กระบวนการตรวจพินิจ(Inspection)


กระบวนการตรวจพินิจ(Audit - Inspection)

การตรวจพินิจ มีเป้าหมายคือ  การตรวจหาสาเหตุ(โจทย์) ข้อบกพร่องที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัย(Safety-นิรภัย)หรือมีการดำเนินงาน และ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ที่ไม่เป็นไปตาม(Not Complience) กฏ ระเบียบ ข้อบังคับ คู่มือการดำเนินงาน(Aerodrome Manual)ต่างๆ เพื่อดำเนินการแก้ไข และถ้าแก้ไขได้บางอย่างและไม่ได้บางอย่าง จะปล่อยไว้โดยไม่ทำอะไรต่อไม่ได้ จะต้องดำำเนินการวิเคราะห์หาค่าความเสี่ยง "ในส่วนที่ยังเหลือ" เพื่อหาหนทางมาตรการและวิธีปฏิบัติที่จะหลีกเลี่ยงป้องกันไม่ให้เกิดสภาวะอันตรายขึ้น  และถ้าเป็นความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้(Unexceptable Risk)ต้องสามารถกำกับดูแลให้หยุดกิจกรรมนั้นได้ในทันที 

ความเสี่ยงที่ยอมรับได้/หลีกเลี่ยงยอมรับไม่ได้(Exceptable-Unexceptable Risk)

ส่วนความเสี่ยงที่ยอมรับได้ หรือมีค่าความเสี่ยงไม่มาก จะถูกในไปทำการประเมินความเสี่ยง(Risk Assesment) ได้แก่ วิเคราะห์โอกาสหรือความถี่ที่เกิดยังมากน้อยกี่เปอร์เซนต์(Probabilities)  ถ้าเกิดแล้วความรุนแรงยังมีมากไปไหม(Servicinities) ผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตปริมาณเท่าไหร่  เพื่อนำค่าความเสี่ยงที่ได้  มาดำเนินการจัดการแก้ไขด้วยวิธีการอื่นๆ อีก เพื่อที่จะลดความเสี่ยงนั้นให้อยู่ในระดับที่สามารถดำเนินกิจกรรมต่อไปได้  ซึ่งผลลัพธ์ที่ทุกคนต้องการคือ สามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆต่อไปได้ แต่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องปฏิบัติตามมาตรการ วิธีการที่เลือกแล้วว่าดีที่สุดเหมาะสมที่สุด(Best Practice) ด้วยขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยที่สุด(SOPs Standard Operational Procedure) ที่กำหนดเป็นเงื่อนไขหรือข้อจำกัดของการปฏิบัติงาน(Restricted)  หรือข้อกำกัดของเครื่องมือ อุปกรณ์ ต่างๆอย่างเคร่งครัด

การจัดการการตรวจ-ความถี่ในการตรวจ

การจัดการการตรวจสอบนั้น แบ่งได้ดังนี้

1. ห้วงในเวลาทำการสนามบินและนอกเวลาทำการสนามบิน

ซึ่งอาจออกแบบห้วงเวลาในการตรวจตามตารางไฟล์ทบิน เช่น มีไหล์ทเช้า 6 โมง เที่ยงตรง และ 3 ทุ่ม  เราก็ออกแบบการตรวจทั่วไปหรือตรวจสภาพการทำงานโดยแบ่งเป็น 3 เวลา อาจจะตรวจก่อนไฟล์ทบินสักชั่วโมง เพื่อที่จะได้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันเหตุการณ์ ส่วนการตรวจพินิจนั้น ควรตรวจหลังไฟล์ทบินเที่ยวสุดท้าย เพราะการทดสอบการจับเวลา ระยะเวลาการกลับมาติดใหม่ของโคมไฟฟ้าสนามบินเมื่อไฟหลักดับ หรือค่า Switch Over Time นั้น สุ่มเสี่ยงต่อการขัดข้อง และเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะไปกระทบการการปฏิบัติการบินนั่นเอง

2. การตรวจแบ่งตามความถี่หรือตรวจตามรอบระยะเวลา

เช่น ตรวจตามรายงานการบันทึกผลประจำวัน ประจำสัปดาห์ ประจำเดือน/3เดือน/6เดือน9เดือน ประจำปี ประจำปีที่ 2 -5 ประจำทุกๆ5 ปี โดยแบ่งความละเอียดในการตรวจให้เหมาะสมกับสภาพ จำนวนผู้ตรวจเอง สภาพแวดล้อมในแต่ละช่วงฤดูกาล สภาพเครื่องยนต์เครื่องจักร ตรวจถี่บ่อยตามความเสื่อมของอุปกรณ์ตามระยะเวลา ตามบริษัทผู้ผลิตกำหนด เช่น ครบจำนวนชั่วโมงทำงาน ตามวงรอบการบำรุงรักษา โดยจะต้องออกแบบให้ยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนความถี่บ่อยได้ ตามสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมือนกันในแต่ละฤดูกาลได้ เป็นต้น                                                                                                                                                                                                                                                                          

วัตถุประสงค์ของการตรวจ แบ่งเป็น

1.ตรวจติดตามประจำปี

2.ตรวจติดตามเพื่อออกใบรับรองการดำเนินงาน

3.ตรวจด้วยเอกสาร Remote audit โดยใช้รายการตรวจสอบ Checklist

4.ตรวจหลังจากเกิดอุบัติเหตุ อุบัติการณ์

5.ตรวจเพื่อเปิดใช้งานหลังหยุดดำเนินการมาระยะหนึ่ง

กระบวนการตรวจพินิจ(Audit - Inspection)

การตรวจพินิจ มีเป้าหมายคือ  การตรวจหาสาเหตุ(โจทย์) ข้อบกพร่องที่มีผลกระทบต่อความปลอดภัย(Safety-นิรภัย)หรือมีการดำเนินงาน และ เครื่องมือ อุปกรณ์ หรือสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินอากาศ ที่ไม่เป็นไปตาม(Not Complience) กฏ ระเบียบ ข้อบังคับ คู่มือการดำเนินงาน(Aerodrome Manual)ต่างๆ เพื่อดำเนินการแก้ไข และถ้าแก้ไขได้บางอย่างและไม่ได้บางอย่าง จะปล่อยไว้โดยไม่ทำอะไรต่อไม่ได้ จะต้องดำำเนินการวิเคราะห์หาค่าความเสี่ยง "ในส่วนที่ยังเหลือ" เพื่อหาหนทางมาตรการและวิธีปฏิบัติที่จะหลีกเลี่ยงป้องกันไม่ให้เกิดสภาวะอันตรายขึ้น  และถ้าเป็นความเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้(Unexceptable Risk)ต้องสามารถกำกับดูแลให้หยุดกิจกรรมนั้นได้ในทันที 

ความเสี่ยงที่ยอมรับได้/หลีกเลี่ยงยอมรับไม่ได้(Exceptable-Unexceptable Risk)

ส่วนความเสี่ยงที่ยอมรับได้ หรือมีค่าความเสี่ยงไม่มาก จะถูกในไปทำการประเมินความเสี่ยง(Risk Assesment) ได้แก่ วิเคราะห์โอกาสหรือความถี่ที่เกิดยังมากน้อยกี่เปอร์เซนต์(Probabilities)  ถ้าเกิดแล้วความรุนแรงยังมีมากไปไหม(Servicinities) ผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตปริมาณเท่าไหร่  เพื่อนำค่าความเสี่ยงที่ได้  มาดำเนินการจัดการแก้ไขด้วยวิธีการอื่นๆ อีก เพื่อที่จะลดความเสี่ยงนั้นให้อยู่ในระดับที่สามารถดำเนินกิจกรรมต่อไปได้  ซึ่งผลลัพธ์ที่ทุกคนต้องการคือ สามารถดำเนินกิจกรรมต่างๆต่อไปได้ แต่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องปฏิบัติตามมาตรการ วิธีการที่เลือกแล้วว่าดีที่สุดเหมาะสมที่สุด(Best Practice) ด้วยขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยที่สุด(SOPs Standard Operational Procedure) ที่กำหนดเป็นเงื่อนไขหรือข้อจำกัดของการปฏิบัติงาน(Restricted)  หรือข้อกำกัดของเครื่องมือ อุปกรณ์ ต่างๆอย่างเคร่งครัด

การจัดการการตรวจ-ความถี่ในการตรวจ

การจัดการการตรวจสอบนั้น แบ่งได้ดังนี้

1. ห้วงในเวลาทำการสนามบินและนอกเวลาทำการสนามบิน

ซึ่งอาจออกแบบห้วงเวลาในการตรวจตามตารางไฟล์ทบิน เช่น มีไหล์ทเช้า 6 โมง เที่ยงตรง และ 3 ทุ่ม  เราก็ออกแบบการตรวจทั่วไปหรือตรวจสภาพการทำงานโดยแบ่งเป็น 3 เวลา อาจจะตรวจก่อนไฟล์ทบินสักชั่วโมง เพื่อที่จะได้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ทันเหตุการณ์ ส่วนการตรวจพินิจนั้น ควรตรวจหลังไฟล์ทบินเที่ยวสุดท้าย เพราะการทดสอบการจับเวลา ระยะเวลาการกลับมาติดใหม่ของโคมไฟฟ้าสนามบินเมื่อไฟหลักดับ หรือค่า Switch Over Time นั้น สุ่มเสี่ยงต่อการขัดข้อง และเพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะไปกระทบการการปฏิบัติการบินนั่นเอง

2. การตรวจแบ่งตามความถี่หรือตรวจตามรอบระยะเวลา

เช่น ตรวจตามรายงานการบันทึกผลประจำวัน ประจำสัปดาห์ ประจำเดือน/3เดือน/6เดือน9เดือน ประจำปี ประจำปีที่ 2 -5 ประจำทุกๆ5 ปี โดยแบ่งความละเอียดในการตรวจให้เหมาะสมกับสภาพ จำนวนผู้ตรวจเอง สภาพแวดล้อมในแต่ละช่วงฤดูกาล สภาพเครื่องยนต์เครื่องจักร ตรวจถี่บ่อยตามความเสื่อมของอุปกรณ์ตามระยะเวลา ตามบริษัทผู้ผลิตกำหนด เช่น ครบจำนวนชั่วโมงทำงาน ตามวงรอบการบำรุงรักษา โดยจะต้องออกแบบให้ยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนความถี่บ่อยได้ ตามสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมือนกันในแต่ละฤดูกาลได้ เป็นต้น         

                                                                                                                                                                                                                                                                 

วัตถุประสงค์ของการตรวจ แบ่งเป็น

1.ตรวจติดตามประจำปี

2.ตรวจติดตามเพื่อออกใบรับรองการดำเนินงาน

3.ตรวจด้วยเอกสาร Remote audit โดยใช้รายการตรวจสอบ Checklist

4.ตรวจหลังจากเกิดอุบัติเหตุ อุบัติการณ์

5.ตรวจเพื่อเปิดใช้งานหลังหยุดดำเนินการมาระยะหนึ่ง

หมายเลขบันทึก: 572447เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2014 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2017 07:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท