ฉบับที่ ๓๙ ขอเชิญชวนส่งผลงานวิชาการ เข้าร่วมนำเสนอในงานประชุมวิชชาการ ๙ ปี สช


ขอเชิญชวนส่งผลงานวิชาการ เข้าร่วมนำเสนอในงานประชุมวิชชาการ ๙ ปี สช

“ปฏิรูประบบสุขภาพและชีวิต ปฏิรูปจิตสำนึกประชาธิปไตย”

๑.ความเป็นมา

แนวคิดเรื่องการปฏิรูประบบสุขภาพของประเทศไทยก่อตัวมากว่า ๒ ทศวรรษ สืบเนื่องจากการเปลี่ยนมุมองด้านสุขภาพแบบแยกส่วน มุ่งการขยายบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เน้นการซ่อมสุขภาพเสียหรือรักษาโรค สู่การมองแบบองค์รวม เน้นการ “สร้างนำซ่อม” และมองว่าเรื่องสุขภาพไม่ใช่แค่เรื่องมดหมอ หยูกยา การรักษาพยาบาล หรือการแพทย์และสาธารณสุข แต่เป็นเรื่องของสุขภาวะ ๔ มิติคือ ร่างกาย จิตใจ สังคม และปัญญา ที่เชื่อมโยงเป็นองค์รวมอย่างสมดุล และสัมพันธ์กับระบบต่างๆ ของสังคม การมีสุขภาพดีจึงไม่ได้ขึ้นอยู่กับการจัดระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ดีเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยเกี่ยวข้องอื่นๆ อีกมากมาย อาทิ พฤติกรรม ความเชื่อ วิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อม ระบบต่างๆ ในสังคม และระบบนโยบายสาธารณะซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพทั้งทางตรงและทางอ้อม

ด้วยเหตุนี้ สำนักคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จึงเห็นสมควรให้มีการจัดงานประชุมวิชชาการ ๙ ปี สช.เพื่อนำบทเรียนจากการปฏิรูประบบสุขภาพ การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพและพัฒนาประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในวาระที่ สช.เข้าสู่ปีที่ ๙ นับตั้งแต่ประการใช้พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๐

  • ๒.กรอบความคิดงานวิชาการในการประชุมวิชชาการ ๙ ปี สช.

งานประชุมวิชชาการ ๙ ปี สช. จัดภายใต้ประเด็นหลัก คือ “ปฏิรูประบบสุขภาพและชีวิต ปฏิรูปจิตสำนึกประชาธิปไตย” โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาระบบ กลไก และกระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณสุขเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม เพื่อปฏิรูประบบสุขภาพและปฏิรูปประเทศไทย

ทั้งนี้ การพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม หรือ Participatory Healthy Public Policy Process (PHPPP) ในการประชุมนี้ หมายถึง การพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมที่ครอบคลุมมิติต่างๆ ที่มีความเชื่อมโยงและสัมพันธ์กับการปฏิรูประบบสุขภาพ ชีวิต และจิตสำนึกประชาธิปไตย อาทิ มิติ ด้านทรัพยากรธรรมชาติ เศรษฐกิจ สังคม และการเมือง เป็นต้น

วัตถุประสงค์เฉพาะมี ๓ ประการ คือ

  • ๑.สังเคราะห์และแบ่งปันความรู้
  • ๒.พัฒนาศักยภาพ
  • ๓.กำหนดทิศทางการทำงาน

๓.ลักษณะชุดความรู้ทางวิชาการเพื่อนำเสนอ

ชุดความรู้ต้องมีสาระเกี่ยวข้องกับการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วมแบ่งเป็น ๓ ลักษณะ ได้แก่

๓.๑ บทเรียนจากกรณีศึกษา

๓.๒ งานวิชาการที่สังเคราะห์จากการทำงาน

๓.๓ งานวิจัยที่มีระเบียบวิธีวิจัย

๔.การส่งผลงานและเกณฑ์การพิจารณา

๔.๑ รูปแบบการนำเสนอผลงาน

๔.๑.๑ การนำเสนอด้วยวาจา

๔.๑.๒ การนำเสนอด้วยโปสเตอร์

ทั้งนี้ คณะทำงานคัดเลือกอาจพิจารณาปรับรูปแบบการนำเสนอตามความเหมาะสม

๔.๒ การพิจารณาและเกณฑ์ตัดสิน

การกำหนดหลักเกณฑ์และคัดเลือกผลงานจะดำเนินการโดยคณะทำงานคัดเลือก

๔.๓ การคัดเลือกผลงาน

๔.๓.๑ เปิดรับผลงาน ตั้งแต่วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๗ ถึง ๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๗

๔.๓.๒ ช่องทางการส่งผลงาน

- ทาง www.nationalhealth.or.th

- ทาง email ที่ [email protected]

- ทางไปรษณีย์ โดยส่งผลงานในรูปซีดี มาที่

ฝ่ายเลขานุการจัดประชุมวิชชาการ ๙ ปี สช.

เลขที่ ๘๘/๓๙ สำนักคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ชั้น ๒

ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี ๑๑๐๐๐

๔.๓.๓ ประกาศผลภายในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๘

 

๕.แนวทางการส่งผลงาน

๕.๑ หมวดหมู่ของผลงานเพื่อนำเสนอ

๑. รูปแบบของการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม

๒. การอภิบาลระบบสุขภาพ

๓. การมีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ

๔. การลดความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพ

๕.๒ กรอบแนวทางการเขียนผลงานเพื่อนำเสนอ

ก. ชื่อผลงาน : ไม่ควรเกิน ๒ บรรทัด ใช้ตัวย่อได้

ข. ชื่อเจ้าของผลงาน ชื่อหน่วยงาน ที่อยู่หน่วยงาน :

ชื่อ-นามสกุล ...........................................................................................................................

หน่วยงาน ...............................................................................................................................

ที่อยู่ .......................................................................................................................................

โทรศัพท์ ............................................................ โทรศัพท์มือถือ ............................................

Email address ………………………………………………………………………………………

ค. คำสำคัญ : ไม่เกิน ๕ คำหรือวลี

ง. หมวดหมู่ผลงาน (ระบุ ๑ หมวดหมู่ที่เหมาะสม) :

o รูปแบบของการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพแบบมีส่วนร่วม

o การอภิบาลระบบสุขภาพ

o การมีส่วนร่วมในการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ

o การลดความเลื่อมล้ำในระบบสุขภาพ

จ. เนื้อหาในผลงาน : ควรประกอบด้วย ๑)ความเป็นมา ๒)กระบวน PHPPP ที่เลือกใช้ ๓)บทวิเคราะห์ผลการศึกษา ๔)บทสรุปและข้อเสนอแนะ ๕)เอกสารอ้างอิง กรณีงานวิจัย หรือ งานวิชาการ

๕.๓ ข้อแนะนำในการเขียนผลงาน

- ชื่อผลงาน ใช้แบบอักษร Cordia UPC ขนาดอักษร ๑๘ point ตัวเข้ม ความยาวไม่เกิน ๒ บรรทัด

- เนื้อหา ใช้แบบอักษร Cordia UPC ขนาดอักษร ๑๖ point ความยาวไม่เกิน ๑๐ หน้ากระดาษ ขนาด A4 ตั้งขอบกระดาษ ๓ เซนติเมตร ทั้ง ๔ ด้าน

๖. รายละเอียดเพิ่มเติม

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

คุณลักษวรรณ โกมาสถิต

โทรศัพท์ : ๐ ๒๘๓๒ ๙๐๐๒ โทรสาร : ๐ ๒๘๓๒ ๙๐๐๒

Email address :[email protected]

เชิญชาว Go to know เขียนส่งมากันนะคะ

ศจย. www.trc.or.th

29 ส.ค.57

หมายเลขบันทึก: 575322เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2014 11:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 สิงหาคม 2014 11:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท