ขอเชิญเข้าอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง "การตรวจพิสูจน์ไมโตคอนเดรียทางนิติเวชศาสตร์"


download เอกสาร นี้

download เอกสารนี้

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การตรวจพิสูจน์ไมโตคอนเดรียทางนิติเวชศาสตร์


1. ผู้รับผิดชอบโครงการ

     หน่วยนิติเวชศาสตร์และพิษวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

2. หลักการและเหตุผล

     การตรวจพิสูจน์ไมโตคอนเดรียทางนิติเวชศาสตร์ เป็นการทดสอบหนึ่งที่ใช้ตรวจความสัมพันธ์ญาติร่วมบรรพบุรุษสายมารดาเดียวกัน เช่น พี่-น้องร่วมมารดาเดียวกัน ลุง(พี่ชายของแม่)-หลาน ป้า(พี่สาวของแม่)-หลาน น้า(น้องชายหรือน้องสาวของแม่)-หลาน ยาย(แม่ของแม่)-หลาน เป็นต้น หรือใช้ตรวจในวัตถุพยานบางชิ้นที่ดีเอ็นเอในตัวอย่างตรวจเริ่มเสื่อมสภาพ ทำให้ไม่สามารถตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอด้วยวิธีตรวจ autosomal STR ได้ตามปกติ การตรวจไมโตคอนเดรียทางนิติเวชศาสตร์ มีวิธีการทำการทดสอบที่ยุ่งยาก ซับซ้อน อีกทั้งยังจำเป็นต้องใช้เครื่องมือวิเคราะห์ลำดับเบสอัตโนมัติ และใช้โปรแกรมในการเปรียบเทียบลำดับเบส ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานด้านนี้จึงจำเป็นต้องมีความรู้ ความชำนาญ และทักษะในการปฏิบัติงานขั้นสูง

     ตามที่หน่วยนิติเวชศาสตร์และพิษวิทยา ภาควิชาพยาธิวิทยา ร่วมกับเครือข่ายนิติพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย สมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดการเปรียบเทียบระหว่างห้องปฏิบัติการสำหรับตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอทางนิติเวชศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2556 โดยมีห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอทางนิติเวชศาสตร์ในประเทศไทย เข้าร่วมจำนวน 13 แห่ง จากผลการเปรียบเทียบระหว่างห้องปฏิบัติการดังกล่าว พบว่า การตรวจพิสูจน์ไมโตคอนเดรียทางนิติเวชศาสตร์ เป็นการทดสอบที่มีความคลาดเคลื่อนระหว่างห้องปฏิบัติการสูงที่สุด โดยมีปัญหาตั้งแต่ระดับการทำการทดสอบทางห้องปฏิบัติการ การบันทึกตำแหน่งที่แตกต่างจากสายดีเอ็นเออ้างอิง การคำนวณทางสถิติ และการรายงานผลการทดสอบ

     การจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานทางด้านนี้ เข้าใจเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการตรวจวิเคราะห์ไมโตคอนเดรียทางนิติเวชศาสตร์ สามารถเปรียบเทียบรูปแบบดีเอ็นเอของไมโตคอนเดรียตามมาตรฐานที่กำหนด สามารถคำนวณค่าทางสถิติประกอบการตัดสินใจ และสามารถรายงานผลการทดสอบ โดยมีรายละเอียดประกอบการตัดสินใจที่ครบถ้วน สมบูรณ์ อันจะเป็นการยกระดับให้การตรวจพิสูจน์ไมโตคอนเดรียทางนิติเวชศาสตร์ของห้องปฏิบัติการในประเทศไทยมีมาตรฐานที่สอดคล้องกัน และลดความคลาดเคลื่อนในการตรวจพิสูจน์ไมโตคอนเดรียทางนิติเวชศาสตร์ระหว่างห้องปฏิบัติการลง โดยสามารถตรวจติดตามคุณภาพของการทดสอบนี้ได้จาก การเปรียบเทียบระหว่างห้องปฏิบัติการตรวจพิสูจน์ดีเอ็นเอทางนิติเวชศาสตร์ ซึ่งดำเนินการโดยเครือข่ายนิติพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย สมาคมพันธุศาสตร์แห่งประเทศไทย เป็นประจำทุกปี

3. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรม

     3.1 มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถทำการทดสอบตรวจพิสูจน์ไมโตคอนเดรียทางนิติเวชศาสตร์ ด้วยวิธีการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอ และตรวจวิเคราะห์การเรียงตัวของลำดับเบส สามารถบันทึกตำแหน่งที่แตกต่างจากสายดีเอ็นเออ้างอิงได้อย่างถูกต้อง

     3.2 สามารถคำนวณค่าทางสถิติ เพื่อใช้บอกความสัมพันธ์ร่วมบรรพบุรุษสายมารดาเดียวกันได้

     3.3 เข้าใจ และสามารถใช้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสารพันธุกรรมทางนิติเวชศาสตร์ ในการเป็นพยาน/พยานผู้เชี่ยวชาญ ให้ความเห็นด้านการตรวจพิสูจน์ไมโตคอนเดรียทางนิติเวชศาสตร์ในศาลสถิตยุติธรรม

4. ผู้เข้าอบรมจำนวนประมาณ 20 ท่าน ได้แก่ แพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ ที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการด้านนิติเวชศาสตร์ หรืองานด้านการควบคุมคุณภาพห้องปฏิบัติการทางนิติเวชศาสตร์ และ/หรือ นักศึกษา อาจารย์จากสถาบันการศึกษาที่มีการเรียนการสอนด้านการตรวจพิสูจน์ไมโตคอนเดรียทางนิติเวชศาสตร์

5. ค่าลงทะเบียน 2,000 บาท

6. วันที่จัด 11-12 กันยายน 2557

7. สถานที่ ณ ห้องประชุม 2 ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

8. วิธีการอบรม

     - บรรยาย ซักถาม

     - ฝึกปฏิบัติการ ซักถาม

     - แบ่งกลุ่มย่อย ทำโจทย์กรณีศึกษาต่างๆ วิพากษ์โดยผู้เชี่ยวชาญ

9. วิทยากร

     9.1 รองศาสตราจารย์ บุษบา ฤกษ์อำนวยโชค

หัวหน้าหน่วยมนุษย์พันธุศาสตร์

ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทย์โรงพยาบาลรามาธิบดี

     9.2 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ วรวีย์ ไวยวุฒิ

หัวหน้ากลุ่มงานศูนย์ตรวจสารพันธุกรรมทางนิติวิทยาศาสตร์

สํานักนิติวิทยาศาสตร์ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม

     9.3 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุวิทย์ เรืองกิตติสกุล

อาจารย์ประจำภาควิชาพยาธิวิทยา

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

     9.4 นาย สุคนธ์ ประดุจกาญจนา

นักเทคนิคการแพทย์ชำนาญการพิเศษ

ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

      9.5 นาง จินตนา ประดุจกาญจนา

นักเทคนิคการแพทย์ชำนาญการพิเศษ

ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

     10.1 ผู้เข้าร่วมอบรมมีความเข้าใจวิธีทดสอบ การเปรียบเทียบรูปแบบดีเอ็นเอไมโตคอนเดรีย การคำนวณทางสถิติ และการรายงานผลการทดสอบ การตรวจพิสูจน์ไมโตคอนเดรียทางนิติเวชศาสตร์ ได้ ครบถ้วน สมบูรณ์ เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

     10.2 ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจ สามารถแปลผลการทดสอบ และเข้าใจข้อจำกัดของการทดสอบ การตรวจพิสูจน์ไมโตคอนเดรียทางนิติเวชศาสตร์ สามารถเป็นพยาน/พยานผู้เชี่ยวชาญ หรือให้ความเห็น ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตรวจพิสูจน์ไมโตคอนเดรียทางนิติเวชศาสตร์ ในศาลสถิตยุติธรรม

     10.3 ลดความแตกต่างของการรายงานผลการตรวจพิสูจน์ไมโตคอนเดรียทางนิติเวชศาสตร์ ระหว่างห้องปฏิบัติการลง ทำให้การทดสอบตรวจพิสูจน์ไมโตคอนเดรียทางนิติเวชศาสตร์ในประเทศไทยระหว่างห้องปฏิบัติการภายในประเทศไทย มีมาตรฐานสอดคล้องกันมากยิ่งขึ้น

11. การประเมินผล

     -แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจของผู้เข้าอบรม

12. คณะกรรมการจัดอบรม

     12.1 ผศ.นพ.สุวิทย์ เรืองกิตติสกุล ประธาน

     12.2 นายสุคนธ์ ประดุจกาญจนา กรรมการ

     12.3 นางจินตนา ประดุจกาญจนา กรรมการ

     12.4 นางวาทินี อรนพ กรรมการ

     12.5 นางสาวเสาวณิต มณีโชติ กรรมการ

      12.6 นางสาวขัตติยา อรุณพันธ์ กรรมการและเลขานุการ


กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง

การตรวจพิสูจน์ไมโตคอนเดรียทางนิติเวชศาสตร์ (forensic mitochondrial DNA typing)

ณ ห้องประชุม 2 ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วันที่ 11 – 12 กันยายน 2557

วันที่ 11 กันยายน 2557

เวลา      เนื้อหาและหลักสูตร วิทยากร
08:30 - 09:00 น. ลงทะเบียน หัวหน้าภาควิชากล่าวเปิดการประชุม
09:00 - 10:00 น. ทฤษฎี และสิ่งที่ต้องรู้เกี่ยวกับไมโตคอนเดรีย
     
- ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับไมโตคอนเดรีย - การใช้ไมโตคอนเดรียในงานด้านนิติเวชศาสตร์

     - การแปลผลการตรวจไมโตคอนเดรียทางนิติเวชศาสตร์

รศ.ดร. บุษบา ฤกษ์อำนวยโชค
10:00 - 10:15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10:15 - 11:15 น. การประยุกต์ใช้ไมโตคอนเดรียในงานด้านนิติเวชศาสตร์
     - การพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล
     - การพิสูจน์ความสัมพันธ์ร่วมบรรพบุรุษสายมารดาเดียวกัน

     - การระบุชนิดของสัตว์ (species identification)

     - case study

ผศ.นพ.วรวีร์ ไวยวุฒิ
11:15 - 12:15 น. ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการตรวจวัตถุพยาน ที่เกี่ยวกับดีเอ็นเอทางนิติเวชศาสตร์ในประเทศไทย
      - การปรับข้อกฎหมายเรื่องวัตถุพยาน มาประยุกต์ใช้กับการตรวจวิเคราะห์ดีเอ็นเอ
      - ตัวอย่างกฎหมายเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้สารพันธุกรรมในต่างประเทศ

      - case study

ผศ.นพ.สุวิทย์ เรืองกิติสกุล
12:15- 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 - 14:00 น. การอ่านผล และการบันทึกตำแหน่งที่แตกต่างจากสายดีเอ็นเออ้างอิง
      - ทางเลือกในการทำ PCR (separated or overlap fragments)
      - substitution, deletion และ insertion

      - ข้อกำหนดในการบันทึกตำแหน่งที่แตกต่างจากสายดีเอ็นเออ้างอิง

นายสุคนธ์ ประดุจกาญจนา
14:00 - 14:15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
14:15 - 16:00 น. การคำนวณทางสถิติสำหรับการตรวจพิสูจน์ไมโตคอนเดรียทางนิติเวชศาสตร์
     - สถิติเบื้องต้น สำหรับงานด้านนิติเวชศาสตร์
      - การคำนวณ haplotype frequency

      - การใช้ likelihood ratio และ posterior probability จาก autosomal STR ร่วมในการแปลผลความสัมพันธ์ญาติร่วมบรรพบุรุษสายมารดาเดียวกัน

นายสุคนธ์ ประดุจกาญจนา
วันที่ 12 กันยายน 2557
08:30 - 09:00 น. ลงทะเบียน
09:00 – 10:00 น. การใช้โปรแกรม sequencher ในการทำ mtDNA alignment
     - การติดตั้งโปรแกรม
      - การใช้โปรแกรม

      - การแก้ไข ตำแหน่งที่แตกต่างจากสายดีเอ็นเออ้างอิง ให้เป็นไปตามข้อกำหนด

นายสุคนธ์ ประดุจกาญจนา
10:00 - 10:15 น. พักรับประทานอาหารว่าง
10:15 - 11:15 น. การใช้โปรแกรม mtDNA population database ในการวิเคราะห์ความถี่ haplotype
     - การติดตั้งโปรแกรม
     - การใช้โปรแกรม

     - การอ่านผลความถี่ haplotype

นายสุคนธ์ ประดุจกาญจนา
11:15 - 12:00 น. การใช้โปรแกรม PSU CalPat รุ่น 1.4 ในการรายงานผล mtDNA
      
- การติดตั้งโปรแกรม
      - การลงทะเบียนข้อมูล

      - การคำนวณค่าทางสถิติ

      - การอ่านผลรายงานการทดสอบ

      - ทดลองใช้โปรแกรม

นายสุคนธ์ ประดุจกาญจนา
12:00 - 13:00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 - 16.00 น. workshop จัดกลุ่ม แจก Case study
        ให้วิเคราะห์โจทย์ วิเคราะห์ผลการทดสอบ คำนวณค่าทางสถิติ และรายงานผลการทดสอบ แล้วนำเสนอ
นางจินตนา ประดุจกาญจนา
รศ.ดร.บุษบา ฤกษ์อำนวยโชค
ผศ.นพ.วรวีย์ ไวยวุฒิ
ผศ.นพ.สุวิทย์ เรืองกิตติสกุล
นายสุคนธ์ ประดุจกาญจนา
16.00 พิธีปิดการอบรม
หมายเลขบันทึก: 574001เขียนเมื่อ 7 สิงหาคม 2014 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 สิงหาคม 2014 18:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สำหรับท่านที่เป็นนักเทคนิคการแพทย์  การเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการนี้ จะได้รับคะแนน CMTE จำนวน 11 คะแนน ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท