่และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สอดคล้องกับผลการศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงของเด็กในเมืองของ นิตยา กัทลีรดะพันธุ์ (2542) ซึ่งได้ศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 6 ในโรงเรียนรัฐบาลซึ่งตั้งอยู่ในเขตเมืองของจังหวัดทั้ง 5 ภาค(ภาคเหนือ – เชียงใหม่ กลาง – อ่างทอง ใต้ – สงขลา ตะวันออกเฉียงเหนือ – นครราชสีมา และกรุงเทพมหานคร) ที่พบว่า ส่วนมากนักเรียนเคยทดลองดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ คือ ไวน์ เบียร์สุรา ร้อยละ 43 40 และ 33 ตามลำดับ รองลงมาคือ ทดลองสูบบุหรี่ ร้อยละ 20 และมีบางคนที่เคยทดลองเสพสารเสพติด เช่น ยาบ้า กัญชา กาว ทินเนอร์ โดยความอยากลองเสพสารเสพติดต่าง ๆ

3) การมีเพศสัมพันธ์

ภาวะเจริญพันธุ์ก่อนวัยอันควรเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานแล้ว โดยเฉพาะสังคมปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนสภาพจากครอบครัวใหญ่ไปเป็นครอบครัวเดี่ยว พ่อแม่จึงไม่มีเวลาดูแลลูก และยิ่งพ่อแม่ที่มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ก็จะไม่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกได้ จึงทำให้อัตราการเจริญพันธุ์ก่อนวัยอันควรของวัยรุ่นเพิ่มมากขึ้น จากการสำรวจเกี่ยวกับพฤติกรรมของประชากรที่ทำลายวัฒนธรรมไทยทั่วประเทศของ สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปี 2550 พบว่า เยาวชนไทยในเขตเทศบาลมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงานร้อยละ 78.3 และนอกเขตเทศบาลร้อยละ 85.4 และจากการศึกษาของพิทยา จารุพูนผลและคณะ (2542) พบว่านักเรียนชายและนักเรียนหญิงมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุน้อยกว่า 16 ปี กับแฟนหรือเพื่อนสนิทเป็นส่วนใหญ่ นักเรียนชายมีประวัติมีเพศสัมพันธ์ร้อยละ 21.2 นักเรียนหญิงร้อยละ 5.6 ยอมรับว่าเคยมีเพศสัมพันธ์กับแฟนหรือคนรักด้วยความสมัครใจ

4) การทะเลาะวิวาท

ปัญหาทะเลาะวิวาทของเด็กวัยรุ่นในสังคมไทยเริ่มรุนแรงขึ้นทุกวันซึ่งบ้างก็มีทั้งที่เป็นข่าวตามหน้าหนังสือพิมพ์ และไม่เป็นข่าว ซึ่งในแต่ละครั้งก็จะมีผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือบาดเจ็บกันทั้งสองฝ่าย ทำให้สร้างความเดือดร้อนกับตัวผู้ก่อเหตุเองและผู้ปกครองของกลุ่มเด็กวัยรุ่น ซึ่งที่ผ่านมีทางหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ก็ได้มีการหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหานี้มาโดยตลอด เพื่อลดและป้องกันการทะเลาะวิวาทของกลุ่มวัยรุ่น ปัญหานี้ได้สร้างความเสียหายทั้งกับตัวนักศึกษาเองและชื่อเสียงของสถาบันอีกด้วย ข้อมูลจากศูนย์เทคโนโลยีและการสื่อสาร หรือ 191 พบว่า สำหรับสถิติการรับแจ้งเหตุที่ศูนย์วิทยุ 191 เกี่ยวกับนักเรียนจับกลุ่มก่อเหตุและกำลังจะก่อเหตุนั้น หากเปรียบเทียบในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา พบว่า ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนมิถุนายน 2552 สถิติการก่อเหตุทะเลาะวิวาทสูงมากขึ้นในทุกกรณี โดยเฉพาะการจับกลุ่มทะเลาะวิวาทของนักเรียนนักศึกษาสน.เพชรเกษม ได้รับแจ้งเหตุนักเรียนก่อเหตุทะเลาะวิวาทมากที่สุด

5) การฆ่าตัวตายและความเครียด

การฆ่าตัวตายถือเป็นปัญหาที่ทวีความสำคัญมากขึ้นเรื่อย ๆ องค์การอนามัยโลกรายงานว่าในแต่ละปีมีคนฆ่าตัวตายประมาณ 400,000 คน หรือประมาณวันละ 1,096 คนและต่อละภูมิภาคมีอัตราที่แตกต่างกันซึ่งเชื่อว่าเกี่ยวข้องกับปัจจัยทางสังคม วัฒนธรรม การเข้าถึงอุปกรณ์หรือเครื่องมือสำหรับใช้ในการฆ่าตัวตาย การฆ่าตัวตายนับเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญ 10 อันดับแรกสำหรับทุกกลุ่มอายุในแทบทุกประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มอายุระหว่าง 15 – 24 ปี การฆ่าตัวตายนับเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตใน 3 อันดับแรก (ประเวช ตันติพิวัฒนสกุล, 2542) สาเหตุสำคัญของการฆ่าตัวตายของวัยรุ่น มาจากปัจจัย 3 ประการ คือ

สาเหตุทางชีววิทยาได้แก่ การเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น มะเร็ง อัมพาต

เอดส์ ฯลฯ และความเจ็บป่วยทางจิตเวช ซึ่งส่วนใหญ่เปน็ ภาวะซึมเศร้า

สาเหตุทางจิตวิทยาได้แก่ ปัญหาบุคลิกภาพและการปรับตัว มักพบในเด็กที่ชอบแยกตัว มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ มองตนเองว่าไร้ค่า ไม่มีความสามารถ มองสังคมรอบตัวว่าขาดความเป็นธรรมและไม่ให้อภัยในความผิดพลาดของตน เกิดความรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง เบื่อหน่ายเศร้าใจ และขาดทักษะในการแก้ปัญหาชีวิต หรือมาจากากรเลี้ยงดูที่มักถูกพ่อแม่ตำหนิ ดุด่าว่ากล่าวและลงโทษอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังพบว่าวัยรุ่นที่มีปัญหาถึงขั้นคิดฆ่าตัวตายมักมีลักษณะดังนี้

(1) มีความสัมพันธ์กับบุคคลเพียงไม่กี่คน แต่เป็นความสัมพันธ์ที่ทุ่มเท ลึกซึ้งและรุนแรง

(2) การแสดงออกทางอารมณ์มักเป็นไปในรูปแบบของ “พฤติกรรม” มากกว่าที่จะเป็นการสื่อสารด้วยคำพูด

(3) วัยรุ่นกลุ่มนี้มักรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมสถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมได้

(4) มีความรู้สึกสิ้นหวัง คิดว่าทุกอย่างจะคงอยู่ในสภาพเลวร้ายดังเดิม

(5) มักมีปฏิกิริยารุนแรงต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ

(6) มีความรู้สึกอ่อนไหวมากกว่าวัยรุ่นทั่วไป

ลักษณะพื้นฐานที่พบได้ในวัยรุ่นที่มีความคิดฆ่าตัวตาย ได้แก่ การมีพื้นฐานในชีวิตที่ไม่

ราบรื่น ทักษะการแก้ไขปัญหาไม่ดี ไม่ประสบความสำเร็จในกิจกรรมต่าง ๆ ตามที่คาดหวัง โดยสิ่ง

ที่เห็นได้ชัดในสังคมไทย คือ เรื่องการเรียน

สาเหตุทางสังคมซึ่งก่อให้เกิดความเครียดในชีวิตอย่างมาก ได้แก่ สภาพ

ครอบครัวที่ปฏิบัติหน้าที่ไม่เหมาะสม เช่น ครอบครัวที่เกิดปัญหาแล้วไม่ยอมพูดจาเพื่อปรับความเข้าใจกันครอบครัวขัดแย้งเรื้อรังแล้วนำลูกมาเป็นกันชน การขาดความเข้าใจในการสื่อสารระหว่างวัยรุ่นกับพ่อแม่ ครอบครัวที่ผลักลูกออกจากระบบครอบครัวเร็วเกินไป หรือวัยรุ่นที่มีปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนฝูง นอกจากนี้ การเป็นสังคมที่เน้นความเป็นตัวเอง เน้นการแก่งแย่งแข่งขันในหมู่เยาวชนทำให้วัยรุ่นเกิดความรู้สึกโดดเดี่ยวและแปลกแยกซึ่งถือเป็นสาเหตุสำคัญทางสังคมของการฆ่าตัวตาย

6) การเกิดอุบัติเหตุ

อุบัติเหตุและการบาดเจ็บเป็นสาเหตุนำการตายของเด็กวัยรุ่น โดยสถาบันการแพทย์ด้าน

อุบัติเหตุและสาธารณภัย ปี 2550 พบว่าร้อยละ 45 ของการตายในวัยรุ่น อายุ 10 – 19 ปี มีสาเหตุจากอุบัติเหตุและการบาดเจ็บ ในจำนวนนี้ร้อยละ 40 เป็นอุบักลุ่มอายุอื่นพบว่ากลุ่มวัยรุ่นอายุ 15 –19 ปี มีความเสี่ยงต่อการตายจากอุบัติเหตุรวมและอุบัติเหตุยานยนต์ทางบกสูงกว่ากลุ่มอื่น ๆ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุในวัยรุ่น ได้แก่ (อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์, 2547)

(1) ความบกพร่องทางร่างกาย ได้แก่ ความพิการของอวัยวะหรือการมีโรประจำตัว ทำให้มีการตอบสนองเชื่องช้า และความบกพร่องทางจิตและอารมณ์ เช่น มีอารมณ์โกรธ แค้นเคือง จะทำให้แสดงออกทางการกระทำที่ไม่ปลอดภัย หรือการเสพยาเสพติดทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจ

(2) พฤติกรรมและนิสัยที่ไม่ปลอดภัย เช่น ความคึกคะนอง ประมาท

(3) การขาดทักษะ ขาดความชำนาญ ขาดความรู้หรือการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่คุ้นเคยกับเทคโนโลยี

(4) เจตคติที่ไม่ถูกต้อง

(5) ความบกพร่องของวัตถุและเครื่องจักรกล เช่น วัสดุอุปกณ์ที่เก่าชำรุด เสื่อมสภาพ

(6) สภาพดินฟ้าอากาศและสิ่งแวดล้อม เช่น ฝนตก แผ่นดินไหว หมอก ควันไฟ เป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ บางครั้งเรียกว่าภัยพิบัติจากธรรมชาติ

(7) ความบกพร่องของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ

7) ปัญหาเด็กติดเกมส์

ปัญหาเด็กติดเกม พบได้บ่อยในครอบครัวไทยปัจจุบันนี้ พ่อแม่หลายคนลำบากใจที่จะบังคับให้ลูกเลิกเล่นเกม เด็กบางคนติดมากจนไม่สนใจการเรียน ผลการเรียนตกลงมากๆ หรือบางคนไม่ยอมไปโรงเรียน ใช้เวลาเล่นเกมที่บ้านทั้งวัน จากรายงานโครงการ Child Watch ในพ.ศ.2549-2550 พบว่า เด็กประถมถึงอุดมศึกษาเล่นเกมร้อยละ 17.5 – 22.8 โดยเด็กยิ่งเล็กยิ่งเล่นเกม

มากกว่าเด็กโตและใช้เวลา เล่นเกมมากกว่า 1 ชั่วโมง/วัน ผลการสำรวจพ่อแม่ผู้ปกครองโดยNECTEC เมื่อ ปี 2000 พบว่าในครอบครัวไทย มีคอมพิวเตอร์ต่ออินเตอร์เนต 27% มีคอมพิวเตอร์ไม่มีอินเตอร์เนต 23% ไม่มีคอมพิวเตอร์ 50% ในครอบครัวที่มีคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 90 ของเด็กใช้งานเป็นประจำ และใชใ้ นกิจกรรมดังนี้ เล่นเกม ร้อยละ 31 ทำการบ้านร้อยละ 20 ท่องเว็บเพื่อความสนุกสนานร้อยละ 13 ใช้ซอฟแวร์เพื่อการศึกษาร้อยละ 11 ค้นข้อมูลร้อยละ 3 การดูแลของผู้ปกครองในการใช้เน็ต ไม่ใกล้ชิดเวลาเด็กใช้เน็ตร้อยละ 45 ไม่รู้ว่าลูก พบเหตุการณ์ไม่เหมาะสมร้อยละ 30 ไม่เคยคุยกับลูกเรื่องเน็ตร้อยละ 20 จากสภาพปัญหาสรุปได้ว่าเด็กและวัยรุ่นใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกมมาก ใช้ในการศึกษาน้อย พ่อแม่ไม่มีเวลาดูแลการใช้คอมพิวเตอร์ของลูก

2.2 สาเหตุของปัญหาวัยรุ่น

ปัญหาวัยรุ่นเป็นปัญหาสังคมที่มีความรุนแรง และจำเป็นที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างรีบด่วน การจะเข้าถึงสาเหตุของปัญหา จึงต้องศึกษาองค์ประกอบอื่น ๆ ของสังคมที่มีผลต่อพัฒนาการด้านบุคลิกภาพ อุปนิสัย ความเชื่อต่าง ๆ ของวัยรุ่นร่วมด้วย ซึ่งสาเหตุของปัญหาอาจพิจารณาได้ดังนี้

2.2.1 สาเหตุจากตัววัยรุ่นเอง

ปัญหาวัยรุ่น มีสาเหตุมาจากตัววัยรุ่นเอง ได้แก่ ความผิดปกติของร่างกาย จิตใจ อันเนื่องมาจากสภาพความเจ็บป่วย ความพิการหรือกรรมพันธุ์ ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บ ความด้อยทางสติปัญญา ซึ่งในแต่ละบุคคลจะแตกต่างกันไป ทำให้ไม่สามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมในสังคมได้ บางครั้งมีแรงผลักดันของสัญชาตญาณ ประกอบกับวัยรุ่นยังไม่บรรลุวุฒิภาวะทางอารมณ์จึงอาจขาดสติความยั้งคิด และขาดความสามารถที่จะต่อต้านไม่ให้เกิดการกระทำที่ไม่เหมาะสม จึงทำให้วัยรุ่นก่อปัญหาขึ้นได้ ดังนั้น จึงสรุปสาเหตุของปัญหาวัยรุ่นที่มีสาเหตุจากตัววัยรุ่น ว่าเกิดจากสาเหตุใหญ่ ๆ 2 ประการได้แก่ ความผิดปกติของร่างกาย และการยังไม่บรรลุวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่

อาจนำไปสู่การกระทำที่ไม่เหมาะสมได้

2.2.2 สาเหตุด้านครอบครัว

ครอบครัวเป็นสถาบันพื้นฐานในการให้ความรักความอบอุ่นแก่สมาชิก มีอิทธิพลต่อการก่อปัญหาของวัยรุ่นทั้งทางตรงและทางอ้อม เนื่องจาก ครอบครัวมีอิทธิพลต่อการคบเพื่อนและการดำเนินชีวิตของวัยรุ่น เป็นแรงผลักดันวัยรุ่นสู่การกระทำที่ไม่เหมาะสม ลักษณะภายในครอบครัวที่มีอิทธิพลต่อการเกิดปัญหาของวัยรุ่น มีดังนี้

1) ครอบครัวที่พ่อแม่อบรมสั่งสอนแบบปฏิเสธ (Parent rejection) มีผลโดยตรงต่อ

พฤติกรรมก้าวร้าวของบุตร (Aggressive) ทำให้เลือกคบเพื่อนมีพฤติกรรมเกเร (Deviant peergroup) และมีความรู้สึกมีคุณค่าในตนเองต่ำ (Low Self-esteem) จึงใช้วิธีการเผชิญปัญหาแบบหลีกหนี (Avoidant coping style) โดยการใช้ยาเสพติดเป็นที่พึ่ง (Mutiple substsnce abuse) ขณะเดียวกันพ่อแม่ที่เป็นแบบอย่างในการใช้ยาเสพติด เช่น การดื่มเหล้า มีผลกระทบโดยตรงต่อวิธีการเผชิญปัญหาของวัยรุ่น เพราะวัยรุ่นเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาของบิดามารดาโดยใช้เหล้า มีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อพ่อแม่ คบเพื่อนมีพฤติกรรมเสี่ยงเช่นเดียวกัน สอดคล้องกับการศึกษาของ แมคเค (Mckay) ศึกษาครอบครัวที่มีปัญหาวัยรุ่น พบว่าครอบครัวมีความบกพร่องด้านบทบาทและการตอบสนองทางอารมณ์ การปฏิบัติหน้าที่ของครอบครัว

2) ครอบครัวที่การสื่อสารล้มเหลวระหว่างสมาชิกในครอบครัว (Failure ofCommunication) การสื่อสารมีผลต่อสัมพันธภาพของครอบครัว ถ้าหากบิดามารดาและวัยรุ่นมีการสื่อสารที่ขาดประสิทธิภาพ บิดามารดาและวัยรุ่นใช้ภาษาที่ต่างกันจะทำให้ความผูกพันกันน้อย เกิดช่องว่างระหว่างวัย ย่อมทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างบิดามารดากับบุตร เนื่องจากในบางครั้งบิดามารดาพูดเฉพาะด้านลบกับบุตร ไม่มีการชมเชยหรือใหก้ ำลังใจเมื่อบุตรทำสิ่งที่ดี มีท่าทีที่คอยจับผิดบุตร พูดแบบจับผิดด่าว่าถากถาง ประชดเชิงยุยงให้บุตรทำความเลวเช่น “ไปเสพยาเสพติดเสียเลยถ้าทำดีไม่ได้” และมีท่าทีปฏิเสธบุตรอย่างมากหรือมักรักบุตรมากเกินไป ปฏิเสธการกระทำความผิดถึงแม้ว่าบุตรกระทำผิดจริงทำเหมือนไม่รู้ไม่เห็น เช่น การแสดงความรู้สึกว่าลูกเป็นเป็นคนดี “ไม่ใช่ลูกฉันที่ติดยาเสพติด” ทำให้บุตรเรียกร้องความสนใจจากบิดามารดาในวิธีที่ผิดด้วยการพูดโกหก ลักขโมย เล่นการพนัน เกโรงเรียน กลับบ้านไม่ตรงเวลาหรือเริ่มใช้ยาเสพติด การสื่อสารแสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดากับวัยรุ่น ถ้ามีการสื่อสารที่ไม่เข้าใจ ไม่มีการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันไม่ค่อยพูดคุยกับลูก ลูกจะไม่กล้าอธิบายปัญหาที่เกิดขึ้น เด็กรู้สึกว่าไม่มีใครรักหรือสนใจตนเอง ไม่กล้าแสดงออกไม่กล้าปรึกษาปัญหากับผู้ปกครองด้วยเช่นกัน

3) ความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่ดี สัมพันธ์ภาพในครอบครัวไม่ดีเป็นสาเหตุของปัญหาวัยรุ่น เรื่องความสัมพันธ์ในครอบครัวของวัยรุ่นที่มีปัญหา พบว่าส่วนใหญ่ครอบครัวไม่กลมเกลียวกัน มารดาเป็นบุคคลไม่บรรลุวุฒิภาวะ อารมณ์ไม่คงที่ บางครั้งแสดงความรักลูกหรือเกลียดลูกส่วนมากมาจากครอบรัวแตกแยกหรือหย่าร้าง ขาดบิดาหรือมารดา บางครั้งขาดทั้งบิดาและมารดาต้องไปอาศัยอยู่กับคนอื่น จากปัญหาในครอบครัวเนื่องจากครอบครัวแตกแยกหรือพ่อแม่อยู่ด้วยกันแต่ไม่มีความปรองดองกัน ทะเลาะกันเป็นประจำทุกวัน ขาดความเอาใจใส่ต่อลูก ไม่มีเวลาอยู่ร่วมกัน ทำให้บุตรขาดคนเอาใจใส่ ขาดความอบอุ่นจากครอบครัว เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย รู้สึกเรียดอยู่ตลอด ไม่อยากกลับเข้าบ้านเพื่อพบกับสภาพดังกล่าว หาทางออกจากบ้านหรือกลับจากโรงเรียนไม่กลับบ้านไปบ้านเพื่อนเพื่อแสวงหาสิ่งทดแทน สอดคล้องกับสภาพภายในครอบครัวเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดคดียาบ้าในสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลาง พบว่า บรรยากาศในครอบครัวมีแต่ความขัดแย้ง บรรยากาศในครอบครัวมีแต่ความขัดแย้ง พ่อแม่และสมาชิกในครอบครัวปฏิบัติต่อกันโดยขาดการใช้เหตุผล ไม่พยายามทำความเข้าใจ แสดงออกมาในลักษณะการทะเลาะกันจนกระทั่งมีการใช้กำลังอยู่เสมอ มีแต่ปัญหา ไม่รักกัน ไม่ใส่ใจกัน ขาดการทำกิจกรรมร่วมกัน ไม่มีการสนทนาพูดคุยกัน ต่างคนต่างมีความเป็นส่วนตัว แยกห่างออกจากกันไม่อาจรู้สารทุกข์สุกดิบของกันและกัน แม้ว่าจะอยู่ใกล้กันแต่ดูเหมือนจะห่างไกลกัน ทำให้เด็กและวัยรุ่นรับรู้ว่าตนเองห่างเหินกัน ขาดความรักต่อกัน เด็กและวัยรุ่น จึงหันความสนใจไปสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ๆ นอกครอบครัว โดยเฉพาะเพื่อนซึ่งเป็นบุคคลที่มีความสำคัญมากเพื่อที่จะแสวงหาความสุขให้กับตนเองชั่วขณะ (วาสนา เกิดผล, 2545)

4) ครอบครัวที่บิดามารดาเป็นแบบอย่างในการใช้ยาเสพติด ไม่เห็นความสำคัญของการเป็นแบบอย่างที่ดีกับบุตร เพราะตนเองยังปฏิบัติในสิ่งไม่ถูกต้องอยู่ การศึกษาพบว่า พ่อแม่ที่ดื่มแอลกอฮอล์ส่งผลถึงรูปแบบการแก้ไขปัญหาแบบหลีกหนีปัญหาของบุตร บุตรจะเรียนรู้วิธีแก้ไขปัญหาเวลาเครียดหรือผ่อนคลายอารมณ์ด้วยการใช้แอลกอฮอล์ของพ่อแม่ บุตรจะเลียนแบบพ่อแม่แล้วเริ่มใช้ยาเสพติดชนิดแรกคือการดื่มแอลกอฮอล์ นำไปสู่พฤติกรรมอื่น ๆ ตามมา การดื่มแอลกอฮอล์ จะทำให้รูปแบบการแก้ไขปัญหาและการสื่อสารไร้ประสิทธิภาพ ไม่มีเวลาเอาใจบุตรทำให้ขาดความมั่นคงและความไว้วางใจในสังคม (ภาวิณี อยู่ประเสริฐ, 2546)

5) ครอบครัวที่บิดามารดาเข้มงวดกับกฎระเบียบมากเกินไป บังคับให้อยู่ในกฎระเบียบบุตรไม่สามารถทำตามความคาดหวังได้ใช้วิธีการลงโทษหรือบางครั้งปกป้องบุตรมากเกินไปเกิดความขัดแย้งในใจ เมื่อเกิดปัญหาบุตรไม่กล้าพูดคุยปรึกษากับบิดามารดา ทำให้ความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่ดี เกิดแรงกดดันทำให้เด็กเกลียดบ้าน ออกไปเผชิญชีวิตนอกบ้าน (ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, 2546) ในทางตรงข้ามครอบครัวที่ตามใจบุตรมากเกินไป ไม่ว่าเด็กต้องการอะไรจะได้รับการตอบสนอง ครอบครัวประเภทนี้จะส่งเสริมให้เด็กมีพฤติกรรมที่ผิดแผกจากมาตรฐานของสังคมได้ เช่น ชอบมีอาวุธปืน ชอบเที่ยวตามสถานเริงรมย์ จ่ายฟุ่มเฟือยจนติดนิสัยไม่รู้จักรับผิดชอบต่อต้านในสิ่งที่พ่อแม่ให้ทำด้วยการทำสิ่งที่ผิดและใช้ยาเสพติดเป็นที่พึ่งเมื่อไม่ได้รับการตอบสนอง(พรพิมล หล่อตระกูลและคณะ, 2543)

6) ครอบครัวที่มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจต่ำ มีรายได้ต่ำและไม่แน่นอน ขาดทั้งปัจจัย 4 และด้อยการศึกษา ขาดทักษะในการประกอบอาชีพ ไม่มีสวัสดิการ บิดามารดาต้องออกไปทำงานนอกบ้านเนื่องจากการมีบุตรหลายคน จึงต้องประกอบอาชีพหาเช้ากินค่ำหรือหากินรายวันทำงานหนักตลอดวัน บางทีลูกก็ต้องช่วยพ่อแม่ทำงานด้วย ทุกคนต้องดิ้นรน รับประทานอาหารและพักผ่อนไม่เพียงพอทำให้อารมณ์เสียง่าย พ่อแม่จึงไม่มีเวลาดูแลบุตรได้อย่างใกล้ชิดและทั่วถึง เลี้ยงบุตรตายถากรรมไม่ได้สั่งสอนชี้แนะแนวทางที่ถูกต้อง เด็กอาจจะไปทำในสิ่งที่ผิดหรืออาจประพฤติชั่วได้นอกจากนี้ความยากจนทำให้มีสภาพที่อยู่อาศัยที่เสื่อมโทรม มีความเป็นอยู่แบบหิวโหย อดอยากตอลดเวลา เกิดการเจ็บป่วยไม่มีเงินที่จะหายามารักษา ปล่อยหายเองตามธรรมชาติ และยังบีบบังคับจิตใจให้วุ่นวายมีความต้องการในเรื่องต่าง ๆ ที่ล่อตาล่อใจ ความสวยงามต่าง ๆ แต่ไม่สามารถซื้อหาได้ จิตใจฟุ้งซ่านไม่สามารถยับยั้งได้ นำสู่การกระทำผิดได้ง่าย เช่น การลักขโมย การค้ายาเสพติดการขายตัว ซึ่งมีรายได้ดีได้เงินมาตอบสนองความต้องการ

7) ครอบครัวที่บิดามารดามีการศึกษาต่ำ ครอบครัวด้อยการศึกษาขาดความเข้าใจที่ถูกต้องที่จะไปสอนลูก บางครั้งมีความรู้ไม่แท้จริงเกี่ยวกับปัญหาวัยรุ่น ไม่รู้ว่าจะสอนเรื่องอะไร ทำให้ขาดความมั่นใจที่จะสอนและอบรมบุตร ไม่สะดวกใจที่สอนบุตรประกอบกับขาดทักษะในการสอน ไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นคุยกับลูกไม่ให้ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดอย่างไรดี ทั้ง ๆ ที่รู้ว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ดีก็ได้เพียงบอกลูกไม่ให้ไปยุ่งเกี่ยวเมื่อรู้ว่ามันไม่ดี ซึ่งขัดต่อธรรมชาติของวัยรุ่นที่ต้องการทดลองจึงลองพิสูจน์

2.2.3 สาเหตุจากสิ่งแวดล้อมทางสังคม

ปัญหาวัยรุ่นอาจเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพของสังคมบกพร่องและมีสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ที่เอื้ออำนวยต่อการเกิดพฤติกรรมที่กระทำผิด ซึ่งสาเหตุด้านปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมจะประกอบไปด้วย

1) การคบเพื่อน วัยรุ่นเป็นวัยที่ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมีความสับสนทางอารมณ์และจิตใจ รวมถึงมีการปรับตัวทางสังคมจึงทำให้เด็กในวัยนี้อารมณ์อ่อนไหวง่าย ขาดความเชื่อมั่นในตนเองและมักจะประสบกับปัญหาในการปรับตัว จากสถิติข้อมูลของสถานพินิจคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดสุพรรณบุรี (2550) พบว่าเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 75 มีอายุอยู่ระหว่าง 15 – 17 ปี รองลงมาร้อยละ 25 เป็นผู้ที่มีอายุระหว่าง 10 – 14 ปี วัยรุ่นต้องการอิสระอยากพึ่งพาตนเอง มีอุดมการณ์ต่าง ๆ ของตนเอง รักเพื่อนมากกว่าพ่อแม่พี่น้อง ดังนั้น เพื่อนจึงเป็นบุคคลอีกลุ่มหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมต่าง ๆ ของเด็ก ถ้าเด็กหรือวัยรุ่นคบเพื่อนไม่ดี มีพฤติกรรมเกเรติดยาเสพติด เล่นการพนันหรือติดในอบายมุขอื่น ๆ ก็อาจชักจูงให้เด็กหรือเยาวชนนั้น ๆ ประพฤติเสียหายหรือเสียคนได้ และถ้าสภาพทางครอบครัวมีปัญหาด้านความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิก พ่อแม่ไม่เข้าใจ ไม่มีเวลาในการอบรมสั่งสอนหรือครอบครัวไม่มีความสุข มีปัญหา ครอบครัวแตกแยก ก็จะเป็นตัวสนับสนุนให้เด็กเห็นความสำคัญของเพื่อนมากขึ้น การกระทำผิดของเด็กจึงอาจเกิดจาการที่เด็กพยายามสร้างสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นรูปแบบวัฒนธรรมของกลุ่ม เพื่อให้เกิดการยอมรับว่าเป็นสมาชิกกลุ่ม

2) สื่อมวลชน ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า สื่อมวลชน หรือสื่อ มีอิทธิพลต่อการพัฒนาทัศนคติ ความเชื่อ ความรู้ ค่านิยมและการแสดงพฤติกรรมของประชากรค่อนข้างมาก สื่ออาจจะเป็นหนังสือพิมพ์ วิทยุโทรทัศน์ ภาพยนตร์ วีดีโอ อินเตอร์เน็ต หนังสือต่างๆ เป็นต้น ทั้งนี้เนื่องจากเครือข่ายการสื่อสารที่ทันสมัย ทำให้สื่อต่าง ๆ เข้าถึงประชาชนทุกเพศทุกวัยได้อย่างกว้างขวางและกลายเป็นปัจจัยหนึ่งที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ส่งผลให้เด็กและเยาวชนได้รับอิทธิพลจากการถ่ายทอดของสื่อต่าง ๆ ด้วย จึงพบว่าสื่อมีอิทธิพลต่อการแสดงพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนมากขึ้นทั้งในด้านความคิด คำพูด การใช้ภาษา กิริยาท่าทางการแต่งกาย หรือแม้แต่พฤติกรรมบางอย่าง จากการศึกษาของเจอร์บเนอร์ พบว่าการกระทำผิดหลายอย่างของเด็กและวัยรุ่น อาจเกิดจากการเลียนแบบภาพยนตร์ที่แสดงถึงความก้าวร้าวโหดร้ายทารุณต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีแก่เด็กและวัยรุ่น ทั้งนี้เนื่องจากเด็กและวัยรุ่นยังมีพัฒนาการด้านวุฒิภาวะทางอารมณ์ไม่เต็มที่ บางครั้งจึงอาจแยกแยะความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมไม่ได้ นอกจากนี้การที่สภาวะเศรษฐกิจบีบคั้นทำให้พ่อแม่ไม่มีเวลาในการอบรมสั่งสอนลูกมากนัก จึงทำให้สื่อ กลายเป็นผู้เข้ามามีบทบาทสำคัญ ในการทำหน้าที่ในการอบรมขัดเกลาทางสังคมสมาชิกแทนสถาบันครอบครัวดังนั้นถ้าผู้ผลิตสื่อขาดความรับผิดชอบต่อสังคมมุ่งหวังแต่กำไรเพียงอย่างเดียวก็อาจเสนอสื่อที่ไม่เหมาะสมได้

3) การศึกษาการอบรมขัดเกลาทางสังคมให้เป็นพลเมืองที่ดีของสังคม นอกจากสถาบันครอบครัวแล้ว โรงเรียนก็เป็นอีกแหล่งหนึ่งที่จะให้การอบรมขัดเกลาทางสังคมแก่เด็กและวัยรุ่น ทั้งในด้านความรู้วิชาการ จริยธรรม หรือความประพฤติ ดังนั้นวิธีการอบรมขัดเกลาทางสังคม ผู้ที่ทำหน้าที่โดยเฉพาะครู จึงเป็นผู้ที่มีความสำคัญในการทำหน้าที่นี้ ครูจึงต้องเป็นผู้ที่มีความประพฤติที่ดีเป็นแบบอย่างแก่เด็กนักเรียนด้วย ไม่กระทำล่วงละเมิดกฎศีลธรรมหรือกฎหมาย และจะต้องพยายามกวดขันเรื่องความประพฤติที่ถูกต้องเหมาะสมของนักเรียนตามที่สังคมยอมรับอยู่เสมอ

4) สภาพแหล่งที่อยู่อาศัย การขาดแคลนที่อยู่อาศัยในสังคมเมือง หรือการมีที่อยู่อาศัยในแหล่งเสื่อมโทรมหรือแหล่งอาชญากรรม ยาเสพติดต่าง ๆ อาจทำให้เด็กและเยาวชนเกิดความคับข้องใจ และถูกชักจูงไปในทางที่กระทำผิดได้ง่าย นอกจากนี้การย้ายที่อยู่อาศัยบ่อย ๆ ก็อาจเป็นผลร้ายต่อเด็กและวัยรุ่นได้ เนื่องจากครอบครัวต้องแยกกันอยู่ เด็ก ๆ ขาดการดูแลเอาใจใส่จากผู้ปกครองอย่างเต็มที่ หรือต้องดูแลตนเองหรือต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานที่อยู่ใหม่บ่อย ๆ ซึ่งจะพบมากในกลุ่มผู้มารับจ้างใช้แรงงาน ครอบครัวคนงานก่อสร้างในเขตเมือง ซึ่งทำให้บุคลิกภาพเด็กบกพร่องได้

5) สถานบันเทิงเริงรมย์และแหล่งอบายมุขต่าง ๆ จะเป็นแหล่งสำคัญในการมั่วสุมของกลุ่มบุคคล ที่มาแสวงหาความผ่อนคลายทางอารมณ์ ดังนั้นในสถานบันเทิงเริงรมย์และแหล่งอบายมุขต่าง ๆ จึงเต็มไปด้วยสิ่งที่เป็นอบายมุขไม่ว่าจะเป็นยาเสพติด ผู้หญิง การพนัน และอื่น ๆ เพื่อให้ผู้มาเที่ยวได้ใช้บริการอย่างเต็มที่ โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กหรือวัยรุ่นได้ ทั้งนี้เนื่องจากมีสิ่งล่อใจให้เด็กและวัยรุ่นเกิดความเพลิดเพลินหลงลืมปัญหาหรือความทุกข์ชั่วคราว จึงติดใจและทำให้อยากเข้าไปเที่ยวอีกบ่อย ๆ เมื่อไม่มีเงินจึงหาเงินโดยการกระทำที่ผิดต่อกฎหมายและอาจนำมาซึ่งปัญหาการกระทำผิดอื่น ๆ อีกด้วย วัยรุ่นจึงมีโอกาสเสียคนได้ง่าย

6) ความประพฤติที่ไม่เหมาะสมของผู้ใหญ่ ความประพฤติที่ไม่เหมาะสมของผู้ใหญ่ ทำให้เด็กเกิดพฤติกรรมเลียนแบบผู้ใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากเด็กและเยาวชนจะดูการกระทำของผู้ใหญ่เป็นตัวอย่าง ถ้าผู้ใหญ่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ติดสุรา ยาเสพติด เล่นการพนัน ทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย มีกิริยาวาจาหยาบคาย ประพฤติผิดศีลธรรม หรือคบเพื่อนอันธพาล ก็จะทำให้เด็กซึมซับการกระทำเหล่านั้นเข้าไปโดยไม่รู้ตัว ซึ่งอาจจดจำไปกระทำและนำไปสู่การกระทำผิดได้ง่าย

ดังนั้น จึงสรุปสาเหตุของการกระทำผิดของวัยรุ่นที่มีสาเหตุจากสิ่งแวดล้อมทางสังคมว่าเกิดจากสาเหตุใหญ่ ๆ 6 ประการได้แก่ การคบเพื่อน การได้รับอิทธิพลจากสื่อ การอบรมขัดเกลาทางสังคมจากสถาบันการศึกษา สภาพแหล่งที่อยู่อาศัย สถานบันเทิงเริงรมย์และแหล่งอบายมุขต่างๆ และการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของผู้ใหญ่เป็นตัวอย่างให้เลียนแบบการกระทำที่ไม่เหมาะสมได้

3. แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับพฤติกรรม

3.1 ความหมายของพฤติกรรม

จากการศึกษาความหมายของพฤติกรรม มีผู้ให้ความหมายไว้ดังนี้

ซิมบาร์โด (อ้างถึงในอารยา มะเขือเทศ, 2550 : 15) ได้ให้ความหมายของพฤติกรรม (Behavior) ไว้ว่า เป็นผลจากการแสดงปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าในสถานการณ์ต่าง ๆ

สงวน สุทธิเลิศอรุณ (อ้างถึงในวลัยพร สกุลทอง, 2551 : 10) ได้ให้ความหมายของพฤติกรรมว่า หมายถึง กิริยา อาการ บทบาท ลีลา ท่าทาง การประพฤติปฏิบัติ การกระทำที่แสดงออกให้ปรากฏ สัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทางใดทางหนึ่งใน 5 ทวาร คือ โสตสัมผัส จักษุสัมผัส ชิวหาสัมผัส ฆานสัมผัส และทางผิวหนังหรือมิฉะนั้นก็สามารถวัดได้ด้วยเครื่องมือ

ไพบูลย์ เทวรักษ์ (อ้างถึงในวลัยพร สกุลทอง, 2551 : 10) กล่าวว่า พฤติกรรม หมายถึง การกระทา การแสดงอาการ หรือ อากัปกิริยาของอินทรีย์ (Organism) ทั้งในส่วนที่เจ้าของพฤติกรรมเองเท่านั้นที่รู้ได้ และในส่วนที่บุคคลอื่นอยู่ในวิสัยที่จะรู้ได้

ชุดา จิตพิทักษ์ (อ้างถึงในฐิตินัน งามสงวน, 2549 : 25) กล่าวว่า พฤติกรรม หมายถึง การกระทำของบุคคลทั้งที่เป็นการแสดงปรากฏออกมาภายนอก และสิ่งที่อยู่ภายในจิตใจของบุคคล ซึ่งไม่สามารถสังเกตเห็นได้โดยตรง เช่น ค่านิยมที่ยึดถือเป็นหลักในการประเมินสิ่งต่าง ๆ ทัศนคติที่เขามีต่อสิ่งต่าง ๆ ความคิดเห็น ความเชื่อ รสนิยมที่เชื่อถือเป็นบุคลิกภาพของบุคคลนั้น ๆ

จากคำนิยามดังกล่าว สามารถสรุปได้ว่า พฤติกรรม หมายถึง กิริยา อาการ บทบาท ลีลา ท่าทาง การประพฤติปฏิบัติ การกระทาที่แสดงปรากฏออกมาภายนอกเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้า ทั้งในส่วนที่เจ้าของพฤติกรรมเองรู้ได้ และในส่วนที่บุคคลอื่นจะรู้ได้

3.2 องค์ประกอบพฤติกรรม

Cronbach (gotoknow.org, ออนไลน์ : 2553) ได้แบ่งองค์ประกอบของพฤติกรรมมนุษย์ออกเป็น 7 ประการ ได้แก่

1) จุดมุ่งหมายของผู้เรียน (Goal) หมายถึงสิ่งที่ผู้เรียนต้องการหรือสิ่งที่ผู้เรียนมุ่งหวัง การเรียนอย่างไม่มีจุดมุ่งหมาย คือไม่ทราบว่าจะเรียนไปทาไม ย่อมจะไม่บังเกิดผลดีขึ้นได้ ครูควรชี้ให้ผู้เรียนเข้าใจถึงจุดมุ่งหมายในการเรียนวิชาต่าง ๆ ว่าคืออะไร เพื่ออะไร

2) ความพร้อม (Readiness) เป็นลักษณะเฉพาะตัวของนักเรียนหรือผู้เรียนแต่ละคนหมายรวมถึงวุฒิภาวะของผู้เรียนด้วย คนที่มีความพร้อมจะเรียนได้ดีกว่าทั้ง ๆ ที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน จึงควรสร้างแรงจูงใจให้เกิดขึ้นกับนักเรียนเพื่อให้เขาพร้อมที่จะเรียนได้

3) สถานการณ์ (Situation) หมายถึง สิ่งแวดล้อมหรือสิ่งเร้าต่าง ๆ ที่มากระทำต่อผู้เรียน เช่น การเรียนการสอน สถานการณ์ต่าง ๆ ฯลฯ คนหรือสัตว์จะเรียนรู้ได้ดีเมื่อได้เข้าไปมีประสบการณ์ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างแท้จริง

4) การแปลความหมาย (Interpretation) เป็นการศึกษาหาลู่ทางในสถานการณ์ที่กาลังเผชิญอยู่เพื่อเข้าไปสู่จุดมุ่งหมาย หรือการวางแผนการกระทาเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย โดยพิจารณานาสิ่งแวดล้อมหรือสถานการณ์มาใช้ให้เป็นประโยชน์ การจะบรรลุจุดมุ่งหมายนั้นอาจมีหลายวิธี และอาจจะมีวิธีหนึ่งที่ดีที่สุด การที่คนจะเลือกวิธีใดนั้นขึ้นอยู่กับความสามารถในการแปลความหมายเป็นสำคัญ

5) ลงมือกระทำ (Action) เมื่อแปลสถานการณ์แล้ว ผู้เรียนจะลงมือตอบสนองสถานการณ์หรือสิ่งเร้าในทันที การกระทานั้นผู้เรียนย่อมจะคาดหวังว่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดที่จะทาให้เขาบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้

6) ผลที่ตามมา (Consequence) หลังจากตอบสนองสิ่งเร้าหรือสถานการณ์แล้ว ผลที่ตามมาคือ อาจจะประสบผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย จะเกิดความพอใจ (Confirm) ถ้าไม่ประสบผลสำเร็จย่อมไม่พอใจ ผิดหวัง (Contradict) ถ้าประสบผลสำเร็จก็จะเป็นแรงจูงใจให้ทากิจกรรมอย่างเดิมอีก ถ้าไม่บรรลุจุดมุ่งหมายอาจหมดกาลังใจ ท้อแท้ที่จะตอบสนองหรือทาพฤติกรรมต่อไป

7) ปฏิกิริยาต่อความผิดหวัง (Contradict) ซึ่งจะกระทำใน 2 ลักษณะคือ ปรับปรุงการกระทำของตนใหม่เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย โดยย้อนไปพิจารณาหรือแปลสถานการณ์หรือสิ่งเร้าใหม่ แล้วหาวิธีกระทาพฤติกรรมที่เหมาะสมเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายปลายทางให้ได้ อีกประการหนึ่ง อาจเลิกไม่ทากิจกรรมนั้นอีก หรืออาจจะกระทำซ้ำ ๆ อย่างเดิมโดยไม่เกิดผลอะไรเลยก็ได้

3.3 การวัดพฤติกรรมมนุษย์

การวัดพฤติกรรม หมายถึง การกำหนดตัวเลขให้กับพฤติกรรมต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแบ่งประเภทของพฤติกรรม การจัดอันดับพฤติกรรมตามความมากน้อย การหาระยะแตกต่างระหว่างพฤติกรรมตามความมากน้อย และการเทียบอัตราส่วนพฤติกรรมตามความมากน้อย

พฤติกรรมของมนุษย์นั้นมีทั้งที่แสดงออกมาให้เห็นอย่างเด่นชัด เช่น การเดิน การวิ่ง หรือการหัวเราะ เป็นต้น และพฤติกรรมที่ไม่แสดงออกมาภายนอก เช่น ความรู้สึก ความคิด หรืออารมณ์ เป็นต้น ดังนั้น ในการวัดพฤติกรรมต่าง ๆ นั้นจาเป็นจะต้องอาศัยวิธีทางตรงและทางอ้อมมาประกอบกัน การที่จะศึกษาพฤติกรรมมีด้วยกันหลายวิธี เช่น การสังเกตพฤติกรรมโดยตรง หรือใช้วิธีวัดพฤติกรรมทางอ้อม เช่น การใช้แบบสัมภาษณ์และการทดสอบด้วยแบบทดสอบ เป็นต้น(ปณิตา นิสสัยสุข, 2552 : 32)

สมจิต สุพรรณทัศน์ (อ้างถึงใน ปณิตา นิสสัยสุข, 2552 : 33) กล่าวถึงการวัดพฤติกรรมไว้ว่ามี 2 วิธี คือ

1) การศึกษาพฤติกรรมโดยทางตรงทำได้โดย

1.1) การศึกษาพฤติกรรมสังเกตแบบให้ผู้ถูกสังเกตรู้ตัว (direct observation) เช่น ครูสังเกตพฤติกรรมของเด็กนักเรียนในห้องโดยบอกให้นักเรียนในชั้นให้ทราบว่า ครูสังเกตว่าใครทำกิจกรรมอะไรบ้างในห้อง การสังเกตแบบนี้บางคนอาจไม่แสดงพฤติกรรมที่แท้จริงออกมาก็ได้

1.2) การสังเกตแบบธรรมชาติ (naturalistic observation) คือการที่บุคคลผู้ต้อง สังเกตพฤติกรรมไม่ได้กระทาตนเป็นที่รบกวนพฤติกรรมของบุคคลผู้ถูกสังเกต และเป็นไปในลักษณะ ที่ทำให้ผู้ถูกสังเกตไม่ทราบว่า ถูกสังเกตพฤติกรรม การสังเกตแบบนี้จะได้พฤติกรรมที่แท้จริงมาก และจะทำให้สามารถนาผลที่ได้ไปอธิบายพฤติกรรมในสถานที่ใกล้เคียงกันหรือเหมือนกัน และการสังเกตต้องทำเป็นเวลาติดต่อกันเป็นจานวนหลายครั้ง พฤติกรรมบางอย่างอาจต้องใช้เวลาสังเกตถึง 20 ปีหรือ 100 ปี

2) การศึกษาพฤติกรรมโดยอ้อม แบ่งออกได้หลายวิธี คือ

2.1) การสัมภาษณ์ เป็นวิธีการที่ผู้ศึกษาต้องซักถามข้อมูลจากบุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งทาได้โดยการเข้าซักถามเผชิญหน้ากันโดยตรง หรือมีคนกลางทาหน้าที่ซักถามให้ก็ได้ เช่น ใช้ล่ามสัมภาษณ์คนที่พูดกันคนละภาษา การสัมภาษณ์เพื่อต้องการทราบถึงพฤติกรรมของบุคคลแบ่งออก 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ การสัมภาษณ์โดยทางตรง ทำได้โดยผู้สัมภาษณ์ซักถามผู้ถูกสัมภาษณ์เป็นเรื่อง ๆ อีกประเภท คือ การสัมภาษณ์โดยอ้อม หรือไม่เป็นทางการ ผู้ถูกสัมภาษณ์จะไม่ทราบว่าผู้สัมภาษณ์ต้องการอะไร ผู้สัมภาษณ์จะพูดคุยไปเรื่อย ๆ โดยสอดแทรกเรื่องที่จะสัมภาษณ์เมื่อมีโอกาส ซึ่งผู้ตอบจะไม่รู้ตัวว่าเป็นสิ่งที่ผู้สัมภาษณ์เจาะจงที่จะทราบถึงพฤติกรรม การสัมภาษณ์ทาให้ได้ข้อมูลมากมายแต่มีข้อจากัดคือบางเรื่องผู้ถูกสัมภาษณ์ไม่ต้องการเปิดเผย

2.2) การใช้แบบสอบถาม เป็นวิธีการที่เหมาะสมสาหรับศึกษาพฤติกรรมของบุคคลเป็นจานวนมาก และเป็นผู้อ่านออกเขียนได้ หรือสอบถามกับบุคคลที่อยู่ห่างไกล อยู่กระจัดกระจายนอกจากนี้ยังสามารถถามพฤติกรรมในอดีตหรือต้องการทราบแนวโน้มพฤติกรรมในอนาคตได้ ข้อดีอีกประการหนึ่งคือ ผู้ถูกศึกษาสามารถที่จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ปกปิด หรือพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ไม่ยอมแสดงออกให้บุคคลอื่นทราบได้โดยวิธีอื่น ซึ่งผู้ถูกศึกษาแน่ใจว่าเป็นความลับและการใช้แบบสอบถามจะศึกษาเวลาใดก็ได้

2.3) การทดลอง เป็นการศึกษาพฤติกรรมโดยผู้ถูกศึกษาจะอยู่ในสภาพการควบคุมตามที่ผู้ศึกษาต้องการ โดยสภาพที่แท้จริงแล้วการควบคุมจะทาในห้องทดลองแต่ในชุมชนการศึกษาพฤติกรรมของชุมชนโดยการควบคุมตัวแปรต่างๆ คงเป็นไปน้อยมาก การทดลองในห้องปฏิบัติการจะให้ข้อมูลมีขีดจากัด ซึ่งบางครั้งอาจนาไปใช้ในสภาพความเป็นจริงไม่ได้เสมอไป แต่วิธีนี้มีประโยชน์มากในการศึกษาพฤติกรรมของบุคคลทางด้านการแพทย์ของตนเอง อาจทำเป็นบันทึกประจาวัน หรือศึกษาพฤติกรรมแต่ละประเภท เช่น พฤติกรรมการกิน พฤติกรรมการทำงาน พฤติกรรมทางสุขภาพ พฤติกรรมทางสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

สรุปปัจจัยพื้นฐานสำหรับพฤติกรรมมนุษย์ คือ หลักการ หรือความรู้ซึ่งช่วยให้เข้าใจ พฤติกรรมมนุษย์ ได้ถ่องแท้ยิ่งขึ้น ปัจจัยพื้นฐานของพฤติกรรม ที่สำคัญได้แก่ ปัจจัยทางชีวภาพ ซึ่งกล่าวถึง อิทธิพลของพันธุกรรม และ การทางานของ ระบบประสาท สมอง ต่อมไร้ท่อ และกล้ามเนื้อที่มีต่อ พฤติกรรม ปัจจัยจิตวิทยา ซึ่งกล่าวถึง แรงจูงใจ และ การเรียนรู้ ที่มีอิทธิพลต่อ พฤติกรรม และปัจจัยทางสังคม ที่กล่าวถึงระบบของสิ่งแวดล้อม กระบวนการสังคมประกิตในครอบครัว และกลุ่มที่มีอิทธิพลต่อ พฤติกรรม กระบวนการทางานของปัจจัยเหล่านี้ทำให้มนุษย์มีความ แตกต่าง ระหว่างบุคคล และอาจแสดงพฤติกรรม ที่แตกต่างกัน ภายใต้สถานการณ์เดียวกัน

4. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

        มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2543 : 45-74) กล่าวถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมวัยรุ่นไว้ว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมีหลายปัจจัยด้วยกัน ทั้งปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยทางจิตวิทยา ปัจจัยทางสังคม และปัจจัยทางกายภาพ

4.1 ปัจจัยทางพันธุกรรม

4.1.1 การถ่ายทอดทางพันธุกรรม เป็นที่ยอมรับกันว่าคนจะมีความแตกต่างกันไม่ว่าจะในด้านของร่างกาย ความต้องการ พฤติกรรม และอื่นๆ ความแตกต่างนี้มาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วยหลายประการ ปัจจัยหนึ่งที่นักจิตวิทยายอมรับว่าทำให้มนุษย์มีความแตกต่างคือพันธุกรรม จนบางคนกล่าวว่า พันธุกรรมเป็นตัวกำหนดสิ่งต่างๆในมนุษย์ แล้วให้สิ่งแวดล้อมเป็นตัวปรุงแต่งสิ่งต่างๆเหล่านั้น

ลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมนี้อาจแตกต่างกันไปได้คือ บางคนลักษณะเด่นของ พ่อแม่อาจจะไม่ปรากฏเด่นชัดในช่วงลูก แต่จะไปปรากฏในช่วงหลานก็มี สาหรับกระบวนการถ่ายทอดนี้ เมนเดล (Mendel) ได้ทาการศึกษาและได้ตั้งเป็นกฎทางพันธุกรรมขึ้นมาเรียกว่ากฎของเมนเดล (Mendel Law)

       4.1.2 ความหมายของการถ่ายทอดพันธุกรรม

การถ่ายทอดทางพันธุกรรม หรือบางครั้งเรียกว่า พันธุกรรมแต่เพียงสั้นๆนั้น หมายถึง การถ่ายทอดลักษณะต่างๆ จากบรรพบุรุษไปสู่บุตรหลาน ได้แก่ การสืบเนื่องลักษณะต่างๆที่เป็นลักษณะเด่นประจาตัว ซึ่งการถ่ายทอดทางนี้เองที่ทำให้มนุษย์มีลักษณะทางร่างกายบางประการแตกต่างกันออกไป สิ่งเหล่านี้ได้แก่ สีของผม สีของผิวหนัง ลักษณะของใบหน้า รูปร่าง กลุ่มเลือดและที่สำคัญคือการถ่ายทอดโรคบางชนิดที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งโรคบางชนิดอาจจะเดนชัดหรือบางชนิดอาจจะซ่อนเร้นอยู่ก็เป็นได้ การถ่ายทอดนี้จะอยู่ในส่วนขอยีนส์ (genes) ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ในโครโมโซม (chromosome) ของพ่อและแม่

      4.1.3 กระบวนการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

กระบวนการถ่ายอดทางพันธุกรรมหรือกระบวนการพันธุกรรมจะเริ่มจากการผสมของตัวอสุจิ ซึ่งเป็นส่วนที่แบ่งแยกจากส่วนของพ่อ มีโครโมโซมจานวน 23 ตัว ไปรวมกับไข่ที่เป็นส่วนแบ่งของแม่ มีโครโมโซม 23 ตัว เช่นเดียวกัน รวมกันเป็นโครโมโซม 46 ตัว และแต่ละตัวจะรวมกันเป็นโครโมโซมใหม่ที่มีลักษณะของพ่อและแม่ อย่างละครึ่ง กลายเป็น 23 คู่ โดยที่โครโมโซม 22 คู่แรกจะเป็นตัวกำหนดหรือถ่ายทอดลักษณะต่างๆที่เป็นส่วนของร่างกายแก่เชลล์ที่เกิดใหม่ ส่วนโครโมโซมคู่ที่ 23 เป็นโครโมโซมที่กำหนดเพศ (sex chromosome)

     4.1.4 ลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

ลักษณะการถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบ่งออกได้เป็น 2 ทาง คือ

1) ทางร่างกายลักษณะการถ่ายทอดทางกายมีหลายลักษณะ เช่น

1.1) สัดส่วนของร่างกาย เช่น ความสูง เตี้ย แต่ในประการนี้ได้มีการพบว่า

การที่พ่อแม่เตี้ยนั้นอาจจะมีลูกสูงได้ โดยการเสริมโภชนาการในระหว่างการตั้งครรภ์หรือการให้อาหารที่เหมาะสมแก่มารดาที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม

1.2) รูปลักษณะทางกาย เช่น ลักษณะของผม ตา โหนกแก้ม สีของตา สีผม และสีผิว

1.3) ชนิดของกลุ่มเลือด ลูกที่เกิดจากพ่อแม่คู่ใดย่อมได้รับการถ่ายทอดชนิดของกลุ่มเลือดจากพ่อแม่คู่นั้น

1.4) เพศ ทารกที่เกิดมาเป็นเพศชายหรือเพศหญิงย่อมขึ้นอยู่กับโครโมโซม คือ เพศชายจะมีโครโมโซม xy เพศหญิงมี xx โครโมโซมนี้ได้แก่ โครโมโซมคู่ที่ 23 ดังกล่าวแล้วข้างต้น

1.5) ความผิดปกติและโรคที่ถ่ายทอดทางยีนส์ ความผิดปกติที่ถ่ายทอดอาจจะติดมากับโครโมโซมส่วนร่างกายในจานวน 22 คู่ หรือในบางครั้งอาจจะติดมากับโครโมโซมคู่ที่ 23 ก็ได้ การถ่ายทอดที่เด่นชัด ถ้าพ่อหรือแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นโรค หรือเป็นพาหะของโรคที่ถ่ายทอดได้ ลูกสาวและลูกชายต่างก็จะเป็นโรคอย่างละครึ่งหนึ่ง เช่น โรคเตี้ยแคระ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงทำให้เกิดอัมพาต และโรคเนื้องอกของประสาทตา เป็นต้น

2) ทางสติปัญญาการถ่ายทอดพันธุกรรมทางสติปัญญา หรือด้านความสามารถทางสมองนั้นเชื่อว่ามีอยู่ด้วย เด็กที่มีบรรพบุรุษเป็นคนมีระดับปัญญาค่อนข้างดีจะมีแนวโน้มว่าจะมีระดับสติปัญญาดีด้วย

     4.1.5 ความสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับพฤติกรรมการแสดงออก

จากเรื่องที่ 4.1.1 ก็ทำให้ทราบแล้วว่าพันธุกรรมเป็นเรื่องกำหนดลักษณะทางกายบางประการของมนุษย์ ทุกคนยอมรับว่า มนุษย์ทุกคนเกิดแล้วต้องตายไป แต่ลักษณะเฉพาะของมนุษย์นั้นจะถ่ายทอดทางพันธุกรรมกันไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด มนุษย์จะมีลักษณะบางอย่างเหมือนพ่อ บางอย่างเหมือนแม่ และในบางอย่างเหมือนกับบรรพบุรุษรุ่นก่อนๆของตน จากการศึกษาทางพันธุกรรมพบว่า ลักษณะการถ่ายทอดหลายประการมีผลโดยตรงต่อพฤติกรรมของมนุษย์ เช่น พฤติกรรมที่เป็นคนเปิดเผย ชอบสังคม หรือเป็นคนเก็บตัว กรรมพันธุ์มีส่วนในการกำหนดด้วยเช่นกัน (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2543 : 51-52 ; อ้างอิงมาจาก Scarr. 1969)

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่า พันธุกรรมนั้นมีส่วนเป็นอย่างมากในการกำหนดในด้านร่างกายของเด็ก ลักษณะทางกายที่เด็กได้รับการถ่ายทอดจากบรรพบุรุษนั้น จะมีผลต่อพฤติกรรมของเด็กเป็นอย่างมาก กล่าวคือ ถ้าลักษณะที่ได้รับการถ่ายทอดเป็นลักษณะที่ดี พฤติกรรมของเด็กก็จะเป็นพฤติกรรมหนึ่ง แต่ถ้าหากลักษณะที่ได้รับการถ่ายทอดที่เป็นลักษณะที่ผิดปกติ เช่น อาจจะเป็นลักษณะที่ผิดปกติของโครโมโซมที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่ ลักษณะที่เรียกว่าดาวน์ซินโดรม(Down Syndrom) ก็จะทาให้เด็กเป็นคนปัญญาอ่อน ลักษณะทางกายจะมีคิ้วชี้ หางตาชี้ขึ้น จมูกเล็ก ช่องปากเล็ก ขนาดลิ้นผิดปกติและอื่นๆ เด็กพวกนี้จะพัฒนาการช้าจึงทำให้พฤติกรรมผิดปกติไปด้วย เป็นต้น

จากการศึกษาของนักจิตวิทยาพบว่า ความผิดปกติทางอารมณ์และสมองส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมด้วย คือจากการศึกษาคนไข้โรคจิตที่เรียกว่าจิตเภท (Schizophrenia) ซึ่งเป็นโรคที่คนทั่วไปจะมีโอกาสเป็นได้ประมาณหนึ่งในร้อย พบว่าคนที่มีพ่อ แม่ หรือญาติพี่น้องที่เป็นโรคนี้มีโอกาสที่จะเป็นโรคนี้ได้ กล่าวคือ การศึกษาได้ทำโดยการนำเด็กที่เป็นโรคนี้ไปเลี้ยงในสถานที่เลี้ยงเด็กที่ห่างไปจากพ่อแม่ ปรากฏว่าเด็กโตขึ้นพบว่า เด็กในกลุ่มประมาณร้อยละ 10 เป็นโรคจิตเภท ในขณะที่กลุ่มควบคุมซึ้งเลี้ยงในสถานที่เดียวกัน แต่พ่อแม่เป็นคนปกติ ไม่มีใครเป็นโรคนี้เลย (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2543 : 52 ; อ้างอิงมาจาก Heston. 1970)

จากการทดลองนี้สรุปได้ว่าพันธุกรรมมีอิทธิพลต่อการเป็นโรคนี้ของเด็กอยู่ด้วย ในด้านของสติปัญญาจากการศึกษาพบว่า ระดับสติปัญญาของเด็กจะมีสหสัมพันธ์กับระดับสติปัญญาของพ่อแม่ประมาณร้อยละ 0.5 ซึ่งค่านี้จะใกล้เคียงกันกับค่าสหสัมพันธ์ของระดับสติปัญญาของพี่และน้อง (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2543 : 52 ; อ้างอิงมาจาก Kagan. 1980)

พันธุกรรมมีส่วนสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแสดงออก เช่น การที่เด็กมีร่างกายแข็งแรงก็มีพฤติกรรมแสดงออกเป็นนักกีฬา ชอบการผจญภัย เหล่านี้เป็นต้น กล่าวโดยสรุปคือ นักจิตวิทยาพบว่าพันธุกรรมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแสดงออกของนักเรียนวัยรุ่นแม้ไม่ทั้งหมดก็ตาม

4.2 ปัจจัยทางจิตวิทยา

           4.2.1 อารมณ์และพฤติกรรมนักเรียนวัยรุ่น

อารมณ์เป็นความรู้สึกที่เกิดจากการที่ร่างกายถูกสิ่งเร้ามากระตุ้น โดยทั่วไปนักจิตวิทยาจะแบ่งประเภทของอารมณ์ออกเป็น 2 ประเภท คือ อารมณ์ทุกข์หรืออารมณ์ที่ก่อให้เกิดความทุกข์ และอารมณ์สุขหรืออารมณ์ที่ก่อให้เกิดความสุข การเกิดอารมณ์ทั้งสองประเภทนี้ ย่อมจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์และพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ทุกวัย ตัวอย่างเช่น นักเรียนวัยรุ่นคนหนึ่งผิดหวังจากเพื่อนทาให้เกิดอารมณ์เครียด และอารมณ์นี้จะมีผลกระทบถึงในเรื่องการเรียน และการแสดงพฤติกรรมทางสังคมที่ไม่เหมาะสมอื่นๆได้อีก เช่น คนก้าวร้าว ก่อการทะเลาะวิวาท เป็นต้น

          4.2.2 ลักษณะสำคัญของอารมณ์ของนักเรียนวัยรุ่น

อารมณ์ของนักเรียนวัยรุ่นมักจะเกิดขึ้นได้ง่าย เร่าร้อน รุนแรง และเปลี่ยนแปลงได้ง่าย นักจิตวิทยาได้เรียกการแสดงออกของอารมณ์ของนักเรียนวัยนี้ว่า วัยพายุบุแคม (Storm and stress) ซึ่งหมายถึงอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ง่าย รุนแรง อ่อนไหว สามารถเปลี่ยนจากอารมณ์หนึ่งไปเป็นอีกอารมณ์หนึ่งได้ค่อนข้างง่ายและรวดเร็ว เกี่ยวกับลักษณะอารมณ์ของนักเรียนวัยรุ่นนี้ ปรียา เกตุทัต (2527 : 192-193) ได้อธิบายไว้ดังนี้

1) มีความรุนแรง บางทีสาเหตุของอารมณ์จะเป็นสาเหตุเพียงเล็กน้อยจะเป็น เช่น การที่พ่อแม่ห้ามเที่ยว หรือห้ามคบเพื่อนบางคน อาจจะทาให้เด็กวัยรุ่นบางคนมีอารมณ์รุนแรงจนถึงกับ คิดฆ่าตัวตาย

2) เปลี่ยนแปลงได้ง่าย อารมณ์ของนักเรียนวัยรุ่นส่วนใหญ่จะไม่คงที่ ไม่สม่ำเสมอ อารมณ์บางอย่างอาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และหายไปได้อย่างรวดเร็ว เช่น อารมณ์โกรธ อารมณ์ดีใจ เป็นต้น

3) ขาดการควบคุมการแสดงออกทางอารมณ์ เมื่อวัยรุ่นมีอารมณ์จะแสดงออกมา อย่างเปิดเผย เช่น การถกเถียง การกระแทกกระทั้น เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามการควบคุมอารมณ์ของนักเรียนวัยรุ่นนี้ขึ้นอยู่กับอายุด้วยกล่าวคือ ถ้าหากอายุมากการควบคุมอารมณ์ก็ยิ่งทาได้มากขึ้น

4) อารมณ์บางชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งอารมณ์ที่เกิดจากความผิดหวัง แม้ในตอนแรกจะแสดงออกอย่างรุนแรง แต่เมื่อนานเข้าแม้จะลดความรุนแรงลงไปก็ตาม แต่อารมณ์นี้จะติดค้างอยู่ในใจของวัยรุ่นอยู่นาน จนบางครั้งทาให้จิตใจเศร้า ว้าเหว่ จนกระทั่งเกิดความเครียดขึ้นได้

          4.2.3 สาเหตุของการเกิดอารมณ์รุนแรงในนักเรียนวัยรุ่น

ดังได้กล่าวตอนต้นแล้วว่า นักเรียนวัยรุ่นนั้นมักจะแสดงอารมณ์ที่รุนแรง วู่วาม และเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดลักษณะเช่นนี้ที 2 ประการ คือ

1) สาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงทางกาย

2) สาเหตุทางสภาพแวดล้อม

1) สาเหตุจากการเปลี่ยนแปลงทางกายสำหรับสาเหตุนี้สามารถแบ่งอกได้ 2 ประการ คือ

1.1) การเปลี่ยนแปลงทางร่างกายรวดเร็ว เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า นักเรียนวันรุ่นเป็นช่วงระยะเวลาที่ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านรูปร่าง สัดส่วน และสรีระภายใน การปฏิบัติงานต่างๆของต่อมไร้ท่อ สิ่งเหล่านี้จะทาให้นักเรียนวัยรุ่นเกิดความวิตกกังวลเกี่ยวกับร่างกายของตน นอกจากนี้วัยนี้ยังเป็นวัยที่ชอบออกกาลังกายและต้องการอาหาร พักผ่อนอย่างพอเพียงด้วย ดังนี้ถ้าหากขาดอาหารหรือได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอแล้วจะทาให้เกิดอารมณ์เสียได้ง่าย

1.2) การเข่าสู่วุฒิภาวะทางเพศหรือสรีระเร็วหรือช้านักเรียนวัยรุ่นที่เข่าสู่วุฒิภาวะ ทางเพศหรือสรีระช้าหรือเร็วกว่าเพื่อนจะทาให้เกดอารมณ์วิตก เพราะเกรงว่าตนเองจะผิดปกติไปจากคนอื่น ทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมได้

2) สาเหตุทางสภาพแวดล้อมจากการศึกษาโดยทั่วไปพบว่า การที่เด็กวัยรุ่นมีอารมณ์รุนแรงนั้น มีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมทางสังคมมากกว่าสาเหตุอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย เพราะวัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ทั้งโรงเรียน เพื่อน และสิ่งอื่น การที่ต้องทาดังนี้ทาให้นักเรียนวัยรุ่นมีความรู้สึกว่าตนขาดความมั่นคง เปลี่ยนแปลงได้ง่าย สาเหตุที่ทาให้นักเรียนวัยรุ่นมีความรู้สึกเช่นนี้มี

2.1) การปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมใหม่ในระยะตอนต้นของวัยรุ่นคือระยะที่นักเรียน เริ่มกาลังเข้าสู่โรงเรียนมัยธมศึกษา เป็นระยะที่เด็กต้องปรับตัวค่อนข้างมาก ความจริงเด็กในระยะนี้ยังต้องการความอบอุ่นและความรักจากพ่อแม่ แต่ในขณะเดียวกันก็พยายามปิดบังสิ่งเหล่านี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่าตนเองเป็นอิสระ และสามารถช่วยตนเองได้เท่าเทียมกับเพื่อนๆ สาเหตุนี้บางครั้งทาให้เด็กกังวล หงุดหงิด ไม่แน่ใจในตนเอง เกรงว่าจะไม่สามารถทาได้ตามที่ผู้ใหญ่มุ่งหวัง

2.2) การปรับตัวทางสังคมต่อเพื่อนต่างเพศ ปัญหานี้นักเรียนวัยรุ่นจะมีความวิตกกังวลเป็นอย่างมากที่จะทาตัวให้เหมาะสมกับเพศตรงข้าม ทั้งในด้านการพูดการวางตัว จนบางครั้งทาให้เกิดความกังวลและเกิดความเครียด หรือเกิดความเครียดในบางครั้ง

2.3) ปัญหาด้านการศึกษาเล่าเรียนการเรียนในระดับมัธยมศึกษาหรือระดับวิทยาลัย เป็นระดับการศึกษาที่นักเรียนวัยรุ่นจะต้องช่วยตนเองมากกว่าการเรียนในระดับประถมศึกษา การเรียนจะต้องใช้ความพยายามมากขึ้น ยิ่งถ้าหากคิดถึงการเลือกเรียนวิชาชีพในอนาคตด้วยแล้ว ก็ยิ่งจะทาให้เกิดความวิตกกังวลมากยิ่งขึ้น กลัวว่าจะไม่มีงานทา กลัวว่าจะได้เงินเดือนน้อย เป็นต้น

2.4) ปัญหาอื่นๆนอกจากนี้ยังมีปัญหาอื่นๆอีกหลายประการ เช่น ปัญหาเรื่องการอบรมเลี้ยงดู สภาพเศรษฐกิจของครอบครัว ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ย่อม มีผลทาให้นักเรียนวัยรุ่นมีอารมณ์รุนแรงได้

          4.2.4 ประเภทของอารมณ์ในนักเรียนวัยรุ่น

อารมณ์ของนักเรียนวัยรุ่นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ

1) อารมณ์ทุกข์

2) อารมณ์สุข

1) อารมณ์ทุกข์เป็นภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นกับบุคคล ในเมื่อความต้องการไม่ได้รับการตอบสนองหรือถูกขัดขวาง สาหรับอารมณ์ทุกข์ของนักเรียนวัยรุ่นมีหลายประการ เช่น ความกลัว ความกังวลใจ ความวิตกกังวล ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความทุกข์โศก และความรู้สึกผิด เป็นต้น

2) อารมณ์สุขมีลักษณะตรงข้ามกับอารมณ์ทุกข์ เป็นที่น่าสังเกตว่าอารมณ์สุขของนักเรียนวัยรุ่นนั้นมักจะได้รับการสนใจจากนักจิตวิทยาหรือนักวิจัยน้อยกว่าอารมณ์ทุกข์ สาหรับอารมณ์สุขในนักเรียนวัยรุ่นมีความรัก และความร้าเริงสนุกสนาน

          4.2.5 ความสัมพันธ์ระหว่างอารมณ์และพฤติกรรมของเด็กนักเรียนวัยรุ่น

เมื่อนักเรียนวัยรุ่นมีอารมณ์รันแรงแล้วแต่ละคนอาจแสดงพฤติกรรมที่แตกต่างกันได้ดังนี้

1) การแสดงอาการตรึงเครียดทางประสาท การแสดงพฤติกรรมประเภทนี้ทาในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป

2) การแสดงอารมณ์ออกอย่างรุนแรง เรียกว่าเป็นการ “ระเบิด” อารมณ์ออกมาก็ว่าได้ การระเบิดอารมณ์คือการที่นักเรียนวัยรุ่นเปลี่ยนแปลงอารมณ์จากอารมณ์หนึ่งเป็นตรงข้ามในเวลาอันรวดเร็วและสมเหตุสมผล

3) ก้าวร้าว ได้แก่ การทะเลาะวิวาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อรวมกันเป็นกลุ่ม พฤติกรรมที่แสดงออกมาค่อนข้างชัด เช่น การยกพวกตีกัน

4) อารมณ์เศร้าหมอง เมื่อผิดหวังนักเรียนวัยรุ่นที่มีอารมณ์อ่อนไหวจะเกิด การเศร้าหมอง และกระทาการอย่างที่ไม่คาดคิดได้ เช่น เมื่อถูกห้ามคบเพื่อนหรือออกนอกบ้าน บางคนอาจแสดงกิริยาเงียบเหงาซึมเศร้า บางคนอาจแสดงกิริยารุนแรงถึงทาร้ายตนเองได้

5) หลบหลีกปัญหา เมื่อเผชิญปัญหานักเรียนวัยรุ่นอาจแสดงออกโดยการไม่รับรู้และหลีกหนีปัญหา ซึ่งกรณีเช่นนี้อาจเป็นอันตรายภายหลังได้ โดยการที่นักเรียนวัยรุ่นไปจินตนาการ หรือสร้างโลกของตนเอง โดยพยายามหลีกหนีความจริง จนในที่สุดหลุดจากความเป็นจริงได้

          4.2.6 บุคลิกภาพและพฤติกรรมนักเรียนวัยรุ่น

บุคลิกภาพเป็นส่วนหนึ่งของมนุษย์ บุคลิกภาพเกิดจากการผสมผสานขององค์ประกอบด้านอื่นๆ อันได้แก่ ทางกาย อารมณ์ สติปัญญา และสังคม นักจิตวอทยากล่าวว่าบุคลิกภาพเป็นผลงานของความคิด ความรู้สึกที่บุคคลมีต่อตนเองโดยประเมินจาก 2 แหล่ง คือ การประเมินจากความคิดของตนเอง และความเข้าใจหรือความรู้สึกที่เจ้าตัวคิดว่าคนอื่นมีต่อตน บุคลิกภาพเป็นลักษณะและพฤติกรรมเฉพาะตัวที่บุคคลแสดงออกหรือตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นบุคคล สังคม หรือเหตุการณ์ต่างๆ

4.2.6.1) องค์ประกอบของบุคลิก

โดยทั่วไปนักจิตวิทยาแบ่งองค์ประกอบของบุคลิกภาพ ออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งสัมพันธ์และเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกัน คือ

1) มโนภาพแห่งตน (relf concept)

2) ลักษณะนิสัย (traits)

1) มโนภาพเป็นแกนหลักของบุคลิกภาพ เป็นแนวคิดหรือความรู้สึกนึกคิดว่าตนเองเป็นใคร เป็นอะไร รัชนี ลาชโรจน์ ได้ให้ความหมายของคาว่ามโนภาพแห่งตนว่า หมายถึงความรู้สึกตอบสนองต่อตนเองในด้านต่างๆ รวมทั้งความรู้สึกเกี่ยวกับนิสัยและคุณสมบัติของตนเองด้วย

มโนภาพแห่งตนแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ตัวตนภายนอก อันได้แก่ รูปร่าง หน้าตา เป็นบุคลิกลักษณะที่มองเห็นได้จากภายนอก ในส่วนนี้นักเรียนรัยรุ่นจะมีความรู้สึกมาก โดยสังเกตเห็นได้ว่านักเรียนในวัยนี้จะพิถีพิถันในด้านรูปร่างหน้าตา พยายามเลียนแบบกันทั้งใน ด้านการแต่งกายและกิริยาท่าทาง ในส่วนที่สองคือตัวตนภายในเป็นส่วนที่เรียกว่าจิต ซึ่งได้แก่ ความรู้สึก ความคิด การรู้แจ้งหรือการรับรู้ เป็นสิ่งที่เรามาสามารถมองเห็นได้ แต่ส่วนนี้เอง จะเป็นตัวบงการให้นักเรียนวัยรุ่นแสดงพฤติกรรมหรือการกระทาของตัวตนภายนอก ทั้งในทางดีและทางชั่ว การพัฒนาตัวตนภายในนี้เกิดจากการเรียนรู้หรือสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนใหญ่

2) ลักษณะนิสัยหรือพฤติกรรมที่บุคคลแสดงออกบ่อยๆลักษณะนิสัยนี้มีต้นกำเนิดมาจากมโนภาพแห่งตน กล่าวคือ คนเราจะมีมโนภาพแห่งตนอย่างไรนั้น ไม่มีใครจะทราบได้จนกว่าบุคคลนั้นจะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมหรือลักษณะนิสัย ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนวัยรุ่นคนหนึ่งมีความคิดว่าตนเองเก่งและมีความสามารถกว่าคนอื่น ก็มักแสดงตนเหนือคนอื่น แสดงกิริยา เป็นต้นท่าทางหยิ่งไม่ยอมใครก็ได้

4.2.6.1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพนั้น ถ้ากล่าวโดยสรุปมี 2 ประการ คือ พันธุกรรม และการเรียนรู้ พันธุกรรมเป็นเครื่องกำหนดตัวตนภายนอก ได้แก่ รูปร่างหน้าตา อันเป็นลักษณะ ทางกาย นอกจากนั้นการมีวุฒิภาวะทางกาย การกระทาของบุคคลภายในครอบครัว การเรียนรู้ จะทาให้บุคคลสามารถสร้างมโนภาพแห่งตนและลักษณะนิสัยขึ้นมาได้ ลักษณะนิสัยส่วนใหญ่เกิดจากการเรียนรู้ แม้จะมีพันธุกรรมเป็นพื้นฐานก็ตาม บุคคลจะพัฒนาส่วนนี้จากการฝึกฝน จากการเอาตัวเองไปเทียบเคียงกับตัวแบบที่เกี่ยวข้อง เช่น เพื่อน คนที่ตนเองยกย่องเทียบเคียงกับตัว เป็นต้น ลักษณะนิสัยของเด็กจะพัฒนาไปเรื่อยตามระดับของวุฒิภาวะและการเรียนรู้

          4.2.7 การแสวงหาเอกลักษณ์แห่งตนแลหะพฤติกรรมที่แสดงออก

วัยรุ่นเป็นวัยที่อยู่ระหว่างเด็กและผู้ใหญ่ แม้ว่าตามสภาพตามร่างกายนักเรียนวัยรุ่นจะมีสภาพใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้ ความรู้สึกนึกคิดบางส่วนยังต้องการเป็นเด็กอยู่คือ ต้องการความรัก ความเอาใจใส่ ต้องการให้ผู้ใหญ่เข้าใจ แต่ในขณะเดียวกันก็มีความต้องการที่จะเป็นอิสระ ต้องการแสดงความสามารถของตน ดังนั้น ในวัยนี้จึงมีความสับสน นักเรียนวัยรุ่นจึงต้องแสวงหาเอกลักษณ์ของตนเองเพื่อให้รู้แจ้งว่า ตนเป็นใคร มีความสามารถด้านใด และมากน้อยแค่ไหน และชีวิตของตนจะดาเนินไปอย่างไร

ในการแสวงหาเอกลักษณ์ของวัยรุ่นนี้จะสามารถแบ่งออกได้ 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 เป็นระยะที่ไม่มีประสบการณ์เพียงพอ ยังไม่ยอมรับเอกลักษณ์ใดๆทั้งสิ้น ระยะนี้ยังอยู่ในระยะที่สับสน พฤติกรรมที่แสดงออกในระยะนี้มีรักสนุก แสดงออกโดยไม่สนใจว่าคนอื่นจะเดือดร้อน พยายามหลีกเลียงสถานการณ์วิกฤตต่างๆ โยการหลีกหนีเลียนแบบคนที่ตนประทับใจ พร้อมที่จะเปลี่ยนความคิด เป็นต้น

ระยะที่ 2 เป็นระยะที่ยอมรับเอกลักษณ์คนอื่น โยการถูกบีบบังคับ เช่น ถูกพ่อแม่ สั่งสอนให้เป็นคนเรียบร้อย ประพฤติดี เป็นต้น พฤติกรรมที่แสดงออกในระยะนี้ได้แก่ การแสดงออกที่ดูเหมือนว่าเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แล้วพยายามหนีทุกสิ่งตามที่ถูกสั่งให้ทา ให้คิดทาในสิ่งที่พ่อแม่พอใจ ไม่ยืดหยุ่น ชอบทาตามค่าสั่ง มีเจตคติที่ดีต่อการศึกษา พยายามลอกเลียนแบบคนที่ตนยกย่อง เป็นต้น

ระยะที่ 3 มีประสบการณ์มาก เป็นระยะที่พยายามหาคาตอบใหม่เพื่อหาเอกลักษณ์ของตนเอง แต่ยังไม่เลือกเอกลักษณ์ที่แน่ชัดของตนเอง พฤติกรรมที่แสดงออกในระยะนี้มี ชอบทดลอง เปลี่ยนใจบ่อย คบเพื่อนต่างเพศมาก ฉาบฉวย ซ้ายจัดหรือขวาจัด ไม่ต้องการให้ใครควบคุม ให้ความร่วมมือกับคนอื่นน้อย เป็นต้น

ระยะที่ 4 เป็นระยะที่มีเอกลักษณ์ของตนเอง หลักการผ่านประสบการณ์และวิกฤติการณ์มามากแล้ว และตัดสินใจที่จะเลือกทางเดินของตนเองแล้วว่าจะดาเนินชีวิตอย่างไร พฤติกรรมของนักเรียนวัยรุ่นนี้จะมีดังนี้ มีความเป็นตัวของตัวเองสูง มั่นคง ยอมรับตัวเอง มีค่านิยมต่างจากพ่อแม่แต่มั่นใจในตนเอง รู้จักตนเอง มีเป้าหมายที่เป็นจริงได้และประเมินได้ เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป วัยรุ่นเป็นวัยที่พยายามจะสร้างบุคลิกภาพของตนเองขึ้นมา ซึ่งในระยะแรกอาจเป็นรูปแบบของการลอกหรือเลียนแบบผู้อื่น การพยายามปรับตัวเข้ากับเกณฑ์ของสังคม และในที่สุดพยายามปรับและสร้างบุคลิกภาพของตนเอง

     4.3 ปัจจัยทางสังคม

          4.3.1 ครอบครัวและพฤติกรรมนักเรียนวัยรุ่น

ครอบครัวถือว่าเป็นสังคมหน่วยย่อยที่สุดซึ่งนักเรียนวัยรุ่นจะต้องเกี่ยวข้องด้าย โดยสังคมทั่วไปจะประกอบด้วยพ่อแม่ ลูก พี่น้อง และญาติ

4.3.1.1 ลักษณะครอบครัวที่ดี

ครอบครัวที่ดีมีลักษณะอย่างไร แต่ละคนอาจจะมองได้หลายด้าน นายแพทย์วิทยา นาควัชระ ได้กล่าวถึงลักษณะครอบครัวที่ดีว่ามีดังนี้ (มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช, 2543 : 61) ลักษณะของครอบครัวที่ดี

1) สมาชิกในครอบครัวมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน จะทาให้เด็กวัยรุ่นปรับตัวได้ดี มีเจตคติที่ดีต่องานที่ทำ

2) พ่อแม่ที่เข้าใจลักษณะธรรมชาติและความต้องการของเด็กวัยรุ่น

3) พ่อแม่ทาตัวเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งนี้เพราะเด็กวัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะรับแบบต่างๆของพฤติกรรมของพ่อแม่

4) ครอบครัวที่มีการเลี้ยงดูแบบประชาธิปไตย ช่วยให้เด็กวัยรุ่นแสดงลักษณะ ความเป็นตัวของตัวเอง มีการปรับตัวทางสังคมที่ดี เด็กเหล่านี้จะฉลาด มีความอยากรู้อยากเห็น มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสนใจกิจกรรมทางสังคม เด็กวัยรุ่นที่มีสัมพันธภาพและปรองดองกับพ่อแม่ของเขา จะมีปัญหานอกบ้านน้อยกว่าวัยรุ่นที่มาจากครอบครัวเผด็จการที่มีการเลี้ยงดูแบบเข้มงวด

5) ครอบครัวที่เปิดโอกาสให้เด็กได้รับคำอธิบาย เปิดโอกาสให้มีคำอภิปรายและตัดสินใจ จะทาให้เด็กวัยรุ่นพัฒนาไปในทางที่ดี

6) คนในครอบครัวสอนให้เด็กวัยรุ่นได้รู้จักสิทธิและหน้าที่

7) ครอบครัวที่มีการอบรมสั่งสอน จะทาให้เด็กวัยรุ่นสามารถเรียนรู้ที่จะปฏิบัติตนตามมาตรฐานต่างๆ ของกลุ่ม

8) พ่อแม่จะมีเจตคติที่ดีต่อบุตรของตนเอง

9) ครอบครัวที่ไม่ใช้มาตรฐานของผู้ใหญ่มาตัดสินพฤติกรรมของเด็ก

10) พ่อแม่ไม่ดุด่า วิจารณ์ หรือทำโทษ เมื่อเด็กมีความอยากรู้อยากเห็น ต้องการจะเป็นผู้ใหญ่ อยากมีอิสรภาพ ในเมื่อลักษณะเช่นนั้นคือธรรมชาติของเด็กวัยรุ่น

11) ผู้ใหญ่ต้องเข้าใจในเรื่องอุดมการณ์ของเด็กที่มีต่อตัวเอง ครอบครัว เพื่อน ชุมชน ตลอดจนประเทศชาติของเขา

12) พ่อแม่ควรตระหนักถึงอารมณ์ของเด็กวัยรุ่น เมื่อเขามีน้องใหม่ในครอบครัว เพราะเด็กวัยนี้อาจจะเจ้าอารมณ์ ฉุนเฉียว มีความลับ ไม่ค่อยร่วมมือ และอาจจะทะเลาะวิวาทกับ พ่อแม่

4.3.1.2 อิทธิพลของครอบครัวที่มีต่อพฤติกรรมวัยรุ่น

ในสภาพของครอบครัวปัจจุบันจะมีลักษณะครอบครัวที่เป็นขนาดเล็ก ประกอบด้วย พ่อแม่และลูกเท่านั้น ปัญหาที่มักจะเผชิญอยู่ในครบครัวประเภทนี้ โดยเฉพาะครอบครัวที่อยู่ในเมืองก็คือการที่พ่อแม่ไม่มีเวลาให้กับลูก กล่าวคือ ตอนเช้าต่างคนก็ต่างรีบออกจากบ้านเพื่อไปทางานและเรียนหนังสือ กว่าจะกลับบ้านก็เป็นเวลาเย็น โอกาสที่จะได้พบปะสนทนากันก็มักจะเป็นวันหยุดเท่านั้น แต่ถ้าเป็นพ่อแม่ที่มีกิจกรรมอื่นทางสังคมก็จะทาให้ลูกยิ่งต้องอยู่ตามลาพังมากขึ้น

นักเรียนวัยรุ่นที่มีครอบครัวที่อบอุ่นเป็นประชาธิปไตยจะทาให้เป็นคนที่มีเหตุผล กล้าตัดสินใจโดยอาศัยเหตุผลประกอบ มีความเชื่อมั่นในตนเอง พฤติกรรมที่แสดงออกเป็นพฤติกรรมที่สังคมยอมรับ

นักเรียนวัยรุ่นที่ขาดความอบอุ่น หรือพ่อแม่ที่มีความเข้มงวดมากเกินไป หรือครอบครัวที่ขาดพ่อหรือแม่ จะทำให้แสดงพฤติกรรมหลายประการที่สังคมไม่ยอมรับ เช่น ก้าวร้าว เกเร ติดยาเสพติด หรือถูกเพื่อนชักจูงไปในทางที่เสื่อมเสีย การตัดสินใจหรือการแสดงพฤติกรรมต่างๆเป็นไปโดยอิทธิพลของเพื่อนมากกว่าครอบครัว นอกจากนั้น จากการศึกษาของพอร์ทแมน พบว่าเด็กวัยรุ่นชายที่มาจากครอบครัวที่ขาดพ่อได้คะแนนทางค่านิยมและศีลธรรมต่า แต่เป็นคนที่อยู่ในกรอบของระเบียบมากกว่าเด็กที่มาจากครอบครัวที่มีพ่ออยู่ด้วย (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2543 : 61-62 ; อ้างอิงมาจาก Hotman. 1971)

ถ้าจะสรุปประเด็นของอิทธิพลที่มีต่อพฤติกรรมของนักเรียนวัยรุ่นจะได้ดังนี้

1) บรรยากาศภายในครอบครัวพ่อแม่ที่เป็นประชาธิปไตย ยอมรับฟังความคิดเห็นของลูก จะทาให้ลูกมีความอบอุ่น กล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น ลูกก็มีความสุข รักครอบครัว พฤติกรรมที่แสดงออกก็จะเป็นพฤติกรรมไปในทางที่ดี ตรงข้ามกับครอบครอบครัวที่เลี้ยงดูลูกอย่างเข้มงวด เต็มไปด้วยกฎระเบียบต่างๆ ลูกก็ทีพฤติกรรมไปในทางที่เก็บกด ไม่พยายามแสดงความคิดเห็น หลีกหนีไม่ยอมพบหน้าพ่อแม่ เบื่อครอบครัว จนบางครั้งอาจคบเพื่อนเกเร เสพยาเสพติด ก็เป็นได้

2) การอบรมเลี้ยงดูพ่อแม่ที่คอยให้กาลังใจ ใส่ใจตามที่จำเป็น ลูกก็จะแสดงพฤติกรรมที่ดี แต่ถ้าหากทางบ้านขาดความอบอุ่น นักเรียนวัยรุ่นก็จะพยายามหาเพื่อนนอกบ้าน ซึ่งในบางครั้งถ้าได้เพื่อนที่ไม่ดี อาจทาให้เป็นคนมีปัญหาได้

3) ต้นแบบของพ่อแม่พ่อแม่และลูกจะต้องอยู่ด้วยกันเกือบตลอดเวลา ดังนั้นพ่อและแม่ควรจะเป็นต้นแบบที่ดีของลูกได้ นักเรียนวัยรุ่นเป็นวัยที่แสวงหาเอกลักษณ์ของตนเองที่ได้ กล่าวมา ดังนั้นจึงพยายามหาต้นแบบที่ตนเห็นว่าดีหรือเหมาะสมตามความรู้สึกของตนเอง พ่อแม่อยู่ใกล้ชิดโอกาสที่นักเรียนวัยรุ่นจะเลียนแบบจึงมีมาก ตัวอย่างเช่น นักเรียนวัยรุ่นที่พ่อแม่ชอบอยู่บ้าน อ่านหนังสือ นักเรียนวัยรุ่นก็คนรักบ้าน รักการอ่านตามพ่อแม่ไปด้วย แต่ถ้าพ่อแม่ที่ชอบเที่ยวและชวนลูกออกเที่ยวกินอาหารนอกบ้านบ่อยๆ นักเรียนวัยรุ่นก็มีโอกาสที่จะติดพฤติกรรมนั้นได้

          4.3.2 โรงเรียนและพฤติกรรมนักเรียนวัยรุ่น

โรงเรียนเป็นสถาบันที่นับว่ามีอิทธิพลต่อนักเรียนวัยรุ่น เป็นแหล่งที่ส่งเสริมให้นักเรียนวัยรุ่นมีพัฒนาการทางสติปัญญา ความสามารถ และสังคมเป็นอย่างมาก โรงเรียนมีหน้าที่จัดประสบการณ์ทางตรงในการเพิ่มพูนความรู้ เจตคติ และทักษะบางประการให้นักเรียนโดยตรง โดยการจัดหลักสูตรการสอนวิชาต่างๆให้แก่นักเรียน และในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมให้นักเรียนมีประสบการณ์ต่างๆโดยทางอ้อม โดยการจัดให้เข้าร่วนในชมรมหรือกิจกรรมเสริมหลักสูตรต่างๆ

4.3.2.1 บทบาทหน้าที่ขององค์ประกอบของโรงเรียน

โรงเรียนมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ผู้บริหาร ครู เพื่อน และบุคลากรอื่น องค์ประกอบทั้งสี่นี้มีบทบาทสำคัญต่อพฤติกรรมนักเรียนวัยรุ่นเป็นอย่างมาก ในที่นี้จะขอจำแนกบทบาทหน้าที่องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องดังนี้

1) ผู้บริหารโรงเรียนผู้บริหารโรงเรียนมีหน้าที่รับผิดชอบกิจกรรมทั้งปวงของโรงเรียน เป็นผู้ริเริ่มสนับสนุน และตรวจสอบการทางานของโรงเรียน ผู้บริหารโรงเรียนที่ดี ควรจะมีแนวในการดำเนินงานหรือหลักในการจัดโรงเรียนตามแนวดังนี้

1.1) โรงเรียนที่ดีควรจะจัดหลักสูตรการสอนที่สามารถความต้องการและ ความสนใจของนักเรียนวัยรุ่น คือจะต้องเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนสามารถกำหนดปรัชญาและอุดมการณ์ชีวิต ที่สอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรมที่ตนเป็นสมาชิกอยู่

1.2) จากข้อเท็จจริงส่วนใหญ่จะปรากฏว่านักเรียนวัยรุ่นมักจะเป็นคนมีเหตุผล ชอบสิ่งที่สามารถพิสูจน์ได้ ดังนั้นการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน จึงควรใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้เรียนสามารถพิสูจน์ได้ เนื้อหาสอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเฉพาะอย่างยิ่งส่งเสริมให้นักเรียนวัยรุ่นมีโอกาสพัฒนาตามความสามารถและความถนัดของตน

1.3) หลักสูตรการสอนที่ดีควรจะไม่มีการขัดหรือแย้งกับการดำเนินการทางชีวิตของครอบครัวของนักเรียนวัยรุ่น

1.4) กิจกรรมเสริมหลักสูตรควรจัดขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนวัยรุ่นสามารถตัดสินใจได้ด้วยตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์ และสามารถทางานกับกลุ่มได้เป็นอย่างดี

2) ครู

2.1) ครูจะต้องเป็นผู้ที่เข้าใจธรรมชาติของนักเรียนวัยรุ่นเป็นอย่างดี เข้าใจถึง ความต้องการและความสนใจของนักเรียนวัยรุ่น และในขณะเดียวกันก็ควรจะเป็นผู้ที่ความสามารถที่จะถ่ายทอดมีความรู้ ช่วยแนะนาในการเรียนการทางานของนักเรียนวัยรุ่นได้

2.2) ครูควรจะเป็นแบบอย่างที่ดีของนักเรียนวัยรุ่นได้ในทุกด้าน

2.3) ครูควรจะเป็นที่ปรึกษาของนักเรียนวัยรุ่นได้และพยายามดูแลเอาใจใส่ โดยที่ไม่เป็นการควบคุม และรุกรานเสรีภาพทั้งในด้านความคิดและการกระทาของนักเรียนวัยรุ่น

2.4) ครูที่สอนนักเรียนวัยรุ่นควรจะมีเจตคติที่ดีต่อนักเรียนวัยรุ่น มั่นใจในความสามารถความคิดอิสระ แต่ในขณะเดียวกันก็จะต้องให้ความรักและความอบอุ่นไปด้วย เพื่อให้นักเรียนวัยรุ่นเกิดพลังใจ และความเชื่อมั่นในตนเอง

กล่าวโดยสรุป โรงเรียน ครู และวัยรุ่นควรจะมีบทบาทที่สอดคล้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน ครูควรจะสนับสนุนวัยรุ่นมีพฤติกรรมที่เหมาะสม ส่งเสริมให้มีความคิดอิสระ สร้างสรรค์ สร้างบรรยากาศที่ดี

3) เพื่อนประสบการณ์ที่วัยรุ่นมีกับเพื่อนร่วมโรงเรียนนั้น มีอิทธิพลต่อการแสดงออกทางพฤติกรรม การจัดที่นั่งในห้องเรียนของครู การจัดกิจกรรมต่างๆเหล่านี้มีผลต่อการคบเพื่อนของนักเรียนวัยรุ่นเป็นอย่างมาก

เมื่อนักเรียนวัยรุ่นเรียนชั้นสูงขึ้นไป ความสัมพันธ์กับครูจะยิ่งน้อยลง แต่ความสัมพันธ์กับเพื่อนจะยิ่งมีมากขึ้น ดังนั้น พฤติกรรมที่แสดงออกจึงเป็นไปตามเพื่อนมากกว่าครู เพื่อนมาส่วนช่วยสนับสนุนและประคบประคองตัวเขาประพฤติดีงามตามความคาดหวังของสังคมไปด้วย แต่มีนักเรียนวัยรุ่น บางคนที่โชคร้ายบังเอิญไปคบกับเพื่อที่ไม่ดีเข้า เพื่อนก็จะชักนาเข้าไปสู่ความตกต่ำและล้มเหลวด้วยกัน ด้วยตุนี้พ่อแม่และครูจานวนมากจึงมีความหวาดวิตกกับอิทธิพลในทางที่ไม่ดีของกลุ่มเพื่อนที่มีผลต่อบุตรหลานหรือลูกศิษย์ในความดูแลของตน และต่างก็ปรารถนาที่จะเห็นวัยรุ่นในความดูแลรับผิดชอบของตนคบกับเพื่อนที่ดี

ได้มีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนที่มีต่อวัยรุ่นในหลายด้านตัวอย่างเช่น ไบลท์และทีล (Blyth and Thiel. 1982 : 425-450) โดยข้อค้นพบจากการสำรวจพบว่า นักเรียนวัยรุ่น กลุ่มเพศเดียวกันและเรียนชั้นเดียวกันกับเขามีความสำคัญกับเขาต่อใครๆทั้งหมด ซึ่งก็สอดคล้องกับรายงานการประชุมสัมมนาชาติเรื่องเด็กและเยาวชนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่ได้เสนอผลการศึกษาค้นคว้าว่า เยาวชนไทยทั้งหญิงและชายร้อยละ 85 มีความเห็นที่จะยอมรับและคล้อยตามกลุ่มเพื่อน และเมื่อมีปัญหาหรือไม่สบายใจ พวกเขาจะยึดเอากลุ่มเพื่อนเป็นที่พึ่งเป็นที่ปรึกษาอันดับแรก

นอกจากนี้ จากการศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนที่มีต่อวัยรุ่นของบริทเทน (Brittain. 1963 : 358-391) ยังได้ข้อข้นพบอีกว่า กลุ่มเพื่อนที่มีอิทธิพลต่อวัยรุ่นมากในด้านการแต่งกาย รสนิยมทางดนตรี และการเลือกทากิจกรรมในยามว่าง

ในเรื่องนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดเกี่ยวกับประเภทของอิทธิพลของกลุ่มเพื่อน กระบวนการอิทธิพลของกลุ่มเพื่อน และอิทธิพลขอลกลุ่มเพื่อนที่มีต่อนักเรียนวัยรุ่น ดังต่อไปนี้

4.3.2.2 ประเภทของอิทธิพลของกลุ่มเพื่อน

สปรินท์ฮอลล์ และ คอลลินส์ (Sprinthal and Collins. 1984 : 269) ได้แบ่งอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทให้ข้อมูล (information influence) และให้เอาอย่างประเภทให้เอาอย่าง (normative influence) ดังมีรายละเอียดซึ่งสรุปได้ดังนี้

1) อิทธิพลประเภทให้ข้อมูลกลุ่มเพื่อนจะทำหน้าที่เสมือนเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ให้แก่สมาชิกของกลุ่มเกี่ยวกับ แนวทางประพฤติปฏิบัติตน เจตคติ ค่านิยม และผลของการกระทำ เช่น

กลุ่มเพื่อนของสุดามีรสนิยมดีด้วยการแต่งกายด้วยเสื้อผ้าและเครื่องประดับสีดา-ขาว สุดาจึงรู้แนวทางในการที่จะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าและเครื่องประดับสีดา-ขาว ให้ดูดีบ้าง

2) อิทธิพลประเภทให้เอาอย่างกลุ่มเพื่อนจะพยายามใช้ความกดดันทางสังคม เพื่อให้ สมาชิกของกลุ่มประพฤติปฏิบัติตามอย่างปทัสถานของกลุ่ม เช่น สุดาจะได้รับการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน เมื่อเธอแต่งกายด้วยเสื่อผ้าและเครื่องประดับสีดา-ขาว แต่ถ้าสุดาไม่แต่งกายเหมือนอย่างสมาชิกในกลุ่มเพื่อนคนอื่นๆ เธอก็จะไม่ได้รับการยอมรับ หรืออาจถูกผลักไสออกจากกลุ่ม

4.3.2.3 กระบวนการใช้อิทธิพลของเพื่อนกลุ่ม

การใช้อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนมีกระบวนการสำคัญ 2 ประการ ซึ่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน คือ การเปรียบเทียบทางสังคม (social comparison) และการคล้อยตาม (conformity) ดังรายละเอียดต่อไปนี้

1) การเปรียบเทียบทางสังคมคือกระบวนการที่วัยรุ่นใช้พฤติกรรมและทักษะของกลุ่มเพื่อนมาเป็นมาตรฐานในการเปรียบเทียบหรือประเมินตนเอง การเปรียบเทียบทางสังคมปรากฏได้อย่างเด่นชัดในวัยรุ่นมากกว่าวัยอื่น ทั้งนี้เพราะวัยรุ่นต้องการเสมอหน้า หรือดูดีเมื่อเปรียบเทียบกับเพื่อนในกลุ่มของเขา ผลที่เกิดจากผลการเปรียบเทียบทางสังคมมีทั้งที่เป็นผลดีและผลเสียต่อวัยรุ่น

2) การคล้อยตามคือกระบวนการที่วัยรุ่นยอมรับเอาเจตคติ และพฤติกรรมของกลุ่มเพื่อนมาปฏิบัติตามอันเป็นผลเนื่องมาจากความกดดันของกลุ่ม การคล้อยตามกลุ่มเพื่อนยิ่งจะมีมากขึ้นเมื่อวัยรุ่นคบกับเพื่อนนานๆ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2543 : 236 ; อ้างอิงมาจาก Kandel. 1978 : 427-430) ตัวอย่างพฤติกรรมของวัยรุ่นที่คล้อยตามกันได้แก่ การแต่งกาย ทรงผมและภาษาพูดของวัยรุ่นซึ่งมีลักษณะเฉพาะประจากลุ่ม ที่สมาชิกในกลุ่มประพฤติปฏิบัติตามอย่างกัน โดยไม่มีการคำนึงว่าการแสดงออกของเขาขัดกับสายตาหรือความรู้สึกกับผู้อื่นหรือไม่ ขอแต่เพียงพฤติกรรมของเขาเป็นที่ยอมรับและยกย่องของสมาชิกใน กลุ่มเขาก็พอใจแล้ว

4.3.2.4 อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนที่มีต่อวัยรุ่น

กลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลต่อนักเรียนวัยรุ่นหลายด้านและ มีผลทั้งทางที่ดีไม่ดี ในการศึกษาในครั้งนี้จะขอกล่างถึงอิทธิพลของกลุ่มเพื่อนที่มีต่อนักเรียนวัยรุ่น 3 ด้าน คือ ด้านการเรียน ด้านการเตรียมตัวประกอบอาชีพ และด้านการครองตนในสังคม ดังต่อไปนี้

1) อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนที่มีต่อการเรียนของนักเรียนวัยรุ่นกลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลต่อการเรียนของนักเรียนวัยรุ่นในหลายด้าน ที่สำคัญที่จะยกมากล่าวถึงในที่นี้ ได้แก่ อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนเกี่ยวกับเจตคติต่อการเรียน และพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนวัยรุ่น ดังตัวอย่างต่อไปนี้

ถ้านักเรียนวัยรุ่นคบเพื่อนที่มีลักษณะเรียกกันว่า “พวกคงแก่เรียน”คือมีเจตคติที่ดีต่อการเรียน เห็นคุณค่าและความสำคัญของการเรียน กลุ่มเพื่อนก็จะชักนาให้สนใจติดตามวิชาความรู้ที่ครูอบรมสั่งสอน เอาใจใส่ต้องการขวนขวายแสวงหาความรู้เพิ่มเติม มีความขยันและอดทนพยายามเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเรียน ดังนั้น สมาชิกในกลุ่มเพื่อนพวกคงแก่การเรียนจึงมีแนวโน้ม ที่จะประสบความสำเร็จทางการเรียนสูง

ถ้านักเรียนวัยรุ่นคบเพื่อนที่มีลักษณะเรียกกันว่า “พวกแก่กิจกรรม”คือ เห็นความสำคัญของความสนุกสนานและความบันเทิงใจมากกว่าความสำคัญของการเรียน กลุ่มเพื่อนก็ชักนากันให้หลบหลีกการศึกษาเล่าเรียนเพื่อไปแสวงหาความสนุกสนานเพลิดเพลิน ด้วยการเที่ยวเตร่ตามห้างสรรพสินค้า หรือตามสถานเริงรมย์ ฯลฯ ดังนั้น สมาชิกในกลุ่มเพื่อนพวกแก่กิจกรรมจึงไม่ค่อยประสบความสำเร็จทางการศึกษานัก หากไม่ได้รับคาแนะนาและช่วยเหลืออย่างเหมาะสมจากพ่อแม่และครูได้ทันเวลาเพราะนักเรียนวัยรุ่นที่คบเพื่อนเช่นนี้จะไม่สนใจเรียนไม่ให้เวลาในการทาการบ้าน และทบทวนบทเรียน ในที่สุดเมื่อเบื่อเรียนหนักเข้าก็จะสอบตก แล้วก็อาจจาเป็นต้องเลิกเรียน ด้วยเหตุนี้ เมื่อระพินทร์ โพธิ์ศรี (ระพินทร์ โพธิ์ศรี. 2521) ศึกษาถึงสาเหตุของการสอบตกของนักเรียนมัธยมศึกษา จึงได้พบว่า สาเหตุของการสอบตกที่สำคัญส่วนหนึ่งเกิดจากคบเพื่อนซึ่งมีอิทธิพลต่อการเรียนของนักเรียน

อิทธิพลของเพื่อนที่มีต่อการเรียนของนักเรียนวัยรุ่น ยังครอบคลุมถึงการตัดสินใจที่สำคัญต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเรียน เช่น การเลือกวิชาเรียนและแผนการเรียน การเลือกสาขาวิชาและสถานศึกษาเพื่อการเรียนต่อขั้นสูง เป็นต้น นอกจากนี้ เจตคติที่นักเรียนมีต่อครูและต่อโรงเรียน ยังได้รับอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อนที่คบกันอีกด้วย (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2543 : 238 ; อ้างอิงมาจาก Kandel. 1978)

2) อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนที่มีต่อการเตรียมตัวประกอบอาชีพของนักเรียนวัยรุ่นกลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลต่อการเตรียมตัวประกอบอาชีพของนักเรียนวัยรุ่นในหลายด้าน เช่น ด้านการเลือกอาชีพ และด้านความต้องการประกอบอาชีพดังที่ ชิมพ์ชัน (Simpson. 1962 : 517-522) ที่ได้ศึกษาพบว่าวัยรุ่นที่คบกับกลุ่มเพื่อนที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและ สังคมระดับปานกลาง มีความต้องการประกอบอาชีพที่ต้องใช้ทักษะและความสามรถในระดับสูงมากกว่าวัยรุ่นที่คบกับกลุ่มเพื่อน ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากครอบครัวที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมระดับต่ำา นอกจากนี้แล้ว กลุ่มเพื่อนยังมีอิทธิพลสำคัญต่อเจตคติและค่านิยมต่ออาชีพ และประสบการณ์ทางอาชีพของนักเรียนวัยรุ่นอีกด้วย ดังจะขอเสนอตัวอย่างที่เด่นชัดต่อไปนี้

ถ้านักเรียนวัยรุ่นคบเพื่อนที่มีลักษณะเรียกกันว่า “พวกหนักเอาเบาสู้”คือ ไม่เลือกงานและทำได้ทุกรูปแบบที่เป็นงานสุจริต โดยไม่เกี่ยงว่าเป็นงานหนักหรืองานเบา งานแบกหามหรือ งานตั้งโต๊ะ งานรับจ้างหรืองานราชการ นักเรียนวัยรุ่นกลุ่มนี้ย่อมมีแนวโน้มที่จะไม่ว่างงาน เช่น เมื่อมีเวลาว่างจากการเรียน พวกเขาก็จะหาทางทำงานเพื่อเพิ่มพูนรายได้ หรือเพิ่มพูนประสบการณ์ทางอาชีพ เราจึงเห็นนักเรียนวัยรุ่นที่คบเพื่อนพวกหนักเอาเบาสู้ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยการทางานหลายรูปแบบ อาทิ ให้บริการรับตัดหญ้าและตกแต่งสวน ขายเสื้อผ้าและเครื่องประดับ ประดิษฐ์งานหัตถกรรม และขายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับสำหรับขาย เป็นต้น

ในทางตรงกันข้ามถ้านักเรียนคบเพื่อนที่มีลักษณะ “หนักไม่เอาเบาไม่สู้”หรือ “เจ้าสำราญ” คือ พวกที่ไม่มีเป้าหมายในการประกอบอาชีพ รักแต่ความสะดวกสบายหรือเห็นว่า การทำงานในวัยเรียนเป็นสิ่งที่น่าอับอาย และไม่สู้งาน ฯลฯ นักเรียนวัยรุ่นที่คบเพื่อนที่มีลักษณะเช่นนี้ย่อมได้รับประสบการณ์ทางอาชีพที่ค่อนข้างจากัดซึ่งอาจจะมีผลต่อความไม่พร้อมที่จะก้าวเข้าสู่โลกของงานเมื่อสำเร็จการศึกษา อย่างไรก็ตาม พ่อแม่และครูจะมีส่วนช่วยเหลือนักเรียนวัยรุ่นเหล่านี้ได้มากด้วยการให้ คาแนะนาที่เหมาะสม และส่งเสริมให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ในงานอย่างหลากหลายด้วยวิธีการหลายๆด้าน

4.3.2.5 อิทธิพลของกลุ่มเพื่อนที่มีการครองตนในสังคมของนักเรียนวัยรุ่น

บาร์นี้และจอร์นสัน (Bany and Johnson. 1975 : 24) กล่าวว่ากลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลต่อการมองคนเองของวัยรุ่น เพราะวัยรุ่นจะได้แนวความคิดเกี่ยวกับลักษณะของตัวเขาจากการที่บุคคลอื่นปฏิบัติต่อเขา นอกจากนี้กลุ่มเพื่อนยังมีอิทธิพลต่อเจตคติ และการประพฤติปฏิบัติตนทางสังคมของวัยรุ่นอีกด้วย ทั้งนี้เพราะวัยรุ่นยึดถือปทัสถานของกลุ่มเพื่อนเป็นแบบอย่าง เพื่อให้ตนเองเป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อน ดังนั้น เมื่อ (มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 2543 : 238-239 ; อ้างอิงมาจาก Brown. 1982 : 121-133) ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบจากความกดดันของกลุ่มเพื่อนที่มีต่อนักเรียนมัธยมศึกษาจึงได้พบว่านักเรียนวัยรุ่นหญิงได้รับความกดดันจากกลุ่มเพื่อนเป็นอย่างมากในด้านวิธีการแต่งกายสัมพันธภาพกับเพื่อนต่างเพศ และการร่วมกิจกรรมทางสังคม เช่น การออกนัด (dating) และ การไปงานสังสรรค์ สาหรับความกดดันที่เด่นชัดของกลุ่มเพื่อนที่มีอิทธิพลต่อนักเรียนวัยรุ่นชาย ได้แก่ การดื่มสุรา และการใช้สารเสพติด

4.3.2.6 บุคลากรอื่น

ในโรงเรียนนอกจากจะมีผู้บริหาร ครู ซึ่งมีหลายประเภท เช่น ครูประจาชั้น ครูประจาวิชา ครูแนะแนว เป็นต้น เพื่อน แล้วยังมีบุคลากรอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของนักเรียนวัยรุ่นด้วย เช่น คนงาน ภารโรง เจ้าหน้าที่ต่างๆซึ่งบุคลากรเหล่านี้อาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับนักเรียนวัยรุ่นได้มาก โดยเฉพาะวัยรุ่นชายบางคนชอบคบกับคนงาน ภารโรง เพื่อที่ต้องการความช่วยเหลือตนทากิจการบางอย่างซึ่งในบางครั้งอาจจะเป็นพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องได้

กล่าวโดยสรุป ปัจจัยของโรงเรียนที่มีพฤติกรรมนักเรียนวัยรุ่นมี 4 ประการดังกล่าวแล้ว คือ ผู้บริการโรงเรียน ครู เพื่อน และบุคลากรอื่น

          4.3.3 ชุมชนและพฤติกรรมนักเรียนวัยรุ่น

เมื่อมนุษย์เกิดมาสังคมหรือสถาบันแรกที่จะต้องพบคือ ครอบครัว ถัดจากครอบครัวก็คือชุมชน ในชุมชนประกอบด้วยครอบครัวหลายครอบครัว และสถาบันอื่นอันได้แก่ ศาสนา หน่วยงาน และอื่นๆ

นักเรียนวัยรุ่นจะมีความสัมพันธ์กับครอบครัว โรงเรียน และชุมชนอย่างแยกไม่ออก การที่นักเรียนวัยรุ่นจะมีพฤติกรรมอย่างไรนั้น ชุมชนนับว่ามีอิทธิพลมาก ทั้งนี้ย่อมขึ้นยู่กับว่าชุมชนที่นักเรียนวัยรุ่นอยู่ในสภาพชุมชนแบบใด โดยทั่วไปเราสามารถแบ่งชุมชนออกได้หลายประเภท คือ

1) ชุมชนชนบท

2) ชุนเมือง

3) ชุมชนแออัด

4) ชุมชนชนกลุ่มน้อย

1) ชุมชนชนบท

มีลักษณะที่สำคัญคือเป็นชุมชนขนาดเล็ก การรวมตัวมักจะเป็นไปอย่างหลวมๆไม่มีระเบียบข้อบังคับใดๆมีระเบียบประเพณีเป็นเครื่องกำหนด เครื่องอานวย ความสะดวกและสิ่งฟุ่มเฟือยต่างๆมีน้อย สมาชิกภายในชุมชนมักจะเกี่ยวข้องและรู้จักกันไม่ทางใด ก็ทางหนึ่งคืออาจจะเป็นเพื่อน เครือญาติ ดังนั้นความสัมพันธ์กันระหว่างสมาชิกจึงเป็นไปอย่างค่อนข้างจะเข้าใจและเห็นอกเห็นใจกัน การตัดสินปัญหาหรือพฤติกรรมมักจะใช้ระเบียบประเพณีของชุมชนเป็นเกณฑ์ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันและกัน การแข่งขันมักจะมีน้อย จึงทาให้สมาชิกของชุมชนนี้บางแห่งขาดความกระตือรือร้นไปบ้าง

2) ชุมชนเมือง

ชุมชนเมืองจะมีลักษณะตรงข้ามกับชุมชนชนบท กล่าวคือ เป็นชุมชนขนาดใหญ่ มักจะมีระเบียบข้อบังคับของชุมชน ในชุมชนมีเครื่องอานวยความสะดวกต่างๆค่อนข้างสมบูรณ์ สมาชิกภายในกลุ่มไม่ค่อยรู้จักคน ความสัมพันธ์ค่อนข้างห่างเหินกัน การตัดสินปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นต้องอาศัยระเบียบข้อบังคับของชุมชนเป็นเครื่องมือ การแข่งขันกันในระหว่างสมาชิก มีมาก จึงทาให้สมาชิกภายในชุมชนประเภทนี้ค่อนข้างกระตือรือร้น

นักเรียนวัยรุ่นที่อยู่ในชุมชนประเภทนี้ จะมีพฤติกรรมที่รวมกลุ่มกันเฉพาะคนที่อยู่ในระดับดับเดียวกัน พฤติกรรมที่แสดงออกเป็นไปทั้งในทางที่ถูกต้อง เช่น การศึกษาหาความรู้ร่วมกัน การทากิจกรรมช่วยเหลือชุมชนด้วยกัน แต่ในบางกลุ่มที่มีพฤติกรรมที่ผิดไป เช่น การเที่ยวกลางคืน มั่วสุมกัน ติดยาเสพติด เป็นต้น

3) ชุมชนแออัด

ส่วนใหญ่แล้วชุมชนแออัดมักจะเป็นชุมชนที่อยู่ในเมืองขนาดใหญ่ เกิดจากการที่ผู้คนอพยพเข้ามาเพื่อประกอบอาชีพ ชุมชนนี้ส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินของตนเอง ที่อยู่อาศัยมักเกิดการรุกล้าที่สาธารณะ ที่พักอาศัยไม่เป็นระเบียบ มีลักษณะชั่วคราวมากกว่าถาวร ขาดเครื่องอานวยความสะดวกและสาธารณูปโภค สมาชิกของชุมชนมักเห็นใจกัน ทุกคนต้องพยายามช่วยตนเองเพื่อดารงชีวิต นักเรียนวัยรุ่นที่มาจากชุมชนแออัดในบางครั้งจะมีปัญหาด้าน ความประพฤติ สุขภาพ เป็นต้น

4) ชุมชนชนกลุ่มน้อย

สมาชิกของชุมชนอาจจะมีความแตกต่างไปจากชุมชนกลุ่มใหญ่ในด้านเชื้อชาติ หรือศาสนา ชนกลุ่มนี้มักมีระเบียบประเพณีและข้อบังคับของตนเองที่ในบางข้ออาจจะแตกต่างหรือเหมือนกับชุมชนภายนอกก็ได้ นักเรียนวัยรุ่นจากชุมชนนี้เมื่อเวลาเข้าร่วมกับชุมชนภายนอก อาจจะต้องปรับตัวและพฤติกรรมของตนให้สอดคล้องกับชุมชนภายนอกด้วย

นอกจากชุมชนประเภทต่างๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมของนักเรียนวัยรุ่นแล้ว สิ่งหนึ่งซึ่งอยู่ ในชุมชนและนับว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนักเรียนค่อนข้างมาก นั่นคือ สื่อมวลชน สื่อมวลชนในที่นี้หมาถึงรวมทั้งหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง และวิทยุโทรทัศน์ แต่สิ่งที่นับว่ามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนักเรียนวัยรุ่นค่อนข้างมากคือ วิทยุโทรทัศน์ เพราะวันหนึ่งๆนักเรียนวัยรุ่นและผู้ปกครองมักจะใช้เวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการชมรายการโทรทัศน์ บรรดาภาพยนตร์ ละครโทรทัศน์ และรายการบันเทิงต่างๆ แสดงให้เห็นถึงค่านิยมของสังคมแบบต่างๆ แต่ในบางครั้งเป็นเพียงแต่จินตนาการของนักเขียนซึ่งอาจจะไม่ตรงกับความจริง ละครและภาพยนตร์โทรทัศน์ส่วนใหญ่จะแสดงให้เห็นถึงบทบาทของพระเอก นางเอกที่เด่นชัด เช่นพระเอกจะต้องเป็นผู้นำ บางครั้งก็สุภาพบางครั้งก็ก้าวร้าวแล้วแต่บทบาท แต่สิ่งที่สำคัญคือ พระเอกจะต้องเป็นคนมีเสน่ห์ เป็นที่ หมายปองของบรรดาหญิงทั้งหลาย ฝ่ายหญิงก็เช่นกันเป็นคนดี เสียสละ อ่อนโยน บทบาทเหล่านี้เมื่อวัยรุ่นได้ชมบ่อยๆ ก็จะทาให้ค่อยๆ ซึมซาบ และรับเอา และรับเอาเข้าเป็นเอกลักษณ์และบทบาทของตนไปได้ในที่สุด

4.3.3.1 อิทธิพลชุมชนต่อพฤติกรรมของนักเรียนวัยรุ่น

จากการศึกษาตั้งแต่ตอนต้นจะเห็นได้ว่า ชุมชนมีอิทธิพลต่อรูปแบบของพฤติกรรมของนักเรียนวัยรุ่นที่เป็นสมาชิกของชุมชนเป็นอย่างมาก ถ้าจะกล่าวโดยสรุปแล้วจะได้ว่าอิทธิพลของชุมชนต่อนักเรียนวัยรุ่นมีดังนี้

1) เป็นต้นแบบของพฤติกรรมนักเรียนวัยรุ่นส่วนใหญ่ใช้เวลาอยู่กับชุมชน เมื่อเห็นชุมชนทำอย่างไรก็พยายามเลียนแบบ ทั้งนี้เพื่อที่ตนจะได้เป็นส่วนหนึ่งของชุมชนได้อย่างแท้จริง ซึ่งในกรณีเช่นนี้ ถ้าหากคนในชุมชนนั้นส่วนใหญ่เป็นคนดีก็เป็นต้นแบบที่ดีแก่นักเรียนวัยรุ่น แต่ถ้าหากได้ต้นแบบที่ไม่ดีพฤติกรรมของนักเรียนวัยรุ่นก็จะเบี่ยงเบนไปจากพฤติกรรมปกติ

2) สนับสนุนพฤติกรรมของนักเรียนวัยรุ่นอิทธิพลบางอย่างของชุมชนสนับสนุนให้นักเรียนวัยรุ่นมีพฤติกรรมประเภท เช่น นักเรียนวัยรุ่นที่อยู่ในชุมชนเมืองที่ทุกคนต้องมีการแข่งขันกัน มีเวลาน้อย ก็จะส่งเสริมให้นักเรียนวัยรุ่นเป็นคนที่มีพฤติกรรมที่เร่งรีบ ต้องมีการแข่งขันกับเวลาและคนอื่นอยู่ตลอดเวลา เหล่านี้เป็นต้น

3) ขัดขวางพฤติกรรมบางอย่างของนักเรียนวัยรุ่นนักเรียนวัยรุ่นที่อยู่ในชุมชนแออัด แม้ว่าจะพยายามสร้างเอกลักษณ์ที่ดีของตนเอง แสวงหาความเป็นอิสระ แต่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออานวยให้ทั้งในด้านสถานที่และสมาชิกของชุมชน

4) ปลูกฝังค่านิยมแนวความคิดต่างๆของชุมชนมีผลต่อพฤติกรรมในการปลูกฝังค่านิยมให้แก่นักเรียนวัยรุ่นเป็นอย่างมาก ทั้งในด้านความประพฤติและการนำแนวการประกอบอาชีพของตนในอนาคต ในชุมชนที่ถือว่าเงินเป็นสิ่งที่มีค่ามากที่สุด นักเรียนวัยรุ่นก็จะพยายามทาทุกสิ่ง ทุกอย่างเพื่อแลกกับเงิน การวางอนาคตของตนก็หาอาชีพที่จะได้เงินให้มากที่สุด เป็นต้น

     4.4 ปัจจัยทางกายภาพ

          4.4.1 ปัจจัยทางบ้าน

ปัจจัยทางบ้านมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนักเรียนวัยรุ่นเป็นอย่างมาก ถ้าหากจะพิจารณาแบ่งปัจจัยจากภายนอกอย่างกว้างๆก็จะได้เป็น 2 ประเภท คือ ปัจจัยทางบ้านที่เป็นปัจจัยสังคม ได้แก่ ความสัมพันธ์กันระหว่างสมาชิกในครอบครัว บรรยากาศภายในครอบครัว ซึ่งได้กล่าวโดยละเอียดแล้วในตอนที่ผ่านมา ปัจจัยส่วนที่สองได้แก่ ปัจจัยทางกายภาพซึ่งจะกล่าวในตอนนี้โดยจะขอแบ่งปัจจัยทางกายภาพของบ้านออกเป็นดังนี้

1) จำนวนสมาชิกภายในบ้าน

2) ขนาดของบ้าน

3) สภาพแวดล้อม

4) อื่นๆ เช่น เครื่องอำนวยความสะดวก เครื่องบันเทิง เป็นต้น

1) จำนวนสมาชิกภายในบ้านจำนวนสมาชิกภายในบ้าน หมายถึงจำนวนคนที่อาศัยอยู่ในบ้านที่นักเรียนวัยรุ่นเป็นสมาชิกอยู่ด้วย ซึ่งโดยปกติบ้านจะมีสมาชิกเพียงพ่อแม่เป็นส่วนใหญ่ แต่ในบางท้องถิ่น หรือด้วยเหตุผลบางประการทำให้สมาชิกในบ้านมีจำนวนมากที่กล่าวแล้ว เหตุผลที่ว่า เช่น

1.1) ความเชื่อหรือประเพณีนิยมกล่าวคือ ในบางท้องถิ่นมีความนิยมที่จะให้สมาชิกภายในครอบครัวอยู่ด้วยกัน แม้สมาชิกจะแต่งงานมีลูกหลานแล้วก็ตาม ผู้เป็นผู้นำของบ้าน ก็มักจะไม่ยอมให้แยกบ้านไปต่างหากแต่จะพยายามจัดหรือขยายบ้านให้สมาชิกใหม่ได้มีที่อยู่ ลักษณะของบ้านประเภทนี้จะเป็นทั้งด้านผลดี และผลเสีย คือในด้านผลดีทุกคนรู้สึกอบอุ่น เพราะมีสมาชิกในบ้านมาก คอยดูแลเอาใจใส่กัน ช่วยเหลือกันในการทางานต่างๆในด้านเศรษฐกิจก็จะเป็นการทุ่นรายจ่ายในบางประการได้ ผลเสียคือ ครอบครัวที่เป็นครอบครัวย่อยจะขาดความเป็นผู้นำ ผลเสียอีกประการหนึ่งคือ เมื่ออยู่ด้วยกันเป็นจำนวนมาก ในบางครั้งอาจจะเกิดการกระทบกระทั่งกันในบางครั้งได้ นักเรียนวัยรุ่นที่อยู่ในครอบครัวแบบนี้ ในบางครั้งจะมีความรู้สึกขาดความเป็นอิสระ บางครั้งจะเกิดการเปรียบเทียบแข่งขันกับสมาชิกคนอื่นที่อยู่ในวัยเดียวกันได้

1.2) ความไม่พร้อมของครอบครัวในด้านหนึ่งเกิดจากครอบครัวใหม่ยังไม่พร้อม ที่จะแยกครอบครัวหรือแยกบ้านของตนเอง อันอาจจะเป็นเพราะสาเหตุของความไม่พร้อมทางด้านเศรษฐกิจ ความจาเป็นที่ทั้งสามีภรรยาหรือพ่อและแม่ต้องออกไปทางานนอกบ้านทั้งคู่ ด้วยเหตุผลความจาเป็นเช่นนี้ เมื่อสมาชิกในครอบครัวแต่งงานแล้ว แม้กระทั่งมีลูกก็จาเป็นจะต้องอาศัยบ้านเดิมไปก่อน

นอกจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นที่ทาให้สมาชิกภายในบ้านไม่สามารถแยกออกไปมีบ้านของตนเองแล้ว ยังมีสาเหตุอื่นๆอีก เช่น เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อความสะดวกในการประกอบอาชีพ เพื่อให้ผู้ใหญ่คอยดูแลอบรมสั่งสอนลูกหลาน เป็นต้น

การที่นักเรียนวัยรุ่นเป็นสมาชิกของบ้านที่มีสมาชิกต่างกัน ย่อมจะทาให้พฤติกรรมแตกต่างกันออกไปได้ เช่น ถ้าหากเป็นสมาชิกของบ้านที่มีขนาดใหญ่พฤติกรรมที่แสดงออกอาจจะเป็นไปเพื่อการแสวงหาความเป็นอิสระ ในบางครั้งต้องการอาศัยพึ่งพาคนอื่น ขาดความเป็นตัวของตัวเอง ตรงข้ามกับนักเรียนวัยรุ่นที่อยู่ในบ้านที่มีสมาชิกเพียงพ่อ - แม่ - ลูก นักเรียนวัยรุ่นจะรู้สึกว่ามีอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ช่วยเหลืองานบ้าน เพราะถือว่าเป็นบ้านของตนเอง

2) ขนาดของบ้านคาว่าขนาดของบ้าน ในที่นี้หมายถึง บ้านขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ไม่ได้หมายถึงจานวนสมาชิกภายในบ้านเหมือนกับข้อที่ 1) ขนาดของบ้านในที่นี้ จะหมายรวมถึงจานวนห้องที่มีอยู่ในบ้านด้วย ทั้งนี้เพราะแม้ว่าบ้านจะมีขนาดเล็กและมีจานวนห้องมาก นักเรียนวัยรุ่นก็สามารถที่จะมีห้องเป็นสัดส่วนของตนเองได้

การมีห้องของตนเองของนักเรียนวัยรุ่นมีความจาเป็น เพราะเป็นที่ทราบแล้วว่าวัยนี้ต้องการเป็นอิสระ ดังนั้นการมีห้องของตนเองเป็นการทาให้นักเรียนวัยรุ่นมีความรู้สึกว่าตนเป็นอิสระที่จะอยู่คนเดียว และอิสระที่จะจัดห้องตบแต่งของของตนเองได้ด้วย

ในบางกรณีที่นักเรียนวัยรุ่นไม่สามารถมีห้องของตนเองเป็นสัดส่วนได้ ก็ควรจะมีบริเวณ ที่เป็นของตนเองในบ้าน เป็นบริเวณที่นักเรียนวัยรุ่นสามารถเก็บเอกสารการเรียน ทาการบ้าน อ่านหนังสือของตนเองได้ จะทาให้นักเรียนวัยรุ่นรู้สึกว่าตนเองมีสิทธิ มีอิสระพอสมควร

ตามเกณฑ์ของเทศบาลได้กำหนดให้ห้องที่จะเป็นห้องนอนควรจะมีขนาดไม่น้อยกว่า 9 ตารางเมตร ซึ่งถ้าหากทาตามเกณฑ์นี้ได้ก็จะเป็นผลดีแก่นักเรียนวัยรุ่นที่มีห้องของตนเอง แต่ถ้าหากไม่ได้ตามนี้อย่างน้อยที่สุดก็ควรจะมีที่เรียน หรือทางานของตนเองโดยเฉพาะดังกล่าวข้างต้น

3) สภาพแวดล้อมสภาพแวดล้อมหมายถึง สภาพที่อยู่รอบๆบ้าน นักเรียนวัยรุ่น ย่อมอาศัยอยู่ในบ้านที่ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมต่างกัน บางคนอาจจะตั้งอยู่ในทำเลที่เป็นที่อยู่อาศัย บางคนอาจจะตั้งอยู่ในตลาดหรือย่านธุรกิจการค้า บางคนอาจจะอยู่ในย่านชุมชนแออัด สภาพแวดล้อมย่อมจะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมหรือการแสดงออกของนักเรียนวัยรุ่น ตัวอย่างเช่น นักเรียนวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในย่านธุรกิจการค้าหรือตลาด ย่อมต้องมีการแข่งขันพยายามใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ทั้งในด้านการเรียนและการประกอบภารกิจอื่นของตน นักเรียนวัยรุ่นที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีการแข่งขัน อาจจะมีพฤติกรรมที่ทำตัวตามสบาย ขาดความกระตือรือร้น เป็นต้น

4) อื่นๆปัจจัยทางกายภาพที่เกี่ยวกับปัจจัยทางบ้านของนักเรียนวัยรุ่นมีหลายประการ เช่น เครื่องอานวยความสะดวกภายในบ้าน ระยะทางจากบ้านไปโรงเรียน การเดินทางไปโรงเรียน เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้ล้วนแต่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนักเรียนวัยรุ่นทั้งสิ้น เช่น ถ้าหากนักเรียนวัยรุ่นมีเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้านมาก นักเรียนวัยรุ่นจะมักเป็นคนที่ชอบสบายไม่ค่อยชอบช่วยตัวเอง แม้บางครั้งจะพยายามช่วยตัวเองแต่ก็มักจะทาไม่ค่อยได้ดังใจต้องการ เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป ปัจจัยทางกายภาพของบ้านมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของนักเรียนวัยรุ่นในฐานะที่เป็นปัจจัยแวดล้อมที่มีความสำคัญมากปัจจัยหนึ่ง โดยที่นักเรียนวัยรุ่นจะต้องอยู่ที่บ้านถ้าหากจะนับเป็นชั่วโมงแล้วจะนานกว่าที่อยู่ในโรงเรียน ดังนั้น โอกาสที่จะถูกอิทธิพลทางบ้านจึงมีค่อนข้างสูง ยกตัวอย่างเช่น นักเรียนวัยรุ่นที่มาจากบ้านที่เป็นสัดส่วน และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีแนวโน้มที่จะมีพฤติกรรมที่สังคมยอมรับ นักเรียนวัยรุ่นที่มีสภาพแวดล้อมในชุมชนแออัด มีแนวโน้มที่มีพฤติกรรมทางสังคมที่เบี่ยงเบนได้ เช่น เป็นคนก้าวร้าว ติดยาเสพติด หรือมีความผิดทางเพศ เป็นต้น

          4.4.2 ปัจจัยทางโรงเรียน

ปัจจัยทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมนักเรียนวัยรุ่น ปัจจัยที่สอง คือ ปัจจัยทางโรงเรียน ปัจจัยทางกายภาพของโรงเรียนมีลักษณะคล้ายคลึงกับปัจจัย ทางกายภาพทางบ้าน ในที่นี้จะขอกล่าวถึงปัจจัยทางโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของนักเรียนวัยรุ่น ดังต่อไปนี้

1) ประเภทของโรงเรียน

2) ขนาดของโรงเรียน

3) ชื่อเสียงของโรงเรียน

4) สภาพแวดล้อมของโรงเรียน

1) ประเภทของโรงเรียน

นักเรียนวัยรุ่นที่อยู่ในระบบโรงเรียนนั้น ส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับมัธยมศึกษา ทั้งมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย สำหรับโรงเรียนระดับมัธยมนั้นสามารถแบ่งอย่างกว้างๆออกเป็น 2 ประเภท หรือ 2 สาย คือ สายสามัญและสายอาชีวศึกษา

นักเรียนวัยรุ่นที่เป็นนักเรียนทั้งสองประเภทนี้มีจุดหมายในการเรียนค่อนข้างแตกต่างกัน กล่าวคือ นักเรียนวัยรุ่นสายสามัญนั้นส่วนใหญ่มุ่งเพื่อการเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ส่วนนักเรียนวัยรุ่นที่เรียนสายอาชีวศึกษาส่วนใหญ่มุ่งเพื่อการออกไปประกอบอาชีพ

เมื่อจุดหมายในการเรียนแตกต่างกัน พฤติกรรมที่แสดงออกอาจจะแตกต่างกันไปบ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งพฤติกรรมในการเรียน นักเรียนวัยรุ่นสายสามัญจะมุ่งเรียนเพื่อการแข่งขัน ในอันที่จะสอบเข้าเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัย ในขณะที่นักเรียนวัยรุ่นที่เรียนสายอาชีวศึกษาพยายามที่จะหาทางเพื่อหางานทำ แต่อย่างไรก็ตาม วัยรุ่นในโรงเรียนทั้งสองประเภทนี้จะมีลักษณะบางอย่าง ที่คล้ายคลึงกัน เช่น การแสดงออกถึงความรักเพื่อน รักสถาบัน พฤติกรรมที่แสดงออกเมื่อรวมกลุ่มดันจะรุนแรงกว่าเมื่ออยู่ตามลาพัง

2) ขนาดของโรงเรียน

อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้พฤติกรรมของนักเรียนวัยรุ่นมักความแตกต่างกันคือ นักเรียนวัยรุ่นที่อยู่ในโรงเรียนขยาดใหญ่มีนักเรียนมาก พฤติกรรมที่แสดงออกในการปรับตัวเข้ากับเพื่อน ครู ก็จะแตกต่างไปจากนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนน้อย ทุกคนรู้จักกันเป็นกันเองทั้งนักเรียนและคุณครู

3) ชื่อเสียงของโรงเรียน

เป็นปัจจัยที่สำคัญประการหนึ่งของพฤติกรรมที่นักเรียนวัยรุ่นแสดงออก นักเรียนวัยรุ่นที่อยู่ในโรงเรียนที่มีชื่อเสียง ไม่ว่าในด้านการกีฬา ด้านการเรียน มักจะชอบแสดงตัวให้เห็นว่าเป็นนักเรียนของโรงเรียนนั้นแต่ตรงข้ามกับนักเรียนในโรงเรียนที่ไม่มีชื่อเสียง มักจะแสดงพฤติกรรมในทางตรงข้าม จนบางครั้งเกิดเป็นพฤติดรรมที่ก้าวร้าวนักเรียนวัยรุ่นในโรงเรียนอื่นได้

4) สภาพแวดล้อมของโรงเรียนสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ

4.1) สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนโรงเรียนที่ดีควรจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้ออานวยต่อการแสดงพฤติกรรมที่ดี เช่น การมีสนามกีฬาทั้งในร่มและกลางแจ้ง สนามหย่อม ที่นั่งพักผ่อน เพื่อที่นักเรียนวัยรุ่นจะได้มีโอกาสสังสรรค์หรือรวมกลุ่มกันในเวลาว่าง ถ้าหากเป็นไปได้แล้วการจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน ควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมด้วยก็จะเป็นการดี เช่น ร่วมในการออกแบบ เสนอความคิด ช่วยกันทา หรือเสียสละทรัพย์เพื่อสร้างเป็นอนุสรณ์ของรุ่น ของกลุ่ม จะทำให้นักเรียนวัยรุ่นมีความผูกพัน และช่วยรักษา เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนวัยรุ่นมีพฤติกรรมที่ดี

โรงเรียนบางแห่งไม่สามารถจะจัดสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนได้ เนื่องจะมีเนื้อที่จากัด ผลคือนักเรียนวัยรุ่นจะใช้ห้องเรียนหรืออาคารเรียนเป็นสถานที่เรียน เล่น และพักผ่อน หย่อนใจ ไม่มีการแบ่งเป็นสัดส่วน พฤติกรรมหลายอย่างจึงไม่สามารถแยกออกจากกันได้

4.2) สภาพแวดล้อมภายนอกโรงเรียนสภาพแวดล้อมภายนอกโรงเรียน หมายถึง สถานที่ตั้งของโรงเรียน สภาพที่อยู่รอบๆโรงเรียนมีผลทั้งต่อนักเรียนวัยรุ่นและครู โรงเรียนที่ตั้งอยู่ในวัด พฤติกรรมการแสดงออกของนักเรียนวัยรุ่นมีแนวโน้มที่จะเป็นคนที่สามารถเข้ากับพระและประกอบศาสนาพิธีได้ดีกว่าโรงเรียนที่ตั้งอยู่นอกวัด โรงเรียนบางแห่งตั้งอยู่ในชุมชนแออัด นักเรียนวัยรุ่นมีโอกาสที่จะมั่วสุม หรือทาผิดทางเพศ ยาเสพติดได้ง่าย โรงเรียนบางแห่งตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมมาก เช่น บางแห่งมีโรงแรมล้อมรอบอยู่เกือบทุกด้าน หรืออยู่ใกล้แหล่งอบายมุข หรือยั่วยุ เช่น บ่อน ช่อง สิ่งเหล่านี้จะเป็นเครื่องทาให้พฤติกรรมของนักเรียนวัยรุ่นเบี่ยงเบนไปได้

กล่าวโดยสรุป สภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนและภายนอกมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนักเรียนวัยรุ่น ทั้งในด้านการส่งเริมพฤติกรรมที่ดีและยั่วยุให้เกิดพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนได้

         4.4.3 ปัจจัยทางชุมชน

ปัจจัยทางกายภาพที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนักเรียนวัยรุ่น ได้แก่ ปัจจัยทางชุมชน

องค์ประกอบทางกายภาพทั้งสาม คือ บ้าน โรงเรียน และชุมชนเป็นองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมนักเรียนวัยรุ่นและมีอิทธิพลต่อกันและกันเป็นอย่างมาก กล่าวคือ บ้านหลายบ้านรวมกันเป็นชุมชน โรงเรียนตั้งอยู่ในชุมชน จนบางคนกล่าวว่ารงเรียนที่ตีควรเป็นโรงเรียนของชุมชน เพราะโรงเรียนที่ดีควรเป็นแหล่งกลางให้คนทุกคนทุกเชื้อชาติศาสนาที่เป็นสมาชิกของชุมชนสามารถไปมาได้ด้วยความสะดวกใจ

ปัจจัยทางชุมชน ถือว่าเป็นปัจจัยแวดล้อมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของนักเรียนวัยรุ่น นักเรียนวัยรุ่นอาจจะมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะทางกายภาพของชุมชน ดังนี้ ประเภทของชุมชน ขนาดของชุมชน และที่ตั้งของชุมชน

1) ประเภทของชุมชน

ดังได้กล่าวแล้วว่าชุมชนประกอบด้วยหลายๆบ้านมารวมกัน และมีองค์ประกอบส่วนอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น วัด โรงเรียน สถานที่ทำงาน หรือสถานประกอบการต่างๆ ดังนั้นสิ่งเหล่านี้เองจะเป็นเครื่องกำหนดประเภทของชุมชน คือบ้านหรือสถานประกอบการส่วนใหญ่ทาอะไร ก็บอกได้ทันทีว่าชุมชนนี้เป็นชุมชนประเภทใด เช่น เป็นชุมชนด้านอยู่อาศัย ได้แก่ ชุมชนบ้านจัดสรร หรือชุมชนย่านชานเมือง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบ้านอยู่อาศัยมากกว่าสถานประกอบการหรือการประกอบอาชีพ ชุมชนย่านธุรกิจ ได้แก่ ชุมชนที่ส่วนใหญ่เป็น สถานประกอบการหรือเป็นทั้งที่อยู่อาศัยและสถานที่ประกอบอาชีพ

การแบ่งประเภทของชุมชนนอกจากแบ่งตามวิธีการข้างต้นแล้ว ยังแบ่งตามวิธีการอื่นๆ ได้อีก เช่น แบ่งตามที่ตั้งของชุมชน เช่น ชุมชนนอกเมือง ชุมชนในเมือง ชุมชนริมน้ำ เป็นต้น

2) ขนาดของชุมชน

ขนาดของชุมชนย่อมขึ้นอยู่กับประเภทของชุมชนนั้นๆด้วย ชุมชนที่เป็นชุมชนย่านอยู่อาศัยส่วนใหญ่จะเป็นชุมชนขนาดไม่ใหญ่นัก ยกเว้นชุมชนที่เป็นหมู่บ้านจัดสรรบางแห่งที่เป็นชุมชนขนาดใหญ่ โดยพยามยามจัดองค์ประกอบของชุมชนให้มีครบทุกอย่าง คือ โรงเรียน ร้านค้า แหล่งพักผ่อนหย่อนใจ แต่ชุมชนที่อยู่อาศัยที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติมักจะมีขนาดเล็ก ชุมชนย่านธุรกิจจะเป็นชุมชนค่อนข้างใหญ่ มักจะมีเครื่องอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภคครบ เป็นชุมชนที่ค่อนข้างวุ่นในเวลาธุรกิจ แต่จะเงียบสงบนอกเวลาธุรกิจ

3) ที่ตั้งของชุมชน

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นได้ว่าชุมชนมีหลายประเภทและขนาดแตกต่างกันออกไป ขนาดและประเภทของชุมชนย่อมขึ้นอยู่กับที่ตั้งของชุมชนด้วย เช่น ชุมชนที่ตั้งอยู่ในเมืองจะเป็นชุมชนที่มีขนาดใหญ่และเป็นชุมชนธุรกิจเป็นส่วนใหญ่ ชุมชนที่ตั้งอยู่ริมน้าหรือชุมชนที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเจ้าของบ้านเป็นเจ้าของที่ดินเอง มักจะเป็นชุมชนขนาดเล็กและมักจะเป็นชุมชนเกษตรกรรมผู้ประกอบอาชีพนี้ต้องการที่ดินเพื่อการประกอบอาชีพจึงทำให้ชุมชนมีขนาดเล็ก

นอกจากชุมชนตามที่ตั้งต่างๆข้างต้นแล้ว ยังมีชุมชนที่ตั้งอยู่ชายแดน ย่านกันดาร ย่านมั่งคั่ง เป็นต้น

4.4.3.1 อิทธิพลทางกายภาพของชุมชนที่มีต่อพฤติกรรมของนักเรียนวัยรุ่น

ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่า พฤติกรรมของนักเรียนวัยรุ่นนั้นมาจากแหล่งที่สำคัญ 2 แหล่ง คือ จากพันธุกรรมและสภาพแวดล้อม

สำหรับสภาพแวดล้อมอันได้แก่ บ้านหรือครอบครัว โรงเรียน และชุมชนนั้น เป็นเครื่องปรุงแต่งพฤติกรรมของวัยรุ่นให้แตกต่างกันออกไป นอกเหนือจากการกำหนดโดยพันธุกรรมได้อีก เช่น นักเรียนวัยรุ่นที่อยู่ในชุมชนเมือง ย่อมมีพฤติกรรมการแสดงออกแตกต่างไปจากนักเรียนวัยรุ่นที่อยู่ชุมชนชนบท นักเรียนวัยรุ่นที่อยู่ในชุมชนธุรกิจอาจจะมีพฤติกรรมที่แสดงออกแตกต่างไปจากพฤติกรรมของนักเรียน วัยรุ่นที่อยู่ในชุมชนย่านอยู่อาศัย เป็นต้น

5. ปัญหาในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

          ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ (2543 : 428-430) ได้กล่าวไว้ว่าประเด็นปัญหาในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหรือปรับพฤติกรรมนั้น ยังคงมีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้เนื่องจากมีความเข้าใจผิดบางประการ ดังข้อคำถาม และข้อคิดต่างๆที่เกี่ยวข้องกับกับการปรับเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมต่อไปนี้

1) การใช้วิธีการปรับเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของนักเรียนในชั้นเรียน จะต้องปฏิบัติตามลำดับขั้นตอนที่เป็นระบบและมีลักษณะคล้ายหุ่นยนต์ ไม่มีชีวิตชีวาทั้งนี้เพราะว่าถึงแม้ การดำเนินการปรับพฤติกรรมจะเป็นไปตามลำดับขั้นตอน แต่การดำเนินงานของแต่ละขั้นตอนก็สามารถทำให้ยืดหยุ่น โดยผู้ดำเนินการปรับพฤติกรรมจะต้องพิจารณาสภาพของการปรับพฤติกรรม ตลอดทั้งบรรยากาศและสภาพแวดล้อมของการปรับพฤติกรรมนั้นๆประกอบด้วย นอกจากนี้ยังพบว่า วิธีการปรับพฤติกรรมเป็นวิธีที่ให้ความอบอุ่นและความจริงใจแก่แก่ผู้รับการการปรับพฤติกรรม เช่น มีการให้แรงเสริมทางสังคม การใช้คำพูด การแสดงกิริยาท่าทางถึงการยอมรับ มีการจัดระเบียบของการให้แรงเสริมมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้รับการปรับพฤติกรรมละผู้ดาเนินการปรับพฤติกรรม ซึ่งสิ่งต่างๆ ดังกล่าวนี้ จะช่วยสร้างเสริมบรรยากาศในการเรียนการสอนที่ดีขึ้น และผลผลิตเกิดขึ้นตามมาคือ นักเรียนมีผลกแรเรียนที่ดีขึ้นประสบความสำเร็จในการเรียน ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวก็จะเป็นการเสริมแรงแก่ครูที่สามารถประสบความสำเร็จในการสอนอีกด้วย

2) วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดีจริงหรือไม่ ในการพิจารณาจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้ใช้วิธีการปรับพฤติกรรมนั้นๆ ด้วย ส่วนผลการใช้วิธีการปรับพฤติกรรม อาจจะไม่ส่งผลทางลบ อันเนื่องมาจากวิธีการของการปรับพฤติกรรม แต่อาจจะเกิดจากตัวแปรอื่นๆ ที่เข้ามาแทรกซ้อนในขณะดาเนินการปรับพฤติกรรมนั้นๆ

3) การควบคุมตนเองจะเกี่ยวข้องกับการปรับพฤติกรรมหรือไม่ แล้วจะให้นักเรียนรู้จักควบคุมพฤติกรรมของตนเองได้อย่างไร การควบคุมตนเอง เป็นวิธีการที่พึงประสงค์มากที่สุดของการปรับพฤติกรรม เพราะหากว่าผู้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีพฤติกรรมที่พึงประสงค์แล้ว รู้จักการควบคุมตนเอง สามารถเข้าใจถึงการเรียนรู้เงื่อนไขผลกรรมก็จะช่วยให้เขาสามารถแสดงพฤติกรรมหรือมีการกระทาที่เหมาะสม

แซนเดอเอลส์ (2007 : 10-13) ได้กล่าวถึงปัญหาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของวัยรุ่นว่า พฤติกรรมของวัยรุ่นจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วฉับพลันและการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่วัยรุ่นไปถึงทำให้เด็กวัยรุ่นมากประหม่าที่สำคัญและเป็นกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงร่างกายของตนเอง พวกเขาอาจทำให้การเปรียบเทียบที่เจ็บปวดเกี่ยวกับตัวเองกับเพื่อนของพวกเขา

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพไม่อาจเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ราบรื่นปกติวัยรุ่นอาจจะไปผ่านขั้นตอนที่น่าอึดอัดใจทั้งเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพและการประสานงานของพวกเขา หญิงอาจจะเป็นกังวลหากพวกเขายังไม่พร้อมสำหรับการเริ่มต้นของงวดประจำเดือนของพวกเขา เด็กชายอาจกังวลว่าพวกเขาไม่ทราบเกี่ยวกับการปล่อยออกหากินเวลากลางคืน ในช่วงวัยรุ่นจึงเป็นเรื่องปกติสำหรับคนหนุ่มสาวที่จะเริ่มต้นที่จะแยกจากพ่อแม่ของพวกเขาและสร้างเอกลักษณ์ของตัวเอง ในบางกรณีนี้อาจเกิดขึ้นโดยไม่มีปัญหาจากพ่อแม่และสมาชิกในครอบครัวอื่น ๆ ของพวกเขา อย่างไรก็ตามในบางครอบครัว, การจลาจลของวัยรุ่นอาจนาไปสู่ความขัดแย้งกับผู้ปกครองพยายามที่จะให้การควบคุม

ในฐานะที่เป็นวัยรุ่นดึงออกไปจากพ่อแม่ของพวกเขาในการค้นหาตัวตนของตัวเอง, เพื่อนของพวกเขากลายเป็นสิ่งสำคัญมากขึ้น

1) กลุ่มเพื่อนของพวกเขาอาจกลายเป็นที่หลบภัยซึ่งในวัยรุ่นสามารถทดสอบความคิด ใหม่ ๆ

2) ในวัยรุ่นตอนต้นกลุ่มเพื่อนมักจะประกอบด้วยมิตรภาพที่ไม่โรแมนติกมักจะรวมถึง "cliques" แก๊งหรือสโมสร สมาชิกของกลุ่มเพื่อนมักจะพยายามที่จะทำหน้าที่เหมือนกันแต่งตัวเหมือนกันมีรหัสลับหรือพิธีกรรมและมีส่วนร่วมในกิจกรรมเดียวกัน

3) ในฐานะที่เป็นเยาวชนจะย้ายเข้ามาในช่วงกลางวัยรุ่น (14 ถึง 16 ปี) และนอกเหนือจากกลุ่มเพื่อนขยายเพื่อรวมมิตรภาพแสนโรแมนติก

ในช่วงกลางถึงปลายวัยรุ่นคนหนุ่มสาวมักจะรู้สึกว่าต้องสร้างเอกลักษณ์ทางเพศของ พวกเขาโดยการเป็นความสะดวกสบายกับร่างกายและความรู้สึกทางเพศของพวกเขา ผ่านมิตรภาพ ที่แสนโรแมนติก, เดทและ experimentating วัยรุ่นเรียนรู้ที่จะเป็นการแสดงความก้าวหน้าและได้รับการใกล้ชิดหรือมีเพศสัมพันธ์ คนหนุ่มสาวที่ไม่ได้มีโอกาสสาหรับประสบการณ์ดังกล่าวอาจ มีความยากลาบากมากยิ่งขึ้นด้วยความสัมพันธ์ใกล้ชิดเมื่อพวกเขาเป็นผู้ใหญ่

E-leaning (2542 : 35) ได้กล่าวถึงปัญหาในการพฤติกรรมของวัยรุ่นว่า ครอบครัวเป็นสถาบันที่มีอิทธิพลสำคัญที่สุดในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของวัยรุ่น ครอบครัวจะเป็นหน่วยพื้นฐานที่คอยเสริมสร้างประสบการณ์ของเด็กเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น ความสัมพันธ์กับบุคลในครอบครัวจะยุ่งยากสลับซับซ้อนมากขึ้น และมักจะเกิดปัญหาขัดแย้งกันเสมอๆ เราจะสังเกตได้ง่ายๆ ว่าวัยรุ่นเริ่มมีความรู้สึกอยากเป็นอิสระ ไม่อยากให้ใครมาบังคับ และต้องการเป็นตัวของตัวเอง

ดังนั้นส่วนสำคัญที่สุด คือ พ่อ แม่ ที่ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้ลูก ควรให้คำปรึกษาเข้าใจในชีวิตของเด็กวัยนี้ไม่ขัดขวาง ห้ามในสิ่งที่เขาต้องการค้นหา แต่ควรให้คาปรึกษาที่ดีเพราะเด็กวัยนี้ ยิ่งห้ามก็เหมือนยิ่งยุโดยทั่วไป แล้วเด็กวัยรุ่นมักจะเกิดความขัดแย้งกับพ่อแม่เสมอทาให้หันเหชีวิตไปหาเพื่อนเป็นส่วนใหญ่ กลุ่มเพื่อนจึงเป็นสิ่งแวดล้อมที่วัยรุ่นให้ความสำคัญเหนืออื่นใดจึงเกิดการเกาะติดความเป็นพรรค เป็นพวกสืบเนื่องไปจนถึงความเป็นสถาบัน และยึดถือกฎเกณฑ์ที่รุ่นพี่ ในสถาบันตั้งขึ้นเราจึงเห็นกลุ่มวัยรุ่นต่างสถาบัน ยกพวกตีกันมาตั้งแต่สมัยรุ่นปู่รุ่นพ่อ สืบมาจนถึงรุ่นปัจจุบัน ทำให้เราเห็นว่าครอบครัวน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุด ในการปลูกฝังอบรมเด็กสร้างบุคลิกภาพที่ดีให้แก่เด็ก เมื่อเขาโตขึ้นและย่างเข้าสู่วัยรุ่น พ่อ แม่ต้องเป็นส่วนสำคัญในการชี้แนวทางการดำเนินชีวิต การแก้ไขปัญหาต่างๆด้วยวิธีที่ถูกต้อง และต้องเข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกของวัยรุ่นไม่ดุด่า หรือปล่อยจนเกินไป เพราะสาเหตุเหล่านี้จะทาให้วัยรุ่นกลายเป็นคนที่ก้าวร้าว และตีตัวออกห่างจากครอบครัวไปมั่วสุมกับเพื่อนๆ และเลือกเดินในแนวทางที่ผิดจนกลายเป็นปัญหาของสังคมอย่างที่ปรากฏในปัจจุบัน

สถาบันการศึกษาทางไกล (2538 : 11-16) ได้กล่าวถึงปัญหาในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของวัยรุ่นว่า ครอบครัวเป็นสถาบันแห่งแรกของมนุษย์ บิดามารดาเป็นบุคคลแรกที่อยู่ใกล้ชิดและอบรมสั่งสอนให้ความรู้แก่บุตร ครอบครัวที่อบอุ่น มีความผูกพันระหว่างบิดามารดา และบุตรในทิศทางของ ความเป็นประชาธิปไตย เหมาะสมกับทุกยุคสมัยเต็มไปด้วยความเข้าใจซึ่งกันและกันในครอบครัว บุตรย่อมมีความรู้สึก รักครอบครัว รักบิดามารดา และยังอาจแบ่งปันความรักความเข้าใจสู่คนอื่นๆ นอกครอบครัวอีกด้วย อิทธิพลของครอบครัวมีผลต่อเรื่องเพศ โดยเฉพาะต่อกลุ่มเด็กและเยาวชน

การเรียนรู้ของเด็กจะเริ่มต้นเมื่อพ้นจากครรภ์มารดาระยะหนึ่ง และจะเริ่มพัฒนาการเรียนรู้มากขึ้นตามวัยที่สูงขึ้นเรื่อยๆ โดยจะมีเงื่อนไขบางอย่างเกิดขึ้น เช่น การแยกบุคลิกไปตามเพศ อาทิ เพศชายจะ ห้าวหาญก้าวร้าวมากกว่าเพศหญิง หรือ จนถึง 6-7 ปี เป็นวัยที่เริ่มสนใจทางเพศ เช่น สนใจอวัยวะเพศของตนเองและคนอื่น อาจถามว่าอวัยวะเพศของเขาเหมือนพ่อหรือเหมือนแม่ หรือเด็กบางคนถามว่าน้องออกมาจากส่วนไหนของแม่ เหล่านี้เป็นความสนใจทางเพศของเด็กอันเป็นธรรมชาติของการ ใครรู้ พ่อแม่ต้องเข้าใจและพยายามให้คาอธิบายตามความเหมาะสมแก่วัย ไม่มีการบิดเบือนเพราะ อาจทาให้เด็กเข้าใจเรื่องเพศแบบผิดๆ จนถึงวัยรุ่นหรือวัยผู้ใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมการอบรมเลี้ยงดูเด็กของบิดามารดาและวัฒนธรรมการแสดงออกทางเพศ บทบาททางเพศของเด็กนั้น บิดามารดาเป็นผู้ถ่ายทอดสู่บุตรจะโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม เด็กจะมีการสะสมประสบการณ์และสร้างบทบาทจำตลอดโดยอัตโนมัติในภายหลังได้ เด็กติดภาพและรูปแบบของบิดามารดาไว้แล้ว และเมื่อเด็กได้เรียนรู้เรื่องเพศของตนเองชัดเจนมากขึ้นแล้ว พฤติกรรมของเด็กจะแกร่งขึ้น เด็กจะสร้างรูปแบบทางเพศได้ พฤติกรรมทางเพศของเยาวชนหรือผู้ใหญ่มักจะเป็นเพราะครอบครัวให้ความรู้หรือประสบการณ์ทางเพศไม่ถูกต้องเหมาะสม การเลี้ยงดูของบิดามารดามีผลต่อพัฒนาการ ทางเพศ เช่น เมื่อเด็กเติบโตพอรู้ความ เขาจะสามารถแยกได้ว่าตัวเองเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง เขาจะรู้จักการแต่งกาย การแสดงพฤติกรรมตามเพศของตน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบิดามารดาต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ลูกตามบทบาทและเพศของตน รวมทั้งมีเวลาให้แก่ลูก ให้ความรักความสนใจ ให้บรรยากาศที่อบอุ่นแก่ลูก ลูกจะไม่เกิดความสับสนในบุคลิกภาพทางเพศและเด็กยังจะมีความมั่นใจในการดาเนินชีวิตต่อๆ ไป โดยคงเอกลักษณ์ทางเพศอย่างถูกต้องอีกด้วย

แต่อย่างไรก็ตามสังคมไทยในยุคใหม่และความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจที่ไม่หยุดยั้งส่งผลทำให้ครอบครัวของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไป และนับวันจะมีแนวโน้มว่าครอบครัวของคนไทยจะกลายเป็นครอบครัวเดี่ยวจำนวนมากขึ้น ความอบอุ่น ความผูกพันในบ้านจะลดลง ชีวิตความเป็นอยู่แบบตัวใครตัวมันจะเพิ่มจานวนมากขึ้น เพราะภาวะสังคมใหม่ที่มุ่งพัฒนาสภาพเศรษฐกิจสังคมทำให้ชีวิตของคนในครอบครัวเริ่มเปลี่ยนแปลง ภรรยาแทนที่จะอยู่กับเหย้าเฝ้ากับเรือน เลี้ยงดูลูกปรนนิบัติสามีก็เปลี่ยนแปลงชีวิตตนเองไปสู่สังคมภายนอกมากขึ้นเป็นลาดับและลักษณะของครอบครัวแบบนี้จะพบมากในเขตเมืองหรือจังหวัดใหญ่ ๆ ของประเทศ ซึ่งเป็นแหล่งรวมของ การพัฒนาด้านต่างๆ ที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ความก้าวหน้าดังกล่าวอาจทาลายความก้าวหน้าทางด้านคุณธรรม ศีลธรรม กฎเกณฑ์ ทางสังคม ความรับผิดชอบต่อหน้าที่เป็นผลทำให้สถาบันครอบครัวได้รับผลกระทบอย่างมาก คือ นอกจากจะลดขนาดครอบครัวเป็นครอบครัวเดี่ยวแล้ว พ่อแม่ยังไม่มีเวลาที่จะดูแลเอาใจใส่ลูก จึงเป็นเหตุทำให้เกิดมีลูกจ้างในบ้าน สถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนจนต่อมาถึงโรงเรียนประถมศึกษา มัธยมศึกษา ต่างได้เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตของเด็กๆ มากขึ้น รวมทั้งชุมชน สื่อมวลชนต่างๆ ที่อาจจะมีอิทธิพลทั้งทางบวกและลบต่อวิถีชีวิตการดำเนินชีวิตของเด็กมากกว่าสถาบันครอบครัว ซึ่งควรจะเป็นแหล่งให้ประสบการณ์การเรียนรู้ที่ถูกต้องมากที่สุด เพราะเป็นแหล่งที่อยู่ใกล้ชิดกับเด็กและเยาวชนมากกว่าใครๆ

อย่างไรก็ตามการให้ความช่วยเหลือโดยหน่วยงานของรัฐที่มีบทบาทในการให้บริการบางอย่างแก่ชุมชน และครอบครัวกับหน่วยงานภาคเอกชน เช่น ให้บริการคาปรึกษาแนะนำแก่ คู่สมรสในกรณีต่างๆ ที่เป็นปัญหาขัดข้องหรือเป็นความต้องการจะทราบของคู่สมรส การแนะนำหน่วยงานที่ให้บริการอื่นๆ แก่คู่สมรสเพื่อให้ไปขอใช้บริการ แนะนำการวางแผนครอบครัว ศูนย์บริการสาธารณสุข หรือโรงพยาบาลเพื่อตรวจสุขภาพ โรงเรียนที่มีการดูแลใจใส่ลูกของคู่สมรสอย่างใกล้ชิด ที่ทำการประชาสังเคราะห์จังหวัดเพื่อขอคาแนะนาหรือขอทุนสงเคราะห์ ด้านการอาชีพ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าสังคมไทยในระยะหลังๆ มีความเปลี่ยนแปลงมากขึ้น และมีผลทำให้ครอบครัวต้องปรับเปลี่ยนไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้ชุมชนหรือหน่วยบริการทางสังคมต่างๆ ของภาครัฐบาลและภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมประสานหรือเรียกว่าเกิดมี family networking โดยมีจุดสำคัญคือ เพิ่มความผูกพันต่อกันของคนในครอบครัวตลอดไป ความผูกพันระหว่างบิดามารดา และบุตรในทิศทางของความเป็นประชาธิปไตย เหมาะสมกับทุกยุคสมัยเต็มไปด้วยความเข้าใจ ซึ่งกันและกัน

ฉวีวรรณ สุขพันธ์โพธาราม (2527 : 138-140) ได้กล่าวถึงปัญหาในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของวัยรุ่น ไว้ดังนี้

1) เกิดจากตัวเด็กเอง คือ สภาพร่างกายและปัญหาเด็กเอง อาจจะมาจากสามารถดังนี้

1.1) อาหาร การขาดสารอาหาร ได้อาหารไม่เพียงพอ

1.2) ปัญหาโรคทางกายเฉพาะตัว

1.3) ความพิการหรือความบกพร่องของบุคลิกภาพ

1.4) เด็กที่มีปัญหาพัฒนาการทางบุคลิกภาพ มีวุฒิภาวะต่ำ มีปัญหาทางด้านการปรับตัว

1.5) ความกดดันและผิดปกติของอารมณ์ทางเพศ

2) เกิดจากการบีบคั้นทางใจ นับจากสภาพแวดล้อมใกล้ชิด คือครอบครัวและภาวะสังคมรอบตัวที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

2.1) สภาพครอบครัวยุ่งเหยิง พ่อแม่ไม่ปรองดองกัน ทะเลาะเบาะแว้งกัน

2.2) ครอบครัวแตกแยก พ่อมาแยกทางกัน เด็กไม่อาจหาที่พึ่งยึดเป็นแบบแผนได้

2.3) ความบีบคั้นที่ได้รับมีมากมาย นับจากพ่อแม่ไม่มีความสนใจ เอาใจใส่ลูกเด็กว้าเหว่

3) สภาพแวดล้อมที่เด็กได้รับ เช่น สภาพที่ตั้งของบ้าน โรงเรียน เด็กขาดตัวอย่าง และการชักนำไปในทางเสื่อมเสียเป็นส่วนใหญ่

4) กลุ่มเพื่อน การกระทำ ตามค่านิยมกลุ่มในทางที่ผิด เป็นสาเหตุสำคัญของการกระทำ

5) สภาพเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจในครอบครัวและชุมชนทรุดโทรม เป็นเหตุใหญ่ที่สุดของคดีอาชญากรรมวัยรุ่น

6) สื่อมวลชน หนังสือต่างๆที่มีจำหน่ายมากมายไม่ได้รับควบคุมอย่างจริงจัง สาเหตุการ ทำผิดของเยาวชนเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาดูเรื่องราวและสาเหตุอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมไป ในทุกๆด้าน ด้านที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของเยาวชนแต่ละคน และพัฒนาในทุกๆด้านจึงจะสรุปและหาแนวทางแก้ไข และป้องกันให้เหมาะสมกับการกระทำผิด ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย ทุกองค์กรนับแต่ครอบครัวและสิ่งแวดล้อมทั้งฝ่ายเอกชน

     5.1 ปัญหาประเภทต่างๆของนักเรียนวัยรุ่น

นักเรียนแต่ละคนที่เข้ามาอยู่รวมกันในสังคมโรงเรียนที่มีสภาพแวดล้อม และบุคลิกภาพของนักเรียนที่แตกต่างกัน อาจนาไปสู่ปัญหา หรือทำให้เกิดการปรับตัวผิดแผกจากการยอมรับของสังคมได้ นักเรียนวัยรุ่นก่อคดีในห้องเรียน จะกล่าวถึงเรื่องนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับความคอดเบื้องต้นทางด้านพฤติกรรม ซึ่งไม่เป็นผลรุนแรงต่อการจะต้องโทษทางอาญามีดังนี้

1) ปัญหาทางด้านการเรียนมีดังนี้

1.1) ความไม่เข้าใจบทเรียนของนักเรียน

1.2) วางแผนการเลือกสาขาวิชาที่จะเรียนให้เหมาะสมกับสติปัญญาและความคิดของเด็ก

1.3) ปัญหาทางทางด้านส่วนตัว พฤติกรรมที่แสดงออกที่แสดงออกที่เป็นปัญหา มีดังนี้

1.4) ความผิดปกติทางนิสัย

1.5) การมีนิสัยสะเพร่า

1.6) ความไม่ซื่อสัตย์ ทาการทุจริต ลักขโมย

2) ปัญหาการบีบคั้นทางจิตใจ อันเกิดจากสาเหตุต่างๆ มีดังนี้

2.1) ลักษณะอาการด้านประสาท

2.2) อาการเฉื่อยชา เหม่อลอย

2.3) อาการช่างกังวล

2.4) ลักษณะความไม่มั่นใจด้วยการย้ำคิด

2.5) อาการย้ำทำ

3) ปัญหาทางด้านบุคลิกภาพ

3.1) ความกังวลเรื่องบุคลิกลักษณะของตน

3.2) การแสดงความเป็นคนขี้อาย ไม่กล้าแสดงออก

3.3) การแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมกับวัย

3.4) การแสดงพฤติกกรมที่ไม่เหมาะสมกับเพศหรือว่ากระเทย

ทศพร ประเสริฐสุข (2542 : 101-105) ได้กล่าวถึงพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของเด็กสรุปได้ว่า ปัญหาของเด็กในโรงเรียนมีตั้งแต่ปัญหาเล็กน้อยไปจนถึงปัญหาใหญ่ๆ เก็บที่มีปัญหา หรือเด็กที่มีปัญหาทางด้านพฤติกรรมเป็นเด็กที่มีพฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออกไม่เหมาะสมกับสถานการณ์และไม่เป็นที่ยอมรับของครู เช่น ส่งเสียงดังขณะที่ครูสอน ไม่ทางานที่ครูมอบหมาย บางพฤติกรรม อาจก่ออันตรายแก่เพื่อนร่วมชั้นและต่อตัวนักเรียนเอง เช่น การแสดงพฤติกกรมก้าวร้าว ทาลายทรัพย์สินของผู้อื่นก่อกวนชั้นเรียน จนทาให้กิจกรรมการเรียนการสอนต้องหยุดชะงัก เป็นต้น บางลักษณะอาจเป็นพฤติกรรมทางด่านการถดถอยหลีกหนีจากความจริง เพ้อฝันหรือเซื่องซึม เป็นต้น

ในทางจิตวิทยาเชื่อว่าพฤติกรรมทุกชนิดย่อมมีสาเหตุ เมื่อครูพบพฤติกกรมที่เป็นปัญหาอาจวิเคราะห์ได้จากสาเหตุเกิดดังนี้

1) พัฒนาทางร่างกาย ได้แก่ ความไม่ครบถ้วน ความสมบูรณ์ของอวัยวะ เช่น พิการ ตาบอด ขาด้วน ผอมเกินไป อ้วนเกินไป

2) พัฒนาการด้านสังคมในครอบครัว ได้แก่ สังคมในรอบๆตัว ตัวเพื่อนๆ เพื่อนบ้าน ครอบครัวที่พ่อแม่แตกแยก หรือครอบครัวที่อบอุ่น จะมีผลต่อพฤติกรรมของเด็ก

3) พัฒนาการทางด้านจิตใจ ได้แก่ สะเทือนใจอย่างรุนแรงเนื่องจากพ่อแม่ตายตั้งแต่ยังเล็กๆ ขาดความรักความอบอุ่นในครอบครัว หน้าตาขี้เหร่ มีแผลเป็นชัดเจน เกิดในครอบครัวต่ำต้อย ครอบครัวยากจนถูกบีบคั้นมาก พ่อแม่ไม่ให้ความสนใจ เป็นต้น เด็กที่มีการพัฒนาการด้านจิตใจดี สุขภาพจิตก็จะดี มองคนในแง่ดี เป็นคนรักคนอื่น พร้อมที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นอย่างเห็นได้ชัด

จากข้อมูลที่กล่าวมานั้น สรุปได้ว่า ปัญหาในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของวัยรุ่นนั้น มีมาจากปัจจัยต่างๆ ที่ทาให้วัยรุ่นเกิดความวิตกกังวล คิดมากจนทาให้มีปัญหาในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในหลายๆด้าน ทั้งทางร่างกาย ทางสังคม ทางจิตใจ และทางอารมณ์ของวัยรุ่น จนทำให้การดำเนินชิวิต หรือประพฤติปฏิบัติกิจกรรมต่างๆนั้นเกิดความยากลำบากหรือเกิดการขัดข้อง ยุ่งเหยิง ที่จะทำสิ่งนั้นได้โดยไม่ค่อยสะดวกเท่าที่ควรเหมือนอย่างเช่นที่เคยกระทามาในครั้งก่อนๆ

นอกจากนี้ปัญหาในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมยังเกิดจากสภาพแวดล้อมองค์ประกอบต่างๆอีกมากมาย อาทิเช่น

1) เกิดจากตัวเด็กเอง คือ สภาพร่างกายและปัญหาเด็กเอง อันเนื่องมาจาก อาหาร การขาดสารอาหาร ได้อาหารไม่เพียงพอ หรือปัญหาโรคทางกายเฉพาะตัว หรือความพิการหรือความบกพร่องของบุคลิกภาพ หรือเด็กที่มีปัญหาพัฒนาการทางบุคลิกภาพ มีวุฒิภาวะต่ำ มีปัญหาทางด้านการปรับตัว หรือความกดดันและผิดปกติของอารมณ์ทางเพศ

2) เกิดจากการบีบคั้นทางใจ นับจากสภาพแวดล้อมใกล้ชิด คือครอบครัวและภาวะสังคมรอบตัวที่เกี่ยวข้อง อันเนื่องมาจาก สภาพครอบครัวยุ่งเหยิง พ่อแม่ไม่ปรองดองกัน ทะเลาะเบาะแว้งกัน ครอบครัวแตกแยก พ่อมาแยกทางกัน เด็กไม่อาจหาที่พึ่งยึดเป็นแบบแผนได้ ความบีบคั้น ที่ได้รับมีมากมาย นับจากพ่อแม่ไม่มีความสนใจ เอาใจใส่ลูกเด็กว้าเหว่

3) สภาพแวดล้อมที่เด็กได้รับ เช่น สภาพที่ตั้งของบ้าน โรงเรียน เด็กขาดตัวอย่าง และการชักนาไปในทางเสื่อมเสียเป็นส่วนใหญ่

4) กลุ่มเพื่อน การกระทา ตามค่านิยมกลุ่มในทางที่ผิด เป็นสาเหตุสำคัญของการกระทา

5) สภาพเศรษฐกิจ ภาวะเศรษฐกิจในครอบครัวและชุมชนทรุดโทรม เป็นเหตุใหญ่ที่สุดของคดีอาชญากรรมวัยรุ่น

6) สื่อมวลชน หนังสือต่างๆที่มีจำหน่ายมากมายไม่ได้รับควบคุมอย่างจริงจัง สาเหตุการทำผิดของเยาวชนเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาดูเรื่องราวและสาเหตุอย่างกว้างขวาง ครอบคลุมไปในทุกๆด้าน ด้านที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตของเยาวชนแต่ละคน และพัฒนาในทุกๆด้านจึงจะสรุปและหาแนวทางแก้ไข และป้องกันให้เหมาะสมกับการกระทำผิด ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายทุกองค์กรนับแต่ครอบครัวและสิ่งแวดล้อมทั้งฝ่ายเอกชน

6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

        สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ (2547) ได้ศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงในเด็กและเยาวชนในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 โรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการเยาวชนจากชุมชนต่าง ๆ และจากสถานแรกรับเด็กชายและหญิง จำนวน 2,311 คน พบว่า ในระยะ 30วันที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 6.4 พกพาอาวุธไปโรงเรียน ร้อยละ 7.1 รู้สึกไม่ปลอดภัยขณะเดินทาง ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 31.5 เคยอยู่ในเหตุการณ์ที่มีการต่อสู้ทำร้ายร่างกายในสถานที่ทั่วไป ร้อยละ 28.8 ต่อสู้ทำร้ายร่างกายในโรงเรียน ร้อยละ 13.9 เคยถูกทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธร้อยละ ร้อยละ 6.8 เคยได้รับบาดเจ็บจนต้องเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลจากการต่อสู้ทำร้าย ร้อยละ 20.7 เคยถูกเพื่อนทุบตีทำร้ายร่างกายโดยเจตนา และร้อยละ 17.1 เคยถูกลวนลาม

       นวลจันทร์ ทัศนชัยกุล (2549: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่องการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน : กรณีชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ ผลการวิจัยพบว่า เด็กและเยาวชนมีอายุเฉลี่ยขณะกระทำความผิด 17 ปี การศึกษาส่วนใหญ่ระดับ ป.6 การกระทำความผิดส่วนใหญ่กระทำในเวลากลางคืน ไม่มีการวางแผน ใช้จักรยานยนต์ มีการใช้อาวุธ ร้อยละ 50 และก่อนการกระทำความผิดร้อยละ 70 ดื่มสุราและเบียร์ เมื่อพิจารณาถึงสาเหตุการกระทำความผิด สาเหตุมาจากตัวเยาวชน เยาวชนต้องการอิสระเที่ยวกลางคืน มีบุคลิกภาพคึกคะนอง ก้าวร้าวและหงุดหงิด ในขณะเดียวกันก็คิดว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ส่วนสาเหตุจากครอบครัวมีจำนวนร้อยละ 60 ปัญหาครอบครัว คือ ครอบครัวแตกแยก ความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูกไม่ดี ขาดความรักและความอบอุ่น อีกทั้งบรรยากาศภายในครอบครัวไม่ดี มีความรุนแรงทั้งคำพูดและการกระทำ จึงเป็นปัจจัยผลักดันให้เด็กและเยาวชนออกจากบ้าน

        พระมหาบุญจิตร กนฺตสีโล (คำมา) (2550: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง ศึกษาวิธีการแก้ปัญหาศีลธรรมของเยาวชนตามทัศนะของพุทธทาสภิกขุ ว่า หากบุคคลจะสอนคนอื่นให้ดีได้ ตนก็ต้องเป็นครูหรือแบบอย่างที่ดีด้วยเช่นกัน ดังความตอนหนึ่งว่า นักเรียน นักศึกษาจะไม่สามารถพัฒนาตนให้เจริญก้าวหน้าทางสติปัญญาสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องได้ หากขาดผู้นำหรือแบบอย่างที่ดี ดังนั้นบุคคลผู้อยู่ในฐานะเป็นครูหรือผู้สั่งสอนคนอื่นให้เป็นคนดี จะต้องเป็นกัลยาณมิตรที่ดีด้วย ทั้งให้การอบรมในทางที่ถูกต้องดีงาม ไม่หวงความรู้ ยกย่องให้เกียรติ จึงควรเป็นแบบอย่างแก่สังคมและคนอื่นได้

        วิไลรัตน์ ปรีดายุทธนา (2550: บทคัดย่อ)ศึกษาพฤติกรรมการดื่มสุราของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กรณีศึกษาโรงเรียนรัฐบาลในระดับอำเภอของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า

1) นักเรียนส่วนใหญ่มีประสบการดื่มสุราเริ่มครั้งแรกในช่วงอายุ 15 ปี (29.50%) โดยสาเหตุของการดื่มสุราครั้งแรกมาจากการ อยากลอง (29.61%) และเหตุผลที่นักเรียนยังคงดื่มสุราในปัจจุบัน คือเพื่อนชวน (25.58%)

2) ชนิดของสุราที่นักเรียนส่วนใหญ่ดื่มครั้งแรก คือ เบียร์ (32.84%) และชนิดของสุราที่ดื่มบ่อยครั้งคือ เบียร์ (49.77%)

3) นักเรียนส่วนใหญ่ดื่มสุราบ่อยมากที่สุดในงานเทศกาลต่างๆ (45.57%) โดยคนที่ดื่มสุราด้วย คือ เพื่อน (89.90%) ส่วนช่วงเวลาที่ดื่มโดยปกติ คือ ดื่มในช่วงวันหยุด (64.40%) และ สถานที่ดื่มสุรา คือ บ้านเพื่อน (67.80%)

 4) นักเรียนส่วนใหญ่ มีค่าใช้จ่ายในการดื่มสุราประมาณ 50 – 100 บาท (51.00%) ต่อครั้ง และมีวิธีการได้มาของสุรา คือ จ่ายเงินซื้อเอง (55.00%)

5) ปัจจุบันนักเรียนส่วนใหญ่ ดื่มบ้างเป็นบางครั้ง (83.90%) และแต่ละครั้งที่ดื่ม จะดื่มมากกว่าหนึ่งกลม (28.90%) สำหรับการเลิกดื่มในแต่ละครั้ง บอกว่าเลิกดื่มเมื่อเริ่มรู้สึกมึนงงศีรษะ (60.40%)

6) ในการดื่มแต่ละครั้งนักเรียนส่วนใหญ่ ไม่เคยใช้สารเสพติดร่วมกับการดื่มสุรา (66.23%) สำหรับการกระทำที่แสดงออกหลังการดื่มสุรา คือ นอน (32.35%) และจากคำบอกเล่าคนรอบข้างเกี่ยวกับการกระทำที่นักเรียนส่วนใหญ่แสดงออกหลักการดื่มสุราคือ นอน (32.39%) นอกจากนี้ส่วนใหญ่ไม่เคยทะเลาะวิวาทชกต่อยเนื่องจากการดื่มสุรา (76.50%) แต่เป็นที่สังเกตว่า มีจำนวนของนักเรียนเกือบครึ่งหนึ่ง (49.00%) ที่บอกว่าหลักการดื่มสุราแล้วจะขับขี่ยานพาหนะ คือจักรยานยนต์

        วิเชียร ปรีชาธรรมวงศ์(2550: บทคัดย่อ) ได้ศึกษาการแก้ไขปัญหาเยาวชนกระทำผิดด้วยการประชุมกลุ่มครอบครัวผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 53.4 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างคือ 36.86 ปี ส่วนใหญ่มีอายุสูงกว่า 40 ปี การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 37.3 ประกอบอาชีพรับจ้างคิดเป็นร้อยละ 38.1 มีรายได้ไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 27.1 ส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยรวม 0.83

        อิสระพงศ์ แซงมุกดา (2552: บทคัดย่อ) ศึกษาผลการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการจัดกิจกรรมโครงการมวลชน สัมพันธ์เพื่อแก้ปัญหาเยาวชนของเจ้าหน้าที่ตำรวจสถานีตำรวจภูธร อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น ผลการศึกษาพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับเยาวชนในเขตอำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น ที่กำลังก่อให้เกิดผลกระทบต่อสังคมชนบทอยู่ในขณะนี้ คือ ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งเสพติด ปัญหาเกี่ยวกับการทะเลาะวิวาท ปัญหาเกี่ยวกับลัทธิบริโภคนิยม และปัญหาเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งปัญหาต่างๆ เหล่านี้เกิดขึ้นเพราะกระแสวัฒนธรรมเมืองได้รุกคืบเข้าสู่ชนบทอย่างรุนแรงและรวดเร็ว อีกสาเหตุหนึ่งเพราะความบกพร่องทางครอบครัว การขาดความอบอุ่นจากครอบครัวเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวทางสถานีตำรวจภูธรซำสูง จึงได้ดำเนินการโครงการมวลชนสัมพันธ์ขึ้น โดยตั้งเป้าประสงค์ไว้ 4 ประการ คือ การให้ความสำคัญต่อเยาวชน การหมั่นฝึกฝนพัฒนาเยาวชนอยู่เสมอ การสอนให้รู้จักกตัญญูรู้คุณ และการสอนให้รู้จักรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในการจัดกิจกรรมดังกล่าวทางโครงการมวลชนสัมพันธ์ ได้นำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหา โดยติดตามและประเมินผลจากการสุ่มสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปกครองเยาวชน สถานศึกษา และสถาบันศาสนา ได้ผลสรุปว่า (1) หลักการเจริญสติ หลักอบายมุข 6 หลักอัปปมาทธรรม สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชนที่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดได้ ทั้งการเสพและการซื้อขาย ทำให้เด็กมีสติยั้งคิดก่อนทำ ตั้งตนอยู่ด้วยความไม่ประมาท โดยรู้จักเลือกคบคนดีเป็นเพื่อน (3) หลักคารวธรรม หลักสามัคคีธรรม หลักสาราณิยธรรม หลักการคบมิตรหลักสัปปุริสธรรม และหลักฆราวาสธรรม ล้วนเป็นธรรมที่ช่วยสนับสนุนให้เยาวชนเป็นผู้มีจิตใจที่แข็งแกร่ง สามารถที่จะยับยั้งชั่งใจตนไม่ให้จับกลุ่มชวนกันทะเลาะวิวาท เยาวชนมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีการรวมกลุ่มเพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์สาธารณะ และรู้จักรักษาตนตามกรอบของกฎระเบียบของสังคม (3) หลักประโยชน์จากการถือเอาโภคทรัพย์ หลักกุลจิรัฏฐิติธรรม หลักคุณค่าแท้คุณค่าเทียม และหลักทิฏฐธัมมิกัตถสังวัตตนิกธรรม ส่งเสริมให้เยาวชนลดความฟุ้งเฟ้อไปตามกระแสวัฒนธรรมบริโภคนิยม รู้จักความพอดีและความพอเพียงในการใช้จ่ายเป็นการใช้สอยเพื่อมุ่งถึงประโยชน์ที่แท้จริงของวัตถุสิ่งของนั้นๆ (4) หลักไตรสิกขา อารยวัฒน์ และหลักการเจริญภาวนา สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชนที่เคยสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นได้ เพราะการรู้จักคิดหาเหตุผลของการเกี่ยวข้องกับบุหรี่และสุรา ทำให้เขาเกิดการยับยั้งชั่งใจด้วยปัญญา และสามารถที่จะพัฒนาตนให้เป็นผู้เจริญทั้งทางกาย และจิตใจได้ในที่สุด

        อัชรา พลายละหาร (2553: บทคัดย่อ) ศึกษาผลกระทบและแนวทางป้องกัน และแก้ไขปัญหาวัยรุ่นในพื้นที่รับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลมะขามล้ม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่ตำบลมะขามล้ม มีปัญหาวัยรุ่นที่มีระดับความรุ่นแรงมาก ได้แก่ปัญหายาเสพติด คือ การดื่มสุรา สูบบุหรี่ การเสพยาบ้า รองลงมาคือปัญหาพฤติกรรมวัยรุ่น คือ การหนีเรียน เล่นการพนัน พูดจาก้าวร้าว และชู้สาว ปัญหาเพศสัมพันธ์ซึ่งได้แก่ การตั้งท้องในวัยเรียน ซึ่งเป็นปัญหาวัยรุ่นที่มีระดับความรุนแรงในระดับปานกลาง โดยมีปัจจัยสาเหตุหลัก 3 ส่วน คือ ตัววัยรุ่นเอง มีความคึกคะนอง อยากลอง และพฤติกรรมการเลียนแบบ ปัจจัยด้านครอบครัว คือ พ่อ แม่ไม่มีเวลาอบรมสั่งสอน ครอบครัวแตกแยก ขาดความอบอุ่น และวัยรุ่นอาศัยอยู่กับปู่ย่าตายาย ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมทางสังคม คือ เพื่อนชักชวน สื่อยั่วยุ หน่วยงานภาครัฐไม่ดูแลใส่ใจปัญหาวัยรุ่น ชุมชนไม่มีสถานที่ให้เด็กทำกิจกรรม ส่งผลกระทบดังนี้คือ วัยรุ่นมีความประพฤติไม่เรียบร้อย ไม่จบการศึกษา มีปัญหาด้านสุขภาพ ทำให้ครอบครัวมีภาระทางการเงิน ครอบครัวขาดความสุข ชุมชนและสังคมอ่อนแอ คนขาดคุณภาพ เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีให้กับรุ่นน้อง เกิดปัญหาลักขโมยในชุมชน แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหา ได้แก่ ครอบครัวควรเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการป้องกันปัญหาวัยรุ่น พ่อแม่ต้องปลูกฝังค่านิยมที่ดีให้กับลูก ประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำที่ถูกต้อง สร้างความอบอุ่นให้กับครอบครัว ภาครัฐต้องเข้ามาดูแล เช่น การก่อสร้างสวนสาธารณะเพื่อให้ครอบครัวได้มีกิจกรรมร่วมกัน ก่อสร้างลานกีฬา เพื่อให้เด็กได้รวมกลุ่มกันทำกิจกรรมที่เกิดประโยชน์แทนการใช้เวลาจับกลุ่มมั่วสุม ซึ่งเสี่ยงต่อพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหาวัยรุ่นหรือจัดกิจกรรมศึกษาอบรมอย่างต่อเนื่องทุกปี

        สุรัสวดี พนมแก่น (2554: บทคัดย่อ) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับพฤติกรรมรุนแรงของเด็กวัยรุ่นชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร้อยละ 38.8 เป็นนักเรียนชาย ร้อยละ45.3 นักเรียนหญิงร้อยละ 57.4 อายุที่เริ่มดื่มตํ่าสุด 5 ปี ระดับการดื่มแบบความเสี่ยงตํ่า ร้อยละ 14.02 แบบเสี่ยงร้อยละ 7.79 แบบอันตรายร้อยละ 3.82 และแบบติดร้อยละ 3.26 กลุ่มตัวอย่างเคยมีพฤติกรรมรุนแรงร้อยละ 48.6 การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมรุนแรงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ P<0.05 โดยกลุ่มดื่มมีโอกาสเกิดพฤติกรรมรุนแรงเป็น 2.71 เท่าของกลุ่มที่ไม่ดื่ม (95%CI= 1.91-3.83) และพบว่า ทุกระดับของการดื่มมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความรุนแรงทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P<0.05 โดยการดื่มแบบเสี่ยงตํ่ามีโอกาสเกิดพฤติกรรมรุนแรงเป็น 1.55 เท่าของกลุ่มที่ไม่ดื่ม (95%CI=1.01-2.39) การดื่มแบบเสี่ยงมีโอกาสเกิดพฤติกรรมรุนแรงเป็น 3.13 เท่าของกลุ่มไม่ดื่ม (95%CI=1.72-5.70) การดื่มแบบอันตรายมีโอกาสเกิดพฤติกรรมรุนแรงเป็น 8.06 เท่าของกลุ่มที่ไม่ดื่ม (95%CI=2.75-23.65) และการดื่มแบบติดมีโอกาสเกิดพฤติกรรมรุนแรงเป็น14.72 เท่าของกลุ่มที่ไม่ดื่ม(95%CI=2.75-23.65)

คำสำคัญ (Tags): #ปัญหาวัยรุ่น
หมายเลขบันทึก: 575323เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2014 11:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 สิงหาคม 2014 11:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท