แบบจำลองความสุข (แท้) : คำตอบที่ได้จากกัลยาณมิตร


การกระทำตามสิ่งที่ใจปรารถนาที่อยู่พื้นฐานแห่งปัญญา การกระทำไม่ว่าเล็กหรือใหญ่นั้นจะนำมาซึ่ง "ความสุขแท้"

ความสุข (เทียม) ที่ถูกสร้างและกำหนดให้หลากหลายคนในสังคมที่มีชีวิตได้รู้ ได้ยิน ได้เห็น ได้สัมผัส ได้ลิ้มรส

จากการทำงานเพื่อที่จะต้องให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เรียกว่า "เงิน" ก่อนที่จะเล่นแร่แปรธาตุเป็นสินค้า บริการหรือแม้กระทั่งบุญ จากนั้นรูปแบบที่ถูกสร้างโดยระบบ "ทุนนิยม" ที่จะบอกเราว่านั่นแหละคือความสุข

วันนี้บทสรุปแห่งบันทึกแบบไตรภาคมาถึงจุดที่อาจเรียกได้ว่าคำตอบที่สมบูรณ์ที่สุดจากท่านอาจารย์ จันทรรัตน์ ท่านอาจารย์ได้ให้คำตอบที่แสดงถึงเหตุและผล ความเป็นมาและเป็นไปได้อย่างสมบูรณ์แบบ

"ความอยากที่ต้องการการเติมเต็มจากสิ่งภายนอก

ไม่ว่าจับต้องได้เช่นที่อาจารย์ยกมา..คือสินค้า สัมผัสฯลฯ หรือจับต้องไม่ได้เช่นการยอมรับนับถือ ความรัก พวกนี้ยิ่งอยากยิ่งทุกข์ ได้แล้วก็อยากได้อีกให้มากขึ้นไป

แต่ถ้าความอยากที่ออกจากใจจริง เช่นอยากทำความดี อยากให้คนอื่นเป็นสุข คงทุกข์น้อยกว่าสุข "

"ความอยากที่ออกจากใจจริง" อยากคิด อยากทำ โดยไม่มี "เงิน" เป็นสิ่งคั่นกลางระหว่างการกระทำกับสินค้า การกระทำกับบริการ การกระทำกับบุญ และโดยเงิน เงินกับความสุข

สิ่งที่เราทำนั้นจะได้รับผลตอบแทนนั่นก็คือ "ความสุขแท้"

การกระทำที่ไม่ได้กำหนดสิ่งตอบแทนไว้ล่วงหน้า

การกระทำที่ไม่ได้หวังว่าจะได้สิ่งใดตอบแทน

การกระทำตามสิ่งที่ใจปรารถนาที่อยู่พื้นฐานแห่งปัญญา

การกระทำไม่ว่าเล็กหรือใหญ่นั้นจะนำมาซึ่ง "ความสุขแท้"

เป็นความสุขที่เกิดด้วยใจและได้รับผลตอบแทนมาที่ใจ

จะได้มากได้น้อย ได้อย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับใจของคนที่กระทำนั้นจะเป็นผู้วัดและรับรู้

ใครทำ ใครได้

คนไหนทำ คนนั้นได้

แบบจำลองที่มีเพียงสองขั้นหมุนเวียนวนไปวนมา

ทำ-สุข สุข-ทำ

หมุนวนเป็นวงจรที่ไม่มีวันจบสิ้น

ทำ-สุข สุข-ทำ วนจนกลายเป็น ธรรม-สุข สุข-ธรรม

ธรรมสุข สุขธรรม

เป็นความสุขอันเที่ยงแท้ที่เราสามารถสัมผัสได้

ธรรมที่เกิดจากพระภายในและพระภายนอก

พระภายใน "บ้าน" พ่อและแม่ ญาติ พี่ น้อง การกระทำที่ทำให้ท่าน ทำให้ท่านสุขเราก็ได้สุข

พระภายนอก "บ้าน" พระสงฆ์ ผู้มีพระคุณ และสิ่งต่าง ๆ ที่มีพระคุณ ทำให้เราเป็นเราได้ทุกวันนี้ ทำเพื่อท่าน ทำเพื่อชาติ เพื่อส่วนร่วมและสังคม

ทำแล้ว ทำอีก ทำแล้ว ทำอีก ทำแล้ว ทำอีก

สุขแล้ว สุขอีก สุขแล้ว สุขอีก สุขแล้ว สุขอีก

เป็นสุขแท้ที่หมุนเวียนอยู่ภายในจิตใจของผู้ที่กระทำด้วยใจตลอดไป

 

ปภังกร วงศ์ชิดวรรณ

 

 

หมายเลขบันทึก: 57250เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2006 13:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 16:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ปภังกร

ชอบคำว่า ธรรมสุข สุขธรรม ค่ะ

ดูเหมือนว่าในแง่การตลาดมีการนำขบวนการความสุขโดยธรรมทานมาใช้ หลายอย่างแล้ว ใช่ไหมคะ เช่นการซื้อของสักอย่างยอดเงิน1% จะตัดเข้าบริจาคมูลนิธิบางแห่ง...หรือการคลิกเข้าไปในบางเว็บโฆษณาก็จะทำให้เพิ่มยอดเงินบริจาครักษาสิ่งแวดล้อมรักษาชีวิตปลาฉลามไม่ให้คนฆ่าเอาครีบ...ก็น่าสนใจดีนะคะ ที่จะทำให้เกิดความรู้สึกร่วมกันได้ระหว่างการค้าและความสุข...แต่ก็ไม่มีความรู้ค่ะว่า ประสบความสำเร็จมากน้อยอย่างไร...และอาจารย์มีความเห็นว่าอย่างไรคะ

ทำ-สุข สุข-ทำ วนจนกลายเป็น ธรรม-สุข สุข-ธรรม  ข้อความนี้ เห็นด้วย  ชีวิตเพียงมีธรรมก็ก่อเกิดสุข สุขอยู่รอบๆเรา เก็บเข้ามาใส่ตัว โดย "ทำ" ให้เกิดสุข  ด้วยธรรม  เป็นธรรม  เกิดธรรม   >.<

 

สุขแล้ว สุขอีก สุขแล้ว สุขอีก สุขแล้ว สุขอีก

เป็นสุขแท้ที่หมุนเวียนอยู่ภายในจิตใจของผู้ที่กระทำด้วยใจตลอดไป   ข้อความนี้ ก็เห็นด้วย แต่ สุขแล้วสุขอีก แล้วติดสุข เหมือนคนติดสาว  แต่ติดสาวที่ดี ก็เสริมสร้างพลังแห่งชีวิตหลายด้าน  แต่ถ้าติดสาวที่ไม่ใช่ละ? สุขได้ด้วยธรรม  

  • ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับท่านอาจารย์จันทรรัตน์สำหรับข้อแลกเปลี่ยนที่ดียิ่ง
  • ส่วนสำหรับคำตอบสำหรับคำถามดียอดเยี่ยมนั้น อยู่ในบันทึก
  • เป็นคำตอบในมุมมองคนที่อยู่ในแวดวงธุรกิจอย่างเช่นผมครับ และตอนนี้ก็เริ่มไม่ค่อยสบายใจกับกลยุทธ์บางอย่างของเพื่อนร่วมวิชาชีพด้วยกันที่ไม่ค่อยจริงใจเหมือนเมื่อก่อนครับ
  • สวัสดีครับคุณ Taow
  • ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงสำหรับข้อแลกเปลี่ยนดี ๆ ครับ
  • เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับสำหรับเรื่องการติดสุขครับ เพราะถ้าติดสุขเทียมเข้าไปก็จะเหมือนติดสาวที่ใช่ไม่อย่างเช่นที่คุณ Taow ครับ
  • แต่ถ้าทุกคนติดสุขแห่งธรรมสังคมนี้คงจะสวยงามน่าอยู่ที่สุดเลยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท