ถั่วงอกมากคุณค่าป้องกันหวัด


ถั่วงอกเพาะได้เองเพื่อสุขภาพ

ถั่วงอก บางคนชอบแบบสดดิบ บางคนชอบสุก ซึ่งก็อร่อยทั้ง 2 แบบตามความชอบ แต่ก็มีข้อควรระวังในการนำถั่วงอกมาเป็นอาหารด้วยนะคะ โดยเฉพาะการซื้อไม่ได้เพาะจากถั่วเขียวด้วยตนเอง การเพาะถั่วงอกมีหลายวิธีตามความสะดวกที่จะทำการเพาะให้เหมาะสมกับสถานที่หรือความสะดวกได้อีกด้วย  นำสิ่งดีๆของถั่วงอกมาฝากเพิ่มนะคะ 





ถั่วงอก มากคุณค่าทางโภชนาการป้องกันหวัด


ถั่วงอก คือต้นอ่อนที่งอกออกมาจากเมล็ดของถั่ว ซึ่งเมล็ดถั่วที่นิยมเพาะกันมีหลายชนิด ได้แก่ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วลิสง ถั่วลันเตา ซึ่งรสชาติ และวิธีการเพาะถั่วแต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกันออกไป

สำหรับถั่วที่คนไทยนิยมรับประทานกัน คือ ถั่วงอกที่เพาะมาจากถั่วเขียว เพราะมีรสชาติหวานกรอบ และอร่อยถูกปากคนไทย ซึ่งสามารถรับประทานได้หลายรูปแบบ เช่น นำมาใส่ในก๋วยเตี๋ยว นำมาเป็นเครื่องเคียงในขนมจีนน้ำยา ใส่ในผัดไทย หอยทอด และยังสามารถนำมาประกอบอาหารได้อีก เช่น ผัดถั่วงอก


สำหรับคุณค่าทางโภชนาการของถั่วงอกนั้นมีคุณค่าทางอาหารหลายอย่าง ได้แก่ โปรตีน เกลือแร่ และวิตามินค่อนข้างครบถ้วน โดยในถั่วงอกนั้นจะมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และเหล็กสูง อีกทั้งยังมีวิตามินซีสูงอีกด้วย ถ้าเรารับประทานถั่วงอก 1 ถ้วย จะให้วิตามินซีในปริมาณ 1 ใน 10 ที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน

ดังนั้นในช่วงเวลานี้จึงเหมาะอย่างยิ่ง ที่เราจะรับประทานถั่วงอกเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในการป้องกันโรคหวัด นอกจากนี้ถั่วงอกยังจัดเป็นผักที่ให้พลังงานต่ำ โดยถั่วงอก 100 กรัมจะให้พลังงานเพียง 36 กิโลแคลอรี และยังให้เส้นใยอาหารสูงจึงเหมาะกับหนุ่ม ๆ สาว ๆ ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักตัว หรือคนที่มีน้ำหนักตัวเกิน 



อย่างไรก็ตามมีการทดลองในหนูพบว่าการให้หนูกิน

สารในถั่วงอกสามารถป้องกันตับจากการถูกทำลายได้ โดยในถั่วงอกมีสารอาหารพิเศษ 

ได้แก่ สารซูเปอร์ออกไซด์ดิสมิวเทส หรือเอสโอดี (SOD) 

ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์สูง สารกาบา (GABA) 

เป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งช่วยกระตุ้นการทำงานของสมอง 

พบว่าสูงกว่าถั่วธรรมดาถึง 27 เท่า สารออกซิน (Auxin) 

เป็นฮอร์โมนที่พบได้ในพืช ทำหน้าที่ควบคุมการแก่ของเซลล์ได้

 แต่ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ว่าสามารถป้องกันการแก่ของเซลล์ในคน


นอกจากนี้กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

ได้รายงานคุณค่าทางโภชนาการของ

ถั่วงอก 100 กรัม ให้คุณค่าดังนี้

โปรตีน       2.8 มิลลิกรัม

ฟอสฟอรัส  85 มิลลิกรัม

แคลเซียม   27 มิลลิกรัม

และเหล็ก    12 มิลลิกรัม

ส่วนวิตามินอื่น ๆ ในถั่วงอก ได้แก่ วิตามินบี 1 บี 2  ฯลฯ


ที่สำคัญการเลือกรับประทานถั่วงอกให้ได้ประโยชน์สูงสุดต้องเลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ไม่เลือกซื้อถั่วงอกที่มีสีขาวผิดปกติ หรือมีสีคล้ำมากกว่าปกติ และในการนำมาประกอบอาหารควรล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่าหลาย ๆ ครั้ง จากนั้นจึงทำให้สุกเพราะความร้อนจะทำให้สารฟอกขาวถูกทำลายได้ หรือถ้าไม่มั่นใจก็สามารถปลูกรับประทานเองได้ง่าย ๆ


( ขอบคุณ ถั่วงอกป้องกันหวัดฯจากหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ คอลัมน์เคล็ดลับสุขภาพดี )


ขอบคุณภาพถั่งงอกจากบันทึกน้องหนูร



วิธี เพาะถั่วงอก


โดย หนูรี          http://www.gotoknow.org/posts/549093



โดย เพชรน้ำหนึ่ง      http://www.gotoknow.org/posts/554508      



โดย กานดาน้ำมันมะพร้าว           http://www.gotoknow.org/posts/509042




าหารที่ต้องใช้ถั่งงอกทั้งสุกและดิบ

ผัดไทยไม่ใส่น้ำมัน      http://www.gotoknow.org/posts/552224



พลังผักพลังชีวิต ที่เราปลูกเพาะเพื่อนำมาทำอาหารที่ดีต่อสุขภาพได้เอง ลองเพาะนะคะ


ด้วยความปรารถนาดี  กานดา แสนมณี

วันพฤหัสบดีที่ ๒๔ กรกฏาคม พ.ศ ๒๕๕๗

หมายเลขบันทึก: 573179เขียนเมื่อ 24 กรกฎาคม 2014 20:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กรกฎาคม 2014 20:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชอบถั่วงอกที่เพาะเองมากกว่าถั่วงอกจากตลาดค่ะ หวานอร่อยที่สำคัญคือสะอาด

ขอบคุณะพี่ดาค่ะ


ถั่ว ... ได้ประโยขน์  วิตามิน  กากใย นะคะ



อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท