สามล้อ.. บ้านลาด .. เพชรบุรี?


    วันนี้ผู้เขียน…เรื่อง เล่าสามล้อไทยวันก่อนขัยรถผ่าน... ถนนเพชรเกษม .. ตรงบริเวณ... ตำบลไร่มะข้าม หมู่ 5 อ. บ้านลาด จ.เพชรบุรี .... เป็นการเก็บอนุลักษณ์....ผู้อนุลักษณ์ .... ชอบ รถสามล้อ....และเก็บรักษา...บำรุงซ่อมแซม...สามล้อที่ทรุดโทรม...และบางครั้งก็หาชื้อเพิ่มเติมนะคะ .... เรามาเนียนรู้เรื่อง สามล้อ...และความเป็นมากันดีกว่า นะคะ

      

.... “รถสามล้อ” ... จึงเกิดขึ้นแทนที่ .. เรื่องของ ... “รถสามล้อไทย” นั้นเป็นวิวัฒนาการมาจาก …. รถจักรยานสองล้อ นั่นเอง …. แรกทีเดียวมีรถสองล้อเข้ามาในกรุงเทพฯ ประมาณ ปี พ.ศ. 2427–2430 … โดย...รถจักรยานสองล้อ....ที่แรกมีในบางกอกนั้น … เป็นรถจักรยานสองล้อ....ประเภทที่ล้อหน้าสูงและล้อหลังเล็ก …. แบบรถจักรยานที่พวกละครสัตว์ใช้กัน .... ครั้นต่อมา....รถจักรยานสองล้อ … จึงได้เปลี่ยนรูปมาเป็นมีสองล้อเท่านั้น … เหมือนจักรยานสองล้อในปัจจุบัน

       รถจักรยานสองล้อ ...เมื่อแรกมีในบางกอกนั้น ... ปรากฏว่าเป็นที่นิยมกันมาก ... โดยเฉพาะ... รถจักรยานสองล้อ....ซึ่งมีล้อหน้าและล้อหลังเท่ากัน แม้แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็โปรดมาก ดังเช่น บันทึกของเจ้าพระยามหิธร ตอนหนึ่งว่า

“สมัยหนึ่ง ราว ร.ศ. 117 – 118 ... ในกรุงเทพฯ ...เล่นรถจักรยานกันมาก … จนถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงและ เจ้าพระยาภาษกรวงศ์ .... ซึ่งเป็นคนอ้วนใหญ่ … ก็ยังถีบรถจักรยาน การเป็นดังนี้ จะไม่สนุกใหญ่อย่างไร ….. เวลานั้นใครเจ็บไข้ไปหาหมอ … หมอมักแนะนำให้ถีบจักรยาน …. เหมือนสมัยเล่นกอล์ฟ .... หมอก็แนะนำให้ไปตีกอล์ฟ...”


           


        เมื่อรถสองล้อ แพร่หลายไปทั่วกรุงเทพฯ และหัวเมืองต่างๆ …. แล้วต่อมาก็มีผู้คิดประดิษฐ์ดัดแปลง ... รถจักยานสองล้อ … เป็น .... รถจักยานสามล้อ…. เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยได้มากขึ้น … ทั้งทางด้านการโดยสารและบรรทุกสิ่งของ …. ผู้เป็นต้นคิดประดิษฐ์สามล้อไทยขึ้น... ก็คือ นายเลื่อน พงษ์โสภณ

ตลอดระยะเวลาที่....รถสองล้อ....แพร่หลายอยู่ทั่วไปนั้น… นักประดิษฐ์หนุ่มผู้นี้ …. เฝ้ามองดูที่จะหาทางเพิ่มเติมล้อลงไปอีกล้อหนึ่ง… แล้วทำกระบะสำหรับนั่งหรือ...บรรทุกสิ่งของเพิ่มขึ้น …. ในที่สุด นายเลื่อน พงษ์โสภณ ….ก็ประดิษฐ์สามล้อไทยคันแรกขึ้นสำเร็จเมื่อปี พ.ศ. 2476 นี่เอง …. รถสามล้อ ....ที่นายเลื่อนคิดทำขึ้นครั้งแรกนั้น ไม่ได้ .... มีลักษณะเหมือนรถสามล้อในทุกวันนี้ .... ซึ่งมี ล้อหลังสองล้อและล้อหน้า....อยู่ตรงกลางอีกหนึ่งล้อ .... แต่ทว่าใช้รถจักรยานสองล้อนี่แหละ ... ไปเพิ่มล้อทางด้านขวา อีกหนึ่งล้อ .... ขนานกับล้อหลัง .... แล้วใส่กระบะสำหรับนั่งหรือ โดยสารเข้าไป ทางด้านซ้าย... ด้วยลักษณะนี้ รถสามล้อคันแรกจึงเหมือนกับรถสามล้อพ่วงข้าง ที่ยังมีใช้อยู่ทางภาคใต้ของเราในทุกวันนี้นั่นเอง (เช่นที่จังหวัดสงขลา)

          สามล้อไทยคันแรก เมื่อปี พ.ศ. 2476 นับว่าเป็นของใหม่เอี่ยมของกรุงเทพฯ ตามปรกตินั้น.... เมื่อทำขึ้นมาแล้ว ....ก่อนที่จะออกวิ่งรับส่งผู้โดยสารหรือขนส่งสิ่งของ …. ก็ย่อมจะต้องนำไปขอ...จดทะเบียน กับตำรวจเสียก่อน …. แต่ก็ปรากฏว่า รถสามล้อเป็นของใหม่ … ไม่เคยมีมาก่อนจึงยังไม่มี...พระราชบัญญัติเกี่ยวกับรถสามล้อ … กว่าจะจดทะเบียนได้ก็วุ่นวายกันน่าดูทีเดียว ....จนในที่สุด เจ้าหน้าที่อนุโลมให้ใช้พระราชบัญญัติล้อเลื่อน ปี พ.ศ. 2460 ....จึงสามารถจดทะเบียนรถสามล้อไทยได้

           ครั้นต่อมา …. เมื่อรถสามล้อได้รับความนิยมแพร่หลายนั้น ก็ปรากฏว่า ...ทางราชการต้องออกกฎกระทรวง...เกี่ยวกับสามล้อ เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2479 ซึ่งออกตามความในมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติล้อเลื่อน ปี พ.ศ. 2478 รายละเอียดในกฎกระทรวงเกี่ยวกับสามล้อนี้ มีอยู่ 7 ข้อด้วยกันคือ 


    1. มีที่นั่งสำหรับผู้ขับขี่นั่งอยู่ตอนหน้าผู้โดยสารนั่งอยู่ตอนหลัง

    2.ตัวรถสำหรับผู้โดยสารนั่งมีรูปเป็นตัวถัง

    3.มีประทุนกันฝนและแดดสำหรับผู้โดยสาร

    4.ระยะห่างระหว่างล้อหลัง ไม่น้อยกว่า 1 เมตร และไม่เกิน 1.10 เมตร

    5.น้ำหนักรถไม่เกิน 80 กิโลกรัม

    6.มีโคมไฟไม่น้อยกว่าข้างละ 1 ดวง โดยใช้กระจกสีขาวด้านหน้า สีแดงด้านหลัง ติดไว้ให้เห็นส่วนกว้างของตัวถังรถ โดยให้เห็นแสงไฟทั้งจากข้างหน้าและข้างหลัง

     7.มีห้ามล้อที่ใช้การได้ดีไม่น้อยกว่า 2 อัน


         ที่กล่าวมาข้างต้น ก็คือ ลักษณะของรถสามล้อ ตามที่กฎกระทรวงบังคับไว้แน่ชัด นอกจากนี้แล้ว ในกฎกระทรวงฉบับเดียวกัน ยังกล่าวถึงการใช้รถสามล้อเป็นพาหนะในการขนส่งผู้โดยสารไว้ชัดแจ้งว่า  “จะรับบรรทุกผู้โดยสารอายุเกิน 10 ขวบได้ 2 คน กับเด็กอายุไม่เกิน 10 ขวบ ด้วยหนึ่งคน เป็นอย่างมาก กับห้ามใช้บรรทุกของ เว้นแต่ว่าเป็นของที่มีติดตัวไปกับผู้โดยสาร แต่ก็ต้องไม่เกิน 30 กิโลกรัม

เคยเห็นภาพเก่าๆ ของรถสามล้อรุ่นแรก ที่นายเลื่อน พงษ์โสภณ ... ประดิษฐ์ขึ้นใช้วิ่งรับส่งผู้โดยสารในกรุงเทพฯ ปรากฏว่ารถสามล้อรุ่นแรก ไม่มีประทุนกันแดดกันฝน ผู้โดยสารที่ขึ้นไปนั่ง จะต้องกางร่วมกันแดดหรือกันฝนกันเอง ก็เหมือนกับรถสามล้อพ่วงข้างปักษ์ใต้ในทุกวันนี้นั้นแหละ ต่อมา นายเลื่อน พงษ์โสภณ …. ก็ได้พยายามดัดแปลงรูปร่างลักษณะของรถสามล้อไทย จนกระทั่งรถสามล้อไทย มีลักษณะสวยงามเหมือนรถสามล้อในปัจจุบัน .... เป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจ สำหรับนายเลื่อน พงษ์โสภณ และคนไทยทั่วไป ที่รถสามล้อไทยแพร่หลายไปทั่วประเทศเพื่อนบ้านแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น มลายู ปีนัง สิงคโปร์ เขมร ด้วยสามล้อเป็นพาหนะที่ไปไหนมาไหนได้สะดวกยิ่งนัก รถสามล้อที่แพร่หลายไปสู่ประเทศเพื่อนบ้านต่าง ๆ เหล่านี้ ก็มีรูปร่างลักษณะแปลกกันออกไป อย่างเช่นรถสามล้อเมืองเขมร ที่เรียกว่า ละเมาะนั้น ก็ใช้รถสองล้อธรรมนี่แหละ เกี่ยวกับกระบะใหญ่ทางด้านหลัง นั่งกันทีหนึ่งหลายคนบรรทุกของก็ได้มาก ส่วนรถสามล้อปีนังนั้น แทนที่จะเอาคนขี่ไว้ข้างหน้า ก็กลับให้โดยสารนั่งหน้า แล้วคนขี่อยู่ด้านหลัง เวลานั่ง รถสามล้อปีนัง จึงน่าหวาดเสียวมาก เพราะถ้าหากว่าเกิดไปชนกับรถยนต์เข้า ผู้โดยสารนั่นแหละมีหวังตายก่อน คนขี่อาจจะกระโดดหนีเสียทัน ซึ่งผิดกับรถสามล้อในบ้านเรา ที่คนขี่อยู่ด้านหน้า ชนอะไรเข้า คนขี่เป็นถูกก่อนแน่นอน

               รถสามล้อ ..... แบบที่ไม่เปลี่ยนไปจากของเดิมมากนัก ก็เห็นจะเป็นรถสามล้อพ่วงข้างที่ใช้กันอยู่ในภาคใต้ ที่หัวหินนี่ก็มีแล้วพอเลยไปถึงชุมพร สงขลา ภูเก็ตยิ่งมีมากทั่วไป และรู้สึกว่าชาวภาคใต้ จะนิยมนั่งรถสามล้อพ่วงข้างมากกว่ารถสามล้อธรรมดา เพราะความเคยชิน และอีกประการหนึ่งอาจจะรู้สึกสบาย ด้วยไม่ต้องถูกคนขี่บังหน้าอยู่ตลอดเวลา ก็อาจจะเป็นได้ สามล้อในภาคใต้ทั่วไป จึงเป็นสามล้อพ่วงข้างเกือบหมด มีสามล้อแบบภาคอื่น ๆ อยู่บ้าง ก็ทำมาหากินสู้สามล้อพ่วงข้างไม่ได้

ในสมัยนี้เราจะเห็นรถยนต์ว่า มีอยู่สองประเภท คือรถส่วนบุคคลกับรถแท็กซี่ สมัยก่อนรถสามล้อส่วนบุคคลก็มีเหมือนกัน … คือในบรรดาบ้านผู้ดีมีอันจะกินนั้น ... เขามักจะซื้อสามล้อไว้รับส่งลูกหลานไปโรงเรียนหรือไปจ่ายตลาด ไปทำงานก็ตามแต่ ... โดยจ้างคนขี่สามล้อประจำเหมือนคนกรุงเทพฯ จ้างคนขับรถยนต์นั่นเองค่ะ

                

                        

                         

                       

                       

                     

                    

                   

                   

           สรุปได้ว่า.... ในปัจจุบัน ปี 2557 ...  รถสามล้อไทย”  เกือบจะถูกผู้คนลืมไปเสียแล้วนะคะ .... สามล้อในจังหวัดเพชรบุรี .... ยังมีให้เด็กๆ รุ่นลูก-รุ่นหลาน ...ได้พบบ้างนะคะ... แต่เห็นแล้วแค่รู้จัก.....อาจจะไม่สนใจว่าความเป็นมาเป็นอย่างไร นะคะ ... ขณะเดียวกัน .... ทางอำเภอบ้านลาด ... มีการอนุลักษณ์....นำไปใช้งานในพิธีกรรมต่างๆ เช่น งานแต่งาน ... งานบวชนาค .... โดยจะให้เจ้าสาวนั่ง ... หรือเจ้าบ่าว ... นั่งไปขอเจ้าสาว .... เป็นความงดงามอีกรูปแบบหนึ่ง ของวัฒนธรรมนะคะ...  ผู้เขียนนำภาพมาฝากนะคะ

ขอบคุณค่ะ

๒๒ กรกฎาคม ๒๕๕๗

หมายเลขบันทึก: 573028เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2014 16:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กรกฎาคม 2014 16:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

อ่านบันทึกเหมือนได้อ่านจดหมายเหตุนะครับคุณหมอ...สมัยหนึ่ง (ปี ๓๐-๓๒) ผมเข้าไปในเมืองสุพรรณฯ จะมีสามล้อแบบนี้เยอะมาก..ผมจำได้ว่าเคยนั่งบ่อย ครั้งหนึ่งนั่งไปร้านแห่งหนึ่ง บังเอิญไม่ได้ตกลงราคากันก่อน พอกลับมาเพื่อขึ้นรถกลับที่สวนแตง..คนขับสามล้อมบอกราคา ๖๐ บาท ทำให้ตกลงกันไม่ได้ เถียงกันอยู่นาน ผมบอกว่า ไปโรงพักคุยกัน แต่เขาไม่ไป  ผมก็จำไม่ได้ว่า วันนั้นผมจ่ายไปเท่าไหร่ เฮออ...ทำให้นึกถึงบทบาทสามล้อมในเมืองจริงๆครับ

ขอบคุณค่ะ  ท่าน ส.รตนภักดิ์   ....  คงเปลี่ยนแปลงไปตามเวลานะคะ  เวลาเปลี่ยนไป  การเปลี่ยนแปลงก็ตามไปนะคะ  ปัจจุบันคนเปลี่ยมานั่งรถเมย์  นั่งมอร์ไชย์แล้วนะคะ  .... แต่มีกลุ่มคนที่ยังอนุรักษ์  และประยุกต์  ... ใช้งานสำคัญๆๆ ก็ยังดีนะคะ  

ขอบคุณท่านมากๆๆค่ะ

ชอบรถสามล้อมากค่ะ อยากให้เมืองไทยอนุรักษ์ และตกแต่งไว้ประดับสถานที่ให้นักท่องเที่ยวได้ชืนชมค่ะ ขอบคุณอาจารย์เปิ้นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสามล้อซึ่งไม่เคยทราบมาก่อนเลย ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณ หมอเปิ้น ประศาสตร์ สามล้อ ที่ค้นมาแ่งปัน

ปากพะยูนยังพอมีแต่เป็นแบบพ่วงข้างครับ

ชอบมากเลยครับ

ไม่มีโอกาสได้ใช้บริการ

แต่เคยลองปั่นดู

ปั่นยากเหมือนกันนะครับ

อ่านแล้วคิดถึงความหลังที่เคยนั่งสามล้อไปธุระบ่อยๆ...สะดวกดีแต่สงสารสารถีมากๆค่ะ..เห็นเขาถีบขาโก่ง..ลำคัวชุ่มด้วยหยาดเหงื่อ

ที่ฮัมบอรก..ก็มีสามล้อ..มีคนขี่..รับจ้าง..นั่งพาเที่ยว..ในเมืองค่ะ..

ลืมให้ดอกไม้ เลยกลับมาอีกรอบค่ะ :)

เก๋มากค่ะพี่เปิ้น   มีทะเบียนด้วย

ตอนเด็กที่จังหวัดอุดร  หากจะไปไหนไกลมากเดินไม่ไหว  จะนั่งสามล้อนี่ละคะให้ถีบไปส่ง

ดีจังครับที่ยังมีสามล้อ...หาได้ยากมากครับ...ต้องส่งเสริมและอนุรักษ์มากๆ นะครับ

ดีจังครับ ดร.เปิ้น ได้รู้ประวัติความเป็นมาของสามล้อไทย ส่วนพิษณุโลกผมเห็นฝรั่งนั่งให้สารถีบปั่นชมเมืองในเวลากลางคืนมีไฟกระพริบ ๆ ต่อกันเป็นขบวนสวยงามอีกแบบ วันหลังผมจะไปสัมภาษณ์แล้วนำภาพมาลงให้ชาว G2K ได้ดูนะครับ...

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท