ดร.อุทัย อันพิมพ์
ดร. อุทัย ดร.อุทัย อันพิมพ์ อันพิมพ์

ทุกข์ของคนเดินทางโดยรถไฟ


ถึงเวลาที่ต้องจัดการความรู้เรื่องการให้บริการแล้ว

การบริการที่ต้องปรับปรุง เมื่อวาน (4 พ.ย. 49) ผมได้เดินทางจากกรุงเทพมหานคร (หัวลำโพง) เพื่อกลับอุบลราชธานี โดยการรถไฟแห่งประเทศไทยขบวนที่ 67 เที่ยวเวลา 20.30 น. และก่อนหน้านี้ก็เดินทางอยู่หลายครั้ง แต่ก็พบปัญหาเกี่ยวกับการให้บริการอยู่เป็นประจำคือ

1. การซื้อ และจองตั๋วโดยสาร ซึ่งมีปัญหามากคือ คนรอคิวซื้อตั๋วที่ยาวเหยียด ทำให้คนที่ไปใช้บริการต้องรอนาน อีกทั้งบริเวณที่คับแคบไม่มีการจัด Zone การให้บริการที่ดีพอ ทำให้คนไปใช้บริการเสียความรู้สึก

2. การบริการที่ไม่สุภาพ อาจจะเนื่องมาจากคนไปใช้บริการมาก จึงทำให้เกิดความเครียดในการทำงานจึงอาจจะพูดไม่สุภาพกับลูกค้า แต่ผมก็มองว่า ถึงคนจะมากขนาดไหนเราต้องให้บริการที่ยิ้มแย้มแจ่มใส เพราะมันเป็นหน้าที่การให้บริการ

3. การขายของบนรถไฟ ซึ่งผมมองว่าในเรื่องของการขายของบนรถไฟก็เป็นเรื่องที่ดี เพราะคนเดินทางจะได้สะดวกในการกินเพราะเป็นการเดินทางที่ไกล แต่ก็ไม่ควรที่จะสูงเกินไป เพราะการเดินทางโดยรถไฟนอกจากจะเสียค่าโดยสารที่แพงกว่ารถยนต์แล้วแถมต้องซื้ออาหารที่แพงกว่าผมว่ามันอาจจะโหดเกินไปสำหรับคนที่ไม่ค่อยมีกะตังค์ หรือถ้าหากเราจะมองย้อนกลับไปดูว่าในส่วนของรถยนต์ปรับอากาศ หรือ VIP ที่เขาเก็บค่าโดยสารที่แพง (แต่ถูกกว่ารถไฟ) เขายังมีอาหารคอยบริการที่ดีด้วย ตรงกันข้ามกับรถไฟที่ไม่มีให้เห็นเลย

4. การเดินทางที่ไม่ตรงเวลา ซึ่งผมจะพบเป็นประจำและทุกครั้งที่ได้นั่งโดยสารกับการรถไฟ หรือเวลาไปรับแขกที่เดินทางมาก็เช่นกัน เนื่องจากการเดินรถไม่ค่อยรักษาเวลาของพนักงาน ซึ่งจะถึงจุดหมายปลายทางช้ากว่ากำหนดทุกครั้ง (Late) แต่ถ้าเกิด Accident หรือ ภัยธรรมชาติเรายังพอทำใจได้ครับ

ถึงเวลาที่ต้องปรับปรุง การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานที่อยู่ในการกำกับของรัฐ ที่ทำหน้าที่การให้บริการ ดังนั้นผมจึงเห็นว่าถึงเวลาแล้วครับที่คณะผู้บริหารที่ต้องเร่งในการปรับปรุงการให้บริการ และการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ของคนในหน่วยงาน เหมือนกับการบริหารจัดการของรถไฟฟ้า ใต้ดิน หรือ บนดิน (BTS) ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับหัวลำโพงนั่นแหละ หรือหากจะนำเทคนิคการจัดการความรู้เรื่องการให้บริการที่เป็นกัลยานมิตรตามแบบของโรงพยาบาลก็จะดีนะครับ หรือ หากยังนึกไม่ออกผมเสนอแนะไปที่ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.) โปรดได้เห็นใจประชาชนตาดำๆ ด้วยเถิดนะครับ และผมก็เป็นประชาชนคนไทยตาดำๆ ด้วยเช่นกันที่จะคอยให้กำลังใจท่านผู้บริหาร และพนักงานการรถไฟทุกคนครับ

ขอบคุณครับ

อุทัย   อันพิมพ์

5 พ.ย. 49

 

หมายเลขบันทึก: 57244เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2006 12:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 09:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

  แล้วคุณเป็นใคร เขาคิดว่าเขาเป็นเจ้าของการรถไฟ เขาไม่ได้คิดว่าเรา(ประชาชน)เป็นเจ้าของ..นะ..จะบอกให้..

ขอบคุณมากครับ

ผมก็เป็นเพียงประชาชนตาดำๆ ที่เป็นได้แค่พลังปลวก พลังมด แต่ผมก็อยากเห็นการให้บริการที่ดี ต่อประชาชนคนไทยด้วยกันครับ

ขอบคุณอีกครั้งครับ

อุทัย

 

     เป็นแบบนี้มาตั้งนานแล้วครับ ตรงเวลาเป็นเรื่องผิดปรกติ

ดูอาการแล้วการรถไฟน่าจะเป็นหน่วยงานที่เตรียมความพร้อมและจองคิวอย่างมั่นคงที่จะจัดการความรู้เป็นหน่วยงานสุดท้ายของประเทศไทย (ถ้าไม่ใช่ของโลก) รู้สึกว่าองค์กรด้านการศึกษาจะเสียแช้มป์ก็คราวนี้แหละมั้ง ผมอยากให้เสียแชมป์เร็วๆ เด็กไทยจะได้ไม่มีแหล่งทำลายสมองด้วยเงินภาษีของเราอีกต่อไป  ผมว่าเขียนเรื่องนี้เสียพลังงานและเวลาเปล่าๆครับ พระพุทธเจ้าท่านยังแก้ไขทุกคนไม่ได้เลย แล้วเราเก่งกว่าท่านพระพุทธเจ้าหรือครับ ไปทำเกษตรประณีตสบายใจกว่ากันเยอะเลย

แสวง

๖ พย ๔๙

เคยต้องอาศัยรถไฟ ตลอดเวลาที่ศึกษาระดับปริญญาตรีกลับบ้านเช่นกันค่ะ คิดถึงบรรยากาศบนรถไฟเสมอมา แม้ในระยะหลังไม่มีโอกาสเดินทางแบบนั้นแล้ว เพราะการเดินทางทางรถไฟ นอกจากจะเสียเวลามากกว่าเดินทางทางเครื่องบินแล้ว ยังกำหนดเวลาตายตัวไม่ได้ การจะทำงานบนรถไฟ ก็ไม่มีระบบ internet รองรับอีก (ไม่มีตู้ business นะคะ น่าเสียดาย) อนาคตรถไฟได้ คงจะได้เป็นอนุสรณ์สถาน

 สวัสดีค่ะคุณอุทัย

  • ครูอ้อยเคยนั่งรถไฟไปอุบลฯหลายครั้ง
  • ตีตั๋วนอนไป  หลับไปตลอดทาง  ไปตื่นที่โน่น
  • หรือว่าครูอ้อยโชคดี  ไปทีไร  ก็สบายทุกครั้งค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท